กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 14

หัวข้อ: ประเพณี "ยี่เป็ง" ตี้เจียงฮาย

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ หมูน้อย
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    ที่อยู่
    เหนือสุดในสยาม
    กระทู้
    1,977
    บล็อก
    17

    Picpost ดูรูปภาพ ประเพณี "ยี่เป็ง" ตี้เจียงฮาย

    หวัดดีจ้า..มื้อนี้หมูน้อยสิพาไปแอ๋วงาน ป๋าเวณียี่เป็งจ้า
    ปีนี้ที่มรช.ก่อตั้งครบรอบ 38 ปี ซึ่งโดยปกติแล้ว
    จะจัดงานป๋าเวณียี่เป็ง ทุกปีเพื่อให้ชุมชนรอบๆมหาวิทยาลัยฯเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม
    และก็ไม่ต่างจากทุกปีที่ผ่านมาจะพิเศษก็ตรงที่มีโคมไฟๆๆตกแต่งสวยงาม..
    เดียวคืนนี้จะเก็บภาพมาฝากอีกเด้อจ้าๆๆๆ.....
    มื่อคืนกว่าจะได้กลับบ้านดึกๆๆๆๆๆๆๆเลย..ตื่นมาวันนี้..แย่เลยสุขภาพคนแก่



    ประเพณี "ยี่เป็ง" ตี้เจียงฮาย

    ประเพณี "ยี่เป็ง" ตี้เจียงฮาย

    ประเพณี "ยี่เป็ง" ตี้เจียงฮาย


    ประเพณี "ยี่เป็ง" ตี้เจียงฮาย

    ประเพณี "ยี่เป็ง" ตี้เจียงฮาย

    ปีนี้เป็นกรรมการตัดสินการประกวดโคมไฟด้วย.
    ซึ่งก็ไม่ต่างทุกปี...ทีหมาวิทยาัลัยฯจะเปิดโอกาศ
    ให้นักศึกษาที่มีความสนใจในเรื่องศิลปประดิษฐ์ โคมและกระทง
    ประกวดเป็นประจำอยู่แล้วทุกปี...
    และทั้งนี้ก็ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจร่วมแข่งขันการประกวดด้วย
    ตัดสินเสร็จก็เลยถือโอกาสถ่ายภาพมาฝากชะหน่อย


    ประเพณี "ยี่เป็ง" ตี้เจียงฮาย

    ประเพณี "ยี่เป็ง" ตี้เจียงฮาย

    ประเพณี "ยี่เป็ง" ประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนา


    ประเพณี "ยี่เป็ง" เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญ
    เดือน 2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง
    และคำว่า "เป็ง" ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือ
    จะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาค


    ประเพณี "ยี่เป็ง" เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญ
    เดือน 2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และ
    คำว่า "เป็ง" ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับ
    เดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง
    ตรงกับเดือนยี่ เดือน 2 ของไทยล้านนา ประเพณียี่เปงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือ
    ว่าเป็น "วันดา" หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ
    พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด
    มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของ
    มาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่
    ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติ
    ธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน
    และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชัก
    โคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมาก
    มาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะติ๊ด) เพื่อบูชาพระ
    รัตนตรัย การจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการจุดโคมลอย
    ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ตามวัฒนธรรมของล้านนาจะแบ่งโคมไฟออกเป็น 4 แบบ คือ
    แบบที่หนึ่งเรียก "โคมติ้ว"หรือโคมไฟเล็กที่ห้อยอยู่กับซีกไม้ไผ่ซึ่งผู้คนจะถือไปในขบวนแห่และนำไปแขวนไว้ที่วัด

    แบบที่สองเรียก "โคมแขวน" ที่ใช้แขวนบูชาพระพุทธรูปแบบด้วยกันเช่น รูปดาว
    รูปตะกร้า โดยปกติจะใช้แขวนตามวัดหรือตามหิ้งพระก็ได้

    แบบที่สามเรียก "โคมพัด" ทำด้วยกระดาษสาเป็นรูปกรวยสองอันพันรองแกนเดียวกัน
    ด้านนอกจะไม่มีลวดลาย
    อะไร ส่วนด้านในจะตัดแต่งเป็นรูปทรงต่าง ๆ ในทางพุทธศาสนา เมื่อจุดโคมด้านใน
    แสงสว่างจะทำให้เกิดเงาบนกรวย ด้านนอกก็จะเคลื่อนไหวคล้ายตัวหนังตะลุง

    แบบสุดท้ายเรียก "โคมลอย" เป็นโคมใหญ่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน ตัวโครงทำจากซีก
    ไม้ไผ่หุ้มด้วยกระดาษสา เมื่อจุดโคม ความร้อนจากเปลวไฟ จะทำให้โคมลอยตัวขึ้น
    การปล่อยโคมลอยนี้จะทำกันที่วัดหรือตามบ้านคน โดยเชื่อกันว่าโชคร้ายทั้งหลาย
    จะลอยไปกับโคม


    ที่มา : http://www.pantown.com/board.php?id=...12&action=view
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หมูน้อย; 21-11-2010 at 14:45.
    "รัก" และ "กำลังใจ" ฉันมีไว้เพื่อแบ่งปัน

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •