กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 10

หัวข้อ: จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์



    อำเภอท่าตูม ช้างใหญ่ ผ้าไหมดี ข้าวหลามขึ้นชื่อ เลื่องลือทุ่งกุลา งามตาแม่น้ำมูล






    [FM]http://www.google.co.th/embed/76222672/2c0fef[/FM]




    เพลงมีมนต์เสน่ห์ ดอกปกาสตราว หรือกันเกรา ดอกไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์


    จะพาท่านสู่ดินแดนที่หลากหลายอารยะธรรม ที่ผสมผสานเข้ากลมกลืนกัน

    สำหรับคนพื้นเมือง ทั้ง เขมร ลาว ส่วย ด้วยวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของ
    ชนชาติที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ได้มารวมกัน ภายใต้ลำน้ำแห่งชีวิต

    เมืองที่เงียบสงบสุข ผู้คนยังศรัทธาในพระพุทธศาสนา
    ผู้คนที่ถูกปลูกฝังด้วยประเพณี และวัฒนธรรม ที่ยิ่งใหญ่

    ความผสมผสานของสองฝากฝั่งวัฒนธรรมแห่ง
    อีสานใต้ และอีสานตอนกลาง ท่ามกลางเขตกั้นแห่งลำน้ำมูล

    เมืองที่ผู้คนใช้ชีวิตราบเรียบ ขยันขันแข็ง งดงามด้วยประเพณีและวัฒนธรรม








    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์



    แผ่นดินทุ่งกุลา...หลากนานาทรัพย์สิน
    ถิ่นทางหากิน...ทรัพย์ในน้ำและทุ่งกุลา
    ผนึกรวมใจมั่น...ชนชาติฝ่าฝันด้วยอุตสาห์
    มานะบากบั่นนานา...ด้วยทนงคุณค่าของชีวิต


    ซื่อตรงคงมั่น...ไม่แบ่งชั้นกั้นชน
    อยู่ร่วมกันมากล้น...อ่อนโยนวัฒนธรรมลิขิต
    ด้วยสองมือบากบั่น...ไม่หวั่นสร้างทำกิน
    รักเคารพบูชาพื้นถิ่น...รุ่งเรืองหากินด้วยสัตย์ชื่อ


    น้ำมูลกั้นกลาง...สองฝากฝั่งทุ่งกุลา
    แต่ไม่อาจกั้นใจพา...มอบรักที่ยึดถือ
    สายน้ำไม่อาจกั้น...น้ำใจงดงามระบือ
    โลกยินและร่ำลือ...เมืองทุ่งกุลาแห่งท่าตูม







    อำเภอท่าตูมน่าอยู่ ปลอดภัย ใช้วิถีเกษตรอินทรีย์ มีชุมชนเข้มแข็ง
    แหล่งการศึกษา พัฒนาอย่างยั่งยืน

    อำเภอท่าตูมตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้




    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์




    ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเกษตรวิสัย (จังหวัดร้อยเอ็ด) และอำเภอสุวรรณภูมิ (จังหวัดร้อยเอ็ด)

    ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอรัตนบุรีและอำเภอสนม
    ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอจอมพระ
    ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสตึก (จังหวัดบุรีรัมย์) และอำเภอชุมพลบุรี



    พื้นที่ 643.3 ตร.กม.
    ประชากร 96,473 คน (พ.ศ. 2552)
    ความหนาแน่น 149.96 คน/ตร.กม.



    อำเภอท่าตูมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 165 หมู่บ้าน


    1. ท่าตูม (Tha Tum) 22 หมู่บ้าน
    2. บะ (Ba) 15 หมู่บ้าน
    3. กระโพ (Krapho) 20 หมู่บ้าน
    4. หนองบัว (Nong Bua) 11 หมู่บ้าน
    5.พรมเทพ (Phrom Thep) 22 หมู่บ้าน
    6. บัวโคก (Bua Khok) 19 หมู่บ้าน
    7. โพนครก (Phon Khrok) 16 หมู่บ้าน
    8. หนองเมธี (Nong Methi) 11 หมู่บ้าน
    9. เมืองแก (Mueang Kae) 19 หมู่บ้าน
    10.ทุ่งกุลา (Thung Kula) 10 หมู่บ้าน




    ประวัติ


    อำเภอท่าตูม ชุมชนอำเภอท่าตูม เป็นชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิม ตั้งแต่ปลายสมัยเจนละ (ยุคศตวรรษที่ ๑๒ -๑๓ ) ที่มีการปกครองที่ อิสานปุระ (สุรินทร์) เมื่อรัฐสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ประกาศลัทธิเทวราชา และสถาปนา อาณาจักรอังกอร์ ได้มีการแผ่ขยายการปกครองออกไปอย่างกว้างขวาง จากการนับถือเทวนิยมดังกล่าว จะมีการสร้าง เทวสถาน ในการประกอบพิธี และปราสาทที่พำนักของผู้แสวงบุญทั่วไปในการไปมาหาสู่ระหว่างเมืองสำคัญต่างๆ




    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์



    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์




    ในสมัยนั้นจะติดต่อกันทั้งในทางบก และทางน้ำซึ่งเป็นไปในรูปแบบของการส่งส่วย ส่งเครื่องราชบรรณาการ ปารแลกเปลี่ยนผลิตผลการค้าขาย ตลอดจนการยกองทัพไปรบ การติดต่อระหว่างเมืองในแดนอิสานตอนล่าง จึงเป็นทางเรือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในการล่องเรือดังกล่าวตามแม่น้ำนั้นจะมีการติดต่อทางด้านนครจำปาสัก ปากเซ และฝั่งแม่น้ำโขง (เจนละบก) และทางด้านนครธม นครวัด กำปงจาม กำปงฉนังมาตามลำน้ำ เพื่อติดต่ออาณาจักรพิมาย


    จากการเดินทางรอนแรมมาถึงที่ตั้งบริเวณอำเภอท่าตูมในปัจจุบัน คณะเดินทางได้มาตั้งค่ายพักแรม ระหว่างที่บริเวณริมฝั่ง ที่มีต้นมะม่วงใหญ่ จึงได้ตั้งค่ายพักแรมและสร้างเป็นที่พักชั่วคราว และเรียกที่พักแรมนี้ว่า " กำปงสวาย" (ท่ามะม่วง) ชุมชนกำปงสวาย ได้ดำรงอยู่เรื่อยมาแม้ว่าเมื่ออาณาจักรเจนละและขอมโบราณ จะเสื่อมอำนาจลง จนเมื่อรัชสมัยรัชกาลที่ ๒,๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการรบพุ่งกัน ระหว่างไทยกับกัมพูชาอีก ไทยได้อพยพชาวกัมพูชาบางส่วนเข้ามาในประเทศไทย ชาวกัมพูชาที่มีเชื้อสายเดิม ก็ได้อพยพมาอยู่ในชุมชนกำปงสวายนี้ ได้เปลี่ยนมาเป็น "พงสวาย" ในปัจจุบัน (หมู่ที่ ๑๓ ตำบลท่าตูม) ประมาณปีพ.ศ.๒๓๓๐ อำเภอท่าตูมได้มีการอพยพมาบริเวณปากน้ำมูลและชี มาบรรจบกันโดยชาวกูย (ส่วย) ซึ่งอพยพมาจากแคว้นพนมดงรักเป็นพวกที่รักสงบ รักธรรมชาติ มีความชำนาญในการเลี้ยงช้างและการเกษตร เห็นว่ายบริเวณดังกล่าวมีต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นอาหารของช้างมาก มีทำเลเลี้ยงช้างเหมาะสม จึงได้อพยพมาอาศัยอยู่บริเวณนั้น และเรียกบริเวณนั้นว่า "กระโพ" ( ตำบลกระโพ ในปัจจุบัน)




    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์




    ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ อำเภอท่าตูมได้ยกขึ้นเป็นอำเภอสุรพิน และขึ้นอยู่กับเจ้าเมืองขุขันธ์ ปีพ.ศ.๒๔๕๒ เห็นว่าการให้อำเภอสุรพินขึ้นอยู่กับเจ้าเมืองขุขันธ์นั้น มีระยะทางไกลมาก สร้างความลำบากให้แก่ข้าราชการและราษฎรไปติดต่อราชการ จึงได้พิจารณาให้อำเภอสุรพินมาขึ้นต่อเจ้าเมืองสุรินทร์ และเปลี่ยนเป็นอำเภออุดรสุรินทร์ ในปีพ.ศ. ๒๔๕๔ ครั้งแรกให้ขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองสุรินทร์ มีหลวงแพ่งเป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาปี ๒๔๕๖ ได้มีการตั้งอำเภออุดรสุรินทร์ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล บ้านกำปงสวาย แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕ ขุนสุรสิทธิ์ สาราการ (พิน จรัณยานนท์) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อเทศาภิบาลได้ตรวจงานอำเภอและชมทิวทัศน์ในแม่น้ำที่แพ หน้าที่ว่าการได้พลาดตกลงน้ำเสียงดังตูม ชาวบ้านจึงเรียกท่าแห่งนั้นว่า "ท่าตูม" และเนื่องจากท่าแห่งนั้นเป็นที่ตั้งอำเภอด้วย จึงเรียกที่ว่าการอำเภอท่าตูมมาจนติดปาก



    ต่อมาสมัยสงครามเอเชียบูรพา (๒๔๙๘) ทางราชการมีคำสั่งให้อำเภอจัดทำสนามบินฉุกเฉิน อำเภอได้แผ้วถางที่สาธารณะ หมู่ที่ ๗ ตำบลท่าตูมเป็นสนามบิน หลังจากสิ้นสงครามทางคณะกรรมการอำเภอเห็นว่า ที่ว่าการอำเภอดั้งเดิมอยู่กลางชุมชนมีความแออัดคับแคบ ขยายส่วนราชการต่างๆไม่ได้ จึงได้ย้ายมาตั้งที่สนามบิน (บริเวณอำเภอปัจจุบัน) และเนื่องจากการเรียกกันจนติดปากว่าอำเภอท่าตูม จึงได้เปลี่ยนชื่อ จากอำเภออุดรสุรินทร์ มาเป็น อำเภอท่าตูม




    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์




    ลักษณะภูมิประเทศ

    มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและที่ราบลุ่ม โดยที่ราบสูง ได้แก่ บริเวณทางทิศใต้ของอำเภอ (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำมูล) เป็นที่ราบสูงจากฝั่งของแม่น้ำมูลจนถึงเขาพนมดิน สภาพดินส่วนใหญ่ เป็นดินร่วนปนทราย ไม่อุ้มน้ำ ทิศเหนือฝั่งขวาแม่น้ำมูลจะเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง (Eiood Pain) และที่ราบทุ่งกุลา ซึ่งเป็นที่ราบเรียบในพื้นที่ ๓ ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งกุลา ตำบลพรมเทพ และตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม มีแม่น้ำและลำน้ำที่สำคัญไหลผ่าน ได้แก่


    ๑. แม่น้ำมูล ไหลผ่านอำเภอท่าตูม จากทิศตะวันตก ไปทิศตะวันออก

    ๒.แม่น้ำชี ไหลผ่านอำเภอท่าตูมจากทิศตะวันตกไปบรรจบแม่น้ำมูลที่ตำบลกระโพ

    ๓. ลำพลับพลา ไหลผ่านทางทิศเหนือของอำเภอในเขตตำบลทุ่งกุลา ไปทางทิศตะวันออก ไปบรรจบแม่น้ำมูลที่ตำบลโพนครก พื้นที่และการใช้ประโยชน์ อำเภอท่าตูม พื้นที่ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้แก่ การทำนา ทำไร่ การเลี้ยงสัตว์




    หมู่บ้านช้าง


    ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 และ 13 บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางเหนือตามทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ก่อนถึงอำเภอท่าตูม มีทางแยกซ้ายบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 36 ไปตามทางราดยางอีกประมาณ 22 กิโลเมตร



    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์



    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์




    พื้นที่หมู่บ้านเป็นที่นาและป่าละเมาะสลับกับป่าโปร่งเหมาะกับการเลี้ยงช้าง ชาวบ้านตากลางดั้งเดิมเป็นชาวส่วย หรือ กูย หรือ กวย มีความชำนาญในการคล้องช้างป่า ฝึกหัดช้างและเลี้ยงช้าง ส่วนมาต้องเดินทางไปคล้องช้างบริเวณชายแดนต่อเขตประเทศกัมพูชา ปัจจุบันสภาวะการเมืองระหว่างประเทศทำให้ชาวบ้านไม่สามรถไปคล้องช้างเช่นแต่ ก่อนได้ แต่ชาวบ้านตากลางยังคงเลี้ยงช้างและฝึกช้างเพื่อไปร่วมแสดงในงานช้างของ จังหวัดทุกปี การเลี้ยงช้างของชาวบ้านตากลางไม่เหมือนการเลี้ยงช้างของชาวภาคเหนือที่ เลี้ยงไว้ใช้งาน แต่ชาวบ้านตากลางเลี้ยงช้างไว้เป็นเพื่อน นอนร่วมชายคาเดียวกับตน ดังนั้นถ้าท่านได้ไปที่บ้านตากลาง นอกจากจะได้เห็นสภาพโรงช้างดังกล่าวแล้ว ยังได้สัมผัสการดำรงชีวิตของชาวส่วย พร้อมทั้งได้พบปะพูดคุยกับหมอช้างที่มีประสบการณ์ในการคล้องช้างมาแล้ว และยังสามารถเดินทางไปชมบริเวณที่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกัน ซึ่งห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่งดงามน่าพักผ่อนและชวนให้ศึกษาในเชิงธรรมชาติด้วย นอกจากนี้ทางจังหวัดยังได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างขึ้นภายในหมู่บ้านด้วย เพื่อรวบรวมประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับช้าง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการคล้องช้าง และให้ความรู้ในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับช้าง



    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์


    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์


    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์


    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์





    ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน แข่งเรือปลอดเหล้า จังหวัดสุรินทร์




    เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น และส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์รวมทั้งร่วมรณรงค์วาระสำคัญงาน ประเพณีไทยห่างไกลเหล้าเบีย
    ร์
    กิจกรรมในงานประกอบด้วยการแข่งขันเรือยาวใหญ่ 50 ฝีพาย
    เรือยาวกลาง 40 ฝีพาย
    เรือยาวเล็ก 30 ฝีพาย
    ขบวนอัญเชิญถ้วยพระราชทานฯ และขบวนเรือพยุหยาตรา (จำลอง)
    ขบวนพาเหรดช้าง



    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์




    จากปกาสตราว สู่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์









    ขอบคุณ

    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ……………………………………………………................................



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 19-11-2010 at 11:43.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    ที่อยู่
    สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, และ สปป.ลาว
    กระทู้
    829
    บ้านเซียงเหมี่ยงฯ เองครับ...

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    บ้านผมอยู่ เกษตรวิสัย ชายแดนร้อยเอ็ด กับ ชุมพลบุรี ชายแดน สุรินทร์ครับ

    แค่เดินข้ามสะพานข้ามแม่น้ำพลับพลา กะได้ข้ามจังหวัดแล้ว พะนะ

    บางมื้อต้องเดินทางข้ามจังหวัดวันละหลายรอบเพราะไปนาแล้วลืมของต้องเดินข้ามสะพานกลับไปกลับมาหลายรอบ ไกลคักข้ามจังหวัด อิอิอิ

  4. #4
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    ที่อยู่
    สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, และ สปป.ลาว
    กระทู้
    829
    ไคอยู่ดอกเนาะครับอ้ายเซียงสีฯ แค่หย่างข้าม แต่ถ้าว่ายน้ำข้ามจังหวัดนี่ บ่ธรรมดาเด้ครับ ฮ่า ๆ ...

  5. #5
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง สัญลักษณ์ของ พงศ์น้อย ส กสิน
    วันที่สมัคร
    Jan 2007
    ที่อยู่
    ผมไม่รู้ ผมนอนนา
    กระทู้
    1,100
    บล็อก
    5
    เคยไปนอนโฮมสเตย์บ้าน หนองบัว กะโพ ครับ ไปขี้ช้างอาบน้ำอยู่วังทะลุ ความทรงจำดีๆจะคงอยู่ตลอดไปครับ

  6. #6
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    Oil Field เพชรบูรณ์/กำแพงแสน
    กระทู้
    469
    อย่าลืมเที่ยวชม งานแสดงช้าง งานประจำปีจังหวัดสุรินทร์เน้อ..20-21 พฤษจิกายนนี้ ชมการแสดงช้างที่ สนามกีฬากลางจังหวัดสุรินทร์ (สนามศรีนรงค์ฯ)พร้อม งานออกร้าน โอทอป มากมาย ....

  7. #7
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ชัย หมอแคน
    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    ที่อยู่
    มณฑลอานสี
    กระทู้
    407
    บล็อก
    3
    เคยเยือนแดนท่าตูม
    แหล่งช้างชุมคนใจดี
    จากวันนั้นถึงวันนี้
    หากโอกาสมี...จะกลับไป

  8. #8
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ wundee2513
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    ตามภารกิจ
    กระทู้
    1,108
    บล็อก
    11
    ... วันนี้เห็นช้างอิ่มเป็นพิเศษเลย จนมีอ้อย, หญ้า เหลือๆ เก็บขึ้นรถเทศบาลครับ.
    เนื่องจากมีเวลาจำกัด เลยพลาดโอกาส ดูงานช้างวันที่ ๒๐-๒๑ พ.ย. ๕๓ นี้....

    มาถึงถิ่นตะวันตรงกลางกระหม่อม
    ขอนอบน้อมตั้งมั่นด้วยจิตอธิษฐาน
    ต่อท่านพระยาสุรินทร์ฯพระประธาน
    ตั้งตระหง่านกลางใจเมืองกลางใจคน

    เพราะใจนี้ที่มุ่งหวังเพื่ออาศัย
    จึงนำมาลัยเทียนสักการะด้วยกุศล
    โปรดได้ดลทุกการใดในสากล
    ให้ประสพผลปราถรถนาทุกประการ ...
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย wundee2513; 20-11-2010 at 13:22. เหตุผล: เพิ่มเติมครับ.
    เสรีภาพ เสมอภาค ยุติธรรม

  9. #9
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจัย
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    2,872
    เคยไปมาแล้วครับ ท่าตูม เมืองนี้อาหารการกินหลายคักอิหลีครับ ผู้คนใจดีแต่ว่าฟังเพิ่นเว่าบ่รู้เรืองครับอิิอิอิ
    หล่อคืออ้าย กินข้าวบายกบตั๋วะหล่า

  10. #10
    ศิลปิน,ช่างภาพอิสระ สัญลักษณ์ของ เพ็นนี
    วันที่สมัคร
    May 2009
    ที่อยู่
    Bangkok
    กระทู้
    1,308
    บล็อก
    2
    เคยไปบ้านกระโพ ด่นแล้วหล่ะ ไปวังทะลุ ขี่ช้าง (จั่นเจา)
    แล้วกะนั่งรถเข็นให้ช้างเข็น ม่วนขนาดเลย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •