กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: ภาษาอังกฤษง่ายอิหลี่ ตอนที่ 12

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มพัทยา
    วันที่สมัคร
    Sep 2006
    กระทู้
    111

    ภาษาอังกฤษง่ายอิหลี่ ตอนที่ 12

    ธุจ้า สวัสดีชาวบ้านมหาทุกท่านครับ วันนี้เราพักกันเรื่องคำบุพบทสักวันนะครับ เปลี่ยนมาเป็นข่าวที่น่าสนใจกันบ้าง วันนี้เราจะมาช่วยกันแปลเนื้อหาข่าวกันเช่นเคยครับ วันนี้หนุ่มพัทยามีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับสุขภาพมาฝากพี่น้องบ้านเรากันครับ

    Vitamin B12 may protect against brain shrinkage.

    Vitamin B12 = Subject

    may protect = Verb (Auxiliary verb+Main verb)

    against = Preposition

    brain shrinkage = Object (Noun+Noun)


    จากประโยคข้างบนจะได้โครงสร้างของประโยคดังนี้ S+V+O = Simple sentence เป็นภาษาไทยก็คือ ประโยคความเดียวนั้นเองครับ จะสังเกตเห็นว่าในประโยคเองจะมีทั้งกริยาช่วย กริยาหลัก คำบุพบท และคำนามที่วางซ้อนกันอยู่ 2 ตัว ในชั่วโมงที่แล้วหนุ่มพัทยาเคยบอกไปแล้วว่าคำนามก็ใช้อย่างคำคุณศัพท์ได้เหมือนกัน
    Brain = เบรน คือสมอง ในที่นี้จะทำหน้าที่เสมือนคำคุณศัพท์ขยายคำว่า Shrinkage ทำให้เรารู้ว่าอะไรหดนั้นเอง...ภาษาอังกฤษง่ายอิหลี่ ตอนที่ 12
    Shrinkage = ชรินเคจ คือการหด เป็นคำนามหลักของประโยค ผันมาจากคำกริยา shrink

    หลักการง่ายๆอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราทราบว่าคำนามตัวไหนขยายตัวไหน ให้เราดูที่ตำแหน่งของคำครับ ตามหลักแล้วคำคุณศัพท์จะวางไว้หน้าคำนามหรือหลัง verb to be (is, am, are) ครับ

    ทั้งประโยคจึงแปลได้ว่า “ วิตามินบี12อาจจะช่วยต้านทานการหดตัวของสมอง ”

    Vitamin B12 may protect against brain volume loss in older people, and ultimately reduce the risk of developing dementia, suggests a new study from the University of Oxford.

    ประโยคนี้เป็นประโยคความซ้อนครับ ( complex sentence ) นำมาเรียงใหม่จะได้ว่า

    The University of Oxford suggests a new study that Vitamin B12 may protect against brain volume loss in older people, and ultimately reduce the risk of developing dementia.

    The University of Oxford = subject

    suggests = verb

    a new study = object ส่วนที่เหลือเรียกว่า adjective clause มาขยายคำว่า study เพื่อให้ทราบว่าเป็นการศึกษาเรื่องอะไรนั้นเองครับ

    แปลได้ว่า มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดนำเสนอการวัจิยครั้งใหม่ว่า วิตามินบี12อาจจะช่วยป้องกันอัตราการสูญเสียของสมองในผู้สูงอายุ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจิตเสื่อมได้

    ยังไม่หมดนะครับสำหรับเนื้อหาในเรื่องนี้ ถ้าอยากอ่านต่อรายละเอียดของงานวิจัยแนะนำให้ไปตามลิ้งข้างล่างครับ
    พรุ่งนี้มาต่อคำบุพบทตอนที่ 3 ครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ:l-

    ที่มา http://www.nutraingredients-usa.com/Research/Vitamin-B12-may-protect-against-brain-shrinkage

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ แจ่มใสยิ้มสวย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    USA
    กระทู้
    961
    บล็อก
    18
    ชื่นชม อา จารย์ มากๆ เลยค่ะ ขยันพิมพ์ขยันสอน แถมสอนถูกหลักการทุกอย่าง หลักการสอนเหมือน ดอกเตอร์ สำราญ คำยิ่งเลยค่ะ บางครั้งอ่านๆ ไป
    แบบมองโลกในง่ายลบ เอ้ กอปปี้มาหรือเปล่าอะไรประมาณนั้น ขอโทษนะค่ะที่คิดไป


    หากลูกศิษย์หลายคนขยันอ่านฝึกใช้บ่อยๆ ถือว่าได้ประโยชน์มาก เพราะถ้าจะฝึกแค่พูดเป็นอย่างเดียวนั้น มันก็ใช้แค่พูดเท่านั้น นี่ได้ทุกอย่าง มองรูปประโยคออกหมดเลยว่าอะไรตรงไหน เก่งมากค่ะอาจารย์

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มพัทยา
    วันที่สมัคร
    Sep 2006
    กระทู้
    111
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ แจ่มใสยิ้มสวย
    ชื่นชม อา จารย์ มากๆ เลยค่ะ ขยันพิมพ์ขยันสอน แถมสอนถูกหลักการทุกอย่าง หลักการสอนเหมือน ดอกเตอร์ สำราญ คำยิ่งเลยค่ะ บางครั้งอ่านๆ ไป
    แบบมองโลกในง่ายลบ เอ้ กอปปี้มาหรือเปล่าอะไรประมาณนั้น ขอโทษนะค่ะที่คิดไป


    หากลูกศิษย์หลายคนขยันอ่านฝึกใช้บ่อยๆ ถือว่าได้ประโยชน์มาก เพราะถ้าจะฝึกแค่พูดเป็นอย่างเดียวนั้น มันก็ใช้แค่พูดเท่านั้น นี่ได้ทุกอย่าง มองรูปประโยคออกหมดเลยว่าอะไรตรงไหน เก่งมากค่ะอาจารย์
    ไม่ได้กอปปี้มาจากไหนหรอกครับ จริงๆโครงสร้างทางภาษามันก็เหมือนกันทุกที่ครับ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไร ถ้าเราเข้าใจทั้งไวยากรและความหมาย การแยกโครงสร้างประโยคจึงเป็นเรื่องง่ายๆ ส่วนเรื่องของหลักการสอนผมจะใช้ประโยคง่ายๆ เพราะถ้าใช้คำยากๆมาสอนไวยากรคงลำบากครับ เพราะจะทำให้นักเรียนไม่เข้าใจประโยค เมื่อไม่เข้าใจไม่รู้เรื่องมันจะทำให้เบื่อ และยากต่อการจดจำ ถ้าเรามองเข้าในระบบของโรงเรียนในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้ว่าครูที่สอนจะใช้หนังสือที่ยากเกินความสามารถของนักเรียนมากกกก เท่าๆที่ผมประเมินอย่างไม่เป็นทางการ นักเรียนรู้ความหมายของคำศัพท์ในหนังสือไม่ถึง 30 เปอร์เซนต์ด้วยซ้ำ อีกอย่างนักเรียนก็ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ปิดเทอมทีคืนครูหมด ผมว่าคงคาดหวังอะไรยากมาก โอเคผมเข้าใจว่าครูอยากให้นักเรียนได้คำศัพท์ใหม่ๆ แต่ว่าผลลัพธ์คือนักเรียนกลับไม่รู้เรื่อง ถ้าอยากให้นักเรียนได้คำศัพท์ใหม่ต้องสอนจากข่าว นิยาย นิทานจึงเหมาะสมกว่า ด้วยเหตุนี้เองบางครั้งผมจึงเอาส่วนที่เป็นข่าวมาลงสลับกันครับ ถ้าให้ผมสอนนะ ผมจะสอนให้จำคำให้แม่นก่อน พูดให้ได้ก่อนผิดถูกไม่เป็นไร ยังเขียนไม่ได้ไม่เป็นไร เช่น ถ้าเราพูดถึงแมว ถ้าเด็กสามารถนึกออกทันทีว่ามันคือ แคทนะ ถือว่าได้ผล เขียนยังไงชั่งมัน ซึ่งมันเป็นวิธีธรรมชาติซึ่งได้ผลที่สุด จากนั้นจึงเริ่มอย่างอื่นตามมา ค่อยเป็นค่อยไป ผมเห็นครูหลายๆท่านพอมาถึงปุปหันหน้าเข้ากระดานเขียนยิกๆ เป็นภาษาเขียนด้วยนะ(ย้ำ) ยังกะลงยันต์ ทุกวันนี้เข้าไม่ใช้กันแล้วครับ แค่ตัวพิมพ์ใหญ่กับเล็กก็เกินพอ มันอาจจะดูดีในสายตาผู้ใหญ่ แต่เด็กไม่รู้เรื่อง ผมก็เป็นคนหนึ่งที่อ่านหนังสือของอาจาร์ด๊อกเตอร์ครับ หนังสือของอาจาร์อ่านง่าย รู้เรื่อง ไม่ใช้คำเวอร์ๆมาอธิบาย ผมจึงใช้หลักการเดียวกันกับอาจาร์คือสอนจากคำง่ายๆแต่ถูกต้องเป็นหลัก แต่ไม่ได้กอปปี้เนื้อหามานะครับเดียวจะเข้าใจผิด ผมเห็นว่ามีประโยชน์ต่อพี่น้องบ้านเรา เพราะบางคนก็อยู่ต่างประเทศ บางคนลูกหลานก็ยังเรียนหนังสือกันอยู่ จึงเข้ามาลงให้ ถ้าขาดเหลือส่วนใหนก็แจ้งเข้ามานะครับ จะได้มาลงให้ ขอบคุณสำหรับการติดตามนะครับ :*-
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หนุ่มพัทยา; 12-09-2010 at 10:56.

  4. #4
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    ผมอยากจะพูดภาษาอังกฤษได้ครับอาจารย์ แต่คิดศัพท์ไม่ออกครับ ทำไงครับแบบว่าหลักการง่าย ๆ น่ะครับ

    ต้องท่องศัพท์ก่อน หรือต้องเข้าใจไวยากรณ์ก่อนครับอาจารย์

  5. #5
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    ที่อยู่
    สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, และ สปป.ลาว
    กระทู้
    829
    ขอตอบในมุมมองและประสบการณ์ของเซียงเหมี่ยงฯ เนาะครับอ้ายพล ประสาคนที่พอเว่าได้แบบ งู ๆ ปลา ๆ และใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารสำหรับทำงานในปัจจุบันของเซียงเหมี่ยงฯ เอง...
    พื้นฐานของการเว่าได้นั้น ต้องเริ่มต้นด้วย การจำศัพท์ให้ได้เป็นอันดับแรก เพราะว่าถ้าบ่ฮู้ศัพท์กะบ่ต้องนึกถึงเรื่องการเว่า การเขียน ไปต่อบ่ได้แน่นอนครับ ฮู้ไวยากรณ์กะบ่มีความหมาย เอาเริ่มจากศัพท์ง่าย ๆในชีวิตประจำวันใกล้ ๆ ตัว ที่ต้องใช้ทุกมื่อ เพราะว่าสามารถได้ใช้งานจริง จากนั้นกะเป็นการปะติดปะต่อคำเป็นโครงสร้างประโยคพื้นฐาน เหมือนภาษาไทยล่ะครับ มี ประธาน+กริยา+กรรม ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ หากเริ่มเว่าได้กะถึงค่อย ๆ ปรับให้ถูกตามหลักไวยากรณ์ทีหลัง สำหรับคนไทยสิ่งที่บั่นทอนการเว่ามากที่สุดคือการห่วงเรื่องไวยากรณ์มากเกินไป ย่านผิดเลยบ่กล้าเว่า เป็นเหตุให้การเว่าบ่ไปใสมาใส บ่กล้าลองผิดลองถูกมัวแต่ย่าน สังเกต ง่าย ๆ ครับ ว่าคนขี้คุย หน้ามึน กล้าเว่า กล้าลอง คนพวกนี้จะเว่าภาษาอังกฤษได้เร็วกว่าคนที่ขี้อาย...
    ใช้หลักการเดียวกันกับการหัดเว่าของเด็กน้อยครับ เว่าดู๋ ๆ เว่าซ้ำ ๆ เดี๋ยวกะจำได้เอง ที่สำคัญคืออยากเว่า แต่ว่าบ่ได้หัดเว่าจริง ๆ จัง ๆ ขาดการต่อเนื่อง กะเฮ็ดให้การเว่าบ่พัฒนา คือจั่งเด็กน้อยหัดเว่า บ่มีคนพาเว่าพัฒนาการทางภาษากะจะช้า แบบเดียวกันครับ...

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มพัทยา
    วันที่สมัคร
    Sep 2006
    กระทู้
    111
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    ขอตอบในมุมมองและประสบการณ์ของเซียงเหมี่ยงฯ เนาะครับอ้ายพล ประสาคนที่พอเว่าได้แบบ งู ๆ ปลา ๆ และใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารสำหรับทำงานในปัจจุบันของเซียงเหมี่ยงฯ เอง...
    พื้นฐานของการเว่าได้นั้น ต้องเริ่มต้นด้วย การจำศัพท์ให้ได้เป็นอันดับแรก เพราะว่าถ้าบ่ฮู้ศัพท์กะบ่ต้องนึกถึงเรื่องการเว่า การเขียน ไปต่อบ่ได้แน่นอนครับ ฮู้ไวยากรณ์กะบ่มีความหมาย เอาเริ่มจากศัพท์ง่าย ๆในชีวิตประจำวันใกล้ ๆ ตัว ที่ต้องใช้ทุกมื่อ เพราะว่าสามารถได้ใช้งานจริง จากนั้นกะเป็นการปะติดปะต่อคำเป็นโครงสร้างประโยคพื้นฐาน เหมือนภาษาไทยล่ะครับ มี ประธาน+กริยา+กรรม ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ หากเริ่มเว่าได้กะถึงค่อย ๆ ปรับให้ถูกตามหลักไวยากรณ์ทีหลัง สำหรับคนไทยสิ่งที่บั่นทอนการเว่ามากที่สุดคือการห่วงเรื่องไวยากรณ์มากเกินไป ย่านผิดเลยบ่กล้าเว่า เป็นเหตุให้การเว่าบ่ไปใสมาใส บ่กล้าลองผิดลองถูกมัวแต่ย่าน สังเกต ง่าย ๆ ครับ ว่าคนขี้คุย หน้ามึน กล้าเว่า กล้าลอง คนพวกนี้จะเว่าภาษาอังกฤษได้เร็วกว่าคนที่ขี้อาย...
    ใช้หลักการเดียวกันกับการหัดเว่าของเด็กน้อยครับ เว่าดู๋ ๆ เว่าซ้ำ ๆ เดี๋ยวกะจำได้เอง ที่สำคัญคืออยากเว่า แต่ว่าบ่ได้หัดเว่าจริง ๆ จัง ๆ ขาดการต่อเนื่อง กะเฮ็ดให้การเว่าบ่พัฒนา คือจั่งเด็กน้อยหัดเว่า บ่มีคนพาเว่าพัฒนาการทางภาษากะจะช้า แบบเดียวกันครับ...
    ตามนี้เลยครับ พล พยาแล ถูกต้องตามหลักของการเรียนภาษา ที่บ่าวเชียงเมี่ยงเว้ามาแมนทุกอย่างครับผม:*-

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ลุงเดฟ
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    ที่อยู่
    ยโสธร
    กระทู้
    176
    :*-จากใจจริงครับ มีประโยชน์หลายครับเห็นฝรั่งเว้าไทยแล้วอายเผิ่น

  8. #8
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ เมษา
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ไทย & ยูเค
    กระทู้
    967

    พบปะพูดคุย

    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ ลุงเดฟ
    :*-จากใจจริงครับ มีประโยชน์หลายครับเห็นฝรั่งเว้าไทยแล้วอายเผิ่น

    สิอายเพิ่นเฮ็ดหยังอ้าย คนเฮามีสมองมาบ่อทอกันเด้ อิอิ ของเมแฮงได้มาหน่อย ฮาาาาาาาา :l-

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •