หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 18

หัวข้อ: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

  1. #1
    d-friend
    Guest

    ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    อยากจะรวบรวมและเรียบเรียงบทความเชิงประวัติศาตร์ของถิ่นอีสานเรา ตอนแรกว่าจะโพสที่ห้อง บทความ แต่ รู้สึกว่าที่นั่นจะเน้นกวี เดี๋ยวจะเสียบรรยากาศไป เลยขอโพสที่ ห้องนี้แล้วกัน

    ไม่รู้คนอื่นจะรู้สึกยังไงเมื่อกล่าวถึง ประวัติศาสตร์ของถิ่นอีสานเรา หลายคนไม่ให้ความสนใจ หรือบางคนที่คิดว่าถิ่นอีสานแห้งแล้ง ไม่มีประวัติศาสตร์อันพิสดารแต่อย่างได เป็นเพียงกลุ่มคนชนบทธรรมดา

    ความจริงแล้วถ้าหากศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์แล้ว จะเห็นรู้ว่า ถิ่นอีสานเรานั้นมีอารยธรรมมาก่อนยุคประวัติศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากภาพวาดที่ ผาแต้ม จ.อุบลธารนี หรือบ้านเชียง ที่อุดรธานีเป็นต้น

    ผมจะขอรวบรวมประวัติศาสตร์หรืออาณาจักร ในถิ่นอีสานเป็นตอนๆ ไป ถ้าหากว่ามีอะไรผิดพลาดก็ขอชี้แนะด้วย

  2. #2
    d-friend
    Guest

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    ก่อนอื่นขอกล่าวถึง "สุวรรณภูมิ" ว่ากันว่า ดินแดนสุวรรณภูมินั้น เป็นดินแดนที่อยู่ตรงกลางระหว่างการไปมาค้าขายของ ชมพูทวีป กับ จีน เป็นเหตุให้สุวรรณภุมินั้นเจริญรุ่งเรื่อง และมีการกล่าวถึงอย่างมากในประวัติศาสตร์ โดยพื้นที่ของสุวรรณภูมินั้น กว้างใหญ่นัก ในปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า จุดศุนย์กลางของสุวรรณภมินั้นอยู่ที่ใด ไทยเองก็พยายามทำให้โลกรู้ว่า แผ่นดินไทยคือสุวรรณภูมิ ในขณะที่พม่าเอง ก็มีหลักฐานว่าดินแดนของพม่าคือจุดศูนย์กลาง สุวรรณภูมิ ความจริงแล้วสุวรรณภูมินั้น รวมตั้งแต่พม่าไปจนถึงเวียดนามโน้นหละ

  3. #3
    d-friend
    Guest

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    ตอนที่ : 1 อาณาจักรเจนละ

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ
    แผนที่ อาณาจักรเจนละ (Janla)
    บริเวณที่เป็นจังหวัดอุบลราชธานีนั้น นักโบราณคดี กล่าวว่า เป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่และสำคัญที่สุดในแถบภูมิภาคนี้ คือ
    1. เป็นแหล่งประกอบพิธีกรรม เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และเป็นศูนย์กลางการติดต่อกับบ้านเมืองภายนอก ดังจะเห็นได้จาก บริเวณภาพเขียนสีที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม
    2. เป็นแหล่งพัฒนาการทางสังคมที่นับถือศาสนาฮินดู-พุทธ ดังเห็นได้จากศิลาจารึก ทับหลัง เสมาหิน และโบราณวัตถุอื่นๆ
    3. เป็นแหล่งอารยธรรมอีสานปัจจุบัน ดังที่ปรากฎวัดวาอารามพุทธศิลป์ รวมถึงผ้าทอ และเครื่องทองเหลือง เป็นต้น



    เมื่อประมาณไม่เกิน 3,000 ปีมาแล้ว ดินแดนบริเวณที่เป็นจังหวัดอุบลราชธานี โดยเฉพาะฝั่งเหนือแม่น้ำมูล เริ่มมีชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติสาสตร์ตอนปลาย แต่จะเป็นพวกไหนยังไม่ทราบแน่นอน สมัยหลังๆ ต่อมา ก็มีผู้คนหลายพวกเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น มีทั้งพวก กวย หรือ กุ่ย (ต่อมาเรียกส่วย) พวกจาม (จากเวียดนาม) พวกขอม (จากเขมร) พวกลาวและพวกกัมพูชา
    เอกสารจีนโบราณ เรียกบ้านเมืองยุคแรกๆ ที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำมูล - ชี ว่า "เจนละ"
    กษัตริย์องค์สำคัญของอาณาจักรเจนละ คือ "จิตรเสน"
    กลุ่มนักวิชาการชาวฝรั่งเศสมีความเห็นว่า เรื่องของเจนละ เป็นต้นเค้าของประวัติสาสตร์อาณาจักรขอม กล่าวคือ เชื่อว่าอาณาจักรขอมสืบเนื่องมาจากเจนละ วิวัฒนาการทางประวัติสาสตร์ของเจนละอยู่ในลุ่มน้ำโขงเป็นสำคัญ
    จอร์จ เซเดนส์ กำหนดอาณาบริเวณเจนละอยู่ลุ่มน้ำโขงตอนกลางเขตจำปาศักดิ์ มี "เศรษฐปุระ" เป็นศูนย์กลาง ศาสนสถานหลักของชุมชนแห่งนี้คือวัดภู อันเป็นที่ประดิษฐาน "เทพเจ้าภัทเรศวร"
    "จิตรเสน" เมื่อเป็นกษัตริย์ทรงนาม "มเหนทรวรรมัน" ทรงขยายอำนาจข้ามภูเขาดงรัก เข้าสู่ลุ่มน้ำมูล ถึงสุรินทร์ ตลอดลุ่มน้ำป่าสัก
    โอรสของจิตรเสน คือ "อีสารวรรมัน" เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่อีกองค์หนึ่ง พระองค์ทรงตั้งอีสานปุระเป็นเมืองหลวง เชื่อว่าอยู่ที่สมโบร์ไพรกุก ทางเหนือของนครธม
    เจนละมีอายุอยู่ในช่วงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6-9 โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง ลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ในภาคอีสานของประเทศไทยปัจจุบัน ตลอดลงมาถึงลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
    เมื่อมองย้อนหลังไปสู่อดีตอันยาวไกลของอีสาน จะทำให้เราสามารถเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับเรื่องของเจนละ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรากฎว่า วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านเมืองในอีสานนั้น มีมาก่อนที่อื่นในบริเวณใกล้เคียง
    สืบเนื่องไปถึงชุมชนบ้านเมืองที่มีหลักฐานร่องรอยเรื่องของเจนละที่เก่าที่สุด พบแถบจังหวัดอุบลราชธานี - ยโสธร ปัจุจบัน
    สรุปได้ว่า ประวัติความเป็นมาของเจนละขึ้นอยู่กับการสั่งสมอำนาจของผู้นำท้องถิ่นในเขตลุ่มน้ำมูล-ชี ตอนล่าง เพราะมีจารึกกล่าวพาดพิงถึงกษัตริย์พื้นเมือง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-7 วึ่งตรงกับระยะเริ่มแรกของอาณาจักรเจนละ เจ้าพื้นเมืองตามที่กล่าวไว้ ในจารึกพบที่ดงเมืองเตย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร จึงน่าจะมีความเป็นมาเกี่ยวกับเจนละยุคเริ่มแรก
    กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เขตอุบลราชธานี - ยโสธร มีหลักฐานความเก่าแก่เกี่ยวกับเจนละ ตั้งแต่เรื่องราวของกษัตริย์สมัยเริ่มต้น ทับหลังแบบสมโบร์ และไพรกแมง ตลอดจนจารึกของพระเจ้าจิตรเสน ซึ่งพบหนาแน่นที่สุดในแถบนี้


  4. #4
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ บ่าวพล
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    1,807

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    น่านๆ ข่อยว่าแล้ว ยโสธรต้องมีของดี

  5. #5
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    ขออนุญาตย้ายมาใว้หม่อง ประเพณีอิสาน สะเนาะ..สิได้อยู่ในหมวดของเก่า / ประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษา ขอบคุณข้อมูลดีๆจากอ้ายเซียงข้องเด้อคะ..เอามาให้น้องนุ่ง/เอื้อย อ้าย อิสานบ้านเฮาได้อ่านนำ
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  6. #6
    bandit
    Guest

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ บ่าวพลฯ
    น่านๆ ข่อยว่าแล้ว ยโสธรต้องมีของดี
    สืบเนื่องไปถึงชุมชนบ้านเมืองที่มีหลักฐานร่องรอยเรื่องของเจนละที่เก่าที่สุด พบแถบจังหวัดอุบลราชธานี - ยโสธร ปัจุจบัน
    สรุปได้ว่า ประวัติความเป็นมาของเจนละขึ้นอยู่กับการสั่งสมอำนาจของผู้นำท้องถิ่นในเขตลุ่มน้ำมูล-ชี ตอนล่าง เพราะมีจารึกกล่าวพาดพิงถึงกษัตริย์พื้นเมือง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-7 วึ่งตรงกับระยะเริ่มแรกของอาณาจักรเจนละ เจ้าพื้นเมืองตามที่กล่าวไว้ ในจารึกพบที่ดงเมืองเตย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร จึงน่าจะมีความเป็นมาเกี่ยวกับเจนละยุคเริ่มแรก
    กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เขตอุบลราชธานี - ยโสธร มีหลักฐานความเก่าแก่เกี่ยวกับเจนละ ตั้งแต่เรื่องราวของกษัตริย์สมัยเริ่มต้น ทับหลังแบบสมโบร์ และไพรกแมง ตลอดจนจารึกของพระเจ้าจิตรเสน ซึ่งพบหนาแน่นที่สุดในแถบนี้



    ถึกๆๆๆๆๆๆๆๆต้องแล้วค๊าบบบบบบบบบบบบบบบ

  7. #7
    noyinsweden
    Guest

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    สิท่าเบิ่งเด้อ

    เดียวสิเอาของข่อยอ่าน มาเทียบกันเบิ่งเด้อ

  8. #8
    d-friend
    Guest

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    ตอนที่ 2 อาณาจักรศรีโคตรบูร

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ
    รูปภาพจาก thatphanom.com

    ตามประวัติน่าจะแบ่งเป็นสอง ยุค คือ ยุคแรก ถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดเพราะ มีประวัติเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 8 ซึ่งก็ยังไม่ถึง พุทธศตวรรษ ที่ 1 ด้วยซ้ำ ( 100 ปี = 1 ศตวรรษ)

    ในตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า"ในราว พ.ศ.๘ ศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว ครั้นต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจึงมีนามว่า" มรุกขนคร"มีกษัตริย์ครองเมือง ๕ องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระยานิรุฏฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า

    จากหลักฐานในส่วนนี้ ทำให้ผู้คนอีกส่วนหนึ่ง เชื่อว่า แท้ที่จริงแล้วศูนย์กลางสุวรรณภมิ น่าจะอยู่ที่นครพนม ไม่ใช่นครปฐม แต่หลักฐานนี้ โดนโต้แย้ง ว่า การที่อาณาจักรศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงในพ.ศ.๘ นั้นน่าจะผิดพลาดเนื่องจากเวลาห่างจากปีที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณฑูตออกไปประกาศพระศาสนาในปี พ.ศ.๒๓๖ ถึง ๒๒๘ ปี (หากเป็นพุทธศตวรรษที่ ๘ คือ พ.ศ.๘๐๐ ก็น่าจะพอเชื่อถือได้บ้าง)

    แต่มีข้อสนับสนุนตามตำนานว่า การสร้างพระธาตุพนมนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนาด้วยพระองค์เอง และในพ.ศ.๘ พระมหากัสสปะและท้าวพญาทั้งห้าพระองค์ได้สร้างพระธาตุโดยอัญเชิญพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์สูง ประมาณ ๘ เมตร สำหรับ ท้าวพญา ๕ พระองค์ที่ร่วมสร้างพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.๘นั้น คือ พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี พญาอินทปัตถ์ ครองอินทปัตนคร พญาคำแดง ครองเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหารหลวง ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณเมื่อครั้งที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ ฝั่งสุวรรณเขตประเทศลาว

    (โดยส่วนตัวเหตุผลนี้ก็อาจเป็นไปได้นะครับ)

    ยุคหลัง
    ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔–๑๕ ครั้งสมัยอาณาจักรทวารวดีมีอำนาจอยู่นั้น บริเวณสองฟากแม่น้ำโขงได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่าอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ หรือ โคตรปุระ แปลว่า เมืองตะวันออก โดยมีพระยาโคตรบอง เป็นผู้ครองนคร ดินแดนแห่งนี้มีเมืองสำคัญคือ เวียงจันท์ หรือเวียงจันทน์ หนองหานหลวง(สกลนคร) มรุกขนคร(นครพนม) เมืองจันทบุรี ศรีสัตนาคนหต ล้านช้างร่มขาว(หลวงพระบาง) เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง เป็นต้น

    พ.ศ.๑๘๙๖ สมัยอยุธยาตอนต้น พระเจ้าฟ้างุ้มทรงสถาปนานครเวียงจันท์ขึ้นเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรลาว

    พ.ศ. ๑๙๙๑ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา ภายหลังได้อภิเษกพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างและได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ร่วมกันสร้างพระเจดีย์ศรีสองรักษ์ เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งมิตรภาพ (ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย)

    อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นี้ได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมา และภายหลังได้เป็นอาณาจักรล้านช้าง(ปัจจุบันคือพระราชอาณาจักรลาว) ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นอาณาจักรลานช้างได้ตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้นอาณาจักรสยามต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสจึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสต่อมา

    โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นั้นคือ พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นปูชนีย์สถานพุทธศาสนาสำคัญ โดยสร้างทับบนปราสาทขอมสมัยโบราณ มีตำนานพระธาตุพนมว่า พระธาตุนี้ได้สร้างขึ้นในพ.ศ.๘ สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณฅโดยก่ออุโมงค์เป็นรูปเตามีประตูปิดเปิด๔ด้านสูง ๕เมตรสำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุโดยมีผ้ากัมพลห่อไว้ภายในอุโมงค์

    ต่อมาพ.ศ.๕๐๐ พระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์คือ พระสังขวิชาเถระ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ และพระจุลสุวรรณปราสาทเถระ พร้อมด้วยพระยาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุพนมสูงประมาณ ๒๔ เมตรและอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาประดิษฐานบนพานทองคำ อมรฤาษีและโยธิกฤาษีไปเอาอุโมงศิลาบนยอดเขาภูเพ็กมาตั้งไว้ชั้นบนของพระธาตุชั้นที่ ๒ซึ่งอยู่สูง ๑๔ เมตรแล้วพระสุมิตธรรมวงศาได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุฐาปนาไว้บนเจดีย์ศิลานั้น

    ต่อมาพระโพธิศาล ซึ่งครองเมืองหลวงพระบางเมื่อพ.ศ.๒๐๗๓-๒๑๐๓ นั้นได้ตำนานอุรังคธาตุ(ที่พระธาตุพนม)มาจากกัมพูชา จึงเกิดความศรัทธาและได้มาสร้างบริเวณภูกำพร้าขึ้นเป็นวัด อุทิศข้าทาสให้แก่พระธาตุ พระไชยเชษฐาธิราช โอรสของพระโพธิศาล ซึ่งสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.๒๑๕๗

    ต่อมาพ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๕ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์ได้นำช่างมาจากเวียงจันทน์มาทำการบูรณะพระธาตุพนมต่อเติมจนสูง ๔๗ เมตรโดยพ่อออกพระขนานโคตพร้อมด้วยบุตรภริยาได้"นำเอาอูบพระชินธาตุเจ้าที่จันทรปุระ(เวียงจันทน์)มาฐาปนาที่ธาตุปะนม"และบรรจุพระพุทธรุปเงิน-ทอง แก้วมรกต อัญมณีมีค่าไว้มากมาย และพ.ศ.๒๔๘๓-๘๔ กรมศิลปากรได้ทำบูรณะพระธาตุให้สูงขึ้นเป็น ๕๗ เมตร หลังจากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ

    ครั้นเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๐ น. เศษ องค์พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ยอดพระธาตุฟาดมาทางทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้บูรณะตามแบบเดิมเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๒๒

    ข้อมูลจาก thai-archaeology.info

    ยังหาแผนที่ไม่ได้ครับ จะพยายามหา

  9. #9
    darkpro
    Guest

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    เคยได้ยินเกี่ยวกับสุวรรณภูมิ แต่บ่อรู้ในบริเวณใด

  10. #10
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อยศรีธนญชัย
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    ที่อยู่
    Milan, ITALY
    กระทู้
    42

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    มาขอติดตามเด้อ ผมกะลูกในบ้านหว่านในส่วนคือกันครับ

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •