กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: ร้องเรียนส่วนท้องถิ่นเลิกจ้างพนักงานไม่เป็นธรรม

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ร้องเรียนส่วนท้องถิ่นเลิกจ้างพนักงานไม่เป็นธรรม

    ตัวอย่างร้องเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลิกจ้างพนักงานโดยไม่เป็นธรรม





    เรื่องร้องเรียนกรณีการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคำสั่งเลิกจ้างพนักงานโดยไม่เป็นธรรม





    สรุปประเด็น


    ผู้ร้องเรียนเป็นพนักงานจ้างชั่วคราวของเทศบาล ตั้งแต่ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ ตำแหน่งคนงานทั่วไป ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่ศูนย์วัฒนธรรมประจำท้องถิ่น มีหน้าที่ต้อนรับและบรรยายสรุปข้อมูลแก่ผู้มาเที่ยวชม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศูนย์วัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และดูแลการเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภคของศูนย์วัฒนธรรม

    โดยเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๑ เทศบาลทำการประเมินผลการปฏิบัติราชการของพนักงานจ้างจำนวน ๓๐ ราย ปรากฏว่า ผลการประเมินของผู้ร้องเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ และเห็นควรต่อสัญญาจ้างในปีต่อไป

    ต่อมา เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ผู้ร้องเรียนได้รับแจ้งคำสั่งเลิกจ้างจากสำนักปลัดเทศบาล โดยในคำสั่งของนายกเทศมนตรี ไม่ได้ระบุเหตุผลการเลิกจ้าง ฉะนั้น หลังจากลงนามเพื่อรับทราบคำสั่งผู้ร้องเรียนจึงได้อุทธรณ์คำสั่ง ขอให้นายกเทศมนตรีพิจารณาทบทวนคำสั่งอีกครั้ง และระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง ซึ่งผู้ร้องเรียนได้รับทราบผลการอุทธรณ์จากนายกเทศมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ คือ หมดสัญญาจ้าง

    ผู้ร้องเรียนจึงขอความเป็นธรรมมายังผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจาก ผลการประเมินการปฏิบัติราชการของผู้ร้องเรียนอยู่ในระดับดี และผ่านเกณฑ์ประเมิน โดยได้คะแนนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับลูกจ้างที่ปฏิบัติราชการที่ศูนย์วัฒนธรรม ควรได้รับการต่อสัญญาจ้าง แต่ทุกคนได้รับการต่อสัญญาจ้าง ยกเว้นผู้ร้องเรียน และคณะกรรมการผู้ทำการประเมินผลการปฏิบัติราชการมีความเห็นว่าผู้ร้องเรียนควรได้รับการต่อสัญญาจ้าง แต่ผู้ร้องเรียนกลับถูกสั่งเลิกจ้าง




    ผลการพิจารณา



    สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงจากทางจังหวัดพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนนี้ สรุปได้ว่า



    ๑. จังหวัด ได้รับหนังสือร้องขอความเป็นธรรมจากผู้ร้องเรียนซึ่งมีข้อความเช่นเดียวกันกับที่ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงได้แจ้งอำเภอดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

    จากรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของอำเภอ สรุปได้ว่า เทศบาลได้บอกเลิกสัญญาจ้างผู้ร้องเรียนถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ข้อ ๓๙ และข้อ ๕๔ โดยมีเหตุผลที่เลิกจ้าง กล่าวคือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง


    งานประชาสัมพันธ์ที่ผู้ร้องเรียนปฏิบัติไม่ตรงกับงานที่จ้าง และเทศบาลมีนโยบายขยายกรอบอัตรากำลังและจะเปิดรับสมัครพนักงานจ้างตามภารกิจใน ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่แทนผู้ร้องเรียน อีกทั้งเทศบาลได้ย้ายนาย ป. พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่งคนงานทั่วไป (คนสวน) กองช่าง ไปประจำกองการศึกษา ในตำแหน่งคนงานทั่วไป แล้ว


    ๒. จังหวัดได้ตรวจสอบจากประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง และเอกสารหลักฐานแล้วเห็นว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ เทศบาลได้จ้างพนักงานจ้างทั่วไป เพื่อปฏิบัติงานในส่วนราชการของเทศบาล จำนวน ๓๐ ราย เมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้าง เทศบาลได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้างทั้งหมด ๓๐ ราย เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการที่เทศบาลจะใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารพนักงานจ้าง และนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนค่าตอบแทน หรือการเลิกจ้าง หรือเรื่องอื่นๆ ตามที่เทศบาลจะเห็นสมควร และแจ้งให้ผู้รับการประเมินทราบถึงเป้าหมายของการปฏิบัติงานตามตำแหน่งและงานที่รับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในสัญญาจ้าง ตามข้อ ๓๖ และข้อ ๓๙ ของประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด


    ซึ่งในการประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินประจำปี มิได้ระบุเป็นการประเมินเพื่อต่อสัญญาจ้างตามข้อ ๓๖ (๓) และกรณีที่จะมีการต่อสัญญาจ้างให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานมาประกอบการพิจารณาในการต่อสัญญาจ้างตามข้อ ๔๔


    ดังนั้น กรณีของผู้ร้องเรียนเป็นการพ้นจากตำแหน่งพนักงานจ้างทั่วไป เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลาการจ้างตามสัญญาจ้างตามข้อ ๕๔ (๑) ซึ่งมีระยะเวลาหนึ่งปี ตามความหมายของ “พนักงานจ้างทั่วไป” ประกอบกับเมื่อเทศบาลมิได้ต่อสัญญาจ้างก็ไม่ต้องนำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานมาประกอบการพิจารณา แม้ผลการประเมินของผู้ร้องเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีก็ตาม

    ทั้งจากเหตุผลของเทศบาลที่เลิกจ้างเพราะสิ้นสุดสัญญาจ้าง งานที่ปฏิบัติไม่ตรงกับตำแหน่งคนงานทั่วไป และเทศบาลจะมีการดำเนินการตามแผนกรอบอัตรากำลังพนักงานจ้าง ๔ ปี (๒๕๕๒ - ๒๕๕๕) อันเป็นอำนาจในการใช้ดุลพินิจของผู้บริหารท้องถิ่นที่จะดำเนินการได้ จึงเห็นว่า เทศบาลได้ดำเนินการเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้างแล้ว จังหวัดจึงยุติเรื่อง และได้แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องเรียนทราบ

    ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วมีความเห็นว่า การที่จังหวัดชี้แจงว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ร้องเรียนเป็นการประเมินประจำปี มิได้เป็นไปเพื่อการต่อสัญญาจ้าง จึงไม่ต้องนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณา แม้ผลประเมินจะอยู่ในเกณฑ์ดีก็ตาม นั้น การชี้แจงดังกล่าวไม่น่าจะสอดคล้องกับข้อกฎหมาย เนื่องจากประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ข้อ ๓๔ ที่กำหนดว่า ในระหว่างสัญญาจ้างให้เทศบาลจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง ดังต่อไปนี้ (๓) การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้างทั่วไป ให้กระทำในกรณีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้าง ข้อ ๔๐ กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้างตามภารกิจและพนักงานจ้างทั่วไป ปีละ ๒ ครั้ง ตามปีงบประมาณ


    คือ ครั้งที่ ๑ ประเมินผลในช่วงการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคม ครั้งที่ ๒ ประเมินในช่วงการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายน ข้อ ๔๑ กำหนดให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีหน้าที่ในการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมจากการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาหรือผู้ประเมิน ก่อนที่จะเสนอผลการประเมินต่อนายกเทศมนตรี



    ดังนั้น ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ร้องเรียนซึ่งเป็นพนักงานจ้างทั่วไป จึงกระทำได้แต่ในกรณีเป็นการประเมินเพื่อต่อสัญญาจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นการประเมินประจำปี


    เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ร้องเรียน และผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลในระดับดี ประกอบกับคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานมีความเห็นว่า ผลการปฏิบัติงานของผู้ร้องเรียนอยู่ในระดับดี จึงผ่านการประเมินและเห็นควรต่อสัญญาจ้าง นายกเทศมนตรีจึงควรจะต่อสัญญาจ้างให้ผู้ร้องเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อสั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามบันทึกวิทยุกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๐๐๖ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๘ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด แจ้งว่า มีการร้องเรียนเกี่ยวกับพนักงานจ้างที่จะต่อสัญญาจ้างใหม่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งมีการเรียกรับเงินและแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและผู้อื่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การต่อสัญญาจ้างพนักงานเป็นไปอย่างโปร่งใส บริสุทธิ์ และยุติธรรม เมื่อพนักงานจ้างได้ปฏิบัติหน้าที่จนครบกำหนดสัญญาจ้าง กรณีการต่อสัญญาจ้างในปีแรกที่มีการจ้าง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาผลการประเมินผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยย้อนหลัง ๑ ปี ไม่ต่ำกว่าระดับดี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประเมิน ผลการปฏิบัติงานในหมวด ๖ ของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพนักงานจ้าง จะต้องต่อสัญญาจ้างให้แก่พนักงานจ้างผู้นั้น


    นอกจากนั้น ยังปรากฏว่า เทศบาลสั่งเลิกจ้างผู้ร้องเรียน แล้วย้ายพนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานทั่วไป จากกองช่าง ไปประจำกองการศึกษา ซึ่งหากนายกเทศมนตรี เห็นว่า งานประชาสัมพันธ์ที่ผู้ร้องเรียนปฏิบัติอยู่ ไม่ตรงกับตำแหน่งคนงานทั่วไปของผู้ร้องเรียน และประสงค์จะเปิดรับสมัครพนักงานจ้างเพื่อปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์แทนผู้ร้องเรียน ก็สมควรย้ายผู้ร้องเรียนให้ไปปฏิบัติหน้าที่พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่งคนงานทั่วไป ซึ่งเป็นกรอบอัตราที่กองการศึกษามีและยังว่างอยู่แทน ไม่สมควรเลิกจ้างผู้ร้องเรียนแล้วย้ายบุคคลอื่นจากกองหรือสำนักอื่นมาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งคนงานทั่วไปแทน ซึ่งเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้องเรียน


    งนั้น การที่นายกเทศมนตรีไม่ต่อสัญญาจ้างให้แก่ผู้ร้องเรียนจึงเป็นการไม่ถือปฏิบัติและดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง และเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามการสั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทำให้ผู้ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนเสียหายเนื่องจากไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง และไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้างตลอดจนสิทธิอันพึงมีพึงได้

    ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเห็นควรให้จังหวัดแจ้งนายอำเภอในฐานะผู้ช่วยกำกับดูแลเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ สั่งการให้เทศบาลพิจารณาดำเนินการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนของผู้ร้องเรียนโดยเร่งด่วน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินทราบต่อไป


    ต่อมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับหนังสือจากจังหวัด แจ้งว่า เทศบาลได้ดำเนินการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ร้องเรียน โดยได้มีหนังสือแจ้งสอบถามความสมัครใจในการกลับเข้ารับราชการเป็นพนักงานทั่วไป ในตำแหน่งคนงานทั่วไปของศูนย์วัฒนธรรมแล้ว







    ขอบคุณ
    สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
    http://www.ombudsman.go.th





    ...........................................................................
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ไทเมืองมุก
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    ที่อยู่
    mukdaharn
    กระทู้
    319
    การกระทำเช่นนี้มักจะมีในช่วงหมดปีงบประมาณ อาจเกิดจากมีผู้บริหารคนใหม่ คณะบริหารชุดใหม่ และพนักงานคนนั้นไม่ใช่พรรคพวกตนเอง มีให้เห็นทั่วไปในสังคมไทย

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มสุรินทร์เหลา
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    กระทู้
    77
    ผมกำลังจะยื่นเรื่องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ครับ และจะฟ้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากการกระทำดังกล่าว ต้องไปพิจารณา ตามหนังศือบันทึกวิทยุสื่อสาร ที่มิอาจเปิดเผย ณ จุดนี้ได้ และหนังสือฉบับนี้ ทำให้ นายก อบต สวายจีก จังหวัดบุรีรัมย์ติดคุกมาแล้ว และผมก็มีคำสั่งศาลที่พิพากษานั้นด้วย

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    อ๋าวเรื่องเช่นนี้มันมีอยู่ทั่วไปในเมืองไทยเราครับเพียงแต่มันเป็นเรื่องที่ไม่โด่งดังเท่านั้นเองครับ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •