c06: พี่น้องเอ้ย มาเด้อ เบิ่งภาษาเว้า ศรีสะเกษบ้านเฮา เว้าแบบนี้กันบ่น้อพี่ เอิ้กกกกก


ตำนานอักษรส่วย เยอ

กล่าวถึงเหตุผลว่าทำไมส่วย เยอ จึงไม่มีตัวอักษร เพราะมีตำนานว่า ชาวส่วย ชาวเยอ ชาวเขมรและชาวลาวคิดประดิษฐ์อักษรเพื่อใช้เขียนจารจารึก เมื่อคิดตัวอักษรเสร็จแล้ว ชาวขอมจารึกลงบนแผ่นหิน ชาวลาวจารึกลงบนใบลาน แต่ชาวส่วยกับชาวเยอ จารึกลงบนหนังวัวหนังควาย แล้วนำไปตากให้แห้งก่อนเก็บรักษา เผอิญมีสุนัขมาลากหนังสัตว ์ที่จารึกอักษรไว้ไปกินจนหมดไล่ตามไม่ทัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ถามเรื่องตัวอักษรส่วยและตัวอักษรเยอ ชาวส่วยและชาวเยอจะตอบว่า จอจาจิมหมายความว่า สุนัขกินไปหมดแล้ว

ภาษากวย/กูย จ.ศรีสะเกษ

นักภาษาศาสตร์จัดภาษาของชาวกูย อยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกับมอญ - เขมร สาขา Katuic ตะวันตก ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติก ชาวกูยแต่ละถิ่น จะมีการใช้สำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าใช้ระบบเสียงมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มภาษากูย (กุย- กูย) และกลุ่มภาษากวย (กูย- กวย) ส่วนกลุ่มภาษากูยกลุ่มเล็กๆ ที่พบ ได้แก่

1. กูยเยอ พูดกันในหมู่บ้าน 10 หมู่บ้านใน อ.เมืองศรีสะเกษ 5 หมู่บ้านใน อ.ไพรบึง และ 4 หมู่บ้านใน อ.ราษีไศล รวมทั้งสิ้นประมาณ 8,000 คน

2. กูยไม พูดใน 5 หมู่บ้านใน อ.ราษีไศล 9 หมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียงเขต อ.อุทุมพรพิสัย หมู่บ้านทั้งหมดนี้ชาวกูยจะอาศัยอยู่รวมกับชนกลุ่มลาว

3. กูยปรือใหญ่ พูดใน 5 หมู่บ้านของ ต.ปรือใหญ่ อ.ขุขันธ์

ภาษากูยปรือใหญ่ สันนิษฐานว่า อาจเป็นตัวแทนของกลุ่มกูยที่เพิ่งอพยพมาจากเขมร จากบริเวณมะลูไปร (มโนไพร,มะลูเปร) ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสตรึงเตรง ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองกำปงธม และเมืองกำปงสวาย ส่วนกลุ่มภาษากุย-กูย ถือว่าเป็นประชากรกลุ่มใหญ ่กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ในปัจจุบันชาวกูยส่วนใหญ่พูดได้ทั้งภาษากูยและภาษาไทยกลาง ในชุมชนกูยที่ไม่มีคนพูดภาษาไทยถิ่นอีสานอาศัยปะปน จะไม่มีการใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ภาษาลาว จ.ศรีสะเกษ


ภาษาลาวหรือภาษาอีสาน เป็นภาษาที่มีพื้นฐานหรือตัวอักษรแบบเดียวกัน แต่มีการพัฒนาแตกต่างกัน เนื่องจาการติดต่อพื้นที่ข้างเคียงคนละด้าน สำเนียงภาษาพูดภาษาท้องถิ่นก็แตกต่างกันตามพื้นเพเดิมที่อพยพมา เช่นชาวบ้านคูซอด บ้านโพนข่า บ้านพยุห์ ที่มาจากเวียงจันทร์ สำเนียงจะเนิบๆช้าๆ ส่วนที่อพยพมาจากลาวใต้จะมีสำเนียงที่เรียกว่าส่วย คือพูดภาษาลาวแต่อักษรกลางจะออกเสียงตรี เช่น กิ๊น ไป๊ ดี๊ ตี๊ ภาษาลาวสำเนียงลาวเวียงจันทน์ ที่บ้านพยุห์ บ้านหนองครก บ้านคูซอด บ้านโพนข่า บ้านยางกุด บ้านก้านเหลือง อ.เมืองศรีสะเกษ บางท้องที่ของอ.ขุนหาญ อ.กันทรลักษ์

ภาษาลาวสำเนียงลาวอุบล กระจัดกระจายอยู่เกือบทุกแห่งใน อ.กันทรารมย์ อ.กันทรลักษ์ อ.ราษีไศล อ.บึงบูรพ์ อ.โนนคูณ

ภาษาลาวสำเนียงลาวใต้ที่เน้นวรรณยุกต์ตรีในสำเนียงอักษรกลาง เช่น กิน เป็น กิ๊น ในเกือบทุกพื้นที่อำเภอเมือง อ.อุทุมพรพิสัย อ.ปรางค์กู่ อ.ขุขันธ์ อ.ห้วยทับทัน อ.เมืองจันทร์ อ.น้ำเกลี้ยง อ.ขุนหาญ ซึ่งมักจะถูกเรียกว่าส่วย ทั้งเป็นภาษาลาว ผู้พูดภาษาลาวทั้งจังหวัด ร้อยละ 65 ผู้ที่พูดภาษาอื่นมักใช้ภาษาลาวเป็นสื่อกลาง

:l-:l- เบิ่งเอาเด้อบาดนี้ ไผ๋อยู่ใกล้พื้นที่ที่ได้บอกไปบ่ค่ะ เว้าแนวนี้กันบ่น้อ เอิ้กกก :1-:1-

:l- ข้อมูลจากชมรมศิลปะวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นเคยค่ะ