หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 16

หัวข้อ: เหตุที่มีคำว่า“ราชธานี “ต่อท้ายจังหวัดอุบล

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    เหตุที่มีคำว่า“ราชธานี “ต่อท้ายจังหวัดอุบล

    จังหวัดอุดรธานี อุทัยธานี สุราษฎ์ธานี ปทุมธานี แล้วทำไม อุบล จึงเป็น "ราชธานี" เป็นหยัง.....สงสัยบ่พี่น้อง..สงสัยกะนำอ่านเบิ่งจ้า
    (ที่มาของการการตั้งกระทู้นี้มีนักเรียนผู่หนึ่งหนีผู่ปกครองมาผ้อกันอยู่ห่มบักมี่(มือปุ้มๆดอก ฮ๋า )ขี่ส่อคัก ครูกะตอบไปแบบกำปั้นทุบโต๊ะ..."ตกเป็นเมืองขึ้นของร้อยเอ็ด"พะนะ ครูต่วงตอบ...เหตุที่มีคำว่า“ราชธานี “ต่อท้ายจังหวัดอุบลยายเห็นว่าเป็นคำถามที่ดีมากๆเลยเป็นที่มาของการตั้งกระทู้นี้---->

    เหตุที่มีคำว่า “ ราชธานี " ต่อท้ายนั้น เนื่องด้วยเห็นวว่าเป็นเมืองข้าหลวงเดิมช่วยเหลือในการศึกเสมอมา เช่น ปราบจราจลและปราบกบฎอ้ายเชียงแก้ว ก็จัดให้สำเร็จโดยมิต้องสั่งการ นับว่าเป็นกำลังของแผ่นดิน พระปทุม ฯ ครองเมืองมาได้ 3 ปี ก็ถึงอนิจกรรม ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ สัปตศกจุลศักราช 1157 ( พ.ศ.2338 )
    หลังจากนั้นก็มีเจ้าเมืองสืบต่อกันมาอีก 4 คน จนถึง พ.ศ.2425 จึงไม่มีการตั้งเจ้าเมืองสืบสกุลคงมีแต่ข้าหลวงขึ้นมาปกครองเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรีกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมณฑล ประทับที่เมืองอุบลราชธานี สร้างสรรค์ความเจริญ ให้แก่เมืองอุบลราชธานีเป็นอเนกอนันต์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาอุบลราชธานีจึงเป็นศูนย์กลางการปกครอง การบริหาร การเก็บภาษีอากร และกิจการบ้านเมืองด้านอื่นๆ ของภาคอีสานตอนใต้

    อุบลราชธานี ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดใหญ่และสำคัญมากของภาคอีสาน เป็นเมืองเก่าที่เจริญด้วยศิลปะวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงานมานานนับร้อยปี และได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของถิ่นไทยดี

    เหตุผลที่ชื่อเมืองอุบล

    ที่ตั้งชื่อว่า “ เมืองอุบล “ นั้น หนังสือบางเล่มว่าตั้งตามนาม พระปทุมสุรราช ( คำผง ) เพราะเป็นผู้นำอพยพมาตั้งเมือง และ “ ปทุม “ ก็แปลว่า บัวหลวง หนังสือบางเล่มว่าเอาชื่อเดิมของหนองบัวลุ่มภู ( หนองซึ่งตั้งอยู่ในลุ่มภูเขาชื่อหนองบัว ) คือนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน อันมีคำว่า “ บัว “ ซึ่งเป็นเมืองที่บรรพบุรุษอพยพมาอยู่ก่อน แล้วแปลงลงเป็นศัพท์ว่า “ อุบล “ มาตั้งเป็นชื่อ ทั้งสองอย่างก็มีเหตุผลน่าฟัง
    สันนิษฐานว่าคงเอาชื่อ “ หนองบัว “ ซึ่งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบ้ายห้วยแจระแมนั่นเองมาตั้งเป็นชื่อ โดยแปลงศัพท์ว่า “ อุบล “ มาตั้งเพราะเดิมหนองนี้ใหญ่ ยาวประมาณ 24 เส้น มีน้ำอยู่ตลอดปีตั้งต้นจากทิศเหนือ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ยาวไปจนจรดตะวันออกเฉียงใต้ของ ศ.ว.พ. ( ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน ) แต่เดี๋ยวนี้ตื้นเขินมีคนรุกล้ำเป็นเจ้าของเกือบหมดแล้ว ยังคงเหลืออยู่ตอนเดียวหน้าวัดหนองบัวเท่านั้น เหตุผลมีว่าคนโบราณชอบตั้งชื่อบ้าน ชื่อเมือง ตามภูมิประเทศและสถานที่ เช่น หนองบัวลุ่มภู ก็มีหนองตั้งอยู่ในลุ่มภู บ้านหินโงมก็เป็นที่มีเทือกเขากั้น ( โงมเป็นภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า กั้น , ครอบ , หรืองำ ) เมืองหนองหานหลวง ( สกลนคร ) ก็เอาชื่อหนองใหญ่มาตั้ง และที่อื่น ๆ ก็ยังมีอีกมาก

    อีกนัยหนึ่ง มงคลนาม อุบลราชธานี ตามตัวอักษรมีความหมายว่า ราชธานีแห่งดอกบัว กล่าวคือ อุบล มีความหมายว่าดอกบัวซึ่งเป็นดอกพฤกษชาติ ที่มีคติธรรมทางพุทธศาสนาคนนิยมใช้ไหว้พระ อุบลราชธานี มีวัดวาอารามที่มีความวิจิตร งดงามด้วยศิลปะด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรม อันทรงคุณค่าเป็นจำนวนมาก ราชธานี หมายถึง เมืองของกษัตริย์เป็นสร้อยนามของจังหวัดที่มีเพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทย อุบลราชธานี จึงมีฐานะเป็นเมืองของกษัตริย์ เป็นดินแดนแห่งดอกบัวงาม เป็นที่เชิดชูพระบวรพุทธศาสนา ในส่วนที่เกี่ยวกับประวัติการศึกษา อุบลราชธานี ได้ชื่อว่าเป็นเมืองนักปราชญ์มาแต่โบราณ มีหลักฐานว่าประชาชนเริ่มมีการเรียนการสอนให้อ่าน ออกเขียนได้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2434คือก่อนที่จะมีการสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ 1 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวอุบลราชธานีวิถีชีวิตที่แสดงลักษณะตื่นตัวทางการศึกษามาเป็นเวลานาน


    ข้อมูลจาก : http://www.radioubon.com/ubon/
    ((มีต่อจ้า ------------------>
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 24-10-2010 at 23:18. เหตุผล: ปรับขนาดตัวอักษร
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  2. #2
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ราชธานีเดียวในสยาม

    ประวัติเมืองอุบลราชธานี
    ประวัติเมืองอุบลราชธานีนั้น กระจัดกระจายอยู่ในหนังสือหลายเล่มที่พิมพ์ขึ้น โดยเป็นคำบอกกล่าวต่อๆ กันบ้าง ดัดบอกมาบ้าง ข้อความ พ.ศ. จึงขัดแย้งกัน ไม่เป็นอันยุติได้ว่าเล่มใดถูกต้องที่สุด ดังนั้น ผู้รวบรวมจึงได้พยายามทำการเปรียบเทียบข้อมูลจากทุกแหล่ง เพื่อให้ตัวเลข ปี และข้อมูลพ้องกันมากที่สุด หากท่านผู้ใดมีหลักฐานอย่างไร ก็คงจะได้แก้ไขให้ถูกต้องยิ่งขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์แก่อนุชนต่อไป

    พื้นที่อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบันตามแผนที่ของกรมแผนที่ทหารบกไทย พิมพ์ไว้เมื่อประมาณ 40 กว่าปีมาแล้ว มีความว่า พื้นที่นี้อยู่ในอาณาจักรขอมมาถึง 842 ปี ลักษณะเป็นแคว้น และมีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว คงจะเป็นพวกขอมละว้าหรือไทยโบราณ

    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวถึงวิธีการตั้งเมืองในเขตมณฑลอุดรและอีสานในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไว้อย่างชัดเจนว่า "……………วิธีการตั้งเมืองต่างๆ ในมณฑลอุดรและอีสานเมื่อรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 เป็นรัฎฐาภิบาลโนบายอย่างประเสริฐ เพราะเป็นเวลาที่ผู้คนแตกฉานซ่านเซ็นหนีภัยรวบรวมกันตั้งบ้านเรือนอยู่ที่อื่นบ้าง เที่ยวซุกซ่อนอยู่ในป่าบ้าง ทิ้งบ้านเมืองเป็นที่ร้างว่างเปล่าอยู่ทั่วไป ถ้าใช้กำลังออกติดตามไล่ต้อนผู้คนให้กลับ ก็คงยิ่งตื่นเต้น หรือมิฉะนั้นก็อาจต้องสู้ต้องฆ่าฟันกัน ที่ตั้งตนในท้องถิ่นเป็นเจ้าเมืองร้างให้เที่ยวเกลี้ยกล่อมพาผู้คนมาเป็นพลเมืองไม่ต้องใช้อำนาจ อาจทำได้ด้วยยินดีด้วยกัน ทุกฝ่ายก็สำเร็จประโยชน์ความมุ่งหมาย เจ้าเมืองไหนเกลี้ยกล่อมคนมาได้มาก ก็ได้ทรัพย์เศษส่วนและได้ผู้คนสำหรับอาศัยใช้สอยมากขึ้น ก็เติมใจขวนขวายตั้งบ้านเมือง ฝ่ายราษฎรที่เที่ยวหลบหนีเดือดร้อนลำบากอยู่ เมื่อรู้ว่าบ้านเมืองกลับเรียบร้อยอย่างเดิมก็ยินดีที่จะกลับมา….."

    วิธีการตั้งเมืองในเขตมณฑลอุดร และอีสานที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวได้ดังที่ได้ยกมาอ้างครั้ง นี้ นับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริงมากที่สุด แม้ในการตั้งเมืองอุบลราชธานีก็เช่นกัน ดังที่พอจะวิเคราะห์ได้ว่า "…… เดิมพื้นที่มณฑลลาวกาว นี้เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนป่า อันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่าพวกข่า ส่วย กวย ซึ่งมีอยู่ในฝั่งโขงตะวันออกบัดนี้

    ประกอบกับในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ได้เกิดจราจลและแย่งชิงราชสมบัติที่กรุงเวียงจันทน์ ราษฏรบางส่วนจึงอพยพหลบนี้หนีภัยข้ามลำน้ำโขงมาทางฝั่งตะวันตก แยกย้ายกันตั้งถิ่นฐานอยู่ตามพื้นที่ที่เห็นว่ามีความอุดมสมบูรณ์ ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดใกล้เคียงในปัจจุบัน ตลอดแนวลำน้ำโขงจนถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ บุคคลที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับนับถือจากคนส่วนใหญ่ ก็จะได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้า ทั้งนี้นอกจากทำหน้าที่คุ้มครองดูแลกลุ่มของตนให้อยู่เย็นเป็นสุขแล้ว ก็เพื่อป้องกันภัยรุกรานจากเวียงจันทน์ด้วย

    กลุ่มชนที่อาศัยในบริเวณอันเป็นพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงในปัจจุบัน ก็คงประกอบด้วยพวก ข่า ส่วย กวย และลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ดังที่กล่าวมาแล้ว

    ประวัติการมาตั้งเมืองอุบลราชธานี มียืดยาวเป็นใบลาน คำกลอนก็มี เป็นเรื่องรบราฆ่าฟันกันตลอดจนชื่อคนที่ประกอบก็มีจำนวนมาก จำเป็นต้องเขียนโดยสังเขป โดยจะนำหลักฐานจากตำราและหนังสือต่าง ๆ ที่พอจะค้นคว้ารวบรวมสรุปได้ดังต่อไปนี้

    เหตุการณ์สำคัญที่ก่อให้เกิดตั้งเมืองอุบลราชธานีในโอกาสต่อมานั้น เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2310 ขณะที่กรุงศรีอยุธยากำลังเสียแก่พม่าข้าศึกนั้น กรุงเวียงจันทน์ (กรุงศรีสัตนาคนหุต) และกรุงกัมพูชาต่างก็เกิดการวุ่นวายภายใน ทั้งนี้ก็เพราะกรุงเวียงจันทน์ เกิดแย่งชิงสมบัติกัน ทั้งนี้เพราะพระองค์หล่อผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ถึงแก่พิราลัย โดยไม่มีโอรสสืบราชสมบัติ พระวอ พระตา และแสนท้าวพระยา จึงพร้อมใจกันอัญเชิญราชกุมาร ที่สิบเชื้อสายจาก เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตองค์ก่อน( เจ้าองค์บุญ หรือพระเจ้ามหาบุญไชยเชษฐาธิราช ) เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ทรงพระนามว่า " พระเจ้าสิริบุญสาร " ต่อมาไม่นานพระเจ้าสิริบุญสาร ก็ทรงแต่งตั้งพระอนุชาเป็นมหาอุปราช ส่วนพระวอ พระตา นั้นทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดี และให้มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระ" พระวอ พระตาผิดหวังที่ไม่ได้เป็นที่พระมหาอุปราช ประกอบกับมีเหตุผลอื่นอีกหลายประการ จึงพาพรรคพวกไพร่พล ราษฎรและผู้ร่วมใจ เช่น หลวงโภชนัย ท้าวน่วม ท้าวคำสิงห์ และท้าวคำสู เป็นต้น อพยพตามลำน้ำโขงลงมาฝั่งตะวันตก ตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านหินโงมหนองบัวลุ่มภู ( จังหวัดหนองบัวลำภู ปัจจุบัน ) แล้วเรียกชื่อเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ว่า "เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน"

    ตามข้อมูลเปรียบเทียบ เมืองหนองบัวลำภู คงไม่ใช่เมืองที่พระวอพระตาสร้างขึ้นใหม่เลยที่เดียว หากแต่เป็นเมืองที่มีเจ้าปกครองมาก่อนแล้ว ดังที่ปรากฎในพงศาวดารเมืองนครจำปาศักดิ์ ที่กล่าวถึงว่าในปี ค.ศ.1003 (พ.ศ.2184) เจ้าปางคำ ผู้ปกครองเมืองหนองบัวลำภูได้พาพรรคพวกไพร่พลเดินทางไปเที่ยว โพน แซก คล้อง ช้าง จนถึงเขตแดนเมืองนครจำปาศักดิ์ และที่พระวอพระตาเลือกเมืองหนองบัวลำภูเป็นที่อยู่อาศัยสร้างค่ายประตูหอรบ เพื่อที่จะป้องกันการรุกรานของพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็คงเป็นเพราะเห็นว่าเมืองหนองบัวลำภูมีค่ายประตูหอรบที่แข็งแรงอยู่แล้ว ปรับปรุงได้ง่ายนั่นเอง

    เมื่อพระเจ้าสิริบุญสารทราบเหตุ จึงให้แสนท้าวพระยามาห้าม แต่พระวอ พระตาก็ไม่ยอมรับฟัง พระเจ้าสิริบุญสารจึงให้ยกกำลังกองทัพมาตีพระวอพระตา ทั้งสองฝ่ายสู้กันเป็นเวลาสามปี ไม่สามารถเอาชนะกันได้ พระเจ้าสิริบุญสารมิได้นิ่งนอนพระทัย จึงได้แต่งคนออกไปขอกองทัพพม่ามาสมทบกับกำลังของนครเวียงจันทน์ยกมาตีนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน แล้วรบกับพระวอพระตา เนื่องจากมีกำลังน้อยกว่า พระวอพระตาจึงไม่สามารถต้านทานกองทัพของกรุงเวียงจันทน์และพม่าได้ จึงพ่ายแพ้ในที่สุด พระตาถูกปืนตายในที่รบ เมื่อสิ้นบุญพระตาผู้พี่แล้ว พระวอและลูก หลานอันประกอบด้วยท้าวฝ่ายหน้า ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม ผู้เป็นบุตรพระตา และท้าวก่ำ บุตรพระวอซึ่งพาครอบครัวไพร่พลอพยพลงมาทางใต้ เมื่ออพยพมาถึงบ้านสิงห์โคกสิงห์ท่า ( อำเภอเมืองยโสธรปัจจุบันนี้ ) ท้าวคำสิงห์กับท้าวคำสูขอตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นี่ หลวงโภชนัย ขอแยกไปอยู่บ้านศรีลำดวน ( เมืองศรีสะเกษปัจจุบัน ) ท้าวนามขอกลับไปอยู่บ้านบึงโดน ( อำเภอเสลภูมิร้อยเอ็ดปัจจุบัน )

    ส่วนพระวอจึงอพยพต่อไปขอพึ่งเจ้าไชยกุมารหรือพระเจ้าองค์หลวงผู้ครองนครจำปาศักดิ์ และได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านดู่บ้านแก ตำบลเวียงดอนกอง ( อยู่ในเขตอำเภอโพนทองตรงข้ามปากเซของลาว )

    ต่อมาไม่นาน คือปี พ.ศ.2314 (จ.ศ. 1133 ปีเถาะ ตรีศก) พระเจ้าสิริบุญสารทราบว่า พระวอพาพรรคพวกไพร่พลมาตั้งอยู่แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ จึงแต่งให้อัครฮาด คุมกองทัพลงมาตีพระวออีก แต่เมื่อเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) ทราบเหตุก็แต่งให้พระยาพลเชียงสา ยกกำลังกองทัพเมืองนครจำปาศักดิ์ไปต้านทานไว้ และมีศุภอักษรถึงพระเจ้าสิริบุญสารเพื่อของโทษพระวอ พระเจ้าสิริบุญสารก็มีศุภอักษรตอบกลับมาว่า "….พระวอเป็นคนอกตัญญูจะเลี้ยงไว้ก็คงไม่มีความเจริญ แต่เมื่อเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ได้มาขอโทษไว้ดังนี้แล้ว ก็จะยกให้ มิให้เสียไมตรี……." และพร้อมกันนั้น ก็ให้อัครฮาด นำกำลังกองทัพกลับ

    ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร)และพระวอเป็นไปด้วยดีได้ไม่นานนักก็เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก กล่าวคือในปลายปี พ.ศ.2314 พระเจ้าองค์หลวงดำริจะสร้างเมืองใหม่ที่ตำบลศรีสุมัง ห่างจากที่ตั้งเมืองเดิม ประมาณ20 เส้น พระวอรับอาสาสร้างกำแพงเมืองถวาย ส่วนพระมโนสาราช และพระศรีอัครฮาดเมืองโขง รับจะเป็นผู้สร้างหอคำถวาย เมื่อสร้างเสร็จใน พ.ศ.2315 ครั้งอยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารออกว่าราชการในหอราชสิงหาร พร้อมด้วยแสนท้ายพระยา ประชุมกันอยู่เป็นจำนวนมาก พระวอจึงกราบทูลถามพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร พระเจ้าองค์หลวง ก็ได้ตรัสว่า กำแพงพื้นก็ดีด้วย เป็นที่กำบังสำหรับป้องกันศัตรูซึ่งจะมาทำร้าย แต่หอคำนั้นจะดีกว่าสักหน่อยด้วยเป็นที่ได้อาศัยนั่งนอนมีความสุขสำราญมาก เมื่อพระวอได้ฟังดังนั้นก็เกิดความอัปยศ และโทมนัสยิ่งนัก คิดเอาใจออกห่าง พาครอบครัวไพร่พลอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ดอนมดแดง( บ้านดอนมดแดงอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองอุบลราชธานีห่างจากบ้านดู่บ้านแกประมาณ 100 กิโลเมตร ) พร้อมทั้งแต่งเครื่องราชบรรณาการไปยังเมืองนครราชสีมา เพื่อขอเป็นขอบขัณฑสีมาของกรุงธนบุรี( ประมาณ พ.ศ.2318 – 2319 แต่ยังมิได้เรียกว่าเมืองอุบล )

    ครั้นถึง พ.ศ.2319 พระเจ้าสิริบุญสารทรงทราบว่าพระวอทะเลาะวิวาทกับพระเจ้าองค์หลวง แล้วอพยพครอบครัวไพร่พลมาตั้งอยู่ที่ดอนมดแดง จึงแต่งให้พระยาสุโพคมกองทัพมาตีพระวออีกครั้งหนึ่ง พระวอเห็นที่จะสู้ไม่ได้จึงพาครอบครัวไพร่พลอพยพกลับไปอยู่เวียงดอนกองเช่นเดิม พร้อมกับขอกำลังกองทัพจากพระเจ้าองค์หลวง มาช่วย แต่ก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือกองทัพเวียงจันทน์จึงเอาชนะพระวอได้ พระวอถูกจับได้และถูกประหารชีวิตที่บ้านลักเมืองสมอเลียบ เมืองดอนกอง( ริมฝั่งโขงแขวงเมืองจำปาศักดิ์ )นั้นเอง ส่วนท้าวก่ำบุตรพระวอและท้าวฝ่ายหน้า ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม บุตรพระตา จึงรวมกันคุมพลพรรคแทนโดยมีท้าวคำผงเป็นหัวหน้าอยู่ที่เวียงดอนกอง หรือที่เรียกว่าบ้านดู่บ้านแกขึ้นตรงต่อเมืองนครจำปาศักดิ์ ท้าวคำผงได้กับหลานสาวของเจ้าไชยกุมาร ( คือนางตุ่ย บุตรีเจ้าธรรมเทโว อุปฮาดเมืองนครจำปาศักดิ์ ผู้เป็นอนุชาของพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร) จึงมีศักดิ์เป็นหลานเขยของพระเจ้าองค์หลวง

    ในปี พ.ศ.2321 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าให้สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกไปทางบกสมทบกับกองกำลังที่เกณฑ์ได้จากเมืองสุรินทร์ ขุขันธ์ สังฆะ และโปรดเกล้าให้กรมพระยาราชวังบวรสถานมงคลมหาสรสิงหนาท เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพยกไปทางกรุงกัมพูชา เกณฑ์ไพร่พลชาวกัมพูชาต่อเรือรบต่อเรือรบยกไปตามลำน้ำโขง เพื่อ ปราบปรามทัพพระยาสุโพที่เวียงดอนกอง แขวงนครจำปาศักดิ์ แต่เมืองพระยาสุโพทราบข่าวเห็นว่าคงไม่สามารถสู้ได้ ก็ยกกองทัพกลับกรุงศรีสัตนาคนหุต

    เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองกำลังกองทัพถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ พระเจ้าองค์หลวง เห็นว่าคงไม่สามารถต้านทานได้จึงอพยพครอบครัวไพร่พลหนีไปอยู่เกาะไชย กองทัพไทยก็ตีได้เมือง นครพนม หนองคาย และเวียงจันทน์ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าให้พระยาเจ้าองค์หลวงไชยกุมารกลับเมืองจำปาศักดิ์ตามเดิมในฐานะประเทศราชของไทย เมืองนครจำปาศักดิ์จัดเป็นประเทศราชของไทยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และโปรดเกล้า ให้ท้าวคำผงเป็นพระประทุมสุรราช ควบคุมไพร่พลตั้งเป็นกองอยู่ที่ หรือที่เรียกว่าบ้านดู่ บ้านแก ดังเดิม ทั้งนี้เพราะท้าวคำผงมีครอบครัวไพร่พลในสังกัดมาก ประกอบกับมีส่วนเกี่ยวดองกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารในฐานะที่เป็นเขย เนื่องจากได้สมรสกับธิดาอุปราชธรรมเทโว(นัยว่ามีบุตร 9 คนเป็นชาย 4 หญิง 5 บุตรชายคนหนึ่งชื่อกุทอง ( พระพรหมราชวงศา ) เป็นต้นสกุลสุวรรณกูฎ)

    เมื่อ พ.ศ. 2322 เกิดการจราจลที่ประเทศเขมร พระปทุมสุรราช ( คำผง ) และพรรคพวกได้เป็นกำลังช่วยสมคลิก เพื่อชมภาพใหญ่เด็จพระยามหากษัตริย์ศึกปราบการจราจลครั้งนี้ด้วย จากนั้น พระปทุมสุรราช ท้าวทิดพรหม ท้าวก่ำ จึงขอพระราชทานย้ายจากบ้านดู่บ้านแก ไปอยู่ที่ห้วยแจระแมหรือบ้านท่าบ่อ และได้ตรวจพบทำเลภูมิประเทศอันเหมาะสมห่างจากที่เดิมประมาณ 100 เส้นเศษ เรียกว่า ดงอู่ผึ้ง จึงอพยพพี่น้องไพร่พลมาอยู่สร้างเมืองเป็นการถาวร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2322 ครั้นเมื่อลงหลักสร้างคูเมืองเรียบร้อยแล้วได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นอยู่ในขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีเชิญท้องตราพระราชสีห์มาพระราชทานตั้งเมืองให้เมื่อปีชวด พ.ศ.2323( ก่อนกรุงเทพ ฯ 2 ปี ) นับจากวันนี้ (20 ต.ค. 2553) ผ่านมาแล้ว 230 ปี 10 เดือน 20 วัน

    ต่อมาสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกได้เถลิงถวัลราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระนามว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นช่วงที่บ้านเมืองค่อนข้างสงบ ก็ทรงมีนโยบายที่จะจัดตั้งเมืองให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการรวบรวมไพร่พลให้เป็นปึกแผ่นเพื่อความสงบสุขของชาติบ้านเมือง ดังนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "…….รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ให้เจ้าหังเที่ยวเกลี้ยกล่อมหาผู้คนมาเป็นพลเมืองโดยไม่ต้องใช้อำนาจ อาจทำได้ด้วยยินดีด้วยกันทุกฝ่ายก็สำเร็จประโยชน์ ถึงความมุ่งหมายเจ้าเมืองไหนเกลี้ยกล่อมคนมาได้มากก็ได้ทรัพย์เศษส่วน และได้ผู้คนสำหรับอาศัยให้สอยมากขึ้นก็เต็มใจขวนขวายตั้งบ้านเรือนฝ่ายราษฎรที่เดือดร้อนลำบาก เมื่อรู้ว่าบ้านเมืองกลับเรียบร้อยอย่างเดิม ก็ยินดีจะกลับมา….."

    ฉะนั้นคงเป็นเพราะเพื่อสนองตอบพระบรมราโชบายในการตั้งเมืองดังกล่าวมาแล้ว และเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพของไพล่บ้านเมือง ในปี พ.ศ. 2329 พระประทุมจึงย้ายครอบครัวไพร่พลมาตั้งอยู่ ณ ตำบล ห้วยแจระแม คือตำบลที่ตั้งอยู่ทางเหนือเมืองอุบลเดี๋ยวนี้

    พระประทุมสุรราช (ท้าวคำผง) ได้พาพรรคพวกไพร่พลตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยแจระแมด้วยความปกติสุขเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่ง พ.ศ.2334 เกิดกบฎอ้ายเชียงแก้ว อยู่บ้านเขาโอง แขวงเมืองสีทันดอน ( ห่างนครจำปาศักดิ์ลงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 130 กิโลเมตร ) ตามลำน้ำโขง อ้ายเชียงแก้วเป็นกบฎโดยอ้างตนเองเป็นผู้วิเศษ มีคนนับถือมากยกพวกพาพรรคพวกไพร่พลเข้ายึดเมืองนครจำปาศักดิ์ พระเจ้าไชยกุมาร เจ้าเมืองซึ่งกำลังป่วยอยู่ก็มีอาการทรุดหนัก และถึงแก่พิราลัย อ้ายเชียงแก้วจึงยึดนครจำปาศักดิ์ไว้ได้ เมื่อความทราบถึงพระบาทสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เมื่อครั้งเป็นพระพรหมภักดียกบัตรเมืองนครราชสีมา ยกกองทัพเมืองนครราชสีมามาปราบกบฏอ้ายเชียงแก้ว อย่างไรก็ดี ขณะที่กองทัพนครราชสีมายกมาไม่ถึงนั้นพระปทุมสุรราช (ท้าวคำผง) ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลแจระแม และท้าวฝ่ายหน้าผู้น้อยที่ตั้งอยู่บ้านสิงห์ท่า (อยู่ใน ต.เมืองยโสธรในปัจจุบัน)ได้ยกกำลังไปรบอ้ายเชียงแก้วก่อน ทั้งสองฝ่ายได้สู้รบกันที่บริเวณแก่งตะนะ (อยู่ในอำเภอโขงเจียมในปัจจุบัน) กองกำลังอ้ายเชียงแก้วแตกพ่ายไป อ้ายเชียงแก้วถูกจับได้และถูกประหารชีวิต เมื่อกองทัพนครราชสีมายกมาถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อยแล้ว จึงยกกองทัพไปตีพวก ข่า "ชาติกระเสงสวางจะรายระแดร์" ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำโขง จับพวก ข่า เป็นเชลยได้จำนวนมาก

    จากความดีความชอบในการปราบปรามกบฏอ้ายเชียงแก้วนี่เอง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ท้าวฝ่ายหน้าเป็นพระวิไชยราชขัตติยวงศา ครองเมืองนครจำปาศักดิ์ และโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้พระปทุมสุรราช เป็นพระปทุมวรราชสุริยวงษ์ ครองเมืองอุบลราชธานี พร้อมกับยกฐานะบ้านห้วยแจระแม ขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด จุลศักราช 1154 ตรงกับ พ.ศ. 2335 นับจากวันนี้ (20 ต.ค. 2553) ผ่านมาแล้ว 218 ปี 2 เดือน 20 วัน ดังปรากฏในพระสมุดพระสุพรรณบัตร ตั้งเจ้าประเทศราชในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่า

    "……ด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า ผู้พานพิภพกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตั้งให้พระปทุมเป็นพระปทุมวรราชสุริยวงษ์ ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลประเทศราช เศกให้ ณ วันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 ปีจัตวาศก….…"


    ข้อมูลจาก : http://www.radioubon.com/ubon/

    (( ยาวหลายจ้านำอ่านให้แหน่สิค่านหลาย อิอิ ))
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 24-10-2010 at 23:20. เหตุผล: ปรับไซด์ตัวอักษร
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ก่อนจะมาเป็น"อุบลราชธานี"

    ชาวอุบลราชธานี
    พื้นที่อันเป็นที่ตั้งเมืองอุบลราชธานีนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ในอาณาจักรโคตรบูรณ์ ส่วนหนึ่งอยู่ในอาณาจักรขอม คงมีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว เช่น พวกขอม , ละว้า หรือไทยโบราณ ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น เพราะอาณาจักรดังกล่าวมีอยู่ก่อนกว่า 2,500 ปี ต่อมาจึงค่อยหมดไป
    ชาวอุบล ฯ ที่อพยพมาก็เป็นส่วนหนึ่งมาแทรกอยู่กับชาวพื้นเมืองเดิม และกระจัดกระจายอยู่ก็คงมีตั้งเป็นกลุ่มอยู่โดยเฉพาะก็คงมี พวกที่มาอยู่ใหม่นี้คงจะมีความเจริญกว่าสำเนียงภาษาพูด ประเพณีจึงเป็นอย่างเดียวกัน ตามที่ได้นำมาจากเมืองแม่ ( เวียงจันทน์ ) ซึ่งเทียบได้กับชาวยุโรปที่อพยพไปอยู่ในอเมริกาก็กลืนชาวพื้นเมืองเดิม ( อินเดียแดง ) กลายเป็นประเทศใหม่แต่ใช้ภาษาตามเมืองแม่ ประเพณีตามเมืองแม่
    มีสกุลใหญ่ ๆ ของเมืองอุบล เช่น ณ อุบล , สุวรรณกูฎ , ไชยกาล , พรหมวงศานนท์ , ปทุมเวียง , และแสนทวีสุข เป็นต้น ดูเหมือนจะเป็นเครือญาติกันมาทั้งนั้น กระจายไปอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ ยโสธร , มหาชนะชัย , เขมราฐ , พิบูลมังสาหาร , เดชอุดม , และอำนาจเจริญ เป็นต้น คือเป็นชั้นลูก หลาน เหลน ที่เป็นต้นตระกูลส่งไปปกครองบ้านเมือง จนถึงสมัยการเลิกสืบสกุลเป็นผู้ปกครองเมือง ส่วนคนต่างเมืองที่มาค้าขาย เช่น สกุลโกศัลวัตร , ศรีธัญรัตน์ , จากนครราชสีมา มาตั้งภูมิลำเนาที่นี่ กับยังมีสกุลอื่น ๆ อีก ส่วนชาวจีนนั้นมาตั้งรกรากภายหลัง แล้วจึงขยายกันออกไปทางสมพงศ์

    ความเปลี่ยนแปลงต่อมา

    ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า เมืองอุบลราชธานี ตั้งเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2335 นั้น ยังรวมอยู่กับหัวเมืองในนาม “ ลาวพุงขาว “ หัวเมืองที่เรียกว่าลาวพุงขาวนี้ รวมภาคอีสานเฉพาะที่เรียกว่า มณฑลพวน กับ มณฑลลาวกาว ( พ.ศ.2434 ) จึงเป็นอันว่าตั้งเป็นเมืองแล้วตั้ง 100 ปี ก็ยังรวมอยู่ในนามของมณฑลลาวกาว
    พ.ศ.2442 ยังเป็นเมืองอุบลราชธานี และรวมอยู่ในนามของมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอีสาน เมืองอุบลราชธานีก็ยังรวมอยู่ในนามของมณฑลอีสาน
    มณฑลอีสานเมื่อ พ.ศ.2450 นั้น แบ่งการปกครองเป็น 4 บริเวณ คือ
    1. บริเวณเมืองอุบลราชธานี มี 3 เมือง ได้แก่
    เมืองอุบลราชธานี มี 11 อำเภอ
    เมืองยโสธร มี 2 อำเภอ
    เมืองเขมราฐ มี 6 อำเภอ
    2. บริเวณขุขันธ์ มี 3 เมือง ได้แก่
    เมืองขุขันธ์ มี 3 อำเภอ
    เมืองศรีสะเกษ มี 4 อำเภอ
    เมืองเดชอุดม มี 3 อำเภอ
    3. บริเวณเมืองสุรินทร์ มี 2 เมือง ได้แก่
    เมืองสุรินทร์ มี 4 อำเภอ
    เมืองสังขะ มี 3 อำเภอ
    4. บริเวณเมืองร้อยเอ็ด มี 5 เมือง ได้แก่
    เมืองร้อยเอ็ด มี 4 อำเภอ
    เมืองกาฬสินธุ์ มี 7 อำเภอ
    เมืองกมลาสัย มี 5 อำเภอ
    เมืองสุวรรณภูมิ มี 6 อำเภอ
    เมืองมหาสารคาม มี 4 อำเภอ
    พ.ศ.2455 แยกมณฑลอีสานเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานี กับ มณฑลร้อยเอ็ด เมื่อเป็นมณฑลอุบลราชธานีแล้ว มีจังหวัดขึ้นอยู่ 3 จังหวัด คือ อุบลราชธานี , ศรีสะเกษ , สุรินทร์
    เมื่อเป็นมณฑลลาวกาว ( พ.ศ.2434 ) และต่อมาเปลี่ยนชื่อมาตามลำดับแล้วนั้น พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เสด็จเป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี ( พ.ศ.2436 – 2453 )
    พ.ศ.2465 ได้มีประกาศให้รวมมณฑลอุดรธานี มณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบลราชธานี เป็นภาคที่เรียกว่าอีสาน มีอุปราชประจำภาค ตั้งที่บัญชาการอยู่ ณ เมืองอุบลราชธานี ถึง พ.ศ.2468 จึงประกาศยกเลิกภาคอีสานให้กลับคืนเป็นมณฑลตามเดิม
    พ.ศ.2470 ยุบมณฑลอุบลราชธานีเป็นจังหวัด ไปรวมขึ้นต่อมณฑลนครราชสีมาและมณฑลต่าง ๆ ถูกยุบลงเป็นจังหวัด ขึ้นตรงต่อส่วนกลางแต่ พ.ศ.2476 เป็นต้นมา
    วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2515 แยกอำเภอยโสธร , เลิงนกทา , คำเขื่อนแก้ว , มหาชนะชัย , ป่าติ้ว ตั้งเป็นจังหวัดเรียกว่า จังหวัดยโสธร
    วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2536 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ พุทธศักราช ๒๕๓๖ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2536 ตรงกับวันพุธ แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา ยกฐานะอำเภออำนาจเจริญ เป็นจังหวัดอำนาจเจริญ โดยให้แยกอำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันอำเภอลืออำนาจ) รวม 6 อำเภอ ๑กิ่งอำเภอ โดยแยกออกจากการปกครองจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันขึ้น เป็นจังหวัดอำนาจเจริญ (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า4-5-6 เล่ม110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536
    สภาพการเมืองตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    สภาพการเมือง ของจังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจาก เป็นช่วงแห่ง ความตื่นตัวทางการเมืองอย่างสูงสุดของอิสาน ประกอบกับ สภาพภูมิศาสตร์ที่ทุรกันดาร สภาพเศรษฐกิจ สังคม ที่ขัดสน ทำให้ ส.ส.อิสานในยุคนั้นมีความกร้าวแกร่ง ด้านอุดมการณ์ มีความคิดก้าวไกล มีการร่วมกลุ่มประสานงาน ในแต่ละภูมิภาค แม้ว่าจุดจบของ ส.ส.อิสาน ส่วนมาก จะกลายเป็นโศกนาฏกรรม และความขมขื่น แต่เรื่องราวของ ส.ส.อิสาน หรือ ส.ส.อุบลราชธานี ได้กลายเป็น ตำนานในการปลุกเร้า ทางการเมือง และ กลายเป็นแบบอย่าง วีรกรรม สำหรับนักการเมือง อุบลราชธานีสืบมา
    ส.ส.อุบลราชธานี ยุคแรก ภายหลังการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร์ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แล้ว คณะราษฎร์ได้จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งแรก ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476
    ในการเลือกตั้งครั้งแรก ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ส่วนใหญ่ เป็นข้าราชการเก่า หรือไม่ก็มีเชื้อสายของตระกูล ผู้ปกครองเก่า ในจังหวัดอุบลราชธานี ก็เช่นเดียวกัน ในสมัยนั้นเลือกได้ ส.ส. 3 ท่าน คือ 1. นายเลียง ไชยกาล 2. นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และ 3. นายเนย สุจิมา

    นายเลียง ไชยกาล เป็นหลานเขยของตระกูลเจ้านาย ทางจำปาศักดิ์ คือ กวนเจ้าโชติ ตระกูลของ นายเลียงเอง ก็สืบมาจากตระกูล ณ อุบล ซึ่งเป็นตระกูล เจ้านายเมืองอุบลราชธานีเก่า ตระกูลหนึ่ง นายเลียงเคยประกอบอาชีพครู และทนายความมาก่อน

    นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นลูกคหบดี เป็นหลานเขย ของตระกูล เจ้านายจำปาศักดิ์ เคยเป็นครูใหญ่ โรงเรียนเบ็ญจะมะ มหาราชหลายปี โรงเรียนนี้เป็น โรงเรียนชาย ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้เป็นนายอำเภอ อยู่หลายแห่ง ย่อมมีลูกศิษย์ลูกหา และลูกน้องจำนวนมาก

    นายเนย สุจิมา มีอาชีพเป็นทนายความ เป็นลูกข้าราชการ และเป็นหลานเขย ของพระอุบลกิจประชารักษ์ ตระกูลเก่า เจ้านายเมืองอุบลราชธานี เช่นเดียวกัน
    ดังนั้น ในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งแรก ในจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. คือ กลุ่มของคนจากตระกูล อาญาสี่ (คือ ตำแหน่งผู้ปกครองเก่า ได้แก่ เจ้าเมือง เจ้าอุปฮาด เจ้าราชวงศ์ และเจ้าราชบุตร) เนื่องจากตระกูลใหญ่ๆ เหล่านี้ มีลูกหลานจำนวนมาก เพียง 3 ชั่วอายุคน เกิดวงศ์วานว่านเครือ ทั้งญาติสายตรง ญาติลูกพี่ลูกน้อง ญาตเกี่ยวดอง ทางการสมรส จำนวนกว่า 100 ตระกูล อีกประการหนึ่ง เป็นธรรมเนียมทางอิสาน ที่มีการนับญาติ กันอย่างกว้างขวาง จึงไม่แปลก ที่คนในตระกูลเก่าแก่ จะได้รับเลือกตั้งเสมอ ในยุคตั้งแต่ พ.ศ.2475-2500 จะหาคนที่เฉลียวฉลาด มีความรู้ ความสามารถ และมีการศึกษา มาสมัครรับเลือกตั้ง ได้ไม่มากนัก เช่น กรณีของ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เพียงแต่ลงชื่อสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น ไม่ต้องหาเสียง คะแนนก็จะนำมาทุกสมัย
    การเลือกตั้ง ครั้งแรก เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม คือ ราษฎรเป็นผู้เลือกผู้แทนตำบล ผู้แทนตำบล จะเป็นผู้เลือกผู้แทนจังหวัด ซึ่งเป็น ส.ส. ประเภทที่ 1 และมี ส.ส. ประเภทที่ 2 ได้จากการแต่งตั้ง ในจำนวนเท่ากัน ประกอบกันเป็นรัฐสภา สภาจะมีวาระสมัยละ 4 ปี ทั้งนี้ เนื่องมาจาก คณะราษฎร์ เห็นว่า ประชาชนในประเทศ ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในระบบการเมืองรูปแบบใหม่ จึงให้เลือกตั้งโดยอ้อมก่อน รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ยังมีบทเฉพาะกาล ไว้ว่า จนกว่าประชาชนทั่วประเทศ จะจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง ของประชาชนทั้งหมด หรือไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า (คือใน พ.ศ. 2485) จะให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ทั้งหมด ไม่มี ส.ส.ประเภทแต่งตั้งอีกต่อไป
    การหาเสียง ในยุคแรกค่อนข้างยากลำบาก โดยเฉพาะในด้านการคมนาคม ซึ่งใช้ช้าง ม้า หรือเกวียน เป็นพาหนะ เข้าไปตามหมู่บ้าน ระหว่างอำเภอ มีรถยนต์ใช้บ้าง แต่น้อยมาก ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงของผู้สมัคร จะช่วยกันหาเสียงให้ ส่วนมากจะไปเวลากลางคืน เพราะกลางวัน ชาวบ้านไปทำมาหากิน ไม่สามารถรวมชาวบ้านได้ มีการประชุมชาวบ้าน ที่ศาลากลางบ้าน ที่วัด หรือที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน ผู้สมัคร และญาติมิตร จะช่วยกันยืนขึ้นพูดหาเสียง ในยุคนั้น ไม่มีการใช้เงินแจก นอกจากแจกหมากพลู ขนมบ้างเล็กน้อย ในสมัยหลัง จึงมีการแจกยา และฉายภาพยนต์บ้าง แจกขนมถั่วตัด ไม้ขีดไฟ ขี้ผึ้งสีปาก ฯลฯ แต่ก็มิได้แจกกันอย่างเป็นล่ำสัน เหมือนที่มีการ กล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางเช่นปัจจุบัน การเลือกตั้ง พ.ศ. 2491 มีการแจกปลาทูเค็ม ที่ศรีสะเกษ นับว่าฮือฮาโด่งดังมาก
    ขบวนผู้ไปหาเสียง มีผู้หญิงที่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นผู้ที่คนในสังคม รู้จักเคารพนับถือ ได้ไปช่วยกันพูดหาเสียงให้ นั่นมิได้ หมายความว่า ผู้หญิง ที่อุบลราชธานี มีความตื่นตัวทางการเมือง สูงกล่าที่อื่น หากเป็นเพราะความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
    การเลือกตั้ง ในยุคที่ 2 พ.ศ.2480 นายฟอง สิทธิธรรม มิได้เป็นคนจากตระกูล เจ้านายเมืองอุบลราชธานี แต่มาจากตระกูลชาวนา เข้าได้พี่น้อง ที่อำเภอม่วงสามสิบ ช่วยหาเสียง นายฟอง จะได้คะแนนเสียงในเขต นอกเมือง ส่วน ส.ส. ที่มาจากตระกูลเก่า เช่น นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายทิม ภูริพัฒน์ นายเลียง ไชยกาล จะมีคะแนนเสียงในเขตเมืองมาก
    หน่วยเลือกตั้ง ในยุคนั้น ตั้งอยู่ในวัด และโรงเรียน แต่ละคุ้ม หรือชุมชนหนึ่ง จะมีวัดเป็นศูนย์กลาง มีชนชั้นปกครอง เรียกว่า อัญญา ประจำอยู่ ทุกคุ้ม ซึ่งเป็นร่องรอยของการปกครองคน ตามกลุ่มตระกูลในระบบเดิม คุ้มต่างๆ ในเมืองอุบลราชธานี มีหลายคุ้ม ได้แก่ คุ้มบ้านเหนือ มีวัดหลวงเป็นศูนย์กลาง เป็นคุ้มชนชั้นปกครองเก่า คุ้มบ้านใต้ คุ้มวัดสว่าง คุ้มวัดกลาง คุ้มวัดพลแพน คุ้มบุ่งกาแซว ฯลฯ ข้างๆ หน่วยเลือกตั้ง หัวคะแนน ซึ่งเป็นเครือญาติ ของผู้สมัคร ส.ส. จะปูเสื่อไว้ มีหมากพลู บุหรี่ น้ำดื่ม ฯลฯ ไว้ต้อนรับผู้มาลงคะแนน และหัวคะแนนเหล่านี้ จะคอยชี้แนะ ผู้เข้ามาลงคะแนนเสียงได้ เพราะในสมัยนั้น ไม่มีการห้าม เมื่อผลเลือกตั้ง ออกมาแล้ว ผู้ได้รับเลือกก็จะเลี้ยงดู กันตามธรรมเนียม
    ในด้านการ ประชาสัมพันธ์ ในการเลือกตั้งสมัยนั้น ทางคณะราษฎร์ มีนโยบายให้ ส.ส. และข้าราชการ ตามหัวเมือง ได้ชี้แจงวิธีการเลือกตั้ง ให้ประชาชนได้ทราบ และเข้าใจถึงระบอบประชาธิปไตย จากงานเขียนของ ขุนพรหมประศาสตร์ (วรรณ พรหมกสิกร) ชาวอุบลราชธานี ผู้เป็นข้าราชการ กระทรวงมหาดไทย คือ เป็นนายอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้แต่ง "เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง แผ่นดินสยาม" และ"บรรยายรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณจักรสยาม" เป็นภาษไทยอิสาน เสนอต่อคณราษฎร์ ซึ่งผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ ที่จะช่วยให้พลเมืองทางภาคอิสาน และภาคเหนือ เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเนืองนี้ เชื่อว่า หนังสือ 2 เล่มนี้ น่าจะช่วยชี้แจงให้ราษฎรได้เข้าใจประชาธิปไตย และวิธีการเลือกตั้งได้ดีทีเดียว

    ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2492(การเลือกตั้งครั้งที่ 7) และเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495 (การเลือกตั้งครั้งที่ 8) อุบลราชธานีได้มีส.ส.หญิงคนแรกของจังหวัดและคนแรกของประเทศไทย คือ นางอรพิน ไชยกาล ซึ่งเป็นหลานสาวของตระกูลเก่าที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้านายทางจำปาศักดิ์และเจ้านายในอุบล นางอรพิน เคยดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนนารีนุกูล(พ.ศ. 2467) เป็นภรรยาของอดีตรัฐมนตรีเลียง ไชยกาล

    เจ้าเมือง และผู้ว่าราชการจังหวัด จากอดีต สู่ปัจจุบัน

    1. พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) พ.ศ.2325-2338
    2. พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) พ.ศ.2338-2388
    3. เจ้าราชบุตรสุ้ย ถึงแก่อนิจกรรมที่กรุงเทพฯ ก่อนมาดำรงตำแหน่ง
    4. พระพรหมราชวงศา (กุทอง) พ.ศ.2388-2409
    5. เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (เจ้าหน่อคำ) พ.ศ.2409-2425
    6. หลวงจินดารัตน์ พ.ศ.2425-2426
    7. พระยาศรีสิงหเทพ (ทัด ไกรฤกษ์) พ.ศ.2426-2430
    8. พระยาภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์)
    9. พระโยธีบริรักษ์
    10. พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล)
    11. พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์)
    12. หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร)
    13. อำมาตย์เอกพระภิรมย์ราชา (พร้อม วาจรัต) พ.ศ.2456-2458
    14. อำมาตย์เอกพระยาปทุมเทพภักดี (อ่วม บุณยรัตพันธุ์) พ.ศ.2458-2465
    15. อำมาตย์โทพระยาปทุมเทพภักดี (ธน ณ สงขลา) พ.ศ.2465-2469
    16. อำมาตย์เอกพระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) พ.ศ.2469-2471
    17. อำมาตย์โทพระยาสิงหบุทนุรักษ์ (สวาสดิ์ บุรณสมภพ) พ.ศ.2471-2473
    18. อำมาตย์โทพระยาประชาศรัยสรเดช (ถาบ ผลนิวาส) พ.ศ.2473-2476
    19. พ.ต.อ.พระขจัดทารุณกรรม (เงิน หนุนภักดี) พ.ศ.2476-2478
    20. อำมาตย์เอกพระปทุมเทวาภิบาล (เยี่ยม เอกสิทธิ์) พ.ศ.2478-2481
    21. อำมาตย์เอกพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) พ.ศ.2481-2481
    22. อำมาตย์เอกพระพรหมนครานุรักษ์ (ฮกไถ่ พิศาลบุตร) พ.ศ.2481-2482
    23. อำมาตย์โทพระยาอนุมานสารกรรม (โต่ง สารักคานนท์) พ.ศ.2482-2483
    24. พ.ต.อ.พระกล้ากลางสมร (มงคล หงษ์ไกร) พ.ศ.2483-2484
    25. หลวงนครคุณูปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์) พ.ศ.2484-2487
    26. หลวงนรัตถรักษา (ชื่น นรัตถรักษา) พ.ศ.2487-2489
    27. นายเชื้อ พิทักษากร พ.ศ.2489-2490
    28. หลวงอรรถสิทธิ์สิทธิสุนทร (อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร) พ.ศ.2490-2492
    29. นายชอบ ชัยประภา พ.ศ.2492-2494
    30. นายยุทธ จัณยานนท์ พ.ศ.2494-2495
    31. นายสง่า สุขรัตน์ พ.ศ.2495-2497
    32. นายเกียรติ ธนกุล พ.ศ.2497-2498
    33. นายสนิท วิไลจิตต์ พ.ศ.2498-2499
    34. นายประสงค์ อิศรภักดี พ.ศ.2499-2501
    35. นายกำจัด ผาติสุวัณณ์ พ.ศ.2501-2509
    36. นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ พ.ศ.2509-2513
    37. พลตำรวจตรีวิเชียร ศรีมันตร พ.ศ.2513-2516
    38. นายเจริญ ปานทอง พ.ศ.2516-2518
    39. นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ พ.ศ.2519-2520
    40. นายประมูล จันทรจำนง พ.ศ.2520-2522
    41. นายบุญช่วย ศรีสารคาม พ.ศ.2522-2526
    42. นายเจริญสุข ศิลาพันธุ์ พ.ศ.2526-2528
    43. เรือตรีดนัย เกตุสิริ พ.ศ.2528-2532
    44. นายสายสิทธิ พรแก้ว พ.ศ.2532-2535
    45. นายไมตรี ไนยกูล พ.ศ.2535-2537
    46. นายนิธิศักดิ์ ราชพิธ พ.ศ.2537-2538
    47. นายยุวัฒน์ วุฒิเมธี พ.ศ.2538-2540
    47. นายชาติสง่า โมฬีชาติ พ.ศ.2540-2541
    48. นายศิวะ แสงมณี พ.ศ.2541-2543
    49. นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ พ.ศ.2543 - 2544
    50. นายชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์ พ.ศ.2544 - 2546
    51. นายจิรศักดิ์ เกษณียบุตร พ.ศ.2546 - 2548
    52.นายสุธี มากบุญ พ.ศ.2548 - 2550
    53.นายชวน ศิรินันท์พร พ.ศ.2550 - ปัจจุบัน
    สภาพโดยทั่วใปในปัจจุบัน ของอุบลราชธานี
    จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศ อยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานคร ประมาณ 630 กิโลเมตรหรือ 575 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ มีเนื้อที่ประมาณ 16,112.650 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 10.069 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.16 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมี อาณาเขตติดต่อดังนี้
    ทิศเหนือ ติดต่อ จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธรและสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว
    ทิศตะวันออก ติดต่อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
    ทิศใต้ ติดต่อ ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย และจังหวัดศรีสะเกษ
    ทิศตะวันตก ติดต่อ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร

    แนวพรมแดน ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชาชนลาว และประเทศกัมพูชา รวมความยาวประมาณ 428 กม.
    - ติดต่อกับ สปปล. 361 กม. (จากอำเภอเขมราฐ-อำเภอน้ำยืน ติดต่อกับแขวง สะหวันนะเขต แขวงสาละวัน และแขวงจำปาสัก)
    - ติดต่อกับ กัมพูชา 67 กม. (อำเภอน้ำยืนติดต่อกับจังหวัดเขาพระวิหาร)
    ลักษณะภูมิประเทศ
    จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช (Korat basin) โดยสูง จากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย ประมาณ 68 เมตร (227 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ เป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออกมีแม่น้ำโขง เป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวมีแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกับ แม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัด จากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่อำเภอ โขงเจียม และมีลำน้ำใหญ่ ๆ อีกหลายสาย ได้แก่ ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย และมีภูเขาสลับซับซ้อนหลายแห่ง ทางบริเวณชายแดน ตอนใต้ที่สำคัญคือ เทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาพนมดงรักซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่าง จังหวัดอุบลราชธานีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว และกัมพูชา
    ลักษณะภูมิสัณฐาน ของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกโดยสังเขป ดังนี้
    1. บริเวณ ที่เป็นสันดินริมน้ำ (River levee)เกิดจากตะกอนลำน้ำที่พัดพามาทับถม สภาพพื้นที่เป็นเนิน สันดินริมฝั่งแม่น้ำโขง และบาง บริเวณสัน ดินริมฝั่งลำเซบาย
    2. บริเวณที่ เป็นแบบลานตะพักลำน้ำ (Terrace) ที่เกิดจากการกระทำของขบวน การของน้ำนานมาแล้ว ประกอบด้วยบริเวณที่เป็นลาน ตะพักลำน้ำระดับต่ำ ระดับกลางและระดับสูง ลักษณะพื้นที่ที่มีทั้งที่เป็นที่ราบแบบ ลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน จะอยู่ถัดจากบริเวณ ที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึงขึ้นมาพื้นที่เหล่านี้จะพบในบริเวณ ทั่วไปของจังหวัด กล่าวคือทางตอนเหนือ ทางตะวันออกและทางใต้บางแห่งใช้สำหรับทำนาและ บางแห่ง ใช้สำหรับปลูกพืชไร่
    3. บริเวณที่เป็นแอ่ง (Depression) หรือที่ราบต่ำหลังแม่น้ำ (Back swamp) เกิดจากการกระทำของ ขบวนการของน้ำ พบบางแห่งใน บริเวณ ริมแม่น้ำโขง แม่น้ำชี ลำเซบายและลำโดมใหญ่ จะมีน้ำแช่ขังนานในฤดูฝน
    4. บริเวณที่ เป็นเนินตะกอนรูปพัด (Coalescing fans) สภาพพื้นที่แบบนี้มีลักษณะเด่น คือ รูปร่างจะเป็นรูปพัด เกิดจากหินในบริเวณ เหล่านั้น ถูกทำให้แตกหักสะสมอยู่กับพวกที่มีอนุภาคละเอียดกว่าเมื่อฝนตกลงมาในปริมาณมาก กำลังของน้ำจะมีมากจนสามารถพัดพาเอาตะกอน เหล่านั้น ออกมานอกหุบเขาได้ เมื่อมาถึงนอกหุบเขาหรือเชิงเขา สภาพพื้นที่ก็จะเป็นที่ราบทางน้ำไหลกระจายออกไป ทำให้กำลังของน้ำลดลงก็จะ ตกตะกอนในบริเวณน้ำจะพบอยู่ ทางตอนใต้และทางตะวันตกของจังหวัด
    5. บริเวณที่ เป็นเนินที่เกิดจากการไหลของธารลาวา (Lava flow hill) เป็นเนินเขา ที่เกิดจากการไหลของธาร ลาวา ดินบริเวณนี้จะมี ศักยภาพ ทางการเกษตรสูง ซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวผุพังของหินบะชอลท์ บริเวณนี้จะพบ อยู่ในอำเภอน้ำยืน
    6. บริเวณที่ ลาดเชิงเขา (Foot hill slope) เป็นที่ลาดเชิงเขาที่ตะกอนบริเวณที่เกิด จากขบวนการของน้ำ นานมาแล้วทับถมกัน บริเวณ นี้จะพบ อยู่ในอำเภอโขงเจียม อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอ ตระการพืชผล
    7. บริเวณที่ ลาดเชิงซ้อน (Slope complex) ลักษณะเป็นภูเขาหรือเทือกเขามีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์จะพบบริเวณเทือกเขา พนมดงรักในอำเภอน้ำยืนอำเภอนาจะหลวยและอำเภอบุณฑริก อีกแห่งหนึ่ง คือ เทือกเขาภูเขา ซึ่งจะพบมากในอำเภอโขงเจียม และอำเภอ ศรีเมืองใหม่
    การปกครองในปัจจุบัน ( ณ เดือน ก.ย. 2546) มีอำเภอทั้งสิ้น 20 อำเภอ กับอีก 5 กิ่งอำเภอ ประกอบด้วย
    อำเภอเมืองอุบลฯ อำเภอเขื่องใน อำเภอตระการพืชผล กิ่งอำเภอนาเยีย
    อำเภอบุณฑริก อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอสำโรง กิ่งอำเภอเหล่าเสือโก้ก
    อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอโขงเจียม อำเภอตาลสุม กิ่งอำเภอน้ำขุ่น
    อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอวารินชำราบ อำเภอสิรินธร กิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์
    อำเภอเขมราฐ อำเภอเดชอุดม อำเภอนาจะหลวย กิ่งเภอนาตาล
    อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอดอนมดแดง
    อำเภอน้ำยืน อำเภอทุ่งศรีอุดม
    ที่มาของข้อมูล
    1. ประวัติเมืองอุบลราชธานีและบุคคลสำคัญ ค้นคว้าโดย นายเสนอ นาระดล , นายหมุน โสมฐิติ , นายประทิน ใจชอบ , นายบำเพ็ญ ณ อุบล
    2. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด , อุบลราชธานี ประวัติประเพณีและบุคคลสำคัญ,2520
    3. จังหวัดอุบลราชธานี , จังหวัดอุบลราชธานี , 2525
    4. เติมวิภาคย์พจนกิจ , ประวัติศาสตร์อีสาน

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 24-10-2010 at 23:17. เหตุผล: ปรับขนาดตัวอักษร
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  4. #4
    Moderators สัญลักษณ์ของ ต่าย
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    ที่อยู่
    เชียงใหม่
    กระทู้
    1,229
    บล็อก
    5
    พอแม่นละแม๊.....
    คนอุบลส่วนใหญ่มีแต่เป็นนักปราชญ์ ....ผู้หล่อผู้งาม...ผู้มีเสียงเพลงม่วนๆ...
    บัดได๋แท้เพิ้นเป็นลูกหลานนักปราชญ์เมืองหน่อเนื้อเชื้อกษัติรย์นี่เอง..
    ตาออนซอนอยากไปเที่ยวเด้..บ่เคยเห็นจั๊กเทื่อ
    :l-

  5. #5
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง สัญลักษณ์ของ พงศ์น้อย ส กสิน
    วันที่สมัคร
    Jan 2007
    ที่อยู่
    ผมไม่รู้ ผมนอนนา
    กระทู้
    1,100
    บล็อก
    5
    ทำหน้าที่คุณครูที่ดีน่อครับยาย มีนายกสมาคมจอบถามอยู่ห้องอัด เลยจัดชุดใหญ่ให้เลยน่อครับยาย อิอิอิ

  6. #6
    ขอบคุณหลายๆจ้าคุณยาย...กว่าหนูสิอ่านจบหวิ่งเลย...อิอิ....
    บุญหลายตั๊วที่หนูได้ฮู้จักคนดีศรีอุบล...และได้มีโอกาสไปเยี่ยมยามมาแล้ว2ครั้ง...แล้วคั่นมีโอกาสกะสิไปยามอีกอยู่
    เทือหน้าหละลางานหลายๆมื้อเด้อพ่อมันเอ้ยยยย....
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

  7. #7
    ศิลปิน นักแสดง
    นางไหขวัญใจบ้านมหา
    สัญลักษณ์ของ noonam
    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    กระทู้
    224
    แน้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ได้ยินคะเจ้าเว้ากันอยู่ไสบุนิ
    ราชธานี นิแมะ ฮ่มมี่ บ้อจ้า ฮิ้วววววววววคาตะจกบ่าว ลืมฟังเพิ่นโสกัน เอิ๊ก

  8. #8
    ร่วมกิจกรรมนำความรู้ สัญลักษณ์ของ เซียนเมา
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    Suratthani
    กระทู้
    1,450
    ธุจ้า
    ขอบคุณครับอาจารย์ ที่ให่ควมฮู้
    แต่ผมสงสัย เมืองพัทลุง เคยมีเจ้าเมือง คือบ่มีคำว่า ราชธานี ครับผม(สงสัยจริงๆครับผม)

  9. #9
    ครีเอทีพ โปรดิวเซอร์ สัญลักษณ์ของ บ่าวข้าวจี่
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    กระทู้
    1,008
    บล็อก
    7
    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ..ครับ........มีประวัติ ขอนแก่นห่มบักมี้ บ่นอ....

  10. #10
    ฝ่ายกิจการพิเศษ สัญลักษณ์ของ กำพร้าผีน้อย
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    ที่อยู่
    รัตนาธิเบศร์..ใกล้แยกแคราย
    กระทู้
    1,788
    ..ผมถามเล่นๆกะเป็นเรื่องเลยเนาะยาย
    ..เคยถามพี่น้องในบ้านมหานี่หละ ถามคนตระการ ถามทั่นบ่าวนิติกร
    ถามหยอกๆเล่นๆซื่อดอก ตามประสาคนมักจอบ มักซอก...

    ได้ความรู้หลายครับยาย ผมกะมักยุเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ กุมอ่านกระทู้นี่จนปวดตามึบๆ แต่กะคุ้มอยู่กับความรู้ที่ได้ ขอบคุณหลายๆครับยาย..

    ..ทั่นคนตระการมาอ่านแนเด้อ จังหวัดเจ้าของ เทื่อมีคนถามอีกซั่นดอก...55

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •