กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: รัฐฉาน ตอนที่ 5 สนธิสัญญาปางโหลง

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    รัฐฉาน ตอนที่ 5 สนธิสัญญาปางโหลง


    รัฐฉาน ตอนที่ 5 สนธิสัญญาปางโหลง
    (Pang Long Conference)






    รัฐฉาน ตอนที่ 5 สนธิสัญญาปางโหลง




    [WMA]http://vihokratree.webs.com/000%20Sunyajakpeon%20Yeiw.wma[/WMA]

    สัญญาจากเพื่อน



    [WMA]http://vihokratree.webs.com/Rutchanbaanrao%20Karabao.wma[/WMA]


    รัฐฉานบ้านเรา








    สาระของเรื่องราวก็คือ


    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการพม่าพยายามโน้มน้าวเหล่าบรรดาเจ้าฟ้าไตให้เข้าร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เจ้าฟ้าไตจึงได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง เมื่อปี ค.ศ. 1947 กับชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ โดยสัญญาดังกล่าวได้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุให้ชนชาติที่ร่วมลงนามในสัญญาสามารถแยกตัวเป็นอิสระได้หลังจากอยู่ร่วมกันครบสิบปี


    เมื่ออังกฤษได้ให้เอกราชกับพม่าและไตแล้ว รัฐบาลกลางพม่าไม่ยอมทำตามสัญญาและพยายามการรวมดินแดนให้เป็นของประเทศพม่า เหตุนี้จึงทำให้ชาวไตหรือไทยใหญ่ก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติของตนเองขึ้นในปี ค.ศ. 1948





    เราจะมาศึกษาประวัติความเป็นมา ของ สนธิสัญญาปางโหลง


    ความเป็นมาของสนธิสัญญาปางโหลง




    รัฐฉาน ตอนที่ 5 สนธิสัญญาปางโหลง



    การลงนามร่วมกันระหว่างนายพลออง ซาน(บิดานางออง ซาน ซูจี) ตัวแทนฝ่ายพม่า กับสภาสหพันธรัฐเทือกเขา(Supreme Concil of the United Hill People : SCOUHP) ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชาติไทยใหญ่ คะฉิ่น และชิน เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 (ค.ศ.1947) เวลา 11.00 น. และถือว่าเป็นวันแห่งสหภาพ(Union Day) ที่เมืองปางโหลง ตอนใต้ของรัฐฉาน


    สาระสำคัญในข้อตกลงปางโหลง โดยระบุว่า หากพม่า ไทยใหญ่ คะฉิ่น และชิน ร่วมกันเรียกร้องและได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้วจะปกครองร่วมกัน 10 ปี จากนั้นแต่ละรัฐสามารถแยกปกครองตนเอง และยังได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของพม่า ว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามถือว่าเป็นผู้ละเมิดรัฐธรรมนูญ


    และ ในวันที่ 19 กรกฎาคมปีเดียวกัน นายพลอองซาน ผู้ร่วมลงนามฝ่ายพม่าได้ถูกลอบสังหาร ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491(ค.ศ.1948 สหภาพพม่า ได้รับเอกราชจากอังกฤษ


    ในปี 2505(ค.ศ.1962) นายพลเนวินได้ยึดอำนาจพร้อมประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้สนธิสัญญาปางโหลงที่ พม่า ไทยใหญ่ คะฉิ่น และชิน ทำร่วมกันเป็นโมฆะ ทำให้ไทยใหญ่รวมทั้ง ชนชาติต่างๆต้องลุกขึ้นต่อสู้เพื่อทวง สนธิสัญญามาจนถึงปัจจุบัน


    ทำให้ชนแต่ละรัฐไม่พอใจ และไม่ยอมรับการปกครองรัฐบาลพม่า ทำการต่อต้านด้วยอาวุธเพื่อการปกครองตนเอง และแยกตัวเป็นรัฐอิสระ รัฐบาลพม่าจึงถือว่าชนเหล่านี้เป็นกบฏ และได้ทำการปราบปรามเรื่อยมา โดยเฉพาะชนกลุ่มในรัฐต่าง ๆ เช่น รัฐฉาน รัฐคะยา รัฐกะเหรี่ยง และรัฐมอญ



    รัฐฉาน ตอนที่ 5 สนธิสัญญาปางโหลง




    [WMA]http://vihokratree.webs.com/000Kidtoungbaan%20Noomsakol.wma[/WMA]

    คิดถึงบ้าน




    หมายเหตุ



    ส่วนทำไมถึงมีชื่อว่า สัญญาปางโหลง(ปางหลวง) ก็เพราะว่าปางโหลงเป็นเมืองที่ทำสัญญา ที่ไทยใหญ่ คะฉิ่น และชิน ลงนามร่วมกับพม่าเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ร่วมกันเรียกร้องเอกราชจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ


    เมือง”ปางหลวง” เป็นกาดใหญ่อยู่ใจกลางรัฐฉาน เป็นกาด(ตลาด)ของพ่อค้าไทยใหญ่จากแสนหวี ลายค่า หรือพ่อค้าจากเชียงราย เชียงใหม่ สมัย นั้น เข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งจะต้องมาตั้ง ปาง(ป๋าง)อันหมายถึงที่พักแรม ชั่วคราว และมีคนรวมกันมาก



    ปางจึง”หลวง” (ภาษาไทยใหญ่ ออกเสียง”หลวง”ว่า”โหลง”แปลความหมายภาษาไทยภาคกลางว่า”ใหญ”


    ดังนั้น ปางโหลง จึงมีความหมายว่า จุดพักแรมใหญ่ ของคาราวานพ่อค้าวัวต่าง ม้าต่าง อีกความหมายหนึ่ง เมืองปางหลวง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พอคนเข้ามาค้าขายตั้งปางพักแรม ซึ่ง”หลวง”หรือ”ใหญ่” กว่าอื่นจึงได้ชื่อว่า”ปางหลวง”







    [WMA]http://vihokratree.webs.com/Hangkai%20Yiew.wma[/WMA]

    ห่างไกล




    นับวันเวลายิ่งห่างไกลจากเสรีภาพมากขั้นทุกที











    .....................................



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 29-09-2011 at 00:41.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •