กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: กานพลูและลิ้นฟ้า

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    กานพลูและลิ้นฟ้า

    กานพูล




    กานพลู


    เรามาเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องสมุนไพร ด้วยเรื่องของกานพลูค่ะ



    กานพลู


    ชื่อสามัญ : clove

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :
    Syzygium aromaticum (Linn.) Merr & Perry.,
    Eugenia caryophyllus (Spreng.) Bullock & S. G. Harrison.,
    Eugenia aromatica Ktze.

    ชื่อวงศ์ : MYYRTACEAE

    ชื่ออื่น ๆ : กานพลู (ภาคกลาง), ดอกจันทร์(เชียงใหม่),จั่นจี่



    กานพลูและลิ้นฟ้า


    กานพลูและลิ้นฟ้า



    ลักษณะของกานพลู




    กานพลู เป็นไม้ยืนต้นมีลักษณะดังนี้นะคะ


    ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูง ราว9-15 เมตร ผิวของมันเป็นสีเหลืองน้ำตาล


    ใบ : ใบเป็นสีเขียวเข้ม ผิวของใบเรียบมัน ค่อนข้างหนา ใบยาวประมาณ 4 นิ้ว กว้างประมาณ 2 นิ้ว รูปลักษณะของมันปลายและโคนใบแหลม เป็นรูปยาวรี


    ดอก : ดอกเป็นสีเขียวอมแดงเลือดหมู หรือสีขาวอมเขียว ดอกจะออกเป็นกระจุก หรือเป็นช่อ ประมาณ 15-20 ดอก คล้ายดอกขจร


    ผล : ผลมีสีน้ำตาลเข้ม ผลของมันมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม. และมีขนาดยาวประมาณ1 ซม. และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.3-0.4 ซม.



    การขยายพันธุ์


    กานพลูขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง นำไปปลูกในดินร่วนซุย หรือในดินที่มีปุ๋ย อินทรีย์วัตถุ ต้องการน้ำปานกลาง


    ส่วนที่นำมาใช้

    ส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ก็คือดอกของกานพลู


    ดอก ซึ่งมีรสเผ็ด ใช้เป็นยาแก้พิษโลหิต แก้ปวดท้อง แก้ลมเป็นเหน็บชา แก้พิษน้ำเหลือง น้ำคาวปลา แก้อุจจาระให้เป็นปรกติ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน แก้หืดละลายเสมหะ ดับกลิ่นปาก แก้รัตตปิตตโรค เป็นต้น


    ดอกเมื่อตากแห้งแล้ว เป็นสีแดงน้ำตาล นำมากลั่นใช้ 0.12-0.3 กรัม หรือ 2-5 เกรน จะเป็นยาแก้ท้องขึ้นธาตุพิการขับผายลมในลำไส้ เป็นยาบำรุง และน้ำมันจากการพลูซึ่งกลั่นออกมา ใช้เป็นยาระงับกระดูก แก้ปวดท้อง ขับผายลม และใช้สำลีชุบนำมาอุดฟันที่ปวด



    ถิ่นที่อยู่

    ปลูกมากในบริเวณ เกาะสุมาตรา เกาะทะเลอินเดีย เกาะมอล็อกกา ประเทศอเริกา ประเทศแอฟริกา และประเทศไทย



    คุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ


    ฤทธิ์ลดการอักเสบ กานพลู มีสารยูจีนอลซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin


    ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียอันเป็น สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด
    น้ำมันกานพลูสามารถฆ่าเชื้อ E. coli , Salmonella typhosa , Vibrio corumma และ Chick chloera


    และยังฆ่าเชื้อ แบคทีเรียในอาหารกระป๋องด้วย จึงใช้เป็น preservative


    สารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุอาการแน่นจุกเสียด พบสารออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกานพลู คือ ยูจีนอล


    ฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ กานพลูมีสาร eugenol มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่

    ฤทธิ์ขับลม กานพลูช่วยขับลม เนื่องจากฤทธิ์ของ eugenol

    ฤทธิ์ขับน้ำดี สารสกัดกานพลูด้วยอะซีโตน มีฤทธิ์ช่วยขับน้ำดีจึงช่วยย่อย

    สารสำคัญในการออกฤทธิ์ขับน้ำดี พบว่า eugenol ช่วยขับน้ำดีจึงช่วยย่อย

    ฤทธิ์ป้องกันเยื่อบุกระเพาะ มี eugenol ซึ่งกระตุ้นให้มีการหลั่ง mucin มาป้องกันเยื่อบุกระเพาะ

    ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ กานพลู มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยลดอาการปวดเกร็ง


    สารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ พบสาร eugenol ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้



    การทดสอบความเป็นพิษ


    พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งของ eugenol ในหนูขาว หนูตะเภา และหนูถีบจักร = 2.68, 2.13 และ 3 กรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งในหนูขาว = 1.8 ซี.ซี. หรือ 1.93 กรัม/กิโลกรัม เมื่อป้อนให้หนูขาว อาการเป็นพิษที่พบ คือ มีอาการเป็นอัมพาต โดยเริ่มที่ขาหลัง และกรามล่าง ส่วนอาการเป็นอัมพาตที่ขาหน้าจะเป็นเมื่ออาการโคม่า หรือเหนื่อยมากๆ อาจมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด ระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว มีอาการน้ำคั่ง


    ถ้าให้หนูขาวกิน eugenol 0.1% 24 ซี. ซี .และ 1% 6 ซี.ซี. พบว่ามีการทำลายตับอ่อน ขาดไขมันในช่องท้อง ต่อมไธมัสมีขนาดเล็กลง ม้ามโต และต่อมในกระเพาะอาหารฝ่อ ส่วนพิษในสุนัข พบว่าเมื่อกรอก eugenol เข้ากระเพาะ อุณหภูมิร่างกายลด ชีพจรเต้นแรง แต่อัตราการหายใจไม่เปลี่ยน อาจมีการอาเจียนเมื่อให้ขนาด 2.5 กรัม/10 กิโลกรัม ขนาดสูงสุดที่ให้คือ 5 กรัม/10 กิโลกรัม จะพบอาการพิษดังกล่าวถึง 65% อาจพบการเคลื่อนไหวของขาหลังผิดปกติ และพบว่าเมื่อให้ขนาดสูงสุด อาจทำให้สุนัขตายได้ 2 ใน 6 ขนาดที่ปลอดภัย คือ 0.2 กรัม/กิโลกรัม แม้จะให้ถึง 10 ครั้ง ในช่วง 3 สัปดาห์ ก็ไม่พบอันตราย


    การฉีด eugenol เข้าระบบไหลเวียนโลหิตโดยตรง ทำให้ความดันโลหิต และการเต้นของหัวใจลดลงชั่วขณะ โดยไม่ทำให้อัตราการเต้นเปลี่ยนแปลง การฉีด eugenol เข้าหลอดเลือดแดง ทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากกว่าปกติ Eugenol ทำให้โปรตีนในเซลล์ของเนื้อเยื่ออ่อนในปากถูกทำลาย การจับตัวของเซลล์ลดลง บวม และเกิดเป็นไต ชั้นใต้ผิวหนังชั้นนอกบวม กล้ามเนื้ออ่อนแอ


    ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ สารสกัดด้วยน้ำของกานพลู และส่วนผสมของกานพลูกับคาเฟอีน ไม่ทำให้แมงหวี่ตัวผู้ Drosophila melanogaster ก่อกลายพันธุ์



    ประโยชน์ของกานพลู


    1 ประโยชน์ทาง อาหาร


    นักสมุนไพรสมัยใหม่นิยมใช้กานพลูเป็นยาช่วยย่อย อาหาร โดยใช้ผงกานพลู 1 ช้อนชา ทำเป็นชาชง ดื่มวันละ 3 ครั้ง แต่ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ส่วนเด็กที่โตขึ้นหรือคนสูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปลดลงตามส่วน ซึ่งนอกจากจะช่วยย่อยแล้วกานพลูยังช่วยรักษาอาการแพ้ได้ดี โดยใช้ชงดื่มตามวิธีข้างต้นร่วมกับการรับประทานยาแก้แพ้
    ส่วนในตำรายาไทยมีการนำทุกส่วนของกานพลูมาใช้เป็นยา เช่น เปลือกต้น ใช้แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ ใบใช้แก้ปวดมวนท้อง ดอกตูมใช้รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น ดอกกานพลูแห้ง (ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยของดอกกานพลู) รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการแก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอแก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาดดับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน



    กานพลูและลิ้นฟ้า


    2 ประโยชน์ทางยา


    ส่วนที่ใช้เป็นยาของกานพลูที่นิยมกันมากคือดอกตูม มีการใช้ทั้งส่วนที่เป็นดอกตูมแห้ง กับส่วนที่เป็นน้ำมันที่ได้จากการกลั่นดอกตูมนั้นมีบันทึกการใช้ดอกตูมของกานพลูเป็นยามาตั้งแต่ 207 ปี ก่อนคริสต์ศักราช คือในสมัยราชวงศ์ฮั่น จักรพรรดิจีน จะอมดอกกานพลูไว้ในปากเพื่อดับกลิ่นปาก หมอจีนได้มีการนำกานพลูมาใช้เป็นยาอย่างยาวนาน โดยใช้ในการเป็นยา ช่วยย่อย แก้ท้องเสีย แก้ไส้เลื่อน แก้กลากเกลื้อน ฮ่องกงฟุต เช่นเดียวกับหมออายุรเวทของอินเดีย ที่มีการใช้ดอกตูมของกานพลูมาอย่างยาวนานเช่นกัน โดยใช้ในโรคระบบทางเดินหายใจและใช้ในการช่วยย่อย



    เรื่องของกานพลู (ไม่ใช่ก้านพลู นะคะ) ถือว่าเป็นสารประโยชน์มาก
    และทราบว่าราคาแพงมากด้วยค่ะ



    ...................................................................






    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 28-07-2013 at 15:22.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ลิ้นฟ้า หรือ เพกา

    [CENTER]เพกา (ลิ้นฟ้าตามบ้านเฮา)



    ลิ้นฟ้า หรือ เพกา



    หมากลิ้นไม้ ลี้นฟ้า ไทยเรียก เพกา
    กินกับลาบก้อย ป่นปลา แซบหลายๆ นั่นแหละจ้า



    เพกา หรือลิ้นฟ้า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นไม้ทีผลัดใบ ขนาดความสูง 5-20 เมตร เปลือกเรียบสีเทา มีรอยแผลเป็น จากการหลุดร่วงของใบ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 2-3 คู่ รูปไข่ออกกลม ปลายโต ขอบและผิวเรียบ ดอกช่อ ก้านช่อตั้งสูง ออกที่ปลาย ผลเป็นฝักแบนกว้างราว 6 ซม.ยาวประมาณ 30-54 ซม. เมล็ดรูปไตแบน มีปีกสีขาวบางๆ เหมือนแผ่นกระดาษ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด




    ลิ้นฟ้า หรือ เพกา





    รายละเอียดเป็นดังนี้ค่ะ



    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum Vent.

    ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEA

    ชื่ออื่น ๆ :
    มะลิดไม้, มะลิ้นไม้, ลิดไม้ (เหนือ), หมากลิ้นก้าง, หมากลิ้นช้าง (เงี้ยว-เหนือ), ลิ้นฟ้า (เลย), เบโก (มลายู-นราธิวาส), กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ดอก๊ะ, ด๊อกก๊ะ, ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)




    ลักษณะทั่วไป


    ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูงประมาณ 4-20 ม. ลำต้นและกิ่งก้านจะมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกนั้นจะเรียบเป็นสีเทา และบางทีก็จะแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือมีรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ ที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไปแล้ว


    ใบ : จะออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น
    มีใบเดี่ยว ๆ ตรงปลายก้าน และจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 3-9 ซม. และยาวประมาณ 4-14 ซม. ส่วนตรงปลายใบจะแหลม และขอบใบนั้นเรียบ โคนใบสอบกลมหรือคล้ายรูปไต มักจะเบี้ยว ก้านใบมีความยาวประมาณ 0.5-2.0 ม.


    ดอก : จะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีความยาวประมาณ 2.4 ซม. มีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล กลีบดอกจะมีเนื้อแข็งมากและค่อนข้างหนา ภายนอกจะเป็นสีม่วงแดง หรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นเปรอะ ๆ หรือสีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะเป็นรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว


    เกสร : เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน และจะติดกับท่อดอก โคนก้านจะมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม. เป็นสีม่วงคล้ำ


    เมล็ด (ผล) : ผลนั้นจะออกเป็นฝักแบน และยาว มีลักษณะคล้ายรูปดาบ มีความยาวประมาณ 45-120 ซม. มักจะห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอด ส่วนเมล็ดนั้นจะมีลักษณะแบน มีปีกบางใสเป็นจำนวนมาก เมล็ดจะมีความกว้างประมาณ 2.5-4 ซม. และยาวประมาณ 5-9 ซม.



    การขยายพันธุ์

    การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด และควรจะปลูกในฤดูฝน



    ส่วนที่ใช้

    เปลือก เมล็ด ฝักอ่อน และราก ใช้เป็นยา



    สรรพคุณ


    เปลือก


    เปลือก : ใช้เป็นยาสมานแผล รักษาฝี ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือด บำรุงเลือด ดับพิษเลือด รักษาเสมหะ จุกคอ ขับเสมหะ รักษาอาการจุกเสียด เปลือกต้นใช้ตำกับเหล้าใช้พ่นตัวแทนการอยู่ไฟ เปลือกผสมกับน้ำสุราใช้เป็นยากวาดประสะพิษซางชนิดเม็ดเหลือง รักษาละอองขึ้นในปาก คอ ลิ้น รักษาละอองไข้ รักษาซางเด็ก รักษาอาการปวดฝี ใช้ทารักษาอาการฟกบวม เปลือกสดผสมน้ำส้ม ใช้รักษาอาการอาเจียนไม่หยุด รักษาโรคบิด หรือจะใช้เปลือกเพกาใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น
    ๆ รักษาโรคมานน้ำ โรคเบาหวาน เปลือกนำไปต้มกับสมุนไพรหลาย ๆชนิด แยกเอาแต่น้ำมันมาทาเพื่อรักษาองคสูตร รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา บรรเทาอาการฟกบวม และอาการคัน



    เมล็ด

    เมล็ด : ใช้เป็นยาขับถ่าย ส่วนเมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย เป็นยารักษาอาการไอขับเสมหะ


    ฝักอ่อน

    ฝักอ่อน : ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ และใช้ขับผายลม


    ราก

    ราก : จะมีรสฝาดเย็นขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เจริญอาหาร ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร รักษาโรคบิด ท้องร่วง รักษาโรคไข้สันนิบาต และรักษาอาการอักเสบฟกบวมให้ใช้รากฝนกับน้ำปูนทา นอกจากนี้ยังใช้ ใบ ดอก ราก ลำต้น รวมกัน จะมีรสฝาดเย็น ใช้เป็นยาสมานแผล อาการอักเสบบวม รักษาโรคท้องร่วง โรคไข้เพื่อลมเพื่อเลือด และรักษาน้ำเหลืองเสีย


    ถิ่นที่อยู่


    พรรณไม้นี้ มักขึ้นตามที่โล่ง บริเวณชายป่าดิบ และไร่ร้างทั่วไป


    ข้อมูลทางคลีนิคและทางเภสัชวิทยา


    1. การทดสอบฤทธิ์ในการต่อต้านมาลาเรีย มีผลยังไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากรากและผลนั้น ไม่มีพิษต่อเซลล์มะเร็งชนิด CA-9KB ส่วนสกัดจากเปลือก ต้น และผลด้วยแอลกอฮอล์ และสารสกัดจากรากด้วยแอลกอฮอล์ ไม่เป็นพิษต่อหนูถีบจักร เปลือกนั้นมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบเนื่องจากฝีได้


    2. ส่วนผลนั้นนำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์กับน้ำ จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการบีบตัว ของกล้ามเนื้อเรียบ


    3. เปลือกเพกานั้น ใช้ทำเป็น paste ใช้ในการฆ่าพยาธิ


    4. มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบและรักษาอาการแพ้ (Antiinflammatory and Antiallergic) พบว่ามีสารสกัดจากเปลือก สามารถลดการซึมผ่านหลอดเลือด (vascular permeability) ทำให้ลดการอักเสบบวมในหนูที่ถูกกระตุ้นให้อักเสบ โดยโปรตีนจากไข่ ฟอร์มาลินและฮีสตามิน แต่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการซึมผ่านหลอดเลือด ในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วยซีรั่มจากม้า หรือไซลีน (xylene) นอกจากนี้สารที่สกัดได้จากเปลือกนั้น ยังมีฤทธิ์ต้านการแพ้ด้วย


    คุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ


    ฤทธิ์ลดการอักเสบ จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นสามารถลดการซึมผ่านหลอดเลือด ทำให้ลดการบวมอักเสบ ในหนูที่ถูกกระตุ้นให้อักเสบ โดยโปรตีนจากไข่ ฟอร์มาลิน และฮีสตามีน แต่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง การซึมผ่านหลอดเลือด (Vascular permeability) ในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วยซีรัมจากม้า หรือไซลีน (Xylene) นอกจากนี้สารสกัดจากเปลือกมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ในหนูที่กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ได้มากกว่าหนูปกติ



    การทดสอบความเป็นพิษ


    เมื่อฉีดสารสกัดเปลือกต้นและผลด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1) เข้าหนู ขนาดสูงสุดที่ไม่เป็นอันตรายคือ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นำส่วนสารสกัด 3 ส่วนของสารสกัดเปลือกด้วยแอลกอฮอล์ 70% มาทดสอบพิษเฉียบพลัน และพิษเรื้อรัง พบว่าขนาดที่ป้อนหนู 800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนสกัดทุกส่วนทำให้เกิดพิษทั้ง 2 กรณี แต่จากการฉีดส่วนสกัดส่วนที่ 1 และ 2 พบว่ามีผลต่อการเคลื่อนไหวของหนู
    ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อทดสอบสารสกัดจากเปลือกเพกาด้วยความเข้มข้น 2 มิลลิกรัม/plate กับ Salmonella typhimurium สายพันธุ์ TA98 และ TA100 พบว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์



    รวมความแล้วก็สรุปได้ว่า


    ฝักลิ้นฟ้ากินเป็นผักเคียงกับป่น หรือน้ำพริกจิ้มต่าง ๆ
    โดยนำเอาฝักมาเผาไฟ หรือลวกน้ำร้อนก่อนรับประทาน
    เพื่อลดความขมที่มีอยู่ในฝักสด

    การรับประทานฝักลิ้นฟ้าถือได้ว่าเป็นการบริโภคสมุนไพร
    ฝักอ่อน ขับลม ฝักแก่ แก้ร้อนในกระหายน้ำ

    เมล็ดแก่ ระบายท้อง แก้ไอ ขับเสมหะ

    เปลือกต้น สมานแผล แก้ร้อนใน แก้ท้องร่วง ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ ดับพิษโลหิต ตำผสมสุราพ่นตามตัวสตรี ที่ทนการอยู่ไฟไม่ได้ ให้ผิวหนังชา ตำผสมกับน้ำส้มมดแดงกับ เกลือสินเธาว์ รับประทานขับลมในลำไส้ แก้บิด แก้จุกเสียด ฝนกับสุรากวาดปากแก้ซาง เม็ดสีเหลือง แก้ละออง แก้ซางเด็ก ทาแก้ฝี แก้ฟกบวม ราก บำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร แก้ท้องร่วง ฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อักเสบฟกบวม ทั้งห้า สมานแผล แก้อักเสบฟกบวม แก้ท้องร่วง แก้ไข้เพื่อขับลมและโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย





    ................................................................






    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 28-07-2013 at 14:52.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ wundee2513
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    ตามภารกิจ
    กระทู้
    1,108
    บล็อก
    11
    ขอบคุณมากนะครับสำหรับสาระดีๆ ครับ เก่งทุกทางจริงๆ เลยนะครับ
    สำหรับคนขยันบ้านมหาคนนี้ครับ...
    เสรีภาพ เสมอภาค ยุติธรรม

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เพกา สรรพคุณและประโยชน์ของเพกา 57 ประการ


    เพกา สรรพคุณและประโยชน์ของเพกา 57 ประการ



    เพกา สรรพคุณและประโยชน์ของเพกา 57 ประการ


    เพกา สรรพคุณและประโยชน์ของเพกา 57 ประการ



    [B]เพกา สรรพคุณและประโยชน์ของเพกา 57 ประการ[/B]



    1.สมุนไพรเพกาช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมของเซล์ต่างๆในร่างกาย (ฝักอ่อน)
    2.ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย และช่วยชะลอวัย (ฝักอ่อน)
    3.ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ฝักอ่อน)
    4.ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ (ฝักอ่อน)
    5.ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ราก,ฝักอ่อน,เพกาทั้ง 5 ส่วน)
    6.ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก,ใบ)
    7.ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ เปลือกเพกา เปลือกต้นไข่เน่า ใบไข่เน่า แก่นลั่นทม บอระเพ็ด ใบเลี่ยน รากหญ้าคา รวม 7 อย่าง น้ำหนักอย่างละ 2 บาท นำมาต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก ก่อนอาหาร เช้าและเย็น (เปลือก)
    8.การรับประทานฝักเพาหรือยอดอ่อนเพกาจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ (ฝัก,ยอดอ่อน)
    9.ช่วยบำรุงโลหิต (เปลือกต้น)
    10.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (เปลือกต้น)
    11.ช่วยขับเลือดดับพิษในโลหิต (เปลือกต้น)
    12.การกินฝักอ่อนของเพกาจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น (ฝักอ่อน)
    13.ใช้แก้ร้อนใน (ฝักแก่)
    14.ช่วยบรรเทาอาการปวดไข้ ด้วยการใช้ใบเพกาต้มน้ำดื่ม (ใบ)
    15.สรรพคุณทางยาของเพกา ช่วยแก้ไข้สันนิบาต (ราก)
    16.ช่วยแก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด (เพกาทั้ง 5 ส่วน)
    17.ช่วยแก้ละอองไข้ หรือโรคเยื่อเมือกในช่องจมูกอักเสบ (เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
    18.ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อนๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝัก อ่อน,เมล็ด)
    19.สรรพคุณเพกาช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อนๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝักอ่อน,เปลือกต้น,เมล็ด)
    20.ช่วยแก้อาเจียนไม่หยุด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกาตำผสมกับน้ำส้มที่ได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์ (เปลือกต้นสด)
    21.ช่วยเรียกน้ำย่อย (ราก)
    22.สรรพคุณของเพกาช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก (เมล็ด)
    23.ช่วยบำรุงกระเพาะ ตับ และปอด (เมล็ด)
    24.ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ใบเพกาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ)
    25.ช่วยแก้อาการจุกเสียกแน่นท้อง (เปลือกต้น)
    26.ช่วยแก้โรคบิด (เปลือกต้น,ราก)
    27.เพกา สรรพคุณช่วยรักษาท้องร่วง (เปลือกต้น,ราก,เพกาทั้ง 5 ส่วน)
    28.ช่วยขับลมในลำไส้ (เปลือกต้น,ใบ)
    29.ใช้เป็นยาขับถ่าย ช่วยระบายท้อง (เมล็ด)
    30.ช่วยในการขับผายลม (ฝักอ่อน)
    31.ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
    32.ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ(เปลือกต้น,เพกาทั้ง 5 ส่วน)
    33.เพกา สรรพคุณทางยาช่วยลดการอักเสบ อาการแพ้ต่างๆ (เปลือกต้น)
    34.สรรพคุณใช้เป็นยาฝาดสมาน ช่วยสมานแผล (เปลือกต้น,เพกาทั้ง 5 ส่วน)
    35.ช่วยรักษาอาการฟกช้ำ ปวดบวม อักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นหรือรากเพกากับน้ำปูนใสทาลดบริเวณที่เป็น (เปลือกต้น,ราก,เพกาทั้ง 5 ส่วน)
    36.สรรพคุณของเพกาช่วยรักษาฝี ลดอาการปวดฝี ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณรอบๆบริเวณที่เป็นฝี (เปลือกต้น)
    37.ช่วยแก้อาการคัน ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
    38.ใช้เป็นยาแก้พิษหมาบ้ากัด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกานำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด (เปลือกต้น)
    39.ช่วยแก้โรคงูสวัด ด้วยการใช้ เปลือกต้นเพกา เปลือกคูณ รากต้นหมูหนุน นำมาฝนใส่น้ำทาบริเวณที่เป็น จะช่วยให้หายเร็วขึ้น (เปลือกต้น)
    40.เปลือกต้นมีสารสกัดฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหนูทดลอง (เปลือกต้น)
    41.เปลือกต้นผสมกับสุราใช้กวาดปากเด็ก ช่วยแก้พิษซางได้ (เปลือกต้น)
    42.แก้โรคไส้เลื่อน (ลูกอัณฑะลง) ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกา รากเขยตาย หญ้าตีนนก นำมาตำรวมกันให้ละเอียด แล้วนะไปละลายกับน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด นำมาทาลูกอัณฑะ ให้ทาขึ้นอย่าทาลง (เปลือกต้น)
    43.ช่วยแก้องคสูตร (โรคที่เกิดเฉพาะในบุรุษ มีอาการเจ็บที่องคชาตและลูกอัณฑะ) ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
    44.ช่วยแก้โรคมานน้ำ หรือภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องท้องจำนวนมาก เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
    45.เปลือกต้นตำผสมกับสุราใช้ฉีดพ่นตามตัวหญิงคลอดบุตรที่ทนอาการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา (เปลือกต้น)
    46.ช่วยแก้ละอองขึ้นในปาก คอ และลิ้น หรืออาการฝ้าขาวที่ขึ้นในปาก (เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
    47.ช่วยขับน้ำคาวปลา (เปลือกต้น)
    48.ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (เปลือกต้น)
    49.ฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก (ฝักอ่อน)
    50.เชื่อว่าการกินเพกาจะไม่ทำให้เจ็บป่วย มีเรี่ยวมีแรงและช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย (ฝัก)
    51.ผงเปลือกผสมกับ ขมิ้นชัน ใช้เป็นยาแก้ปวดหลังของม้าได้ (เปลือก)
    52.ใช้เมล็ดเพกาผสมกับน้ำจับเลี้ยงดื่ม จะช่วยทำให้มีรสชาติที่กลมกล่อมน่าดื่มมากขึ้น และจะช่วยทำให้ชุ่มคอและรู้สึกสดชื่น (เมล็ด)
    53.การใส่เปลือกต้นเพกา ลงไปในอาหารจะช่วยแก้เผ็ด แก้เปรี้ยวได้ (ใส่เปลือกต้นผสมกับมะนาว มะนาวก็ไม่เปรี้ยว) (เปลือกต้น)
    54.ประโยชน์ของเพกา เปลือกของลำต้นนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า ซึ่งให้สีเขียวอ่อน (เปลือกต้น)
    55.ประโยชน์เพกา เนื้อไม้ของเพกามีสีขาวละเอียดมีความเหนียว เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำงานแกะสลักต่างๆ
    56.นิยมรับประทานฝักอ่อนหรือยอดอ่อนของเพกาเป็นผัก ส่วนดอกนิยมนำมาต้มหรือลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ยำ หรือจะนำฝักอ่อนไปหั่นตามขวางเป็นชิ้นเล็กๆทำเป็นแกง ผัด หรือทำเป็นก็ได้ (ฝักมีรสขม ต้องนำไปเผาไฟให้สุกจนผิวนอกไหม้เกรียม และขูดผิวที่ไหม้ไฟออกจะช่วยลดรสขมได้)
    57.เพกา ประโยชน์นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปของยาสมุนไพรสำเร็จรูป หรือที่เรียกว่า แคปซูลเพกา ก็สะดวกไปอีกแบบสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความยุ่งยาก





    อ้างอิง :
    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    rspg.or.th
    doctor.or.th
    bloggang.com (วิชิต สุวรรณปรีชา)
    gotoknow.org (ขจิต ฝอยทอง)
    มหัศจรรย์สมุนไพรจีน





    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5

    กานพลูและลิ้นฟ้า

    ของชอบที่สุดเลยครับผม กินกับป่นกบ/ป่นปลากะแซ๊บ แซ่บ หมากลิ้นฟ้าเนาะ
    ลองเอามาทำเป็นยำกะแซบครับ ขอบคุณเจ้าลิงน้อยแสนซนที่แนะนำสมุนไพรไทยดีๆมาลงกระทู้ครับผม:*-

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •