กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ บ่าวเพิก
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    ที่อยู่
    แดนสวรรค์เมืองใต้
    กระทู้
    79

    มีรูปภาพประกอบ ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน

    ประวัติความเป็นมา
    ประเพณีลากพระ บางท้องถิ่นเรียกว่า "ประเพณีชักพระ" เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้ ได้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบัน และเป็นประเพณีที่มีกำหนดการแน่นอน คือ จัดทำในแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ตรงกับวันออกพรรษา
    ที่มาของประเพณี เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชได้ 7 พรรษา และ พรรษาที่ 7 นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ได้เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน ครั้งทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย ผู้ไปทีหลังนั่งไกล ไม่สามารถเข้าไปถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้ จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ ถวายแทน บุญประเพณีลากพระ จึงมีขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม" เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว ห่อด้วยใบไม้อ่อนๆ เช่น ใบจาก ใบลาน ใบตาล ใบมะพร้าว หรือ ใบกะพ้อ เป็นต้น
    การลากพระ เป็นการบำเพ็ญบุญประเพณีในเทศกาลคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่โลกมนุษย์ เพื่อให้ประเพณีดังกล่าวโน้มน้าวเร้าจิตใจให้คิดระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์ทรงกลับมาสู่มนุษย์โลก และ โปรดเวไนยสัตว์จนเสด็จดับขันปรินิพพาน ประเพณีลากพระจัดทำในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยอัญเชิญพระพุทธรูปปางห้ามญาติ หรือ ปางห้ามสมุทร ซึ่งเป็นปางประทับยืนปละทรงยกพระหัตถ์เสมอพระอุระ ประดิษฐานเหนือบุษบกคือมณฑปขนาดเล็กสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ที่จัดตั้งไว้ในยานพาหนะสำหรับลากจูงต่อไป ขบวนลากจูงเรือพระนี้ เป็นประเพณีที่ชาวภาคใต้เรียกว่า "พิธีลากพระ"

    การลากพระแบ่งเป็น 2 ประเภท
    เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้บางแห่งเป็นที่ราบลุ่ม ชุมชนที่อยู่อาศัยในสถานที่แห่งนี้ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้ทะเล แม่น้ำลำคลอง การคมนาคมใช้เรือเป็นพาหนะ สำหรับชุมชนที่อาศัยในที่ราบสูงใช้เกวียนหรือรถยนต์เป็นพาหนะ ดังนั้น บุญประเพณีลากพระจำเป็นต้องใช้ยานพาหนะให้เหมาะกับพื้นที่ จึงจะประกอบพิธีลากพระได้ทั่วภูมิภาคและต่อละสถาน ที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันต่างกันแต่รูปแบบ หรือ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในพิธีดังนี้
    1.การลากพระเรือ เป็นประเพณีลากพระทางน้ำของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบลุ่ม การคมนาคมใช้เรือเป็นพาหนะ
    2.การลากพระบก เป็นประเพณ๊ลากพระทางบกของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบสูง การคมนาคมในชีวิตประจำวันใช้เกวียนหรือรถยนต์และรถไฟเป็นพาหนะ แต่ร้านม้าที่จัดตั้งบุษบกใช้คำว่า "เรือ" นำหน้าจึงเรียกว่า "เรือพระบก" สันนิษฐานว่า การลากพระคงเริ่มจากลากพระเรือก่อนที่จะดัดแปลงมาเป็นลากพระบก
    กิจกรรมประจำประเพณี
    แต่ละสถานที่อาจจะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและค่านิยมของชุมชน กิจกรรมที่จัดทำทั่วไป ได้แก่
    1.ประกวดเรือพระ หลักเกณฑ์และวิธีคัดเลือก ตัดสินแพ้ชนะ พิจารณาถึงความสวยงาม ส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีชาวภาคใต้ทั้งเรือพระบกและเรือพระน้ำ ได้ประดับด้วยสิ่งประดิษฐ์อันวิจิตรการตา เช่น เรือพระบกคานรองร้านม้าและสลักเป็นพญานาค 2 ตัว ยกหัวชูหงอนสะบัดหาง เลื้อยเคียงคู่ประคองบุษบกไปตามเส้นทาง ยิ่งดูยิ่งเพิ่มศรัทธาเร้าใจ จนเข้าไปร่วมขบวนโดยไม่รู้สึกเหนื่อยหน่าย
    2.การแข่งตะโพน ซึ่งเป็นกลองชนิดหนึ่ง หัวสอบท้ายสอบตัวตะโพนทำด้วยไม้ขึงด้วยหนังหัวท้าย มีขารอง ตีด้วยฝ่ามือ (ภาษาถิ่นบางแห่งเรียกว่า "ปืด") เข้าทำการแข่งขันครั้งละคู่ ตัดสินโดยการฟังเสียงเป็นสำคัญ วิธีแข่งขัน เรียงตะโพนตามกัน 2 ใบ ใบแรกจะตั้งเสียงตีก่อน ใบที่ 2 จะตัดเสียงทีหลัง คณะกรรมการจะดักฟังเสียงทางด้านหลังของตะโพนทั้ง 2 ใบ และต้องอยู่ห่างไกล จึงสามารถแยกเสียงตั้งและเสียงตัดได้ดี คู่แข่งขันจะสลับวางด้านหน้าและด้านหลังอย่างน้อยคนละหนึ่งครั้ง
    ตะโพนอีกประเภทหนึ่ง ตีด้วยไม้ ผู้ตีกลองต้องแข็งแรง วิธีแข่งขันจะตีแรงๆ รัวเร็วๆ และช่วงเวลาตียาวนาน ผลัดเปลี่ยนตีโชว์คนละครั้ง
    3.แข่งเรือยาว กำหนดรุ่นตามจำนวนฝีพาย กติการและวิธีแข่งขัน ตัดสินการแพ้ชนะที่ความเร็วช้ากว่ากัน ดังแข่งขันเรือยาวทั่วไป
    4.แข่งขันซัดขนมต้ม เป็นกีฬาที่รุนแรง ผู้แข่งขันต้องตาเร็ว มือเร็ว มีทักษะในการขว้างปาแม่นยำด้วย
    อุปกรณ์ในการแข่งขัน คือ ขนมต้มสามเหลี่ยมและจัดทำเป็นขนมต้มชนิดแข่งขันเฉพาะ บางแห่งใช้ข้าวเหนียวผสมทรายห่อด้วยใบกะพ้อ ต้มหรือนึ่งจนแห้งให้ข้าวเหนียวแข็ง

    ขอขอบคุณที่มาข้อมูล จาก ครวญ คุณาดิศร

    บักเพิกได้ไปบ้านที่พัทลุงมา กะเลยได้ไปร่วมเฮ็ดเรือพระทางบกมา มีภาพมาฝากเล็กน้อยจ้า
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    เฮ็ดแต่ตอนกลางวัน
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    พะโพนก็ต้องตีซ้อมกันไว้ทั้งคืนและส่งสัญญาณให้ชาวบ้านรู้ว่าวัดนี้มีเรือพระ
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    เฮ็ดกันจนมืดค่ำ
    และมันมาแล้วตอนสว่างของวันที่ 24/10/10 พอดีเป็นวันลากนั้นแหละ
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    พร้อมกันแล้วพี่น้องที่จะลาก ออกตามเวลาฤกษ์ทีพระท่านให้มา 08.29 น

    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    เมื่อได้ลากเอาฤกษ์กันแล้ว....ก็ได้เวลาความสนุกสนานกันแล้วครับ
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    จะลากกันไปตามต่างเพื่อให้ชาวบ้านในที่ต่างที่เรือพระผ่านได้ช่วยกันลากกันต่อๆ ในหมู่บ้านตำบลและก็อำเภอ
    แล้วแต่ว่าใครสิไปไหวบ่เท่านั้น
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    มื้อนี้ไปอำเภอบางแก้วครับ
    สนุกสนานกันแบบชาวปักใต้ครับ
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    เสียดายมื้อนี้จากวัดอื่นมาช้าเลยบ่ได้เห็น...พอดีบักเพิกต้องเดินทางกลับมาที่หาดใหญ่
    ทำธุระต่อ....ตอนกลางคืนกะสิม่วนอยู่ดอกพี่น้องเสียดาย...หลาย..เลยบ่ได้ภาพกลางคืนมาฝากพี่น้อง

    ออลืมไปรถเครื่องเสียงคันนี้ต้องขอยกนิ้วให้ครับสุดยอดดดด...เล็กแต่คุณณภาพเกินตัว
    ประเพณีลากพระของชาวใต้ที่สีบทอดกันมายาวนาน
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pui.lab; 26-10-2010 at 09:24. เหตุผล: เลื่อนภาพให้ตรง

  2. #2
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง สัญลักษณ์ของ พงศ์น้อย ส กสิน
    วันที่สมัคร
    Jan 2007
    ที่อยู่
    ผมไม่รู้ ผมนอนนา
    กระทู้
    1,100
    บล็อก
    5
    เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สร้างความสามัคคีให้คนในชุมชนนำน่อครับ ได้เวลาม่วนแล้วตั่วน่อครับช่วงออกพรรษานี่

  3. #3
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    ประเพณีทางภาคใต้ก็ม่วนเนาะจ้า ขอบคุณสำหรับข้อมูลมาฝากจ้า
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •