หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 2 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 12
กำลังแสดงผล 11 ถึง 18 จากทั้งหมด 18

หัวข้อ: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

  1. #11
    jomyut
    Guest

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    zผมน้องใหม่ฝากตัวแน่เด้อครับ

  2. #12

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    สุดยอดเลยครับ ให้ไป 1 แต้ม หามาให้อ่านอีกแนเด้อ
    เสียดายความดีที่มีให้
    เสียดายหัวใจและเวลา
    เสียดายที่ที่โดนหลอกตลอดมา
    เสียดายคุณค่าความจริงใจ

  3. #13
    phim678
    Guest

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    อยากได้หนังสือ พลังลาวชาวอิสานมาจากไหน

    แต่งโดยสุจิตต์ วงษ์เทศค่ะ

    คนมีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ พอจะทราบบ้างหรือปล่าวคะ ว่า หาซื้อได้ที่ไหน

    อยู่พิษณุโลกค่ะ หาซื้อจนทั่วแล้ว ไม่มี คือ อยากอ่านมากๆๆ เคยแอบดูของเพื่อน

    อยากมีไว้เป็นของตนเอง ใครทราบแหล่ง บอกด้วยค่ะ..จะไม่ลืมพะระคุณ

  4. #14

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    ขอคุณสำหรับเรื่องราวดีๆครับ
    ...เปรียบแม่เช่น โคมทองของชีวิต

    ช่วยชี้ทิศ ช่วยนำทาง ช่วยสร้างสรรค์

    ให้ความรัก ให้ความรู้ ชูชีวัน

    ลูกจึงมั่นกตัญญูบูชาคุณ..........เพื่อแม่ แพ้บ่ได้

  5. #15
    thekong
    Guest

    อีสานเหนือ

    ผมก็พอจะรู้จัก ศรีโคตรบูรณ์เหมือนกัน นครพนม นะเนี่ย

  6. #16
    DJYUI
    Guest

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    จารึกจิตรเสน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ชี มูล

    ขออนุญาติ เพื่มเติมนะค่ะ

    พระเจ้าจิตรเสน หลักจากขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงพระนามว่า พระเจ้ามเหนทรวรมัน เป็นกษัตริย์องค์สำคัญของเจนละ ที่เรืองอำนาจมากพระองค์หนึ่ง หลักฐานเกี่ยวกับอำนาจของพระองค์นั้น พบอยู่เป็นจำนวนมาก ในดินแดนภาคใต้ของประเทศลาว และบริเวณภาคเหนือ ชองประเทศกัมพูชาปัจจุบัน แต่ที่พบมากที่สุดนั้น น่าจะได้แก่ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
    ทุกครั้งที่พระเจ้าจิตรเสนได้รับชัยชนะ ก็จะสร้างศาสนานุสาวรีย์ พร้อมทั้งจารึก ประกาศพระราชประสงค์ที่สร้างรูปเคาพขึ้น เป็นการอุทิศถวายแด่พระศิวะเทพเจ้า โดยมีพระประสงค์ จะให้เป็นที่สักการะบูชาของปวงชน ณ อาณาบริเวณนั้นๆ อีกทั้งเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง และเป็นที่ระลึกแห่งชัยชนะของพระองค์ด้วย
    หลักฐานเก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ศิลาจารึกที่ระบุพระนามของพระเจ้าจิตรเสน หรือ พระเจ้ามเหนทรวรมัน ปัจจุบันนี้พบแล้ว จำนวน 10 หลัก มีทั้งจารีกอยู่บนแท่งหิน ที่ทำขื้นโดยเฉพาะ บนฐานประติมากรรม และบนผนังถ้ำ จารึกไว้ด้วยภาษาสันสกฤตเหมือนกันทุกหลัก ถึงแม้จะไม่ปรากฎศักราช แต่เมื่อศึกษาวิเคราะห์รูปอักษรในจารึกแล้ว ทราบว่าเป็นรูปอักษรปัลลวะ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 จารึกเหล่านี้ พบอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 หลัก ได้แก่ จารึกปากแม่น้ำมูล 1 และ 2 จารึกปากโดมน้อย จารึกวัดสุปัฏนาราม และ จารึกถ้ำภูหมาไน จารึกถ้ำเป็ดทอง 3 หลัก ที่อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนบน พบจารึกวัดศรีเมืองแอม ที่อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ในภาคตะวันออก พบจารึกช่องสระแจง ที่อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
    ข้อความในจารึกทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
    1. กล่าวถึง พระนามพระเจ้าจิตรเสน ไม่ได้กล่าวถึงพระนามพระเจ้ามเหนทรวรมัน ได้แก่ จารึกถ้ำเป็ดทอง แสดงว่ามีการจารึกในสมัยที่พระองค์ยังเป็นพระเจ้าจิตรเสน ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย ตามบรรพบุรุษ เมื่อทำสงครามชนะข้าศึกแล้วพระองค์ได้สร้างศิวลึงค์ ด้วยความภักดีตามคำสั่งของพระบิดาและพระมารดา
    2.กล่าวถึงพระประวัติพระเจ้ามเหนทรวรมัน และการสร้างศึวลึงค์ ไว้เป็นเครื่องหมายแห่งขัยชนะของพระองค์ ได้แก่จารึกปากแม่น้ำมูล 1 และ 2 จารึกวัดสุปัฎนาราม และ จารึกปากโดมน้อย
    3.กล่าวถึงพระประวัติ พระเจ้ามเหนทรวรมัน เหมือนกลุ่มที่ 2 แต่ตอนท้ายต่างกัน คือ ให้สร้างโคอุสภะ ไว้เป็นสวัสดิมงคลแก่ชัยชนะซองพระองค์ ได้แก่ จารึกถ้ำภูหมาไน และ จารึกวัดศรีเมืองแอม
    4.กล่าวถึงการสร้างบ่อน้ำไว้ให้แก่ประชาชน ในจารึกช่องสระแจง
    หลักฐานจากจารึกที่กล่าวมานี้ นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์รุ่นแรกสุดที่พบ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างชุมชนโบราณในแถบอีสาน กับอาณาจักรเจนละทั้งด้านการปกครอง และศาสนาระยะแรกเริ่ม โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย .....


    มีต่อ....









  7. #17
    DJYUI
    Guest

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ

    ต่อ....
    การพบจารึกของกษัตริย์องค์สำคัญ ของอาณาจักรเจนละ นามว่า "จิตเสน" จำนวน 5 หลัก ซึ่งจารึกหลักที่ 1-3 มีข้อความ รูปอักษร ภาษาตรงกัน พบที่ปากแม่น้ำมูล อำเภอโขงเจียม 2 หลักมีลักษณะเป็นใบเสมาหิน จารึกข้อความด้านเดียว จำนวน 6 บรรทัด ทั้ง 2 หลักมีข้อความที่ตรงกันตามที่ ได้ถอดความไว้ ดังนี้

    "พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ทรงพระนามว่า จิตรเสน ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าศรีวีรวรมัน
    เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าศรีลารวเคามะ (แปลตามศัพท์ที่อ่าน)
    แม้โดยศักดิ์จะเป็นอนุชา แต่ก็เป็นพระเชษฐาของพระเจ้าศรีภวรรมัน ผู้มีพระนามปรากฎในด้านคุณธรรมแต่พระเยาว์ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ได้รับพระนามอันเกิดจากการอภิเษกว่า
    พระเจ้าศรีมเหนทวรมัน (หลังจาก) ชนะประเทศ (กัมพู) นี้ทั้งหมดแล้ว ได้สร้างพระศิวลึงค์ อันเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ ไว้บนภูเขานี้"

    และบริเวณปากลำโดมน้อย อำเภอสิรินธร 1 หลัก และอีก 2 หลักพบที่ถ้ำภูหมาใน หรือถ้ำปราสาท อำเภอโขงเจียม ปัจจุบันได้เคลื่อนย้ายไปอยู่วัดสุปัฎนาราม 1หลัก ซึ่งข้อความส่วนหลักจะเหมือนกัน แต่ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างรูปโคอสุภพ เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ

    หลักฐานที่สำคัญภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรเจนละ อีกอย่างหนึ่งได้แก่ ทับหลังแบบถาลาบริวัติ อายุราวพุทธศตวรรษ ที่ 12 ปัจจุบันอยู่ที่วัดสุปัฎรารามทับหลัง และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมแบบไพรกแมง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 ที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร และโบราณสถานร้างวัดแก่งตอย บ้านโอด ตำบลท่าเมือง อ.ดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี


    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ จารึกถ้ำปราสาทหรือถ้ำหมาไน ตั้งอยู่บนหน้าผาชันของเทือกเขาหินทรายบนฝั่งขวาของแม่น้ำมูล ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ลักษณะเป็นเพิงผาธรรมชาติไม่ลึกมากนัก ได้พบว่าศิลาจารึกพระเจ้าจิตรเสน ข้อความคล้ายกับศิลาจารึกปากโดมน้อย เพียงแต่ข้อความในตอนท้ายให้สร้างรูปโคอุสภะอันเป็นเสมือนหนึ่งข้อความมีชัยชนะของพระองค์
    นอกจากศิลาจารึกพระเจ้าจิตรเสนแล้ว ยังพบฐานโยนี หน้าบันศิลาโบราณวัตถุที่พบ กำหนดอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13

    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ กลุ่มชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม จากโบราณสถานร้างวัดแก่งตอย บ้านโอด ตำบลท่าเมือง อำเภอดอนมดแดง เป็นเสากรอบประตูโสมสูตรรูปหัวมกร กำหนดอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13
    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ3. ศิลาจารึกปากโดมน้อย ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำมูลบริเวณที่ลำโดมน้อยไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำมูล ลักษณะโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าสู่แม่น้ำมูล มีบันไดลงสู่แม่น้ำ ใช้หินธรรมชาติก่อสร้าง
    บนโบราณสถานมีศิลาจารึกแท่งสี่เหลี่ยม ยอดคล้ายใบเสมา จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษ 12 เนื้อความกล่าวถึงเจ้าชายจิตรเสนหรือพระเจ้าศรีมเหนทรวรมันได้สร้างศิวะลึงค์อันเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะไว้บนภูเขา
    Re: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณทับหลัง ศิลาจารึกและชิ้นส่วนฐานประติมากรรม วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร นำมาจากแหล่งโบราณสถานโรงเรียนบ้านสะพือได้ อำเภอพิบูลมังสาหาร ทับหลังจัดอยู่ในแบบศิลปะเขมรแบบไพรกเมง ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13

    ที่มา:..
    -ไกด์อุบล.คอม
    -งานข้อมูลท้องถิ่น ม.อุบลฯ






  8. #18
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    22
    งั้นก็แสดงว่า

    อารยธรรมล้านช้าง มีก่อน สยาม ใช่ไหมครับ

หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 2 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 12

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •