กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: ฟิสิกส์กับพุทธปรัชญา (1)

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ฟิสิกส์กับพุทธปรัชญา (1)

    ฟิสิกส์กับพุทธปรัชญา (1)





    ตอนที่ 1 แนวความคิดของ Fritjof Capra


    Fritjof Capra เป็นผู้หนึ่งที่เชื่อมโยงฟิสิกส์กับแนวทางของพุทธปรัชญาเข้าด้วยกัน


    จากงานเขียนเรื่อง
    เต๋าแห่งฟิสิกส์ Fritjof Capra


    รู้จักกับนักฟิสิกส์ที่ชื่อว่า เต๋าแห่งฟิสิกส์ สู่ฟิสิกส์ที่ได้จากแนวทางของพุทธปรัชญา

    เขาละ Fritjof Capra





    ฟิสิกส์กับพุทธปรัชญา (1)



    Fritjof Capra ผู้ที่เป็นชาวออสเตรีย เกิดเติบโต ใช้ชีวิตวัยเยาว์ในชนบท ธรรมชาติ และความใกล้ชิดกับธรรมชาติ ส่งผลต่ออิทธิพลต่อความคิดของเขาอยากมากมาย เมื่อเขา Fritjof Capra จบการศึกษาปริญญาเอกด้านทฤษฎีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่ที่เขามีโอกาสได้ ศึกษาและรับอิทธิพลทางความคิดจาก เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบอร์ก นักฟิสิกส์ชาวออสเตรียผู้มีชื่อเสียงและเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ ฟิสิกส์และปรัชญา (Physics and Philosophy) อิทธิพลของ เวอร์เนอร์ กระตุ้นให้ Fritjof Capra เกิดความสนใจวิชาฟิสิกส์ในปริบทที่กว้างไกลและหลากหลายกว่าวิทยาศาสตร์ตามกระแสหลักโดยทั่วไป


    คือเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาสู่มิติทางสังคม ชีวิต สิ่งแวดล้อมและมีความสนใจในปรัชญาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาตะวันออกของจีนโบราณ ลัทธิเต๋า พุทธศาสนานิกายเซน ฮินดู


    Fritjof Capra ได้ศึกษาปรัชญาตะวันออกจากคัมภีร์จำนวนมาก เช่น ภควทคีตา คัมภีร์อี้จิงของจีนโบราณ คัมภีร์เต๋าเจอจิง ฯลฯ เมื่อสำเร็จการศึกษาได้เป็นผู้สอนและวิจัยสาขาฟิสิกส์ในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงทั้งในยุโรป อเมริกา ปัจจุบันเขาสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ สหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ก่อตั้ง-อำนวยการศูนย์เพื่อความรอบรู้ทางนิเวศวิทยา(Center for Ecoliteracy )


    Fritjof Capra เป็นนักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีผลงานคิดและเขียนที่ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับโลก โดยเฉพาะในแวดวงผู้สนใจแนวคิด-ทฤษฎีใหม่ วิธีคิดอย่างใหม่ และการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ไม่ว่าในทางวิทยาศาสตร์หรือสังคม เขามีชื่อเสียงทั้งในฐานะของนักฟิสิกส์ นักนิเวศวิทยาแนวลึก และนักทฤษฎีระบบ(Systems Theorist) ผลงานเขียนของเขาเป็นหนังสือติดอันดับขายดี และได้รับการแปลออกเป็นภาษาสำคัญต่าง ๆ เกือบ 10 ภาษา


    ผลงานทางความคิดที่สำคัญในระยะเริ่มต้นของเขา คือ

    หนังสือชื่อ The Tao of Physics (1975) หรือเต๋าแห่งฟิสิกส์ ที่เป็นการศึกษาอย่างละเอียดลุ่มลึกในเชิงเปรียบเทียบเพื่อประสานให้เห็นความสอดคล้องของปรัชญาในศาสนาตะวันออก กับความรู้ในวิชาฟิสิกส์ใหม่จากทฤษฎีสัมพัทธ์ (Relativity Theory) ของไอนสไตน์ และทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory)


    อันเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ถือกันว่ายิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติยุคใหม่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกี่ยวกับสสาร พลังงาน ลักษณะการดำรงอยู่ของอะตอมและองค์ประกอบ ซึ่งช่วยให้มนุษย์เข้าใจความเป็นไปและลักษณะการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งและธรรมชาติมากขึ้น รวมทั้งเกิดทัศนะใหม่ในการมอง"ความจริง"(Reality) ที่แตกต่างไปจากความเข้าใจของวิชาฟิสิกส์แบบเดิมตามทฤษฎีกลศาสตร์ของนิวตันซึ่งวิทยาศาสตร์สาขาอื่น และสังคมศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ยึดถือเป็นกระบวนทัศน์ในการพัฒนาทฤษฎีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งปัจจุบัน


    Fritjof Capra ได้ศึกษาค้นคว้ามาเปรียบเทียบให้เห็นอย่างละเอียดในเต๋าแห่งฟิสิกส์ว่า การค้นพบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติในศตวรรษที่ 20 นี้ เป็นความรู้ที่มีอยู่แล้วในวัฒนธรรมตะวันออกมานานนับพัน ๆ ปี และอยู่ในรูปของศาสนาซึ่งเป็นแกนหลักของระบบวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิต ระบบคิด วิธีคิดแบบเดิมของโลกตะวันออก (และชุมชนดั้งเดิมในโลกตะวันตก เช่น อินเดียแดง อินคา ฯลฯ) แต่สังคมตะวันตกในช่วง 200 ปีมานี้ได้หันหลังให้


    หลังจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งมีฟิสิกส์แบบเดิมหรือกลศาสตร์ของนิวตัน เป็นแกนหรือฐานหลักของกระบวนทัศน์ ทำให้วิทยาศาสตร์สาขาอื่น รวมทั้งมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ที่ตั้งอยู่บนฟิสิกส์แบบกลศาสตร์นิวตัน


    ทฤษฎีของนิวตัน ขาดสิ่งที่ Fritjof Capra เรียกว่าหัวใจ หรือจิตวิญญาณ อันขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริงของธรรมชาติที่ค้นพบใหม่โดยทฤษฎีสัมพัทธ์และทฤษฎีควอนตัม


    กระบวนทัศน์ในการมองความจริงของเอกภพ โลก ธรรมชาติ มนุษย์แบบฟิสิกส์กลศาสตร์นี่เอง ทำให้มนุษย์จัดการกับชีวิต สังคม และธรรมชาติอย่างบกพร่อง จนกระทั่งนำมาสู่วิกฤตการณ์ที่เป็นทางตัน


    Fritjof Capra เห็นว่าความบรรสานสอดคล้องกันระหว่างฟิสิกส์ใหม่และศาสนาจะนำไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ในการมองความจริงของโลกแบบองค์รวม (Holistic) เป็นการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ไปจากกระแสหลักซึ่งมีลักษณะแบบกลศาสตร์ คือ กลไก (Mechanistic) ลดส่วน แยกส่วน (Reductionist)


    จากผลงานคิดในเชิงปรัชญาของงานเขียนเล่มแรก Fritjof Capra ได้นำเสนอในเชิงการวิเคราะห์รูปธรรม และเสนอทฤษฎีใหม่เพื่อเป็นกระบวนทัศน์ในการมองความจริงของโลก มนุษย์ ฯลฯ






    จากบทความ


    1) หนังสือเรื่องการพัฒนาความคิดของ Fritjof Capra
    อรศรี งามวิทยาพงศ์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    2) http://www.fritjofcapra.net





    ………………………………………………………………





    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 07-12-2011 at 03:53.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนห้วยค้อ เมืองพล
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    นครปฐม
    กระทู้
    62
    เจ๋ง....Paradigm Shift ของปรัชญาตะวันตก เป็นปรัชญาใหม่แต่ปรัชญาของตะวันออกนั้นเป็นอภิปรัชญาโดยความลุ่มลึกนั้นยังไม่สามารถอธิบายของหลักของพุทธ(ซึ่งไม่ใช่ศาสนา)ได้ในขณะนั้น
    แม้กระทั่งการแตกออกเป็นนิกายของลัทธิต่างๆซึ่งบางสำนักบอกว่าเป็นปรัชญา(ตะวันออก)แต่แท้จริงแล้วเป็นซับเซตของพุทธ....มันกว้างและยาวมากหากเริ่ม....

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนห้วยค้อ เมืองพล
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    นครปฐม
    กระทู้
    62
    Fritjof Capra เป็นนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์แนวโมเดิร์น ผสานกับคลาสสิค
    แต่สังคมตะวันตกยังไมสามารถเข้าถึงได้
    ถึงเข้าได้ก็นับว่าน้อย คนที่เสพงานวิจัยเขาจึงมีเพียงกลุ่มน้อย แต่ทุกคนที่เสพล้วนเป็นอภิปรัชญาเมธีที่ผสานยุคเก่าและยุคใหม่
    ปัจจุบัน สังคมตะวันตกได้ให้ความสำคัญกับสองสิ่งนี้และบรรจุเข้าสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ และส่วนมากจะเสพศาสตร์นี้แล้วมักถอนตัวไม่ชี้น..
    ในทางกลับกัน สังคมตะวันออก กลับเดินไปติดกับดักของตะวันตก....และถอนตัวไม่ขึ้นเช่นกัน
    เป็นวัฎของ man แต่จริงแล้วมันคือ mass.....
    งง ปะครับ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คนห้วยค้อ เมืองพล; 28-10-2010 at 00:08.

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนห้วยค้อ เมืองพล
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    นครปฐม
    กระทู้
    62
    หลักพุทธปรัชญารากเหง้าแท้จริงมาจาก ปรัชญาอินเดีย......ซึ่งมีหลายสำนัก....หลากหลายนิกาย
    หากแบ่งเป็นค่ายมีไม่กี่ค่ายแล้วแต่จะยึดหลักใดในการแบ่ง
    แต่สุดท้าย และปลายทางแล้วแต่ละค่ายคือ ต้องการหลุดพ้น....

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนห้วยค้อ เมืองพล
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    นครปฐม
    กระทู้
    62
    มีเวลาจะลงให้อ่านพร้อมกับสหสัมพันธ์กับโมเดิร์นฟิสิกส์ครับ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •