กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: มารยาทที่ควรก้าวไปพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การใช้โทรศัพท์มือถือ

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    มารยาทที่ควรก้าวไปพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การใช้โทรศัพท์มือถือ

    มารยาทที่ควรก้าวไปพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การใช้โทรศัพท์มือถือ

    มารยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาละเทศะ เป็นกรอบหรือแบบแผนซึ่งควรปฏิบัติหรือละเว้น ถือเป็นเรื่องที่มีอยู่ในคนทุกชาติ ทุกภาษา โดยต่างก็จะมีการสั่งสอนหรือถ่ายทอดวัฒนธรรมทางมารยาทของตนแตกต่างกันออกไปตามที่เห็นว่าเหมาะสม อย่างไรก็ดี ในยุคปัจจุบัน ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ได้แผ่ขยายอิทธิพลไปอย่างกว้างขวางทั่วโลก จนทำให้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวก และโทรคมนาคมต่างๆที่ถือว่าเป็นของทันสมัย เช่น โทรศัพท์มือถือ ลิฟท์ รถไฟฟ้าบนดิน-ใต้ดิน รถยนต์ วิทยุ โทรทัศน์ที่มีศักยภาพสูงขึ้น ฯลฯ ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ซึ่งแต่ละอย่างแม้จะมีวิธีการใช้ หรือจะเรียกว่า “มารยาท” ที่พึงปฏิบัติผิดแผกแตกต่างกันออกไป แต่โดยหลักก็คือ ต้องถูกกาละเทศะ พอเหมาะพอควร และไม่ก่อความเดือนร้อน รำคาญใจแก่ผู้อื่น ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำเสนอแนวทางในการปฏิบัติบางเรื่องพอสังเขป ดังนี้

    การใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความสะดวกเป็นอย่างมาก เพราะพกพาติดตัวไปได้ทุกแห่งทุกที่ทั่วโลก ดังนั้น สิ่งที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือควรตระหนัก ข้อแรกคือ สถานที่และช่วงเวลาที่ใช้โทรศัพท์ว่า ขณะนั้นตนอยู่ที่ใด และกำลังทำอะไร เช่น อยู่ในห้องประชุม อยู่ในระหว่างการเสนอขายสินค้า กำลังข้ามถนน อยู่บนรถเมล์ กำลังดูหนังชมคอนเสิร์ต ฯลฯ สิ่งนี้จะเป็นตัวกำหนดให้เราทราบว่าควรปฏิบัติเช่นไรจึงเหมาะสม อาทิ หากเราไปดูหนังหรือชมคอนเสิร์ต ซึ่งแน่นอนว่า ถือเป็นช่วงของการพักผ่อน เราควรปิดมือถือเสีย ไม่ควรปล่อยให้มีเสียงดังขึ้นมารบกวนผู้ชมอื่นๆ และไม่ควรโทร.ออกไปหาใครในระหว่างชมการแสดง เช่นเดียวกับในห้องประชุม โดยเฉพาะการประชุมนัดสำคัญต่างๆควรปิดสัญญาณไปเลย หากจำเป็นจริงๆควรเปลี่ยนจากระบบเสียงเป็นระบบสั่นแทน และหากมีโทรศัพท์เรียกเข้ามา ก็ควรจะกล่าวคำ”ขอโทษ” แล้วออกมาพูดนอกห้องเพื่อเป็นการให้ความเคารพต่อประธานและให้เกียรติกับการประชุมนั้นๆ หากเป็นโทรศัพท์ของประธานเอง ก็ควรจะปิดหรือให้เลขานุการรับแทน แต่โดยแท้จริงแล้ว ประธานในที่ประชุมไม่ควรรับหรือโทร.ออกในระหว่างการประชุม ยกเว้นเรื่องด่วนหรือสำคัญจริงๆ ในห้องเรียน ห้องบรรยาย หรือห้องประชุมสัมมนาก็เช่นกัน นักเรียน นักศึกษา ผู้เข้าร่วมสัมมนาไม่ควรใช้โทรศัพท์ระหว่างครูผู้สอน หรือผู้บรรยายกำลังพูดอยู่ เพราะนอกจากจะเป็นการเสียมารยาทแล้ว ยังรบกวนผู้อื่นและทำให้เราเสียโอกาสในการฟังด้วย หรือหากเรากำลังนำเสนอขายสินค้าใดๆกับลูกค้าอยู่ ก็ควรปิดมือถือชั่วคราว เพราะหากปล่อยให้ดังขึ้นมารบกวน หรือขัดจังหวะระหว่างการพูด ลูกค้าอาจจะเสียความรู้สึก คิดว่าเราไม่ให้เกียรติ ทำให้เราเสียโอกาสที่ดีไป เป็นต้น

    นอกจากนี้ หากอยู่ระหว่างสภาวะที่ไม่พร้อม เช่น กำลังขับรถ ข้ามถนน กำลังเดินทาง หรืออยู่ระหว่างขึ้นรถ ลงเรือหรือพาหนะอื่นใด รวมถึงการเข้าห้องน้ำ ก็ควรอดใจไม่ใช้โทรศัพท์ชั่วคราว หรือหากมีโทรศัพท์เข้ามา ก็ควรแจ้งว่าจะโทรกลับเมื่อพร้อม ทั้งนี้ เนื่องจากช่วงดังกล่าวหากเราใช้โทรศัพท์จะทำให้เราขาดความระมัดระวัง ไม่มีสมาธิและก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่ตัวและสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นมาร่วมรับเคราะห์กับเราได้ง่าย ข้อต่อไปที่ควรคำนึงในการใช้มือถือคือ น้ำเสียงและท่าทาง โดยทั่วไปไม่ว่าจะรับโทรศัพท์หรือโทร.ออกไปหาผู้ใด ควรใช้น้ำเสียงสุภาพ นุ่มนวล ไม่ดังหรือค่อยเกินไป และไม่ออกท่าออกทางจนเกินเหตุ โดยเฉพาะหากไม่อยู่ในที่รโหฐานหรือที่ส่วนตัว โดยแท้จริงแล้ว เมื่อใดก็ตามที่อยากโทรศัพท์หรือมีโทรศัพท์เข้ามา ควรหาที่หรือมุมที่เหมาะสม แล้วไปนั่งหรือยืนพูดคุยให้เสร็จธุระ แล้วจึงเดินไปทำภารกิจอื่นต่อ จะแลดูเหมาะสมและไม่ก่อความรำคาญให้ใครจะดีกว่า เช่น บางคนชอบโทรศัพท์บนรถโดยสาร และพูดคุยนัดหมายเสียงดัง จนหนวกหูผู้อื่น หรือคุยเรื่องส่วนตัวที่คนอื่นเขาไม่อยากจะรับรู้ แต่ก็ต้องได้ยินได้ฟังไปด้วย ดีไม่ดีอาจเป็นโอกาสให้คนร้ายที่ได้ยิน ติดตามไปดักทำมิดีมิร้ายต่อเราได้ จึงควรระมัดระวัง รวมทั้งเนื้อหาที่พูดจากันด้วย อีกเรื่องที่สำคัญคือ ไม่ควรให้เบอร์มือถือของเจ้านาย เพื่อนหรือญาติมิตรแก่ผู้อื่น หากเจ้าตัวไม่ได้อนุญาต รวมทั้งไม่ควรโทร.เข้ามือถือของผู้ใด ถ้ามิใช่เพื่อนหรือคนที่เรารู้จัก โดยเฉพาะการโทร.ไปรบกวนหรือขายสินค้าต่างๆ เพราะจะทำให้ผู้รับโกรธ และมักเป็นผลลบมากกว่าดี ผู้รับจะรู้สึกว่าถูกบุกรุกความเป็นส่วนตัวของเขา


    อนึ่ง แม้ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือที่เราจ่ายเงินเอง ก็ไม่ควรคุยนานจนเกินไป เพราะนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นแล้ว (ถึงจะมีโปรโมชั่นต่างๆมากมายก็ตาม) ก็อาจจะทำให้ผู้ที่มีเรื่องด่วนหรือฉุกเฉินโทรมาหาเราไม่ได้ จนก่อให้เกิดกรณีเศร้าเสียใจภายหลัง และคลื่นโทรศัพท์มือถือที่มีแรงส่งสูงก็ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในอนาคตได้
    ........................................

    อมรรัตน์ เทพกำปนาท
    กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

    ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.http://www.culture.go.th/knowledge/study.php?&YY=2547&MM=12&DD=14
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวอิง
    วันที่สมัคร
    Aug 2007
    กระทู้
    877
    นักโดยเฉพาะนักศีกษาเอามาโรงเรียนนำ เข้าห้องกะโทร

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,529
    บล็อก
    1
    คนเราต้องรู้ตัวเองดีเนาะ ว่าต้องใช้ที่ใดได้บ้าง

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •