กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: พระมงคลกิตติธาดา ละสังขาร

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jobloi
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    กระทู้
    182

    พระมงคลกิตติธาดา ละสังขาร

    พระมงคลกิตติธาดา ละสังขาร
    พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์ อำเภอม่วงสามสิบ อุบลราชธานี ศิษย์อาวุโสของหลวงปู่ชา สุภัทโท ได้มรณภาพแล้วเมื่อเวลา 11.36 น. วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2553 สิริอายุรวม 79 ปี 10 เดือน

    พระมงคลกิตติธาดา เป็นศิษย์รุ่นใหญ่ ของหลวงพ่อพระโพธิญาณเถร
    (หลวงพ่อชา สุภัทโท) เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนของหลวงพ่อชา ทำให้ประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รู้จักวัดหนองป่าพงมากขึ้น และเป็นพระที่ศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เป็นพระที่เปี่ยมด้วยเมตตา ได้อาพาธและเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
    ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย.2553 ด้วยอาการโรคหืดหอบ และมีโรคปอดบวมแทรก ทางแพทย์ได้ดูแลเยียวจนสุดความสามารถ แต่อาการก็มีแต่ทรงและทรุดมาตลอด จนมรณภาพด้วยอาการสงบ คณะศิษย์และชาวอำเภอม่วงสามสิบ จึงนำสรีระสังขารของท่านกลับมายังวัดป่าวิเวกธรรมชาน์ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี
    - ในวันที่ 24 พ.ย.2553 ได้มีพิธีรับน้ำหลวงอาบศพ
    - 29 พ.ย.2553 ครบรอบ 7 วันที่ท่านละสังขาร คณะสงฆ์จากวัดหนองป่าพงจะมีการประชุมสงฆ์
    เกี่ยวกับการจัดงานศพของหลวงพ่อต่อไป
    พระมงคลกิตติธาดา ละสังขาร
    http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=123129
    พระมงคลกิตติธาดา ละสังขาร
    นายสุรพล สายพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานพิธีสรงน้ำหลวงสรงศพ พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตโต) ป.ธ.6 ณ ศาลาหอแจกธรรมชาน์ วัดป่าวิเวกธรรมชาน์ (ขอขอบคุณภาพจาก ไกด์อุบลดอทคอม)

    พระมงคลกิตติธาดา ละสังขาร
    พิธีถวายสักการะขอขมาแด่หลวงพ่อพระมงคลกิตติธาดา มีพระเถรานุเถระโดยการนำของพระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ิตธมฺโม) เจ้า อาวาสวัดหนองป่าพง ศิษยานุศิษย์ ญาติโยม และประชาชนร่วมพิธีจำนวนมาก กำหนดบำเพ็ญกุศล ระยะแรก ตั้งแต่วันที่ 23 – 29 พฤศจิกายน 2553 จึงประชาสัมพันธ์ให้ศิษยานุศิษย์ และญาติโยมละประชาชนได้ทราบและร่วมทำบุญปฏิบัติธรรมโดยทั่วกัน และทางวัดของดพวงหรีด
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย jobloi; 27-11-2010 at 14:40.

  2. #2
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    549
    บล็อก
    21
    ขออนุญาติเพิ่มเติม เพื่อเสริมความรู้ในเรื่องประวัตืของพระคุณเจ้า
    พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน ลูกศิษย์หลวงปู่ชาของจังหวัดอุบลฯและภาคอีสาน มรณภาพแล้วด้วยวัย 79 ปี คณะศิษยานุศิษย์ร่วมเคารพศพแน่นวัด


    เมื่อเวลา 11.36 น. วันที่ 23 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรมชาน์ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี เกจิดัง ของจังหวัดอุบลราชธานีและภาคอีสาน มรณภาพแล้วด้วยวัย 79 ปี

    พระมงคลกิตติธาดา เป็นพระที่ศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เป็นพระที่เปี่ยมด้วยเมตตา ได้อาพาธและเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ด้วยอาการโรคหัวใจ ความดันโลหิต และโรคปอดบวม ทางแพทย์ได้ดูแลเยียวจนสุดความสามารถ แต่อาการก็มีแต่ทรงและทรุดมาตลอด จนมรณภาพด้วยอาการสงบคณะศิษย์และชาวบ้าน นำศพกลับมายังวัดป่าวิเวกธรรมชาน์ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี เพื่อขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ

    สำหรับพระมงคลกิตติธาดา มีนามเดิมว่า นายอมร บุตรศรี หลวงพ่อท่านเกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2474(ตรงกับวันจันทร์ แรม 11 ค่ำเดือนอ้าย ปีมะแม)
    ซึ่งท่านจะมีอายุครบ 80 ปี ในวันที่ 4 มกราคม 2554 นี้(แก้ไขตามที่ท่าน จอบหลอย แนะนำมา) ที่บ้านหนองขุ่น ต.ยางโยภาพ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี บิดาชื่อนายหลอด บุตรศรี มารดาชื่อ นางกว้าง บุตรศรี มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน เป็นบุตรคนที่ 2 เรียนจบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองขุ่นจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขณะที่มีอายุได้ 13 ปี ครั้นเรียนจบชั้นประถม บิดาได้ถามว่าอยากจะเรียนต่อหรืออยากจะบวช ได้ตอบบิดาว่าอยากจะบวช ดังนั้นจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองขุ่น เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2487 เป็นต้นมา

    และถือเป็นพระปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน ในปี พ.ศ.2508 ได้พบกับหลวงปู่ชาที่วัดหนองป่าพง เกิดความรู้สึกประทับใจ และเกิดความเลื่อมใสในหลวงปู่ชาเป็นอย่างมาก จึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ชา ที่วัดหนองป่าพง จนถึงปี พ.ศ.2513 ท่านได้รับบัญชาจากหลวงพ่อชา ให้ไปอยู่อบรมสั่งสอนญาติโยมที่สำนักใหม่ในอ.ม่วงสามสิบ ซึ่งก็คือวัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์) ในปัจจุบัน

    (http://www.komchadluek.net/detail/20101123/80557)

    ประวัติพระมงคล กิตติธาดา

    (คัดลอกจากหนังสือ ธรรมะหลวงพ่ออมร กับคำสอนหลวงปู่ชา เข้าพรรษา ปี ๒๕๕๐)
    พระมลคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตโต) มีนามเดิมว่า อมร บุตรศรี เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2474 (ตรงกับวันจันทร์แรม 11 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะแม) ที่บ้านหนองขุ่น ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายหลอด บุตรศรี มารดาชื่อ นางกว้าง บุตรศรี มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน หลวงพ่อเป็นคนที่ 2 หลวงพ่อเรียนนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองขุ่นจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ขณะที่มีอายุได้ ๑๓ ปี ครั้นเรียนจบชั้นประถม บิดาได้ถามว่าอยากจะเรียนต่อหรืออยากจะบวช หลงพ่อตอบบิดาว่าอยากจะบวช ดังนั้นหลวงพ่อจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองขุ่น เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๗ และสามารถสอบได้นักธรรมตรีในปีเดียวกัน

    ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ หลวงพ่อสามารถสอบได้นักธรรมโทในปีนี้คุณตาของหลวงพ่อได้นำท่านไปฝากไว้ที่วัดบ้านหนองหลัก ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ เพื่อศึกษาปริยัติธรรมและรับใช้พระอุปัชฌาย์

    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงพ่ออยู่ที่วัดหนองหลักเพื่อศึกษาเล่าเรียนและรับใช้พระอุปัชฌาย์ ได้ ๓ พรรษา ท่านเริ่มมีความคิดอยากจะไปศึกษาต่อในตัวเมืองอุบลราชธานี แต่พระอุปัชฌาย์แนะให้ไปเรียนที่กรุงเทพฯ โดยฝากให้ไปอยู่กับท่านเจ้าคุณปริยัติยานุรักษ์ ที่วัดทองนพคุณ คณะ ๑๐ เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

    หลวงพ่อเล่าว่า คุณตารักท่านมาก ตั้งความหวังอยากให้ท่านเป็นแพทย์แผนโบราณตามอย่างคุณตา แต่เมื่อหลวงพ่อบวช คุณตาได้ขอร้องว่า ขอให้บวชเรียนจนสอบได้เปรียญธรรมให้คุณตาได้ชื่นชม คำขอของคุณตาทำให้หลวงพ่อมานะศึกาาเล่าเรียน เพื่อจะได้เป็นเปรียญธรรมสมความปรารถนาของคุณตา

    ในการศึกษาที่กรุงเทพฯ นั้น หลวงพ่อสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค (ได้คะแนนเต็มทุกวิชา) และสอบได้นักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ขณะที่ยังเป็นสามเณร หลวงพ่อได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔ ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ ขณะที่อยู่วัดทองนพคุณ หลวงพ่อได้เป็นครูสอนปริยัติธรรมแผนกบาลี ท่านสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยคในปี พ.ศ.๒๔๙๗ และในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ท่นได้เดินทางกลับวัดหนองขุ่น ท่านเป็นเปรียญธรรมรูปแรกของบ้านหนองขุ่น ในฐนะที่หลวงพ่อเป็นเปรียญธรรมรูปแรกของที่นี่ ท่านจึงมีความตั้งใจที่จะตั้งสำนักเรียนขึ้นที่วัดบ้านหนองขุ่น ประกอบท่านพระครูอัครธรรมวิจารณ์ พระอุปัชฌาย์ของท่าน และท่านเจ้าอาวาสวัดหนองขุ่น คือพระอธิการจำปา สิริปุญโญ ได้ให้การสนับสนุนการทำประโยชน์ในครั้งนี้ หลวงพ่อจึงได้จัดตั้งสำนักเรียนขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๐ การศึกษาที่สำนักเรียนวัดหนองขุ่นที่มีหลวงพ่อทำหน้าที่เป็นครูใหญ่นั้นได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ แต่ท่านเกิดความรู้สึกว่าตัวท่านเปรียบเหมือนเรือจ้าง ท่านจึงตกลงใจที่จะหันมาปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐานดูบ้าง

    ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นครั้งแรกที่หลวงพ่อได้พบกับหลวงพ่อชาที่วัดหนองหลัก ท่านเล่าความรู้สึกในครั้งนั้นว่า นึกชอบในอากัปกิริยาที่ดูเคร่งขรึมอันสำรวมของหลวงพ่อชา แต่ด้วยเหตุที่ยังหยิ่งในภูมิปริยัติของตนเอง ที่ได้เปรียญ ๖ ประโยคจากกรุงเทพฯ ส่วนหลวงพ่อชาแม้จะเป็นนักธรรมเอกแต่ก็เป็นพระบ้านอก จึงทำให้ในขณะนั้นท่านยังไม่รู้สึกเลื่อมใสหลวงพ่อชามากนัก

    ในที่สุดแล้ว ท่านก็ได้ตัดสินใจไปวัดหนองป่าพง โดยตั้งใจครั้งแรกว่าจะไปทดลองดูก่อน เมื่อเหยียบย่างเข้าไปในวัดหนองป่าพงครั้งแรก หลวงพ่อเกิดความรู้สึกประทับใจ และเกิดความเลื่อมใสในหลวงพ่อชาเป็นอย่างมาก (เหตุการณ์ในครั้งนี้สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหนังสือ ๑ เดือนในป่าพง) หลวงพ่อจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อชา ที่วัดหนองป่าพง จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๓ ท่านได้รับบัญชาจากหลวงพ่อชา ให้ไปอยู่อบรมสั่งสอนญาติโยมที่สำนักใหม่ในอำเภอม่วงสามสิบ ซึ่งก็คือวัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์) ในปัจจุบัน

    ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลวงพ่อเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมอย่างมากมาย ทั้งที่ได้รับรางวัลเกียรติบัตรและการเคารพนับถือจากเหล่าสานุศิษย์ทั้งหลาย ซึ่งไม่อาจเรียบเรียงได้หมดไว้ในที่นี้ แต่จะขอเขียนถึงการได้รับประกาศเกียรติคุณ ตำแหน่งการปกครองและสมณศักดิ์ โดยย่อไว้พอสังเขปดังนี้

    วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์)

    วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ

    วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับแต่งพระราชทานสมณศักดิ์เป้นพระราชคณะเฉลิมพระเกียรติ มีพระราชทินนาม "พระมงคลกิตติธาดา"

    วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ

    ปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับรางวัลเสมาทองคำ สาขาการแต่งหนังสือางพระพุทธศาสนา จากศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย

    ปี พ.ศ.๒๕๔๓ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะเป็นผู้การทำความดี อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติระดับจังหวัด โครงการเสมาพัฒนาคุณธรรมตามพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ปี พ.ศ.๒๕๔๔ ได้รับเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับการประถมศึกษาดีเด่น จากสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

    วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับการถวายปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนาจากมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

    วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ ได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานวัตกรรมการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หนุ่มน้อย; 27-11-2010 at 19:28.

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jobloi
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    กระทู้
    182

    ประวัติหลวงพ่อพระมงคลกิตติธาดา (โดยย่อ)

    ประวัติหลวงพ่อพระมงคลกิตติธาดา (โดยย่อ)
    พระมงคกิตติธาดา ( อมร เขมจิตฺโต ป.ธ.6 ) มีนามเดิมว่า อมร บุตรศรี
    เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2474(ตรงกับวันจันทร์ แรม 11 ค่ำเดือนอ้าย ปีมะแม)
    ที่บ้านหนองขุ่น อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

    บิดาชื่อ นายหลอด บุตรศรี มารดาชื่อ นางกว้าง บุตรศรี
    มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน หลวงพ่อเป็นคนที่ 2 พี่น้องของหลวงพ่อ
    อีก 6 คน มีนามดังนี้
    1.นายเหลี่ยม บุตรศรี อาชีพชาวนา
    2.พระมงคลกิตติธาดา (อมร บุตรศรี)
    3.นางเสงี่ยม (บุตรศรี) สุขา อาชีพชาวนา
    4.นายเอี่ยม บุตรศรี อาชีพรับราชการครู
    5.นายมงคล บุตรศรี อาชีพรับราชการครู
    6.นางเนียม (บุตรศรี) คุณเลี้ยง อาชีพชาวนา
    7.นายกมล บุตรศรี อาชีพรับราชการครู

    ชีวิตในวัยเด็ก
    หลวงพ่อเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองขุ่น
    จนจบชั้นปฐมศึกษาปีที่ 4 ขณะที่มีอายุ 13 ปี บิดาได้ถามว่าอยากจะ
    เรียนต่อหรืออยากจะบวช หลวงพ่อบอกบิดาว่าอยากบวช ดังนั้น
    หลวงพ่อจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองขุ่น เมื่อวันที่ 14
    เมษายน พ.ศ.2487 และสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีนั้น
    ในปี พ.ศ.2488 หลวงพ่อสอบได้นักธรรมโท และในปีนี้
    คุณตาของท่านได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้ที่วัดบ้านหนองหลัก ตำบล
    เหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ เพื่อศึกษาปริยัติธรรม และรับใช้พระ
    อุปัชฌาย์ ในปี พ.ศ.2489 หลวงพ่ออยู่ที่วัดหนองหลักเพื่อศึกษา
    เล่าเรียนและรับใช้พระอุปัชฌาย์ ได้ 3 พรรษา ท่านเริ่มมีความคิด
    อยากจะไปศึกษาต่อในตัวเมืองอุบลราชธานี แต่พระอุปปัชฌาย์
    แนะให้ไปเรียนที่กรุงเทพฯ โดยฝากให้ไปอยู่กับท่านเจ้าคุณปริยัติ-
    ยานุรักษ์ ที่วัดทองนพคุณ คณะ10 เขตคลองสาน กรุงเทพ

    ในการศึกษาที่กรุงเทพฯ นั้น หลวงพ่อท่านสอบได้เปรียญธรรม-
    3 ประโยค ( ได้คะแนนเต็มทุกวิชา ) และสอบได้นักธรรมเอกในปี
    พ.ศ.2494 ขณะที่ยังเป็นสามเณร หลวงพ่อได้อุปสมบทเมื่อวันที่
    17 กรกฎาคม พ.ศ.2494 ณ พัทธศรีมาวัดทองนพคุณ ขณะที่ท่าน
    อยู่วัดทองนพคุณนั้น หลวงพ่อได้เป็นครูสอนปริยัติธรรมแผนกบาลี
    ท่านสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ในปี พ.ศ.2497 และในปี พ.ศ.
    2499 ท่านได้เดินทางกลับวัดหนองขุ่น ในฐานะที่หลวงพ่อท่านเป็น
    เปรียญธรรมรูปแรกของบ้านหนองขุ่น ท่านจึงได้มีความคิดที่จะตั้ง
    สำนักเรียนขึ้น ที่วัดบ้านหนองขุ่น โดยที่พระครูอัคคะธรรมวิจารณ์
    พระอุปัชฌาย์ของท่าน และพระอธิการจำปา สิริปุญโญ เจ้าอาวาส
    วัดหนองขุ่น ได้ให้การสนับสนุนการทำประโยชน์ในครั้งนี้ หลวงพ่อ
    จึงได้จัดตั้งสำนักเรียนขึ้นในปี พ.ศ. 2500 การศึกษาที่สำนักเรียน
    บ้านหนองขุ่นที่มีหลวงพ่อทำหน้าที่เป็นครูใหญ่นั้น ได้เจริญขึ้นเป็น
    เป็นลำดับ แต่ท่านเกิดความรู้สึกว่า ตัวท่านเปรียบเหมือนเรือจ้าง
    ท่านจึงตกลงใจที่จะหันมาปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐานดูบ้าง

    ในปี พ.ศ.2508 เป็นครั้งแรกที่หลวงพ่อได้พบ
    กับหลวงพ่อชาที่วัดหนองหลัก ท่านได้เล่าความรู้สึก
    ในครั้งนั้นว่า นึกชอบในอากัปกิริยาที่ดูเคร่งขรึม
    อันสำรวมของหลวงพ่อชาน์ แต่ด้วยเหตุที่ยังหยิ่งใน
    ภูมิปริยัติของตนเอง ที่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
    จากกรุงเทพ ฯ ส่วนหลวงพ่อชาแม้จะเป็นนักธรรม-
    เอกแต่ก็เป็นพระบ้านนอก จึงทำให้ในขณะนั้นท่าน
    ยังไม่เลื่อมใสในหลวงพ่อชามากนัก
    ในที่สุดแล้ว ท่านก็ได้ตัดสินใจไปวัดหนองป่าพง
    โดยตั้งใจในครั้งแรกว่าจะไปทดลองดูก่อน เมื่อ
    หลวงพ่อเหยียบย่างเข้าไปในวัดหนองป่าพงครั้งแรก
    หลวงพ่อเกิดความรู้สึกประทับใจ และบังเกิดความ
    เลื่อมใสในหลวงพ่อชาเป็นอย่างมาก (เหตุการณ์ใน
    ครั้งนี้ สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหนังสือ1 เดือนในป่าพง ) หลวงพ่อจึงได้ฝากตัวเป็น
    ลูกศิษย์หลวงพ่อชา ที่วัดหนองป่าพง จนถึงปี พ.ศ.2513 ท่านได้รับบัญชาให้ไปอยู่อบรมสอน
    ญาติโยมที่สำนักใหม่ในอำเภอม่วงสามสิบซึ่งก็คือ วัดป่าวิเวก (ธรรมชาน์) ในปัจจุบัน
    ลิ้งก์ หนังสือ1 เดือนในป่าพง
    http://www.baanmaha.com/community/thread18791.html
    ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลวงพ่อเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม
    อย่างมากมาย ทั้งที่ได้รับรางวัลเกียรติบัตร และการเคารพนับถือจาก
    เหล่าสานุศิษย์ทั้งหลาย ซึ่งไม่อาจเรียบเรียงได้หมดในที่นี้ แต่จะขอ
    กล่าวถึงการได้รับประกาศเกียรติคุณ ตำแหน่งการปกครองและสมณศักดิ์
    โดยย่อไว้พอสังเขป ดังนี้
    --------------------------------------------------------------------------------
    - วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2529 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
    วัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์)
    - วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2530 ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการ
    เจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ
    - วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
    เป็นพระราชาคณะเฉลิมพระเกียรติ มีพระราชทินนาม "พระมงคล
    กิตติธาดา "
    - วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2531ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอ
    ม่วงสามสิบ
    - พ.ศ.2542 ได้รับรางวัล เสมาทองคำ สาขาการแต่งหนังสือ
    ทางพระพุทธศาสนา จากศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศ
    ไทย
    - พ.ศ.2543 ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ที่กระทำ
    ความดี อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติระดับ
    จังหวัด โครงการเสมาพัฒนาคุณธรรมตามพระราชดำรัสพระบาท
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    - พ.ศ.2544 ได้รับเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ ผู้ทำคุณ-
    ประโยชน์ให้กับการประถมศึกษาดีเด่น จากสำนักงานการประถม-
    ศึกษาดีเด่น จากสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอม่วงสามสิบ
    จังหวัดอุบลราชธานี
    - วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2547 ได้รับการถวายปริญญามหา-
    บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัย
    มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
    - วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2543 ได้รับการถวายปริญญา
    ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวัฒนธรรมการศึกษา จากมหา-
    วิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
    ประวัติหลวงพ่อพระมงคลกิตติธาดา (โดยย่อ)
    ประวัติหลวงพ่อพระมงคลกิตติธาดา (โดยย่อ)
    สำหรับภาพเหตุการณ์วันต่อวันจะนำมาให้ท่านชมเรื่อย ๆครับ..สาธุ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย jobloi; 27-11-2010 at 14:44.

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ jobloi
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    กระทู้
    182


  5. #5
    ฝ่ายเทคนิคและโปรแกรม สัญลักษณ์ของ บ่าวโจ่โล่
    วันที่สมัคร
    Dec 2006
    กระทู้
    1,433

    ผมไปฮอดมื้อเผิ่นละสังขารพอดีครับ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดาของโลก

    มื้อต่อมาผมกะไปไส่บาตรอยู่วัดป่า เผิ่นกะบอกยุว่าไปสิไปนำกันแม่ออก พ่อออก

    แต่กะได้แต่อนุโมทนาสาธุนำเผิ่นครับ เพราะมื้อนั้นต้องขับรถกลับ กทม พอดี

    สาธุนำเผิ่นเหนือเศียรเกล้าครับผม พระสายวัดป่า พระประฎิบัติตามปฎิปทาของ

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อีกผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นพระอุปฐากหลวงปู่ชาเนาะครับ

    สาธุ

    อย่าคิดนะว่าเธออยู่ในโลกนี้คนเดียว หนทางไม่เปลี่ยวขนาดนั้น ยิ้ม ๆ ไว้ซิก็อุปสรรคต้องฝ่าฟัน ยังไงเธอก็จะมีฉันคอยห่วงใย

    สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์

  6. #6
    ศิลปิน นักแต่งผญา สัญลักษณ์ของ หญ้านาง
    วันที่สมัคร
    Jul 2009
    กระทู้
    619
    วนเวียนสร้าง
    สังขารเหลาะล่อง
    กิเลสเบิดสุดเสี้ยง
    นิพพานเพี้ยงเป็นที่ไป..........
    สาธุ เด้อจ้า

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •