กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ฟังเพลงพระนเรศวรมหาราช ที่ร่ายลำนำเพลงผ่านประวัติศาสตร์ 3

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ฟังเพลงพระนเรศวรมหาราช ที่ร่ายลำนำเพลงผ่านประวัติศาสตร์ 3

    ฟังเพลงพระนเรศวรมหาราช ที่ร่ายลำนำเพลงผ่านประวัติศาสตร์ 3




    ฟังเพลงกลองศึก เพลงพระนเรศวร
    ยิ่งใหญ่ เร้าใจให้ฮึกเหิมมาก จนเกิดความอหังการในหัวใจ
    หัวใจของนักรบไทยก็คงมีความรู้สึกเช่นนี้
    ความยิ่งใหญ่ต่อการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติไทย
    ขอร่วมรำลึกถึงพระองค์ท่าน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ที่พระองค์ทรงดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี ด้วยมันสมอง ด้วยจิตวิญญาณ
    ด้วยความกล้าแกร่งในหัวใจ.....



    ฟังกลองศึกที่ฮึกหาญกล้า




    [wma]http://www.file2go.com/mrun.php?me=546s2[/wma]



    ฟังเพลงพระนเรศวรมหาราช ที่ร่ายลำนำเพลงผ่านประวัติศาสตร์ 3




    เสียงกลองลั่นฆ้องไชโย
    หลั่งทักสิโนก้องโห่ชัยยะ
    รบนี้ได้ชัยชนะ
    ด้วยเดชเดชะพุทธบารมี


    หยาดรินเลือดไหลโลมหลั่ง
    มิเคยยั้งใครราวี
    ปกป้องพื้นปฐพี
    แผ่นดินนี้เพื่อลูกหลานไทย


    กอบกู้เอกราช
    ไทยทั้งชาติยังคงเป็นไทย
    แซ่ซ้องให้ก้องเกริกไกร
    ด้วยสำนึกในพระกรุณา


    โอ้ โอ๋ โอ.... โอ๋ โอ ...
    พระนเรศวรเจ้า
    โอ้ โอ๋ โอ....
    กู่ก้องทั่ว อโยธยา


    ขอกราบคารวะ
    พร้อมปะทะทุกเวลา
    เสียงโห่ดังก้องฟ้า
    พสุธาดินสะเทือนลั่น


    ฟ้าลั่นดังสนั่นก้อง
    ลมกระพือโหมหลั่ง
    เป็นพยานว่าอโยธยาตั้งมั่น
    ถึงวันอิสระเกริกฟ้าก้องไกร


    ไทยทุกคนเป็นอิสระ
    กลองลั่นไชโยไว้
    เสียงกลองที่ปลุกใจ
    ปลุกคนไทยร่วมรักสามัคคี




    ฟังเพลงพระนเรศวรมหาราช ที่ร่ายลำนำเพลงผ่านประวัติศาสตร์ 3




    จากการประกาศอิสรภาพ ของพระนเรศวร



    ที่สาเหตุมาจากความเก่งกล้าสามารถของพระนเรศวร และ ความหวาดระแวงของหงสาวดี


    พระเจ้านันบุเรงเริ่มไม่ไว้วาง พระทัยพระนเรศวร คอยจับจ้องดูความเปลี่ยนแปลง และความสามารถของยอดนักรบพระองค์นี้อยู่ตลอดเวลา คิดว่าหากมีโอกาสเมื่อใดก็จะกำจัดตัดไฟแต่ต้นลม

    จนถึงขนาดรับสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไปช่วยรบกับอังวะ ให้พระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้า และให้พระยาเกียรติและพระยารามคุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้...............



    เริ่มที่...การรบที่เมืองรุมเมืองคัง



    เมื่อพระเจ้าบุเรงนองแห่งหงสาวดีสิ้นพระชนม์ ทางประเทศพม่าจึงผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่นันทบุเรงได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้าบุเรงนอง


    พระนเรศวรในขณะนั้นก็ได้คุมทัพและเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่พม่าตามราชประเพณีที่มีมา คือเมื่อแผ่นดินพม่ามีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ ประเทศราชจะต้องปฏิบัติเช่นนี้


    ทางด้านเจ้าฟ้าเมืองคัง ซึ่งเป็นเมืองออกของหงสาวดีแข็งเมือง ไม่ยอมส่งราชบรรณาการไปถวายพระเจ้านันทบุเรง ดังนั้นพม่าจึงจัดกองทัพขึ้น 3 กอง ให้ยกไปปราบปรามเมืองคัง
    ประกอบด้วย


    ส่วนทัพที่ 1 มีพระมหาอุปราชราชโอรสของพระเจ้านันทบุเรง
    ส่วนทัพที่ 2 พระสังขฑัตโอรสเจ้าเมืองตองอู
    ส่วนทัพที่ 3 คือกองทัพของพระนเรศวร แห่งกรุงศรีอยุธยา


    กองทัพของพระมหาอุปราชบุกเข้าโจมตีเมืองคังก่อน แต่ปรากฏว่าตีไม่สำเร็จ ต่อมาจึงเป็นหน้าที่ของกองทัพพระสังขฑัต แต่การโจมตีก็ต้องผิดหวังล่าถอยกลับมาอีกเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นคราวที่พระนเรศวรจะเข้าโจมตีเมืองคังบ้าง


    พระนเรศวรทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองคังตั้งอยู่บนที่สูง พระองค์จึงวางแผนการยุทธจัดทัพใหม่ แบ่งกำลังส่วนหนึ่งเข้าโจมตีด้านหน้า กำลังส่วนนี้มีไม่มากนัก แต่กำลังส่วนใหญ่ของพระองค์เปลี่ยนทิศทางโอบเข้าตีด้านหลัง ประกอบกับพระองค์ทรงรู้ทางลับที่จะบุกเข้าสู่เมืองคังอีกด้วย


    จึงสามารถโจมตีเมืองคังแตกโดยไม่ยาก พระนเรศวรจับเจ้าฟ้าเมืองคังไปถวายพระเจ้านันทบุเรงที่หงสาวดีเป็นผลสำเร็จ


    ชัยชนะในการตีเมืองคังครั้งนั้นทำให้ฝ่ายพม่าเริ่มรู้ว่าฝีมือทัพไทย มีความเก่งกล้าสามารถน่าเกรงขามยิ่งกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะพระสังขฑัต และพระมหาอุปราชารู้สึกมีความละอายมากในการทำศึกครั้งนี้ นอกจากนี้แล้วต่อมาพวกเขมรยกทัพมากวาดต้อนผู้คนในเมืองนครราชสีมาและหัวเมืองชั้นใน ก็ถูกกองทัพของพระนเรศวรโจมตีแตกกระเจิงและเลิกทัพถอยกลับไป


    ความเก่งกล้าสามารถของพระนเรศวรมีมากขึ้นเพียงไร ความหวาดระแวงของหงสาวดีก็เพิ่มทวีมากขึ้นเยี่ยงนั้น พระเจ้านันบุเรงเริ่มไม่ไว้วางพระทัยพระนเรศวร คอยจับจ้องดูความเปลี่ยนแปลง และความสามารถของยอดนักรบพระองค์นี้อยู่ตลอดเวลา คิดว่าหากมีโอกาสเมื่อใดก็จะกำจัดตัดไฟแต่ต้นลม



    การประกาศอิสรภาพ


    เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมืองพร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปรเจ้าเมืองตองอูและเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วย


    ทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน


    สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย


    จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับและหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย


    พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยารามคุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้


    พระยาเกียรติกับพระยารามเมื่อไปถึงเมืองแครงแล้วได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวรเคยรู้จักชอบพอกันมาก่อน


    กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง


    เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน


    พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสารจึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยารามกราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าการเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง


    เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยารามและทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ)


    ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า "ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป"


    จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่าแล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพ เมื่อจัดกองทัพเสร็จก็ทรงยกทัพจากเมืองแครงไปยังเมืองหงสาวดีเมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน 6



    ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติพระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่


    สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมัชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้


    จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อนให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง




    จบตอนที่ 3 ติดตามตอนต่อไป







    ขอบคุณ

    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    หอมรดกไทย

    ........................................
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 30-11-2010 at 07:05.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ภูเบตร์
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    กระทู้
    197
    Thank you very much ....:*-

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •