กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน

    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน(1)




    สาเหตุเกิดจาก การชนกันระหว่างแผ่นเปลือกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป


    ผลที่ได้รับก็คือ


    1 เขตแผ่นดินไหวที่ซึ่งมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับตื้นตามแนวขอบแผ่นเปลือกภาคพื้นทวีป และจะมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับลึกมากขึ้นเมื่อห่างจากขอบแผ่นทวีปเข้ามาบนพื้นดิน บางบริเวณร่องลึกมหาสมุทรอาจจะอยู่ใกล้กับขอบชายฝั่งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป แนวภูเขาไฟบนพื้นแผ่นดินที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเพียงเล็กน้อย และการทำลายแผ่นธรณีภาคมหาสมุทร

    2 การระเบิดของภูเขาไฟ



    ดังจะเห็นว่าประเทศอินโดนีเซียต้องผจญ
    คลื่นยักษ์สินามิ จากการเคลื่อนที่ของแนวเปลือกโลกใต้พื้นทวีป
    และภูเขาไฟ เมราปี ระเบิดขณะนี้




    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันคือ

    บริเวณที่แผ่นธรณีภาค (lithospheric plates) มีการเคลื่อนที่เข้าหาอีกแผ่นหนึ่ง การเคลื่อนที่เข้าชนกันของแผ่นเปลือกโลกนี้สามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหว (earthquakes) ภูเขาไฟ (volcanic activity) และการเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลก (crustal deformation)




    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน



    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน

    บริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกลงไปใต้พื้นมหาสมุทร




    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Oceanic and Continental Plates) เมื่อแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปเคลื่อนที่เข้าชนกัน แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรที่บางและมีความหนาแน่นสูงกว่าจะมุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปที่หนาและความหนาแน่นน้อยกว่า การที่แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรมุดตัวไปถึงชั้นแมนเทิลเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "subduction" ในขณะที่แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรมุดตัวลงมันจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น จนกระทั่งที่ความลึกประมาณ 100 ไมล์ (160 กิโลเมตร) วัสดุในแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวจะเข้าใกล้จุดหลอมเหลวและเริ่มมีการหลอมเป็นบางส่วน (patial melting)




    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน

    กระเปาะหินหนืด



    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน

    Magma chamber processes



    การหลอมเป็นบางส่วนนี้ก่อให้เกิด กระเปาะหินหนืด ( magma-chambers ) เหนือแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสุมทรที่มีการมุดตัว กระเปาะหินหนืดนี้มีความหนาแน่นน้อยกว่าวัสดุในชั้นแมนเทิลที่อยู่รอบๆ ข้าง ทำให้เกิดการลอยตัวขึ้น การลอยตัวของกระเปาะหินหนืดจะเริ่มลอยขึ้นอย่างช้าๆ ผ่านวัสดุที่ปิดทับอยู่ด้านบน โดยมีการหลอมและการแตกเกิดขึ้นตามเส้นทางที่กระเปาะหินหนืดลอยตัวขึ้นไป ขนาดและความลึกของกระเปาะหินหนืดของกระเปาะหินหนืดเหล่านี้หาได้จากการทำแผนที่การเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณรอบๆ ถ้ากระเปาะหินหนืดลอยขึ้นมาถึงพื้นผิวโลกโดยไม่มีการแข็งตัวก็จะเกิดการปะทุออกมาในลักษณะของการระเบิดของภูเขาไฟ ( volcanic eruption )


    และ ผลของการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป ได้แก่ เขตแผ่นดินไหวที่ซึ่งมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับตื้นตามแนวขอบแผ่นเปลือกภาคพื้นทวีป และจะมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับลึกมากขึ้นเมื่อห่างจากขอบแผ่นทวีปเข้ามาบนพื้นดิน บางบริเวณร่องลึกมหาสมุทรอาจจะอยู่ใกล้กับขอบชายฝั่งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป แนวภูเขาไฟบนพื้นแผ่นดินที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเพียงเล็กน้อย และการทำลายแผ่นธรณีภาคมหาสมุทร



    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน

    ภูเขาไฟ เมราปี



    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน

    Magma chamber





    *******************************






    ขอบคุณ

    thatcrystalsite.com

    waipahums.k12.hi.us

    2.bp.blogspot.com

    rmutphysics.com




    …………………………………………………..
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 31-10-2010 at 03:42.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)

    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)



    แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร

    จากตอนที่ 1

    ผลจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปทั้งสอง ได้แก่ การคดโค้งอย่างรุนแรงและรอยเลื่อน แนวเทือกเขาโค้งขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวระดับตื้น และการหดสั้นลงและหนาขึ้นของแผ่นเปลือกโลกในเขตการชนกัน



    จะเห็นว่า

    แนวชายฝั่งระหว่างวอชิงตัน-โอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Washington-Oregon coastline of the United States)

    คือตัวอย่างของแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันชนิดนี้ ที่ซึ่งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร ในบริเวณนี้ ตัวอย่างเช่น




    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)


    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)



    - จวน เดอ ฟูกา ( Juan de Fuca oceanic plate ) ได้มุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปอเมริกาเหนือ ( North American continental plate ) ที่กำลังเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก



    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)


    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)





    - เทือกเขาแคสเคด ( The Cascade Mountain Range ) คือแนวภูเขาไฟที่อยู่เหนือแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรที่กำลังหลอม



    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)

    Cascade Mountain range



    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)


    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)



    - เทือกเขาแอนดีส ( The Andes Mountain Range ) ที่อยู่ทางด้านตะวันตกของอเมริกาใต้คืออีกหนึ่งตัวอย่างของแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันระหว่างแผ่นเปลือกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป ที่ซึ่งแผ่นเปลือกโลกนาสก้า ( Nazca Plate ) ได้มุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ ( South American plate )


    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)

    สังเกตว่าบริเวณที่มีความหนามากที่สุด (บริเวณสีแดงและสีน้ำตาล)
    คือบริเวณเดียวกับแนวเทือกเขาสำคัญๆ เช่น เทือกเขาแอนดีส (Andes) ด้านตะวันตกของอเมริกาใต้




    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)

    The Andes Mountain Range



    และจะพบว่า จากผลของการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป

    ได้แก่ เขตแผ่นดินไหวที่ซึ่งมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับตื้นตามแนวขอบแผ่นเปลือกภาคพื้นทวีป จะมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับลึกมากขึ้นเมื่อห่างจากขอบแผ่นทวีปเข้ามาบนพื้นดิน บางบริเวณร่องลึกมหาสมุทรอาจจะอยู่ใกล้กับขอบชายฝั่งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป แนวภูเขาไฟบนพื้นแผ่นดินที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเพียงเล็กน้อย และการทำลายแผ่นธรณีภาคมหาสมุทร


    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร (Oceanic and Oceanic Plates):มีการเคลือนที่เข้าหากันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร 2 แผ่น


    แผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งจะมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง โดยปกติแล้วแผ่นเปลือกโลกที่มีอายุมากกว่าจะมุดตัวเนื่องจากความหนาแน่นที่สูงกว่า แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวจะได้รับความร้อนเมื่อมุดตัวถึงชั้นแมนเทิลและที่ความลึกประมาณ 100 ไมล์ (150 กิโลเมตร) แผ่นเปลือกโลกก็จะเริ่มหลอมทำให้เกิดกระเปาะหินหนืดและกระเปาะหินหนืดนี้ก็จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าวัสดุหินที่อยู่รอบๆ กระเปาะหินหนืดก็จะเริ่มลอยตัวขึ้นโดยมีการหลอมและการแตกของวัสดุหินที่ปิดทับอยู่ตามแนวเส้นทางที่กระเปาะหินหนืดลอยตัว เมื่อกระเปาะหินหนืดลอยขึ้นมาถึงพื้นผิวก็จะปะทุออกในลักษณะของโคนปะทุภูเขาไฟ ( volcanic eruption cone) ในช่วงต้นของกระบวนการนี้โคนภูเขาไฟยังคงอยู่ในระดับลึกใต้ผิวน้ำทะเล แต่ต่อมาก็จะมีการพัฒนาจนสูงกว่าระดับน้ำทะเล ซึ่งก่อให้เกิดแนวหมู่เกาะ และเมื่อมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เกาะต่างๆ จะขยายใหญ่ขึ้นจนเชื่อมติดกันกลายเป็นมวลแผ่นดินรูปร่างยาว (elongate landmass)


    ประเทศญี่ปุ่น หมู่เกาะอลัวเตียน ( Aleutian islands ) และหมู่เกาะแคริเบียนตะวันออก ( Earthern Caribbean islands ) คือตัวอย่างของแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันชนิดนี้


    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)

    Aleutian islands


    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)

    Aleutian islands



    แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (2)

    Aleutian Islands of Attu and Kiska,




    ผลของการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร 2 แผ่น ได้แก่ เขตการเกิดแผ่นดินไหวระดับลึกอย่างต่อเนื่อง ร่องลึกมหาสมุทร แนวหมู่เกาะภูเขาไฟ และการทำลายแผ่นธรณีภาคมหาสมุทร






    ขอบคุณ

    commons.wikimedia.org/
    geology.com
    destination360.com
    destination360.com
    nationalparkreservations.com
    lugoj.com
    alaskamaritime.fws.gov

    …………………………………………………………..






    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 01-11-2010 at 03:37.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •