กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: "Gap Year"ค้นตัวเองบนโลกกว้าง ก่อนเริ่มเรียนรู้"1

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ สาวเมืองกะสิน
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    584

    "Gap Year"ค้นหาตัวเองบนโลกกว้าง ก่อนเริ่มเรียนรู้"1

    พอดีชอบอ่านคอลัมภ์ "ส่องโลก" ของนิติภูมิ นวรัตน์ จ้า เห็นบทความนี่น่าสนใจ อยากจะแลกเปลี่ยนจ้า กะเลยขออนุญาตนำเอาบางส่วนมาลงจ้า ลองอ่านเบิ่งน่ะจ้า เพื่อจะได้เกิดประโยชน์ ต่อลูกหลาน หรือระบบการศึกษาไทยบ้างน้อจ้า


    "กรกฎาคม ๒๕๕๓ บุตรสาวคนที่ ๓ ของนิติภูมิจบมัธยมปลายจากโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่ง ลูกสาวเล่าว่า เพื่อนร่วมชั้นของเธอเกือบทั้งหมดจะยังไม่เรียนต่อชั้นปริญญาตรี แต่ส่วนใหญ่จะออกไปดำเนิน gap year ตามประเทศต่างๆ

    gap year มีชื่อเรียกกันมากมายหลายอย่าง บางท่านเรียก year abroad, year out, year off, deferred year ฯลฯ นักเรียนที่เพิ่งสำเร็จชั้นมัธยมปลายเหล่านี้จะเดินทางไปท่องเที่ยว ไปหางานทำ ไปบวช ไปเป็นอาสาสมัครทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ฯลฯ เป็นเวลาอย่างน้อย ๑ ปี หรือมากกว่านั้น เพื่อรู้จักโลก รู้จักชีวิต เพื่อค้นคว้าหาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองให้พบ ก่อนที่จะกระโจนเข้ามาเรียนในระดับอุดมศึกษา เพื่อที่จะได้ทราบว่า ตัวเองนั้นสนใจอะไรกันแน่ ต้องการดำเนินชีวิตแบบใดอย่างไหนกันแน่ ประสงค์จะทำอาชีพอะไรต่อไปในอนาคต เพราะการตัดสินใจจะเรียนและทำงานอะไรนั้น สำคัญต่อการดำรงชีวิตของตนไปอีกอย่างน้อย ๔๐-๕๐ ปี

    หลังจากอุบัติสงครามโลกมา ๒ ครั้ง ผู้คนเริ่มสนใจวิธี ที่จะทำให้มนุษย์มากมายหลากหลายสายพันธุ์มีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ผู้คนเริ่มมีความเชื่อว่า อ้า ความเข้าใจอันนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงสงครามโลกครั้งที่ ๓ ได้ในอนาคต
    พ.ศ. ๒๕๐๓ ศัพท์ gap year จึงเริ่มใช้กันเป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เริ่มต้นด้วยการส่งเยาวชนให้ท่องเที่ยวเทียวไปในอินเดีย ให้ไปตระเวนตามเส้นทางของพวกฮิปปี้ หลังจากนั้นก็เริ่มมีโครงการพวก Project Trust ส่งนักเรียนไปเป็นอาสาสมัครในกรุงแอดดิสอาบาบา สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย แต่เพราะการเดินทางออกไปทำ gap year มักเกิดขึ้นได้เฉพาะลูกเศรษฐีคนมีฐานะ ระยะต่อมาจึงเกิดโครงการอื่นอีกมากมาย ที่ช่วยอำนวยให้เยาวชนที่ไม่มีเงิน สามารถเดินทางไปทำ gap year ได้ ภายหลังเริ่มมีโครงการที่ช่วยให้เยาวชนไป gap year สามารถเก็บสตางค์เพื่อเอาไว้ใช้เรียนระดับปริญญาตรีได้ด้วย ประเทศต่างๆ เห็นประโยชน์ของการที่เยาวชนมี gap year จึงคิดประดิษฐ์วีซ่าเดินทางให้ในกรณีพิเศษ ผู้อ่านท่านจึงอาจจะเคยได้ยินวีซ่าประเภท student work visas ‘วีซ่านักเรียนทำงาน’ หรือ working holiday visas ‘วีซ่านักเรียนออกไปทำงานในห้วงช่วงปิดเทอม’ ฯลฯ

    ปัจจุบันทุกวันนี้ มีหลายประเทศไม่แนะนำให้นักเรียนที่จบชั้นมัธยมปลาย เข้าเรียนปริญญาตรีทันที บางประเทศกำหนดว่าเมื่อจบชั้นมัธยมปลายแล้ว นักเรียนชายต้องไปเป็นทหารเกณฑ์ ๓ ปี นักเรียนหญิงต้องไปเป็นทหารเกณฑ์ ๒ ปี หลังจากนั้นต้องออกไปใช้ชีวิตนอกประเทศ ๑ ปี มหาวิทยาลัยชั้นนำสำคัญของรัฐจึงจะอนุมัติให้เข้าเรียนต่อ ในระดับอุดมศึกษา

    การให้เยาวชนมีประสบการณ์ชีวิตก่อนเข้าเรียนชั้นมหาวิทยาลัยนี่ รัฐบาลของหลายประเทศถือเป็นประเด็นที่จริงจังมาก มีหน่วยงานสำคัญของรัฐรับผิดชอบ และออกไปทำสัญญากับประเทศต่างๆ อย่างออสเตรเลียนะครับ ตอนนี้มีโครงการ ‘working holiday programs’ กับ ๑๙ ประเทศ เบลเยียม แคนาดา จีนกับฮ่องกง ไซปรัส เดนมาร์ก เอสโตเทีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ มอลตา เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน ไต้หวัน และสหราชอาณาจักร

    เยาวชนของประเทศพวกนี้ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘-๓๐ ปี อยากไปท่องเที่ยว หรือทำงานหาประสบการณ์ในประเทศในกลุ่ม ก็สามารถเดินทางได้ด้วย ‘working holiday visas’ แต่ต้องไม่ใช่เป็นการทำงานที่จะยึดเป็นอาชีพหลักประจำ เป็นเพียงการทำงานเพื่อสร้างประสบการณ์และรายได้ในระดับเล็กน้อยเท่านั้น แม้แต่สถาบันของกองทัพก็อนุญาตให้นักเรียนทหารในสังกัดหยุดเรียนเพื่อออกไปหาประสบการณ์เป็น gapers หรือไปเป็น gap year students ในต่างประเทศได้

    ‘นักการศึกษา’ ในหลายประเทศพยายามยืดเวลาให้ผู้ที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเพื่อให้มีวุฒิภาวะที่พร้อม นักการศึกษาของแท้เหล่านี้ไม่อยากจะรับนักเรียนอายุ ๑๖-๑๙ ปีให้เข้าไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เพราะรู้ว่า คนพวกนี้จบไปก็เป็นได้เพียงมะม่วงบ่มแก๊ส สุกไวไป ชีวิตไม่อร่อย ไม่มีรสชาติ ไม่หอมหวาน ฯลฯ

    ในขณะที่ ‘นักหาสตางค์จากการศึกษา’ ในประเทศไทยของเรากลับพยายามสอดส่ายสายตาหาคนเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยของตัวเองให้มากๆ เปิดศึกแย่งชิงผู้เรียนกันอย่างไร้สติ ผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการของไทยก็บ้าอนุญาตให้หลายมหาวิทยาลัยรับเด็กที่จบ ม.๓ เข้าเรียนหลักสูตรของชั้นปริญญาตรี เยาวชนไทยจำนวนไม่น้อยที่ จบ ม.๖ พร้อมกับเก็บหน่วยกิตสะสมระดับมหาวิทยาลัยได้เกินร้อย

    จบ ม.๖ มาแล้ว ไปเรียนอีกเพียง ๑ เทอมก็จบปริญญาตรี เป็นบัณฑิตเมื่ออายุเพียง ๑๘ ปี ๑๙ ปี ขอโทษ ท่านบัณฑิตไม่มีทั้งประสบการณ์ และวิชาการ

    บ้านเมืองมีโอกาสล่มจม เพราะบัณฑิตบ่มแก๊สพวกนี้ครับ "


    Bump: ต่อภาค 2 จ้า

    หลายท่านในประเทศไทยอาจปรารถนาให้ลูกหลานของท่านสำเร็จการศึกษา มาเป็นบัณฑิตไวๆ เพื่อจะได้ช่วยเหลือตัวเองได้ มีการมีงานทำ ทว่าในบางทฤษฎี ในบางความเชื่อ เห็นว่า ถ้าผู้เรียนมีประสบการณ์ด้านอื่นในระดับหนึ่งก่อนที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ก็จะช่วยในเรื่องทัศนคติของการประกอบวิชาชีพได้
    ยกตัวอย่างนิติภูมิก็ได้ครับ ผมมี gap year โดยบังเอิญถึง ๒ ปี คือหลังจากจบมัธยมปลายแล้ว ผมได้ทุนสโมสรโรตารีจันทบุรีไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ออสเตรเลีย ๑ ปี ตามด้วยการได้ทุนของกองทัพบกออสเตรเลียเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกพอร์ตซีอีก ๑ ปี (ในยุคของ พันเอก เกรียงเดช พลางกูร เป็นทูตทหารประจำกรุงแคนเบอร์ร่า) แต่ยังไม่ทันได้เข้าเรียนหลักสูตรหลัก ก็ต้องถูกส่งกลับมาเร่ร่อนปากกัดตีนถีบทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเอง เพื่อนที่จบมัธยมปลายมาพร้อมกันกับผมเรียนปริญญาตรีกันใกล้จะจบแล้ว ผมจึงถึงได้มาเข้าเรียนในชั้นปีที่ ๑

    เพราะประสบการณ์ที่มีมากกว่านักศึกษาคนอื่น ทำให้การเรียนสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ของผมราบรื่น และสำเร็จการศึกษาภายในเวลา ๓ ปี รู้สึกได้เลยครับว่า ความรู้ที่ได้รับจาก ม.รามคำแหงนั้นมากมายมหาศาลจริงๆ นำไปใช้ประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงจนกระทั่งปัจจุบันทุกวันนี้ ไม่ว่าจะนำมาเขียนหนังสือ ทำรายการโทรทัศน์ ปาฐกถา บรรยายปราศรัยตามที่ต่างๆ เป็นที่ปรึกษามากมายหลายสถาบัน หลายบริษัท ฯลฯ ทั้งหมดทั้งปวงนี่ ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณห้วงเวลา ๒ ปีที่ผมเสียไปในตอนนั้น หากผมไม่ได้ทำ gap year โดยบังเอิญ ป่านนี้ก็อาจจะไม่มีคนเขียนหนังสือด้านต่างประเทศที่ชื่อนิติภูมิก็ได้

    เจ้าชายเฮนรีแห่งเวลส์ หรือเจ้าชายเฮนรี ชาร์ลส์ อัลเบิร์ต เดวิด พระโอรสองค์เล็กของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ และเจ้าหญิงไดอานา ซึ่งทรงอยู่ในลำดับที่ ๓ ของการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ ที่พวกเรารู้จักกันดีในนามของเจ้าชายแฮรี พระองค์ก็เสด็จไปทำ gap year โดยเป็นอาสาสมัครในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
    ผู้อ่านท่านยังจำนายแอนโทนี ชาร์ลส์ ลินตัน แบลร์ หรือที่ท่านทั้งหลายรู้จักกันในนามของโทนี แบลร์ ได้นะครับ ท่านผู้นี้เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษเมื่ออายุเพียง ๔๓ ปี ตอนเป็นนักเรียนประจำที่เฟตส์คอลเลจ นครเอดินบะระ แบลร์เอาทั้งเรียนหนังสือ เล่นละครเวที เล่นบาสเกตบอลและรักบี้ แถมยังเป็นหัวหน้าทีมคริกเก็ต
    แบลร์อยากเป็นนักกฎหมายผู้จบจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แต่แบลร์ไม่เข้าเรียนนิติศาสตร์ทันทีที่จบชั้นมัธยมปลาย แบลร์กลับไปทำ gap year ในกรุงลอนดอน และเดินทางไปกรุงปารีส ไปเป็นบ๋อยในบาร์ และทำงานกับบริษัทประกันเป็นเวลา ๑ ปี ก่อนกลับมาเข้าเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
    หลังจากจบชั้นมัธยมปลาย คนอเมริกันจะไม่เรียนวิชากฏหมายทันที แต่จะเร่ร่อนไปแสวงหาประสบการณ์ และเรียนปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นก่อน ผมยกตัวอย่างอีกซักท่านหนึ่งก็ได้ นายวิลเลียม เจฟเฟอร์สัน ไบลท์ที่ ๔ ซึ่งผู้อ่านท่านที่เคารพรู้จักในนามของนายบิลล์ คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ ๔๒ เมื่ออายุเพียง ๔๗ ปี ท่านผู้นี้จบชั้นมัธยมปลายที่เมืองฮอตสปริง รัฐอาร์คันซอ ตอนเรียนก็ทำกิจกรรมมาก เล่นแซกโซโฟนเก่งขนาดได้เข้าร่วมทีมในงานมหกรรมเพลงแจ๊สหลายครั้ง

    ความมุ่งมั่นของคลินตันก็คือ เรียนปริญญาตรีทางกฎหมายที่มหาวิทยาลัยเยล แต่ก่อนที่จะเรียนกฎหมาย คลินตันไปเข้าเรียนปริญญาตรีทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กรุงวอชิงตัน ดี ซี ระหว่างเรียนก็หาประสบการณ์ทำงานการเมืองและการประท้วงเรียกร้องสิทธิให้กับคนผิวดำ

    คลินตันหยุดการเรียนที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์เอาไว้ ๒ ปี เพื่อไปใช้ชีวิตในอังกฤษ ด้วยการเรียนด้านการปกครองที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แล้วจึงกลับมาต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อจบปริญญาตรีใบแรกแล้ว ก็จึงถึงไปเริ่มเรียนปริญญาตรีทางกฎหมายที่มหาวิทยาลัยเยล และจบเป็นบัณฑิตเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖
    หลังจากจบชั้นมัธยมปลายแล้ว คลินตันต้องใช้เวลานานถึง ๙ ปีกว่าจะจบปริญญาตรีกฎหมายอย่างที่มุ่งหวังตั้งใจไว้แต่แรก คลินตันจึงไม่ไช่บัณฑิตบ่มแก๊ส แต่เป็นบัณฑิตกฏหมายผู้มีประสบการณ์ผ่านร้อน ผ่านหนาว มามากพอสมควร
    ส่วนหลักสูตรใหม่บางประเภทของประเทศไทย ทำให้เดี๋ยวนี้ เรามีบัณฑิตกฎหมาย (และทางด้านอื่น) อายุ ๑๘-๒๐ ปี กันเต็มบ้านเต็มเมือง ซึ่งกรณีนี้ อาจจะมีส่วนทำให้ไทยกลายเป็นราชอาณาจักรน่ากลัวทางด้านกระบวนการยุติธรรมได้

    นิติภูมิเอาเรื่อง gap year มาเขียน ก็ด้วยปรารถนาว่า....

    สังคมไทยจะต้องไม่เร่งเยาวชนคนของเราให้รีบเรียนจบไวๆ โดยไม่ได้มีความรู้และประสบการณ์ผ่านมาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์.



    ตอนที่เรียนอยู่มหาลัย กะชอบท่องเที่ยวคือกัน (ส่วนมากเงินไปเที่ยว จะเก็บเอง หรือรับทำงานเป็นจ๊อบเล็กๆ เพื่อเก็บเงินไปเที่ยวช่วงปิดเทอม) ชอบทำกิจกรรม ชอบงานออกค่ายอาสาฯ
    กะได้ประสบการณ์ชีวิตไปอีกแบบ ได้เอาใช้ในชีวิตการทำงานได้ดีทีเดียวจ้า
    ชีวิตช่วงเรียนหนังสือ มีความสุขที่สุดเลยจ้าในการใช้ชีวิตอิสระ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวเมืองกะสิน; 29-07-2010 at 15:21.

  2. #2
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ ลุนนี ศรีเกษ
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    ศรีสะเกษ กรุงเทพ จอมเทียนชลบุรี
    กระทู้
    789
    บล็อก
    1

    Gap Year

    ป้าหาก่ออ่านจบ กะมาเปิดเวปพ้อกระทู้นี้พอดีเลย ป้าว่าพ่อแม่ไทยบ่อได้เลี้ยงลูกให้กล้าออกไปปานนั้นดอกจ้า คันมีได้อีหลีกะน่าสิเป็นแบบไทยๆ เคยได้ยินบ่อจ้าลูกสาวหล้าอดีตนายกฯเพิ่นกะเคยไปขายแม็คยุตอนปิดเทอม ประมาณว่าทำงานนิดหน่อยช่วงฤดูร้อน แต่สิเอาแบบออกไปในโลกกว้างหนึ่งปี โอยคุณปู่ย่าตายายหัวใจวายก่อนหลานแบกกระเป๋ากลับบ้าน หลักสูตรการเรียนการสอนมันต้องเตรียมคนมาก่อนแล้วอย่างน้อยสามปีสุดท้ายก่อนเข้ามหา'ลัย ความเชื่อมั่นในตนเองบวกกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินต้องมีหลายกว่านี้ละจ้า สาวอายุ17สองคนโบกรถบรรทุกจากสวีเดนไปสเปนใช้ชีวิตอยู่สองเดือน กลับมาบ้านแบบชิ้นเดียวบ่อป่วยบ่อไข้ ยุโรปเป็นเรื่องธรรมดาเป็นไปได้ เด็กไทยอายุท่อกันไปต่างจังหวัดพ่อยังไปฮับไปส่งยุเลย

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ สาวเมืองกะสิน
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    584
    กะเห็นด้วยกับป้าเด้อจ้า เรื่องการเลี้ยงดูลูกๆของคนไทยก็ดีและอบอุ่น ผูกพัน ไปอีกแบบจ้า ตั้งแต่เรียนอยู่พ่อกะไปฮับไปส่งบ่อยๆอยู่คือกันจ้า ย้อนว่าเป็นห่วง ทุกมื่อนี่เฒ่าแล้ว ลังเที่อ ถ้าเมื่อบ้าน บ่ได้เอารถเมื่อ พ่อเลากะยังมาฮับอยู่ บอขอสอ คือเก่าอยู่จ้า ถ่าเพิ่นบ่ได้มาฮับเพิ่นกะสิงอนแหล่ะ นี่หล่ะน้อเพิ่นว่าความฮักของพ่อแม่ จังได๋ๆๆลูกใหญ่แล้วเพิ่นกะยังเห็นว่าเฮาเป็นเด็กน้อยอยู่น้อจ้า

    แต่ประเด็นเรื่องการเร่งรัดการศึกษา ให้คนเรียนจบเร็วๆทั้งที่วุฒิภาวะด้านความพร้อมยังบ่พร้อม นี่กะน่าคิดคือกันน้อจ้า อย่างเช่น คนเรียนหมอ จบมา แต่ว่าประสบการณ์ด้านสังคม ชุมชน ที่เกี่ยวกับคนยังบ่มีหรือมีแต่ว่ายังบ่ได้เข้มข้นปานได๋ กะน่าคิดน้อจ้าว่า เพิ่นจะรักษาคนไข้เป็นจังได๋แน นี่กะยกตัวอย่างซื่อๆเด้อจ้า บ่ได้มีเจตนาพาดพิงถึงคุณหมอ หรือว่าสายอาชีพได๋จ้า

    แบบนี้ถึงบ่แปลกใจเลยว่า ทำไมคนที่เรียนบ่เก่งๆหลายๆคน แต่กลับประสบความสำเร็จในชีวิต ชีวิตดูแฮปปี้มีความสุข มีเพื่อน มีสังคมมากมาย แต่กับคนบางคนที่เรียนดี เรียนเก่ง แต่ดูเหมือนจะมีโลกส่วนตัวสูง เคร่งขรึม บ่ค่อยสังสรรค์ นั่นก็คงเพราะ ในชีวิตช่วงการเรียนรู้ อาจจะขาดช่วงที่เป็น gap yearไปก็เป็นไปได้น้อจ้า

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •