กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 10

หัวข้อ: หลวงปู่เจียม อติสโย รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ surin-club
    วันที่สมัคร
    Oct 2012
    ที่อยู่
    จังหวัดชลบุรี (Amata)
    กระทู้
    9

    เรื่องฮิตน่าอ่าน หลวงปู่เจียม อติสโย รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว

    หลวงปู่เจียม รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว จ.สุรินทร์
    รายละเอียด หลวงปู่เจียม รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว จ.สุรินทร์ เดิมๆๆจากวัดพร้อมตะกรุดคู่เคาะเดียวเหรียญรุ่นสุดท้าย หลวงปู่เจียม อติสโย (ลป.เจียม)
    ตะกรุดรุ่นทหารพระเจ้าอยู่
    หัว จัดสร้างประสบการณ์ดี คนพื้นที่หากันจัง เหรียญสวยไม่ผ่านการใช้ หลวงปู่เจียม อติสโย ได้ปรารถกับหลวงพ่อสุพัฒน์ เตชะพะโล และคณะศิษย์ที่ใกล้ชิดว่า หลวงปู่จะทำตะกรุดจำนวน 100,000 เส้น ถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเป็นห่วงสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ซึ่งหลวงปู่มีความเชื่อมั่นว่า ตะกรุดนี้ สามารถช่วยทหารและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้พ้นจากอันตรายได้ หลวงปู่ตั้งใจทำตะกรุดรุ่นสุดท้ายฝากไว้ในแผ่นดิน ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี เพื่อพระราชทาน แก่ทหารหาญ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้โดยให้ชื่อรุ่นว่า "รุ่นทหารของพระเจ้าอยู่หัว" การจัดสร้างตะกรุดครั้งแรก หลวงปู่เจียม บริจาคเงินส่วนตัว จำนวน 1 ล้านบาท ม.ร.ว.ภิญโญสวัสดิ์- คุณสกุลฉัตร สุขสวัสดิ ณ อยุธยา ร่วมบริจาค 1 ล้านบาท กองกำลังสุรนารี ศิษยานุศิษย์และผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสมทบทุนประมาณ 5 ล้านบาทเศษ สามารถจัดสร้างตะกรุดได้ จำนวน 50,000 เส้น ทูลเกล้าฯ ถวายตะกรุดแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ เมื่อ 7 ก.พ.50มอบตะกรุดให้ ทบ. จำนวน 40,000 เส้น แจกจ่ายให้ ทภ.1, 2, 3, 4 และ นสศ. หน่วยละ 7,000 เส้น เมื่อ 5 ก.พ. 50 มอบตะกรุดให้ ศอ.บต., ผวจ. 3 จชต. และ ผบ.ตร.ภาค จำนวน 10,000 เส้น เมื่อ 15 กพ. 50


    หลวงปู่เจียม อติสโย  รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว

    หลวงปู่เจียม อติสโย  รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว

    หลวงปู่เจียม อติสโย  รุ่นทหารพระเจ้าอยู่หัว
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย surin-club; 19-04-2013 at 10:42.

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    ภาพเหรียญสวยและคมสุดๆเลยครับสีก็ยังไม่จืดยังไม่บางรุ่นสุดท้ายน่าจะอยู่หลายหมื่น

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jinnawat90
    วันที่สมัคร
    Mar 2013
    กระทู้
    620
    ดีครับ ก็ยังถือว่าใหม่อยู่ ต้องเก็บไว้นานอีกสักหน่อยจะได้เป็นของหายาก เพราะว่าหายไปไหนไม่รู้ หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอเลยเรียกว่าของหายากครับ 55555

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เปี๊ยกครับ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    156
    เหรียญรุ่นนี้ประสบการณ์เยอะครับโดยเฉพาะทหารที่ปฏิบัติงานในภาคใต้ รู้จักดีครับหายากแล้วครับ หายังบ่ได้ครับ

  5. #5
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271



    มีนำเผิ่นยุ หลวงปู่เป็นที่เคารพบูชา ได้ชื่อว่าผู้เสียสละ เพื่อบ้านเมือง สร้างวัตถุมงคลเพื่อเหล่าทหารกล้าเพื่อปกป้องอธิปไตย
    วัตถุมงคลหลวงปู่ที่ดั้นด้นหาว่าไว้กราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลก็มีหลายอย่างยุครัล

  6. #6
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271

    นี่คือนามบัตรหลวงปู่ ลูกศิษย์เผิ่นสร้างไว้ มีทั้งจีวร และ เกษา ไปใสมาใสกะพกอันนี้แหละขอรับท่าน

  7. #7
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271
    ผ้ายันต์ นี้ เช่ามาจากสูนย์พระเครื่องวาริน เพราะว่าศรัทธาในปฎิปทาหลวงปู่เก็บไว้เพื่อกราบไหว้สร้างกำลังใจในการทำความดี

  8. #8
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271
    หลวงปู่มอบถวายตะกรุด และวัตถุมงคล แด่มหาราชินิ เอาไปแจกจ่ายทหารๆเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ เห็นแล้วปราบปลื้ม เป็นแน่แท้

  9. #9
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271
    ไว้ เพื่อน้อมถึงสิ่งที่หลวงปู่ ปฎิบัติ จีรวัตร อันดีงาม เพื่อถ่ายทอดชนรุ่นหลัง ได้รู้จักปฎิปทาหลวงปู่

  10. #10
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271
    อัตโนประวัติ “พระครูอุดมวรเวท” หรือ “หลวงปู่เจียม อติสโย” พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองสุรินทร์ เป็นพระที่มีศีลาจารวัตรดีงาม ไม่บกพร่องเสื่อมเสีย ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด กอปรด้วยวิทยาคม มีลูกศิษย์ลูกหามากมายให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก หลวงปู่เจียม มีนามเดิมว่า เจียม นวนสวัสดิ์ (เดือมดำ) เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 ปีกุน สายเลือดกัมพูชา ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านดองรุน ต.ประเตียเนียง อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน ท่านเป็นบุตรคนโต ๏ การศึกษาเบื้องต้น ในเยาว์วัย เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ศึกษาภาษาเขมรและภาษาฝรั่งเศส ตามหลักสูตรที่รัฐบาลกัมพูชากำหนดไว้ เมื่อเรียนจบในระดับชั้นประถมศึกษา ได้สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในจังหวัดพระตะบอง แต่เรียนได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น มีเหตุให้ต้องลาออกจากโรงเรียนกลางคัน เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน อีกทั้งได้รับผลกระทบจากสภาวะสงครามภายในประเทศ เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ได้ประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย เช่น ค้าข้าว ค้าวัว รวมทั้งเป็นช่างไม้ เป็นต้น ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น ครั้นเมื่ออายุ 26 ปี ท่านได้สมรสกับหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกัน มีบุตรธิดารวมทั้งหมด 4 คน เนื่องจากขณะนั้นประเทศกัมพูชาตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส ท่านเป็นคนหนึ่งที่มีความรักชาติรักแผ่นดิน ต้องการให้ประเทศชาติบ้านเมืองเป็นเอกราช จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มชาวเขมรที่รักชาติ จัดตั้งกองกำลังเขมรเสรีเพื่อกอบกู้ประเทศชาติ โดยสู้รบกับทหารฝรั่งเศสอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และต่อมากองกำลังเขมรเสรีถูกปราบปรามอย่างหนัก จนต้องหลบหนีเข้ามายังเขตประเทศไทย โดยหวังว่าจะรวมตัวกันกลับเข้าไปต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชอีกครั้งหนึ่ง พ.ศ.2485 จึงตัดสินใจอพยพครอบครัว มุ่งหน้าเข้าสู่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ โดยเดินทางมากับพระสงฆ์ชาวเขมรชื่อ พระครูดี ใช้วิธีเดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆ ค่ำไหนก็พักนอนที่นั่น แล้วออกตระเวนรับจ้างชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสังขะ เพื่อหาเลี้ยงชีพไปตามอัตภาพ ในที่สุดได้แวะพักที่วัดทักษิณวารี (วัดทักษิณวารีสิริสุข) บ้านลำดวน ต.ลำดวน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ พร้อมทั้งได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต ที่วัดแห่งนี้ ซึ่งท่านได้ประพฤติปฏิบัติตนรับใช้หลวงพ่อวางอย่างดียิ่ง จนทำให้บรรดาโยมอุปัฏฐากของหลวงพ่อวาง เกิดความรักความศรัทธา จึงขอเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 47 ปี ๏ การอุปสมบท เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2501 ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดทักษิณวารี ต.ลำดวน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ โดยมี หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเรืองวิทยาคม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “อติสโย” ๏ ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวาง-หลวงพ่อเปราะ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านสมัครใจอยู่จำพรรษา ณ วัดทักษิณวารี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน เรียนภาษาไทย และอุปัฏฐากปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต พระอุปัชฌาย์ จนเป็นที่ยอมรับไว้เนื้อเชื่อใจ พร้อมกับฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขอรับการถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ อาทิ การเสกน้ำมนต์ เขียนแผ่นทอง เป็นต้น รวมทั้ง ในแต่ละพรรษา หลวงปู่เจียมได้มีโอกาสแวะเวียนไปนมัสการ หลวงพ่อเปราะ พุทธโชติ วัดสุวรรณรัตนโพธิวนาราม อ.ลำดวน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูปหนึ่ง เพื่อปรนนิบัติรับใช้และได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขอรับถ่ายทอดวิทยาคม อาทิ การเขียนอักขระลงแผ่นทอง ทำตะกรุด วิชาเสริมสิริมงคล ฯลฯ ให้อย่างครบถ้วน เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์ภัยให้ชาวบ้านในถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีผู้เจ็บป่วยด้วยวิชาไสยศาสตร์มนต์ดำเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้ว ท่านยังวนเวียนออกเดินธุดงค์ ปลีกวิเวก ไปตามถ้ำและป่าเขาลำเนาไพรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชายแดนประเทศลาว โดยยึดป่าเขาเป็นสถานศึกษา ได้พบกับพระอาจารย์หลายท่านในระหว่างเดินธุดงค์ ได้สนทนาธรรมและเรียนรู้วิธีการปฏิบัติสมาธิภาวนาจากพระอาจารย์เหล่านั้น เป็นเวลายาวนานถึง 13 ปี แล้วกลับมาเข้าพรรษาที่วัดทักษิณวารี ๏ สร้างวัดอินทราสุการาม (วัดหนองยาว) ภายหลังกลับจากเดินธุดงค์ปลีกวิเวกแล้ว เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2513 กลุ่มคณะศรัทธาญาติโยมชาวบ้านหนองยาง ได้มานิมนต์หลวงปู่เจียมให้ไปสร้างวัดในเขตพื้นที่บ้านหนองยาว ถ.โชคชัย-เดชอุดม ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ โดยตอนแรกตั้งเป็นเพียงสำนักสงฆ์ ด้วยการสร้างกุฏิเล็กๆ สำหรับการปฏิบัติธรรม หลวงปู่เจียมจึงได้มาอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ต่อมาสำนักสงฆ์แห่งนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวัดตามกฎหมายโดยสมบูรณ์ นามว่า “วัดอินทราสุการาม” ขณะเดียวกัน ท่านก็เพียรอุทิศตนเผยแผ่พระพุทธศาสนา คอยเทศน์อบรมบรรยายธรรมให้แก่คณะศรัทธาญาติโยมและชาวบ้าน หมั่นให้ทาน รักษาศีล และปฏิบัติธรรม ๏ การสร้างวัตถุมงคล ต่อมา หลวงปู่เจียมได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นครั้งแรก เป็น “ตะกรุดโทน” ลักษณะม้วนแผ่นทองสอดสายยางร้อยกับสายร่ม และผูกห้อยพระแก้วมรกตและเหรียญรูปเหมือน เป็นต้น ปรากฏว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลหลวงปู่เจียมไว้ในครอบครอง มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์นานัปการ ทำให้มีฝูงชนแห่แหนไปร่วมทำบุญกันอย่างเนื่องแน่น โดยมีชาวบ้านบางส่วนนิยมนำยานพาหนะส่วนตัว ตลอดทั้งรถยนต์โดยสารในท้องถิ่นสุรินทร์ หรือต่างจังหวัด ผูกห้อยตะกรูดโทนของหลวงปู่เจียม เพื่อความเป็นสิริมงคล ขณะเดียวกัน ในแต่ละวันจะมีฝูงชนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลไปกราบขอให้หลวงปู่เจียม เสริมสิริมงคล ถอดถอนคุณไสย ด้วยการอาบน้ำมนต์ นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้ไปกราบนมัสการขอให้เขียนตะกรุดโทนแขวนคอ ลงเหล็กจารในแผ่นทองกับมือของท่าน เพื่อสวมใส่เป็นขวัญกำลังใจ ในการออกไปรับใช้ชาติในต่างแดน อาทิ เวียดนาม ลาว และเขมร จนได้รับการกล่าวขานเลื่องลือระบือไกล ด้วยพุทธคุณเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดภยันตราย พ.ศ.2515 หลวงปู่เจียมอนุญาตให้คณะศิษยานุศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคลกริ่งรูปเหมือน รุ่น 1 จำนวน 7,000 องค์ เหรียญรูปเหมือน รุ่น 1 จำนวน 7,000 เหรียญ พร้อมตะกรุดแขวนคอชุดใหญ่ จำนวน 7,000 เส้น พ.ศ.2537 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมหลวงปู่เจียม ที่วัดอินทราสุการาม เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อสนทนาธรรม ในโอกาสนี้ หลวงปู่เจียมได้ทูลเกล้าฯ ถวายวัตถุมงคลพระกริ่งรูปเหมือน รุ่นรับเสด็จ ตะกรุด เป็นที่ระลึกด้วย พ.ศ.2546 หลวงปู่เจียมอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นมูลนิธิอติสโย เป็นวัตถุมงคลหล่อโบราณรูปเหมือน (เททองในวัด) สรุปรวมวัตถุมงคล ทั้งวัดจัดสร้าง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนจัดสร้าง รวมทั้งสิ้นประมาณ 50 รุ่น ทั้งนี้ เพื่อรวบรวมปัจจัยนำไปสร้างถาวรวัตถุมากมายและจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม ๏ สมณศักดิ์ที่ได้รับ พ.ศ.2527 หลวงปู่เจียมได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ “พระครูอุดมวรเวท” ๏ พระนักพัฒนา นอกจากมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคม ท่านยังเป็นพระนักพัฒนา ได้ช่วยสร้างวัดที่อำเภอบัวเชด จ.สุรินทร์ 2 แห่ง สร้างสถานีอนามัยที่บ้านหนองยาว มอบครุภัณฑ์ให้โรงพยาบาลสุรินทร์ สร้างศาลาประชาคม 61 แห่ง รวมทั้งสาธารณประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ๏ การมรณภาพ ย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงปู่เจียมเริ่มมีอาการเหน็ดเหนื่อย สายตาพร่ามัว ประสาทหูฟังไม่ค่อยชัด คณะศิษยานุศิษย์ได้นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ ครั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล หลวงปู่เจียมก็ยังต้องรับกิจนิมนต์จากชาวบ้านญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขไม่เว้นแต่ละวัน บ้างต้องไปนั่งประพรมน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้ลูกศิษย์ลูกหาสม่ำเสมอ กระทั่งเมื่อเวลา 16.59 นาฬิกา ของวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2549 คณะศิษยานุศิษย์วัดอินทราสุการาม ได้ตีระฆังรัวกลองเป็นชุด เพื่อแจ้งเหตุว่า บัดนี้ชาวเมืองสุรินทร์ได้สูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญ คือ หลวงปู่เจียมได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคไตวาย ภายในกุฏิวัดอินทราสุการาม หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการอาพาธจากโรคไตมาเป็นเวลานาน ประกอบกับวัยที่ชราภาพมาก สิริอายุรวม 96 พรรษา 47 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เคารพนับถือเป็นยิ่งนัก คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์รวมไปถึงชาวบ้านได้นำร่างหลวงปู่บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งไว้ ณ ศาลาการเปรียญวัดอินทราสุการาม เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้รำลึกถึงคุณงามความดี สำหรับกำหนดการเบื้องต้น จะมีการบรรจุ..พหลวงปู่เจียมที่วัดอินทราสุการาม เป็นเวลา 15 วัน เพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้ร่วมบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกัน ... คัดลอกมาจาก :: 1. หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 1 คอลัมน์ มงคลข่าวสด วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5764 2. หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก คอลัมน์ พระเครื่อง คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2549

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •