กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: กว่าจะมาเป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

  1. #1
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
    ช่างภาพอิสระ
    สัญลักษณ์ของ ฅนภูค่าว
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    นครโคราช บ้านเกิดกาฬสินธุ์
    กระทู้
    1,206

    กว่าจะมาเป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    กว่าจะมาเป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่ชาวไทยทุกคนรู้จัก

    กว่าจะมาเป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ประวัติ
    อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจและพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 59 นาย พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล
    ก่อนที่จะมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธิน นี้มีชื่อเรียกว่า "สี่แยกสนามเป้า"


    กว่าจะมาเป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    กว่าจะมาเป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
    ความหมาย
    การออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจห้าประการ คือ
    • ปฏิบัติการของกองทัพทั้ง 4
    • ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ
    • อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ
    • เหตุการณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ
    • ความสนใจของประชาชน


    กว่าจะมาเป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
    หม่อมหลวงปุ่มใช้ดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร โดยใช้ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส
    ด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดสองเท่าคนธรรมดา ของนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, แช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของ ศ.ศิลป์ พีระศรี
    ด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้มีทั้งสิ้น 160 นาย เป็นทหารบก 94 นาย ทหารเรือ 41 นาย ทหารอากาศ 13 นาย และตำรวจสนาม 12 นาย จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2483-2497 รวมทั้งสิ้น 801 นาย


    กว่าจะมาเป็น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ภาพ และ เนื้อหา

    โพสต์จัง ดอท คอม

  2. #2
    มิสบ้านมหา 2010
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ เขมราฐ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    กลางท่งเมืองเขมฯ
    กระทู้
    1,946
    อยากมีไทม์แมชชีน คือโดเรม่อน ย้อนกลับไปเบิ่งตอนสร้างเสร็จใหม่ ๆ เด้ค่ะ

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23
    รูปแรกเด้น้องหลิน คือสิใกล้เคียงอยู่เด้เอื้อยว่า .. รถสมัยใกล้ๆ สมัยวนิดานิล่ะจ้า .. อิอิ ติดละครท่อนแล่วเอื้อย..
    ปล. ขอบคุณข้อมูลดีๆเด้อจ้า
    มองต่าง..อย่างปลง

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •