อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)





อาณาจักรเจนละ

ประวัติศาสตร์ขอมนั้นเก่าแก่ค้นได้จากศิลาจารึกและจดหมายเหตุว่าขอมเป็นชื่อชนชาติที่เก่าแก่ต่อมาเรียกกันว่าเขมร และกลายเป็นกัมพูชาในปัจจุบัน
ขอมเริ่มมาจากอาณาจักรฟูนัน ที่แปลว่าภูเขา นครแห่งนี้ปกครองโดยผู้หญิง คือพระนางหลิวเหย่ ในพุทธศตวรรษที่ 6 กองทัพอินเดียเคยยกทัพมาตี





อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



ในระหว่าง พ.ศ.๑๑๗๐-๑๒๕๐ นั้นอาณาจักรขอมมีกษัตริย์ครองราชย์คือ


พระเจ้าภววรมันที่ ๒ พระโอรสของพระเจ้าอีศานวรมันที่ ๒
และพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ โอรสของพระเจ้าภววรมันที่ ๒


ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบไพรกเมง ขึ้นระหว่างพ.ศ.๑๑๘๐-๑๒๕๐




อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)


(ศิลปะแบบไพรกเมง (พ.ศ.1180-1250) ทับหลัง มีลักษณะต่อเนื่องจากแบบโบว์ไพรกุก แต่ไม่มีตัวมกร บริเวณภายในที่เป็นรูปใบไม้ม้วน และเน้นลวดลายใบไม้และดอกไม้แทน มีปราสาทที่มีความสำคัญ ได้แก่ ปราสาทไพรกเมง ในประเทศไทยพบเห็นได้ที่วิหารอิฐ ปราสาทภูมิโพน จังหวัดสุรินทร์ และทับหลังที่ปราสาทเขาน้อยสีชมพู อยู่ที่จังหวัดสระแก้ว)



สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ นั้นอาณาจักรเจนละนั้นได้แตกแยกเป็นพวกเจนละบกคืออยู่ลุ่มน้ำโขงตอนใต้


และพวกเจนละน้ำ อยู่ในดินแดนลาวตอนกลาง พ.ศ.๑๒๕๐-๑๓๕๐ ยุคนี้ได้มีการสร้างศิลปขอมแบบกำพงพระขึ้น


อาณาจักรขอมนั้นล่มสลายมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ หรือพระเจ้าปรเมศวรพ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๙๓


พระองค์ได้รวบรวมพวกเจนละบกและพวกเจนละน้ำเป็นอาณาจักรใหม่โดยรับเอาลัทธไศเลนทร์หรือ เทวราชาเข้ามาทำการสถานปนาอาณาจักรใหม่ขึ้น


โดยทำการสร้างราชธานีขึ้นใหม่หลายแห่งและสร้างปราสาทหินหรือเทวาลัย เป็นการใหญ่ ซึ่งมีเหตุการณ์ย้ายราชธานีขึ้นหลายครั้ง
จนกว่าจะลงตัวเป็นนครวัตนครธมในที่สุด



ด้วยเหตุนี้อาณาจักรขอมสมัยนี้จึงรุ่งเรืองด้วยการสร้างราชธานีขึ้นหลายแห่งและมีปราสาทหินที่เป็นศิลปขอมเกิดขึ้นหลายแบบ กล่าวคือ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ นั้นพระองค์ได้ทำการสร้างเมืองอินทรปุระเป็นราชธานี ขึ้นที่บริเวณใกล้เมืองกำแพงจาม สร้างเมืองหริหราลัยหรือร่อลวย เป็นราชธานี สร้างเมืองอมเรนทรปุระ เป็นราชธานี และสร้างเมืองมเหนทรบรรพต หรือพนมกุเลน เป็นราชธานี ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบกุเลนขึ้นระหว่างพ.ศ.๑๓๗๐-๑๔๒๐



เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ พระโอรสได้ครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๓ หรือ พระเจ้าวิษณุโลก ครองราชย์ พ.ศ.๑๓๙๓-๑๔๒๐ พระองค์ได้กลับมาใช้เมืองหริหราลัยหรือร่อลอย เป็นราชธานี


ต่อมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ หรือ พระเจ้าอิศวรโลก ครองราชย์พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๓๒ ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบพระโคขึ้นในพ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๔๐




อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



(ศิลปะแบบพระโค (พ.ศ.1420-1440) ทับหลัง มีการแกะลายค่อนข้างลึก ลวยลายพวงมาลัยที่ม้วนออก ส่วนตอนปลายก็จะเป็นมกร นาค หรือลวดลายของใบไม้ ส่วนตรงกลางท่อนพวงมาลัยจะเป็นรูปสัตว์และเทวดา ได้แก่ ครุฑ หน้ากาล พระอินทร์ ศิลปะทับหลังยุคนี้ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะของชวาเข้ามาผสมด้วย ได้แก่ ลายหน้ากาล หรือเกียรติมุข ส่วนปลายท่อนของพวงมาลัยก็จะเป็นการสลักรูปของนาคหันหน้าออกจากกัน ได้แก่ ปราสาทพระโค ปราสาทโลเลย และยังได้มีการเริ่มนำหินทรายเข้ามาใช้ในการก่อสร้างปราสาท ได้แก่ ปราสาทบากองในประเทศไทยมีปราสาท ได้แก่ ปราสาทหินโนนกู่ ทับหลังของปราสาทพนมวัน อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา)




ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ หรือ พระเจ้าบรมศิวโลก พระโอรสของพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ ซึ่งครองราชย์เป็นกษัตริย์ขอมโบราณในพ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๔๓ นั้น พระองค์ได้สร้างเมืองยโศธรปุระหรือเมืองพระนครแห่งแรกขึ้นที่เขาพนมบาเค็ง เมื่อพ.ศ.๑๔๓๖ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือทะเลสาบเมืองเสียมเรียบ เมืองนี้คนไทยเรียก เสียมราฐ




อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



( ศิลปะแบบบาแค็ง (พ.ศ.1436-1468) ในยุคนี้เริ่มมีการแกะสลักหินกันมากขึ้น เพื่อแสดงถึงการมีอำนาจ มีการใช้หินในการก่อสร้างปราสาท ตัวปราสาท มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น และมักจะก่อสร้างอยู่บนยอดเขา ลักษณะของทับหลังจะเป็นท่อนพวงมาลัย ส่วนปลายจะม้วนออกให้เป็นลายใบไม้ บริเวณกลางท่อนพวงมาลัยจะมีการสลักเป็นรูปเทวดาในท่านั่งอยู่เหนือหน้ากาล หรือพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หรือพระวิษณุทรงครุฑ ได้แก่ ปราสาทพนมกรอม ปราสาทบาแค็ง ปราสาทพนมบก ประเทศไทย พบเห็นได้ที่ ปราสาทหินเมืองแขก และทับหลังของปราสาทพนมวัน นครราชสีมา)



การสร้างปราสาทหินขึ้นบนเขาพนมบาเค็งนั้น เป็นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่แผ่อิทธิพลเข้ามายังดินแดนแถบนี้ ซึ่งถูกสมมติขึ้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อนั้น นับเป็นศิลปขอมแบบบาเค็ง




เมืองยโศธรปุระ ราชธานีแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาคือ พระเจ้าหรรษวรมันที่ ๑ หรือ พระเจ้ารุทรโลก พระโอรสของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ครองราชย์ พ.ศ.๑๔๔๓-๑๔๕๖ และพระเจ้าอีศานวรมันที่ ๒ หรือพระเจ้าบรมรุทรโลก พระอนุชาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๑ ครองราชย์ พ.ศ.๑ ๔๕๖-๑๔๖๘ จึงเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแผ่นดิน


ในที่สุดพระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ หรือพระเจ้าบรมศิวบท ซึ่งเป็นน้องเขยของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรขอมในพ.ศ.๑๔๗๑-๑๔๘๕ พระองค์ได้สร้างราชธานีขึ้นที่เมืองโฉกการยกยาร์หรือเกาะแกร์ และพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๒หรือพระเจ้าพรหมโลก พระโอรสขององค์ได้ครองราชย์ต่อมาระหว่างพ.ศ.๑๔๘๕-๑๔๘๗ ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบเกาะแกร์ พ.ศ.๑๔๖๕-๑๔๙๐




อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



(ศิลปะแบบเกาะแกร์ (พ.ศ.1465-1490) สถาปัตยกรรมแบบเกาะแกร์ ส่วนมากจะมีขนาดรูปทรงที่ใหญ่โต ส่วนทับหลังจะมีภาพในแบบของบาแค็ง บริเวณตรงกลางจะสลักให้เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา อาทิ รูปพระกฤษณะฆ่าพระยากงส์ และรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พบได้ที่ กลุ่มปราสาทเกาะแกร์ ปราสาทกระวัน ในประเทศไทยพบได้ที่ ปราสาทสังข์ศิลปชัย จังหวัดสุรินทร์)



ต่อมาพระเจ้าราเชนทรวรมัน หรือพระเจ้าศิวโลก พระนัดดาของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ได้ครองราชย์ในพ.ศ.๑๔๘๗-๑๕๑๑ ได้ย้ายราชธานีมาที่เมืองยโศธรปุระ หรือเมืองพระนครแห่งแรก ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบแปรรูป พ.ศ.๑๔๙๐-๑๕๑๐


เมืองยโศธรปุระ ราชธานีเก่าแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาหลายพระองค์ ได้แก่




อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



(ศิลปะแบบแปรรูป (พ.ศ.1487-1510) ส่วนใหญ่เป็นการเลียนแบบศิลปะแบบพระโคและบาแค็ง แต่จะไม่ค่อยมีความละเอียด อ่อนช้อย ได้แก่ ปราสาทบ๊าตจุม ปราสาทแปรรูป ปราสาทแม่บุญตะวันออก ในประเทศไทยพบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ ปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินบ้านเมืองเก่า จังหวัดชัยภูมิ)




พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ หรือพระบรมวีรโลก ซึ่งเป็นพระนัดดาของพระเจ้าราเชนทรวรมัน ครองราชย์พ.ศ.๑๕๑๑-๑๕๔๔ สมัยนี้สร้างศิลปขอมแบบบันทายศรี พ.ศ.๑๕๑๐-๑๕๕๐ ขึ้น



อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



(ศิลปะแบบบันทายสรี (พ.ศ.1510-1543) ทับหลังมีลวดลายละเอียด อ่อนช้อย และสลักรูปดอกไม้เลื้อยออกจากก้าน ตรงท่อนพวงมาลัย จะมีรูปสัตว์ ได้แก่ ครุฑ หน้ากาล หรือช้าง ออกมาคั่น)




พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ ๑ พระนัดดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ ครองราชย์พ.ศ.๑๕๔๔ สร้างศิลปขอมแบบคลังขึ้นพ.ศ.๑๕๑๐-๑๕๖๐




อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)


อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



(ศิลปะแบบคลัง (พ.ศ.1508-1553) ทับหลัง มีลวดลายคล้ายศิลปะแบบบันทายสรี สลักรูปหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยที่ออกมาจากปาก แล้วใช้มือมายึดที่พวงมาลัยเอาไว้ ได้แก่ ปราสาทตาแก้ว ประเทศไทย พบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ วัดโพธิ์น้อย และปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์)




พระเจ้าชัยวีรวรมัน ครองราชย์พ.ศ.๑๕๔๕(สวรรคตพ.ศ.๑๕๕๓)


พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ครองราชย์ พ.ศ.๑๕๔๕-๑๕๙๓ สมัยนี้พระองค์ได้ทำการสถาปนาราชวงศ์ขึ้นใหม่ และน่าจะมีการสร้างเมืองพระนครขึ้นใหม่เป็นแห่งที่สอง เป็นยุคที่สร้างศิลปแบบปาบวนขึ้นใช้ในพ.ศ.๑๕๖๐-๑๖๓๐


เมืองพระนครแห่งที่สองนี้ ยังไม่มีรายละเอียด จึงสรุปไม่ได้ว่าอยู่ที่ใด



อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)


อาณาจักรขอมโบราณ 3 (อาณาจักรเจนละ)



(ศิลปะแบบบาปวน (พ.ศ.1553-1623) ทับหลัง มีลักษณะเป็นการเล่าเรื่อง โดยมีภาพบุคคลเป็นส่วนใหญ่ มีรูปของหน้าสัตว์ประหลาดโดยการผสมผสานรวมกับเทวดาที่นั่งอยู่ภายในซุ้ม หรือบางภาพอาจเป็นการเล่าเรื่องของ กฤษณาวตาร ได้แก่ ปราสาทแม่บุญตะวันออก ปราสาทบาปวน ประเทศไทยพบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ ปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทบ้านพลวงและปราสาทเหมือนธม จังหวัดจังหวัดสุรินทร์ ปราสาทสด็อกก็อกธม จังหวัดสระแก้ว ปราสาทหนองกู่ จังหวัดร้อยเอ็ด ปราสาทวัดภู(ประเทศลาว))



ในดินแดนพายัพนั้น เดิมหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติลาว ครั้นเมื่อขอมมีอำนาจขยายอาณาจักรมาสู่ดินแดนพายัพ จึงตั้งเมืองละโว้ให้เจ้านครขอมคอยดูแล และพระนางจามเทวีพระธิดาของเจ้าผู้ครองเมืองละโว้ได้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงของขอมละโว้ พระธิดาเจ้าผู้ครองเมืองนี้จึงได้ปกครองพวกลาวทั้งปวงในมณฑลพายัพ



เมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) จึงเป็นเมืองลูกหลวงของขอมละโว้ ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ดูแลดินแดนพายัพ ต่อมาได้ตั้งเมืองนครเขลางค์ (เมืองลำปาง) ขึ้นและปกครองร่วมกัน



…………………………………………………………………………






ขอบคุณ

http://www.siamrecorder.com

http://avatar.tarad.com

http://www.meeboard.com

http://www.rd.go.th


………………………………………………………................