กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: จังหวัดน่าน "ภูฏาน"(เมืองในฝัน)ของเมืองไทย

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ สาวเมืองกะสิน
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    584

    จังหวัดน่าน "ภูฏาน"(เมืองในฝัน)ของเมืองไทย

    จากภูฏานถึงน่าน


    หนึ่งในข้อมูลที่ จิรนันท์ พิตรปรีชา ส่งมาให้เป็นการบ้าน เมื่อรู้ว่าผมจะไปเมืองน่าน เป็นหนังสือเล่มบางๆ ชื่อ น่าน-นิรันดร์ 100 ภาพฝันบันทึกแผ่นดิน

    ธีรภาพ โลหิตกุล เพิ่งไปภูฏาน เขาตั้งใจเขียนเรื่องของประเทศภูฏาน เทียบเคียงเมืองน่าน เขาเริ่มต้นว่า ภูฏานเป็นประเทศเล็กมากๆ ขนาดประชากรน้อยกว่าเขตเดียวในกรุงเทพฯ


    ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีพื้นที่การเกษตรร้อยละ 8 ขนาบข้างด้วยมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีประชากรเกินพันล้าน คือจีนและอินเดีย

    ชาวภูฏานตั้งชุมชุนอยู่ตามหุบเขาแคบๆ แคบขนาด "ทิมพู" เมืองหลวง ไม่มีที่ราบพอสร้างสนามบิน ประชากรส่วนน้อยกลุ่มหนึ่ง ยังเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่กันดาร ขนาดสามวันเดินถึงดูเผินๆ ภูฏานเป็นประเทศที่ขาดทุน

    แต่มองลึกลงไป พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผืนป่าร้อยละ 72 ภูฏานจึงมีแม่น้ำลำธารมหาศาล ลำน้ำมีปลาชุกชุม แต่ไม่มีคนจับปลา คนภูฏานส่วนใหญ่กินมังสวิรัติ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
    ต้นกำเนิดแม่น้ำลำธาร ใช้พลังน้ำปั่นไฟฟ้าส่งไปขายประเทศเพื่อนบ้าน จนได้สมญา "แบตเตอรี่แห่งเอเชียใต้"


    คนภูฏานมีรายได้ต่อปีราว 800 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก แต่ไม่มีใครมีหนี้ทั้งนอกและในระบบ ภูฏานจึงเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่พลเมืองมีความสุขที่สุด

    นี่คือผลที่เกิดขึ้น ภายใต้พระราโชบายในล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์วังชุก ที่ทรงวางไว้อย่างมั่นคงมานาน...ความสุขมวลรวมของประชาชน สำคัญกว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือที่เรียกกันว่า แนวนโยบาย GNH. (Gross National Happiness) อันลือลั่น เพราะเป็นหลักคิดสวนทางนักเศรษฐศาสตร์ กระแสหลักอย่างรุนแรง


    GNH.ไม่ใช่สำบัดสำนวนหรูหรา ทว่าประกอบด้วยหลักใหญ่ 4 ประการ
    1. การมีเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง 2. การใส่ใจอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. การตระหนักถึงคุณค่าแห่งวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาติ และ 4. ผู้ปกครองต้องมีธรรมาภิบาล

    ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่มีไฟสัญญาณจราจร ประชากรสวมชุดประจำชาติเป็นชุดทำงาน ชุดนักเรียน ชุดนักศึกษา กระทั่งชุดชาวนา

    ป่าไม้ที่รักษาไว้ได้ร้อยละ 70 เจือจานออกซิเจนให้ชาวโลก จนได้รับการยกย่องว่า เป็น 1 ใน 10 ตำแหน่งบนผิวโลกที่อุดมด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

    ข้อมูลเรื่องภูฏาน ทำให้วันนี้ผมยังไปไม่ถึงเมืองน่าน แต่เชื่อว่าหลายสิ่งหลายประการในเมืองน่าน ใกล้เคียงกับภูฏาน บ้านเมืองที่กำลังเป็นกระแสที่ใครต่อใครก็อยากจะไปถึง


    หนึ่งในหัวข้อ ที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ท่านพูดไว้ในเวที ระดมความคิดปฏิรูปประเทศไทย คือ...ส่งเสริมการดำเนินการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เอาจีดีพีเป็นตัวตั้ง แต่ต้องใช้สัมมาชีพของคนในชุมชนเป็นตัวตั้ง

    หากอาจารย์หมอมีส่วนทำให้พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา เดินหน้าไปได้ ผลคือความสุขของคนไทย...คงออกมางอกงาม ตามแบบที่เราเห็นได้ไม่ไกลเกินไป...จากคนภูฏาน

    หลายถิ่นฐานในบ้านเมืองเรา ยังมีโครงเค้าแบบเดิมๆ ที่พอจะรักษาดัชนีความสุขให้ประชาชนไว้ได้ น่านเป็นเมืองหนึ่งในความหวังนั้น ถ้าคนน่านไม่ใจร้อนหลงวิ่งตามสิ่งที่เรียกว่าการพัฒนามากเกินไป.


    กิเลน ประลองเชิง นสพ.ไทยรัฐ 8/07/10

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ tonfang
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    83
    ผมคนเมืองน่าน แต่ดูๆก็น่านจะเป็นลองเยอะครับป่าไม้ยังถูกทำรายเยอะไม่เหมื่อนสมัยตอนผมเป็นเด็กตอนนั้นสู้ภูฏานได้สบาย 55+ ใครจะไปเที่ยวน่านดูข้อมูลได้จากตรงนี้ได้เลยหรือหาเพื่อนคนน่านได้ที่นี้ได้เช่นกัน http://www.nan2day.com/ (นันทบุรี หรือ น่าน ยินดีต้อนรับ)
    น่าน




    ภูฏาน
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย tonfang; 02-08-2010 at 21:19.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •