กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ใบบอกเมืองสกลนคร

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ maxwell007
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    ที่อยู่
    สามย่าน
    กระทู้
    474
    บล็อก
    14

    กระพริบตา ใบบอกเมืองสกลนคร

    ใบบอกเมืองสกลนคร

    ใบบอกเมืองสกลนคร

    ประเภท เอกสารใบบอกหัวเมือง รัชกาลที่ 4
    วัสดุที่ทำ กระดาษสา
    ลักษณะตัวอักษร อักษรไทยสมัยรัชกาลที่ 4
    สาระ

    ใบบอก เป็นเอกสารราชการสำคัญที่ผู้มีอำนาจ จากส่วนกลางหรือหัวเมืองสำคัญแจ้งไปยังเจ้า เมืองผู้อยู่ใต้อำนาจให้ถือปฎิบัติ ตามข้อความในเอกสาร ใบบอกมักเขียนด้วยหมึก สีดำลงบนกระดาษสาชนิดบาง แต่มีความ เหนียว พับเป็นแผ่นขนาดเล็กเรียวสลับไปมาเพื่อ ให้สะดวกแก่การบรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่ขนาด เล็กให้ผู้ถือใบบอกหรือที่เรียกทั่ว ๆไป ว่า ''บอก" นำไปส่งยังผู้รับปลาย ทางด้วยความรวดเร็ว ซึ่งทั่วไปมักใช้ม้า เร็วเป็น พาหนะเดินทางรับส่งระหว่างเมืองต่อเมือง

    ใบบอกฉบับนี้ เป็นใบบอกจากศาลลูกขุน ในสำนักพระราชวัง ปีระกา จ.ศ. 1223 ( พ.ศ. 2404 ) มีใจความ โดยสรุปว่า ทางราชสำนักได้แจ้งมายังหัวเมือง ลาวตะวันออกให้ส่งส่วยกระบือแทนผลเร่ว กำหนด ให้เมืองสกลนครส่งส่วยกระบือ 150 เมืองกุสุมาลย์ 50 เมืองอากาศอำนวย 35

    จากเนื้อหาสาระในใบบอกฉบับนี้มีความ เป็นมาโดยการสันนิษฐานเชิงวิเคราะห์ได้ดังนี้

    ส่วย เป็นบรรณาการชนิดหนึ่งที่เรียกเก็บจากหัวเมือง ที่อยู่ในพระราชอณาเขต โดยกำหนดให้ชาย ฉกรรจ์ทุกคนตั้งแต่อายุ 20 ปี ถึง 60 ปี ต้องเสียส่วยเป็นเงินหรือเป็นสิ่งของตามที่ มีอัตราเงินกำหนดไว้ในบัญชีส่วยเมืองผู้ที่ เสียส่วยเรียกว่า " เลก " หรือ " เลข " และเนื่องจากความต้องการผลิตผลในท้องถิ่นที่ ยังเป็นที่ต้องการสำหรับคนกรุงเทพ อัตราการเก็บส่วย จึงกำหนดไว้เป็นสินค้าชนิดต่าง ๆ เช่น ผล เร่ว ทองคำผงน้ำรัก ผ้าขาว ฯลฯ ดังปรากฏ ในใบบอกเช่น

    ในปีจอ สัมฤทธิศก 15 จุลศักราช 1200 พุทธ ศักราช 2381 ( สมัย ร.3 ) โปรดเกล้าฯ เมืองสกลนคร รับผูกส่วยผลเร่ว ( หมากเหน่ง ) เป็นตัวเลขที่เป็นชายฉกรรจ์ 3000 คน ให้ผูก ส่วย 2000 คน ยกให้เจ้าเมืองกรมการ 1000 คนเป็น เลขทนาย ในตัว เลข 2000 คนนั้นผูกส่วยผล เร่วคนละ 5 ชั่ง ปีหนึ่งเป็นผลเร่ว 200 หาบ ปีหนึ่งถ้าไม่ได้ผลเร่วครบจำนวน ให้คิด เงินแทนผลเร่ว เลขหนึ่งปีละ 2 บาทผล เร่ว 200 หาบ ปีหนึ่งคิดเป็นเงินแทนผลเร่ว 50 ชั่ง ในจุลศักราช 1204 พ.ศ. 2385 หลังจากโปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองพรรณานิคม ขึ้นแล้ว ได้กำหนดให้เมืองพรรณานิคมผูกส่วยทองคำ เลข ละ 1 สลึง เป็นตัวเลข 88 คน ปีหนึ่งเป็น ทองคำ 22 บาท

    ในปี พ.ศ. 2384 ทางกรุงเทพฯ กำหนดให้ สกลนครมีฉกรรจ์ทั้งหมด 3169 เลขยก 2169 ทำส่วย 1000 คิดเป็นส่วยเร่ว 200 หาบ เมืองกุสุมาลย์ มีเลข ฉกรรจ์ 679 เลขยก 429 ทำส่วย 250 คิดส่วยเร่ว 50 หาบ

    อัตราการเก็บส่วยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ขึ้น อยู่กับการกำหนดจากกรุงเทพฯ เช่น ใน พ.ศ . 2493มีการกำหนดอัตราส่วยสำหรับหัวเมืองต่าง ๆ อัตราใหม่ เมืองสกลนครมีเลขฉกรรจ์ 2589 เลขยก 869 ทำส่วย 1820 คิดเป็นเร่ว 172 หาบ เมืองกุสุมาลย์ มีเลขฉกรรจ์ 659 เลขยก 229 ทำส่วย430 คิด เร่วเป็น 43 หาบ

    จากใบบอกอัตราการเก็บส่วยในสมัยรัชกาล ที่ 3 จะเห็นว่าจำนวนการเก็บส่วยได้ลด ลง ในขณะที่มีเลขฉกรรจ์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพราะทางราชการไม่อาจเรียกเก็บส่วยได้ครบ ตามจำนวนที่กำหนดไว้ เกิดการค้างส่วยตามเมือง ต่าง จนทางราชสำนักต้องมีใบบอกทวงส่วย ที่ติดค้างอยู่เสมอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะราษฎร ยากจนและผลิตผลของป่าหาได้ไม่เพียง พอ จึงได้มีการกำหนดให้ใช้ผลิตผลชนิด อื่น ๆ แทนส่วยที่กำหนด เช่น ไหม ขี้ผึ้ง งาช้างเป็นต้น

    ครั้นถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 การเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองและเศรษฐกิจเกิดขึ้นครั้งใหญ่ เมื่อรัฐ บาลสยามทำสัญญาบาวริงใน พ.ศ. 2398 สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีดังกล่าวถือได้ ว่าเป็นสัญญาบีบบังคับให้สยามเลิกผูกขาดสิน ค้าสำคัญ ๆ ไว้ แต่พระคลังสินค้าให้คน ในบังคับของอังกฤษลาดตระเวนหาซื้อสินค้าได้ ตามอัธยาศัยในบริเวณกรุงเทพและปริมณฑลใกล้เคียงตลอดซื้อ ที่ดินตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ยังกำหนดการเก็บภาษีปากเรือใหม่ที่อังกฤษเห็น ว่ามีความยุติธรรม

    การเปลี่ยนแปลงทางระบบภาษีปากเรือและให้เสรี ภาพในการหาซื้อสินค้าครั้งนั้นก่อให้ เกิดความตื่นตัวในการค้าขายในหมู่พ่อ ค้าชาวสยามอย่างมากที่จะสามารถกว้านซื้อสิน ค้าที่อังกฤษต้องการมาให้แก่พ่อค้าและคน ในบังคับอังกฤษโดยโฉพาะสินค้าข้าวเปลือกซึ่งเป็น ที่ต้องการ ความจำเป็นในการใช้สัตว์พาหนะเช่น โค กระบือ ช้างจึงมีความจำเป็นมากในการ บุกเบิกพื้นที่ ทำไร่ ทำนา ตามพื้นที่ลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยาและใกล้เคียง

    ด้วยปัญหาการค้างส่วย ไม่อาจส่งผลิตผลของ ป่าได้ครบตามจำนวนที่กำหนดประกอบกับความจำ เป็นที่ต้องการแรงงานสัตว์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ซึ่งมีอยู่ตามหัวเมืองลาวตะวันออกจึงได้ มีใบบอกให้ส่งสัตว์ดังกล่าวแทนเงินส่วย ดังปรากฏในใบบอกฉบับนี้


    ใบบอกเมืองสกลนคร

    ที่มา : เครือข่ายกาญจนาภิเษก


    เซื้อซาติแฮ้งอย่าเหม็นสาบกุยกัน
    เกิดเป็นคนอีสานให้ฮักแพงกันไว้
    ไผเฮ็ดดีให้ซ่อยยู้ ซอยซูอย่าย่านเหลิน
    ไผเฮ็ดผิดให้ซอยเว้า ไขแก้ดอกซอยกัน ซันดอกหวา

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ จำปา
    วันที่สมัคร
    Nov 2009
    กระทู้
    1,367
    ป้าดดดด..ตั้งแต่สมัยรัชการที่๔ พุ้นติค่ะ เผิ่นเก็บไว้ดีน้อค่ะ จนรุ่น ลูกหลานเหลนหล่อน ได้ฮับฮู้ นับถือค่ะ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •