กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความคดีโจรกรรมรถยนต์

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความคดีโจรกรรมรถยนต์

    ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความคดีโจรกรรมรถยนต์





    สรุปประเด็น


    ผู้ร้องเรียนร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีรถยนต์กระบะของผู้ร้องเรียนถูกโจรกรรมไป และผู้ร้องเรียนได้ไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจภูธร ย. (ปกปิดชื่อ) แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธไม่รับแจ้งความ และแจ้งให้ผู้ร้องเรียนไปแจ้งความร้องทุกข์กับสถานีตำรวจภูธร บ. (ปกปิดชื่อ) โดยอ้างว่าทางพื้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี

    ผลการพิจารณา


    ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานไปยังสถานีตำรวจภูธรที่เกี่ยวข้องทั้งสองแห่ง และศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค ได้รับการชี้แจงข้อมูล


    สรุปได้ว่า เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๒ เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.

    นาย พ. คนงานในฟาร์มของน้องสาวภรรยาของผู้ร้องเรียนได้มาขอยืมรถยนต์กระบะ ยี่ห้ออีซูซุ ของภรรยาของผู้ร้องเรียน ไปจากแม่ยายของผู้ร้องเรียน โดยอ้างว่าจะนำไปส่งของ และไม่นำรถกลับมาคืน


    ภรรยาของผู้ร้องเรียนจึงได้เข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธร บ. แต่พนักงานสอบสวนเวร พิจารณาแล้วเห็นว่า การยืมรถยนต์ดังกล่าว มิได้มีการตกลงวันคืนรถที่แน่นอน จึงไม่อาจคาดหมายได้ว่า นาย พ. จะนำรถไปโดยทุจริต จึงได้แนะนำภรรยาของผู้ร้องเรียนว่า หากนาย พ. ยังไม่นำรถมาคืนภายใน ๒๔ ชั่วโมงหรือสืบสวนพบว่า นาย พ. นำไปรถไปโดยทุจริต จึงจะดำเนินการให้มาแจ้งความในภายหลัง

    ต่อมา ผู้ร้องเรียน ทราบว่า นาย พ. ได้นำรถคันดังกล่าวขับไปเยี่ยมญาติที่ อำเภอ ย. ผู้ร้องเรียนจึงได้ติดตามไป แต่ นาย พ. ได้ขับรถหลบหนีไปก่อน ผู้ร้องเรียนขอเข้าแจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธร ย. แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจชี้แจงว่า ให้ผู้ร้องเรียนกลับไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธร บ. อันเป็นสถานที่เกิดเหตุ ประกอบกับขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร ย. ติดตามผู้ร้องเรียนไปที่บ้านญาติของ นาย พ. นั้น นาย พ. ได้หลบหนีไปก่อนหน้าแล้ว


    ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนประสานไปยังสถานีตำรวจภูธร บ. ได้รับทราบจากพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีว่า ได้จัดให้ผู้ร้องเรียนเข้าร้องทุกข์ดำเนินคดีกับนาย พ. แล้ว และอยู่ระหว่างการขออนุมัติออกหมายจับจากศาล และจะได้จัดชุดสืบสวนออกติดตามคนร้ายต่อไป


    อย่างไรก็ดี การดำเนินการติดตามเรื่องร้องเรียนนี้จะต้องรีบดำเนินการโดยเร่งด่วน เนื่องจากรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมอาจถูกนำส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน หรืออาจถูกถอดและแยกชิ้นส่วนเป็นอะไหล่ซึ่งจะยากต่อการติดตาม

    ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนประสานไปยังศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค เพื่อให้ช่วยจับกุมคนร้ายและติดตามรถยนต์กลับคืนมาโดยเร็ว ซึ่งชุดสอบสวนได้แกะรอยจากการใช้สัญญาณการใช้โทรศัพท์มือถือของนาย พ. จนสามารถจับกุมตัวได้ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๒ เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. โดยผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา

    และเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๒ ผู้ร้องเรียนได้นำหลักฐานสมุดคู่มือรถยนต์คันดังกล่าวมาขอรับรถคันดังกล่าวคืนจากชุดจับกุม เรื่องร้องเรียนดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค ได้ดำเนินการติดตามจับกุมตัวคนร้ายและนำรถยนต์ส่งมอบคืนให้แก่ผู้ร้องเรียนเรียบร้อยแล้วด้วยความรวดเร็ว ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเห็นควรยุติการพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว


    อย่างไรก็ดี ในส่วน ข้อกล่าวอ้างของผู้ร้องเรียนที่ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร ย. ไม่รับแจ้งความ นั้น ประเด็นดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘ วรรคสาม ได้วางหลักว่า ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้นๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน


    ซึ่งกรณีตามเรื่องร้องเรียนนี้ เหตุเกิดที่บ้านของผู้ร้องเรียนซึ่งอยู่ในท้องที่ความรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธร บ. แม้ว่าการกระทำผิดของผู้ต้องหาจะเป็นการกระทำผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙ (๓) ก็ตาม แต่ในกรณีข้างต้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙ วรรคสาม (ข) ได้บัญญัติว่า “กรณีถ้ายังจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ” กรณีตามเรื่องร้องเรียนดังกล่าวพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร บ. จึงเป็นท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนจึงเป็นผู้มีอำนาจสอบสวนคดีดังกล่าว


    ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร ย. ได้แนะนำให้ผู้ร้องเรียนไปร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่สถานีตำรวจภูธร บ. จึงเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ประกอบกับฐานความผิดที่ นาย พ. ลงมือก่อเหตุนั้น เป็นความผิดฐาน “ยักยอกทรัพย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๒ อันเป็นความผิดอันยอมความได้ มิใช่ฐานความผิด “โจรกรรมรถยนต์” อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แต่อย่างใด

    เนื่องจากญาติของผู้ร้องได้ยินยอมส่งมอบกุญแจรถยนต์คันดังกล่าวให้กับผู้ต้องหาโดยสมัครใจโดยไม่มีการข่มขู่ หรือใช้กำลังประทุษร้ายแต่อย่างใด พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี จึงต้องพิจารณาให้แน่ชัดว่าเป็นการกระทำโดยทุจริต แล้วจึงเสนอต่อศาลเพื่อขออนุมัติออกหมายจับผู้ต้องหาต่อไป

    เนื่องจาก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗๘ วางหลักว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลไม่ได้ กรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร ย. จึงไม่มีอำนาจจับกุมผู้ต้องหา การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร ย. ได้แนะนำให้ผู้ร้องไปร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่สถานีตำรวจภูธร บ. จึงเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว









    ขอบคุณ
    สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
    http://www.ombudsman.go.th





    ...................................................................
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ฝนหลวง
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    1,235
    ปกติมันหายในเขตพื้นที่ได๋ต้องไปแจ้งเขตนั้นบ่แม่นบ่อคับ
    แบบว่าผมเคยพ้อตอนเป็นหนุ่มน้อยนั่นน้า ไปแจ้งความบัตรประชาชนหาย
    หายยุเมืองชัยภูมิแต่ผมไปแจ้งยุ อ.หนองบัวระเหว ตำรวจบอกไห่ไปแจ้ง อ.เมือง
    ผมเลยบอกว่า จังซั่นหายยุบ้านกะได้เขาจังรับแจ้งความแมะ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ อ้ายญ้อสกล
    วันที่สมัคร
    Sep 2010
    ที่อยู่
    หนองทรายขาว เมืองสกลนคร
    กระทู้
    12
    เพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างในข้อเท็จจริง หลายหลายตัวอย่างเน๊าะพี่น้อง
    หลายท่านอาจเคยสงสัยว่าควรแจ้งความที่ใด เมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นและตำรวจท้องที่ไม่ยอมรับแจ้ง โดยอ้างเหตุว่า ไม่อยู่ในเขตอำนาจของตนได้หรือไม่ หลายครั้งเป็นการอ้างปัดงานด้วยมิชอบตามหลักกฎหมาย
    การแจ้งความ เป็นกระบวนการยุติธรรมเริ่มต้นในการบอกกล่าวความผิดของคนร้ายแก่ตำรวจ ซึ่งมีประมวลวิธีพิจารณาความอาญากำหนดอำนาจสอบสวนของตำรวจไว้ในมาตรา 18 โดยให้ข้าราชการตำรวจมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไปมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้ นั่นหมายความว่า เมื่อบุคคลใดเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจใด พนักงานสอบสวนต้องพิจารณาก่อนว่า เหตุร้ายเกิดในเขต เชื่อว่าเกิดในเขตนั้น หรือผู้เสียหายอ้างว่าเกิดในเขตนั้น หรือผู้ต้องหาอาศัยในเขตนั้น หรือถูกจับในเขตนั้น ถ้าเข้าองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีอำนาจรับแจ้งความเพื่อดำเนินคดีต่อไปได้เลย ตัวอย่างเช่น นักเลงข่มขู่เอาเงินและทำร้ายผู้เสียหายในท้องที่พลับพลาไชย แม้ผู้เสียหายจะอาศัยอยู่ในเขตพระนคร ก็ต้องแจ้งความ ณ ท้องที่เกิดเหตุร้าย เป็นหลัก คือ ท้องที่พลับพลาไชย เป็นต้น
    ส่วนกรณีที่เหตุร้ายเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องหลายท้องที่ หรือไม่อาจทราบได้ว่าเกิดเหตุในท้องที่ใด ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องอำนาจรับแจ้งความนี้ไว้เช่นกัน โดยบัญญัติที่มาตรา 19 ว่า พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดซึ่งเกี่ยวข้องกับคดี ย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ หากมีกรณีต่อไปนี้ คือ
    1. เป็นการไม่แน่ว่าการทำผิดอาญาได้ทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่
    2. เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง
    3. เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
    4. เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างกัน
    5. เมื่อความผิดเกิดขึ้น ขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง
    6. เมื่อความผิดเกิดขึ้น ขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง
    ดังนั้นหากมีเหตุร้ายที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้น เช่น เกิดเหตุร้ายบนรถเมล์ รถไฟ ล่อลวงข้ามหลายเขต ปล้นทรัพย์หลายท้องที่โดยโจรกลุ่มเดียวกัน เป็นต้น ผู้เสียหายพบหรือรู้ตัวว่าเกิดความผิดขึ้นในท้องที่ใด สามารถแจ้งความที่สถานีตำรวจนั้นได้ทันที ตำรวจไม่มีข้ออ้างปัดหน้าที่ของตนได้ ตัวอย่างเช่น เกิดการข่มขืนบนรถไฟขณะเดินทางไปภาคใต้ เมื่อผู้เสียหายมาแจ้งความกับตำรวจที่กรุงเทพฯ กลับถูกปฏิเสธโดยอ้างว่า ผู้เสียหายไม่อาจบอกได้ว่าถูกข่มขืนที่จังหวัดใด เพราะต้องไปแจ้งความในท้องที่ซึ่งเกิดเหตุข่มขืนเท่านั้น ทางกรุงเทพฯจึงไม่รับแจ้งความคดีนี้ กรณีเช่นนี้ตามหลักกฎหมายแล้วเมื่อมีเหตุร้ายขณะผู้เสียหายกำลังเดินทางด้วยรถไฟ หรือ ไม่อาจทราบว่าการข่มขืนเกิดในจังหวัดใดแน่นอน เมื่อมาแจ้งความที่กรุงเทพฯ ตำรวจต้องรับเรื่องไว้สอบสวนคดีทันที มันเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของผู้เสียหายซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจน ถ้าตำรวจปฏิเสธ จักกลายเป็นความผิดทางวินัยและกฎหมายอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
    อีกข้ออ้างหนึ่งซึ่งมักได้ยินตำรวจกล่าวเสมอ กรณีผู้เสียหายไม่รู้ว่าเกิดเรื่องในท้องที่ใด คือ ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของตนนั้น ตามหลักกฎหมายของความผิดเกี่ยวเนื่องหลายท้องที่นั้นได้กำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสำนวนการสอบสวนไว้ดังนี้
    1. ถ้าจับผู้ต้องหาได้ ผู้รับผิดชอบในคดีคือ พนักงานสอบสวนในท้องที่ซึ่งจับได้
    2. ถ้าจับผู้ต้องหาไม่ได้ ผู้รับผิดชอบคดีคือ พนักงานสอบสวนในท้องที่ซึ่งพบการกระทำผิดก่อน
    ไม่ว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้นที่ใด ตำรวจทุกท้องที่ซึ่งผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์แจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด มีอำนาจสอบสวนเบื้องต้นก่อนเสมอ จากนั้นเขาจะประสานส่งสำนวนทั้งหมดไปยังผู้รับผิดชอบตามกฎหมายของคดีนั้น หากพิจารณาภายหลังได้ว่า มิได้อยู่ในอำนาจของตน ซึ่งจะเป็นไปตามหลักกฎหมายข้างต้น ดังนั้น ถ้ามีการปฏิเสธไม่ยอมรับแจ้งความโดยมิใช่เหตุผลตามกฎหมาย ผู้เสียหายอาจร้องเรียนพฤติกรรมดังกล่าวไปให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อลงโทษทางวินัยหรือฟ้องคดีอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้อีกด้วย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •