วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (2)




กับแนวคิดด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต


ตอนที่ 1 สรุปทฤษฎีของ ลามาร์ค (Lamarckian theory) ซึ่งมีกฎที่สำคัญไว้สองกฎ ที่ได้แก่


- จากกฎ Law of use and disuse (กฎแห่งการใช้ และไม่ใช้)
ที่อธิบายวิวัฒนาการของอวัยวะของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากการใช้และไม่ใช้อวัยวะนั้น คือ อวัยวะใดที่ไม่ใช้จะค่อย ๆ หดหายไป และอวัยวะใดที่ยังใช้อยู่ก็จะคงอยู่หรือวิวัฒนาการให้ดีขึ้น

- law of inheritance of acquired characteristic
กฎที่ลามาร์กตั้งขึ้นเพื่ออธิบายการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ในรุ่นพ่อแม่ อันเนื่องจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมไปยังรุ่นลูก




ทำให้เห็นว่า กฎทั้ง 2 ข้อนี้สรุปได้ว่า

- สิ่งแวดล้อมมีผลต่อรูปร่างของ สัตว์ อวัยวะ ใดที่ใช้บ่อย ก็จะเจริญเติบโตขยายใหญ่ขึ้น อวัยวะใดที่ไม่ใช้ก็จะอ่อนแอลงและเสื่อมหายไปในที่สุด ลักษณะที่ได้มาและเสียไปโดยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม โดยการใช้และไม่ใช้จะคงอยู่

- ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยทางพันธุกรรม ยกตัวอย่างเช่น ยีราฟสมัยก่อนมีคอสั้น เมื่อยืดคอกินใบไม้สูง ๆ นาน ๆ เข้าคอจะค่อย ๆ ยืดยาวจนเป็นยีราฟปัจจุบัน ขาหลังของปลาวาฬหายไป เนื่องจากใช้หางว่ายน้ำ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า ลามาร์กจะเป็นผู้วางรากฐานของวิวัฒนาการเป็นคนแรก แต่ลามาร์กไปเน้นการถ่ายทอดลักษณะไปให้ลูกหลานว่าเกิดจากการฝึกปรือซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากในสมัยนั้นวิชาพันธุศาสตร์ยังไม่เจริญ



ตอนนี้เรามาพูดของ ทฤษฏีการคัดเลือกตามธรรมชาติ ของชาร์ล ดาวิน (Darwin's theory)



วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (2)


วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (2)

วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (2)



ดาร์วิน (Darwin's theory) ทฤษฏีการคัดเลือกตามธรรมชาติ


ชาร์ลส์ ดาร์วิน เมื่อจบการศึกษาแล้วได้เดินทางรอบโลกไปกับเรือบีเกิล ของรัฐบาลอังกฤษ โดย ดร.จอห์น เฮนสโลว์ เป็นผู้แนะนำ เขาได้นำประสบการณ์จากการศึกษาชนิดของพืชและสัตว์ต่าง ๆ ที่พบใน หมู่เกาะกาลาปากอส หมู่เกาะนี้อยู่ใน มหาสมุทรแปซิฟิก ดาร์วินได้ท่องเที่ยวมาเป็นเวลา 5 ปี ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1859 ดาร์วินได้เสนอ ทฤษฎีการเกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ เป็นผลอันเนื่องมาจากการคัดเลือกทางธรรมชาติ ทำให้สามารถเข้าใจการกระจายของพืชและสัตว์ ที่มีอยู่ประจำแต่ละท้องถิ่นตามหลักซึ่งภูมิศาสตร์ ดังต่อไปนี้คือ



- สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันย่อมแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เรียกว่า variation
- สิ่งมีชีวิตมีลูกหลานจำนวนมากตามลำดับเรขาคณิต
- สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องมีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดแปรผันให้ เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม และสืบพันธุ์ถ่ายทอดไปยังลูกหลาน
- สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดที่อยู่รอดและดำรงเผ่าพันธุ์ของตนไว้ ทำให้เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดความแตกต่างไป จากสปีชีส์เดิมมากขึ้นจนเกิดสปีชีส์ใหม่



สำหรับทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติของดาร์วินนั้น ในด้านของวิวัฒนาการนับว่าเป็นทฤษฎีที่ดีที่สุด และยิ่งนับวันที่ความก้าวหน้าในด้านโมเลกุลชีววิทยา และพันธุกรรมศาสตร์มีความลึกซึ้งกว้างขวางขึ้นเท่าไร ทฤษฎีก็ยิ่งเข้มแข็งเป็นจริงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะก็ในด้านของหลักการที่สำคัญ ๆ ในระดับของโมเลกุลเช่น ในเรื่องของมิวเตชั่น


สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันย่อมแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เรียกว่า variation หรือความบังเอิญ(randam variation) เป็นกลไกความสามารถในการปรับองค์กรตนเองให้มั่นคง ซับซ้อน และมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเป็นขึ้นตอนที่สูงขึ้น เป็นการจัดระเบียบของสิ่งที่มีชีวิต เพื่อการอยู่รอดของผ่าพันธุ์ที่ดีกว่า


แต่ทฤษฎีนี้ สำหรับ ผู้ที่แข็งแรงกว่าหาอาหารได้เก่งกว่าเท่านั้นที่รอด ถือว่าไม่เกี่ยวกันและเป็นคนละประเด็นกับทฤษฎีนี้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นป่านนี้โลกคงจะเต็มไปด้วยไดโนเสาร์ และขอให้ทราบว่า ทฤษฎีนี้ไม่คำนึงความหมายและความพิสดารซับซ้อนของกระบวนการของสิ่งที่มีชีวิต


จะเห็นว่า



บางครั้งยังมีมนุษย์ที่อ่อนแอด้วยในด้านพละกำลัง แต่ผู้ที่อ่อนแอกลับเอาชนะสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้แทบทั้งหมด

อะมีบา ที่สามารถอยู่ตั้งพัน ๆ ล้านปี ทำไมบางตัวมันจึงเปลี่ยนแปลงไปวิวัฒนาการไปแต่บางตัวก็ไม่เป็นเช่นนั้น

แมงกะพรุนกุ้งและปลาและความหลากหลายของชีวภาพ



นอกจากนี้ ทฤษฎีก็ยังไม่คำนึงถึงองค์รวม และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในโลกและจักรวาลในด้านกระบวนการของหน้าที่ของการพึ่งพากันอย่างขาดไม่ได้ ทำให้บางส่วนที่สำคัญของทฤษฎีขาดความหมายไกลความรอบด้านลงไป


แต่ได้มีนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่มักเป็นนักปรัชญาด้วย ได้อธิบายตามทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติไม่ได้ทั้งหมด คือเซอร์ เฟรด ฮอยล์ ศาสตราจารย์และผู้ก่อตั้งฟิสิกส์ทฤษฎีแห่งมหาวิทยาลัยเค็มบริดจ์



เซอร์ เฟรด ฮอยล์ ได้สรุปว่า



การสับเปลี่ยนยีนส์พันธุกรรมอย่างสลับซับซ้อนในกระบวนการวิวัฒนาการทางชีววิทยานั้น สุดท้ายแล้วอยู่ภายใต้การกำหนดและการควบคุมของอภิมาปัญญาที่บริหารทั้งหมด จากภายในจักรวาลเพื่อจักรวาลเองทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบของจักรวาล ทั้งที่เป็นหนึ่งเดียวกันหรือเชื่อมโยงต่อเนื่องกันระหว่างสรรพสิ่ง และจักรวาลเข้าไปด้วย และเฟรด ฮอยด์ก็ไม่ได้พูดว่าอภิมหาปัญญานั้นอยู่ภายนอกจักรวาลหรือว่าเป็นใครเป็นอะไร


จึงเป็นได้ว่าในทางชีววิทยากายภาพ เมื่อพูดถึงเหตุปัจจัยของการเป็นชีวิตต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตแล้ว ก็เหมือนกับไม่ได้พูดอะไรเลย ทั้งที่ว่าวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปจนแทบจะถึงที่สุดแล้วนั้น


แต่ไม่ทราบว่าชีวิตเกิดมาได้อย่างไร



………………………………………………………………..