กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: พระเหรียญแท้หรือปลอมดูกันอย่างไร?

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    บ้านมหาโพสต์ พระเหรียญแท้หรือปลอมดูกันอย่างไร?

    พระเหรียญทุกชนิด พระแท้หรือปลอม ดูกันอย่างไร


    พระจะแท้หรือปลอมขึ้นอยู่ที่องค์พระเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าเดิมเป็นพระของใคร ได้จากที่ไหน เคยผ่านสงครามอะไรใครแขวนแล้วโดนยิงไม่เข้า ฟันไม่ออกมามั่ง นั่นไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการสะสมพระเครื่องแบบอาศัยเหตุและผลเป็นข้อ สรุป แล้วแนวทางที่ถูกมันเป็นอย่างไร ?

    แนวทางและพื้นฐาน

    ที่ถูกต้องในการที่จะศึกษาและสะสมพระเครื่องครับ ถ้าท่านใช้เหตุและผลมากกว่าใช้หู หรือใช้ความน่าเชื่อถือต่อบุคคลที่ท่านจะเช่าพระเครื่องต่อจากเขา เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ มีหลักสำคัญอะไรบ้าง
    1 รู้จัก ผู้สร้างรู้จักวัดที่สร้างรู้ประวัติการสร้าง ศึกษาเรื่องแบบและแม่ พิมพ์ของพระที่จะสะสม........ศึกษาเรื่องธรรมชาติ การแปรเปลี่ยนตามอายุของโลหะที่สร้างเหรียญ......ศึกษาเรื่องตำหนิ จุดตาย เส้นขนแมว เนื้อปลิ้น เนื้อเกิน การตัดขอบ........ข้อสุดท้าย....สำคัญนะครับต้องเคยเห็นของแท้ และเห็นบ่อยๆ ในเน็ตฯมีเยอะแยะตามศูนย์พระชื่อดังต่างๆ.....


    แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ไม่ค่อยมีใครใส่ใจกับการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพระ เหรียญเลยจะจำแต่ตำหนิพิมพ์อย่างเดียว แปลกแต่จริง...


    เมื่อได้พระมาก็จะส่องกันตะพึดตะพือ แล้วก็มาเปิดตำราดูตำหนิพระเครื่อง พระเหรียญกันอย่างเดียว การกระทำอย่างนี้จะเป็นเครื่องขวางกั้นภูมิปัญญาและความรู้ไม่ทำให้ดูพระ เป็นได้จริงๆสักที อย่างมากก็จะรู้ว่าพระรุ่นนี้ชื่ออะไร ใครสร้าง ออกที่ไหน เท่านั้นเองที่เหลือก็อาศัยวัดดวงหรือให้คนอื่นดูให้ถึงจะแน่ใจว่าใช่พระแท้ หรือเปล่า สุดท้ายดูกันสิบตาก็ว่าไม่เหมือนกันสักคน
    2 การศึกษาพระเครื่องทุกชนิดควรศึกษาและจดจำเรื่องแบบพิมพ์มาก่อนเป็นอันดับ แรก ยิ่งรู้ถึงที่ไปที่มาว่ามีการทำแม่พิมพ์อย่างไร วิธีไหน เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ให้มากเข้าไว้ นั่นจะทำให้เรามีความรู้ในการดูพระเครื่อง พระเหรียญยิ่งขึ้น สามารถ แยกออกระหว่างของแท้และของปลอมได้อย่างชำนาญยิ่งขึ้นแม่พิมพ์ของพระเครื่อง พระเหรียญพระทุกชนิดย่อมสร้างจากแม่พิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพระชนิดใดก็ตาม ทั้งเนื้อชิน ดิน ผง พระเหรียญ ยกเว้นแต่พระเครื่องที่ลอยองค์เท่านั้น
    เวลาที่ท่านเอาพระเครื่องของท่านไปให้เซียนพระดูว่าแท้หรือไม่ประการใด ในตอนแรกเขาจะดูด้วยตาเปล่าก่อนหากดูดีแล้วจึงจะหยิบกล้องมาส่องดู หรือไม่ก็หยิบพลิกไปพลิกมาแล้วก็ส่งคีนให้พร้อมกับพูดว่า “ผิดพิมพ์ครับ”
    แม่พิมพ์ของพระเหรียญนั้นสามรถแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ

    ยุคที่ 1.ประมาณ 2440-2499 พระเก่า
    ยุคที่2.ประมาณ 2500-ปัจจุบัน พระใหม่

    ในยุคโบราณนั้นสามารถแยกวิธีการสร้างเป็น 2 ชนิด คือ เหรียญชนิดปั้มข้างเลื่อยและเหรียญข้างกระบอก วิธีการสร้างนั้นเขานำเอาแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังใส่เครื่องปั้ม แล้วกระแทกอย่างแรงบนแผ่นโลหะที่รีดจนบางแล้ว ถ้าเป็นชนิดข้างเลื่อยนั้นจะนำแผ่นโลหะที่ใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั้มให้ ได้ตามรูป แล้วจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบรูปทรงของเหรียญนั้นๆ การสร้างพระเหรียญในยุคประมาณ ปีพ.ศ.24....กว่าๆโลหะที่นำมาปั๊มส่วนมากมักจะเป็นโลหะประเภททองแดงเป็นหลัก ยกเว้นเป็นพิธีการสร้างของเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย ที่มียศถาบรรดาศักดิ์อาจจะมีเนื้อทองคำและเนื้อเงินเพิ่มเข้ามาด้วย
    แม่พิมพ์ของพระเหรียญในสมัยก่อนนั้นจะนำเอารางรถไฟเก่าๆมาทำเพราะมีความคงทน แข็งแรงมาก แบบของเหรียญก็จะออกแบบเตรียมไว้ทั้งหน้า-หลัง โดยเขียนเอาไว้บนกระดาษสา แล้วค่อยเขียนแบบตามที่ปรากฏบนแผ่นกระดาษสาลงบนเหล็กรางรถไฟ แล้วจึงนำเหล็กนั้นมาเผาไฟให้แดงทั้งแท่ง รอจนเหล็กเริ่มเย็น ตอนนี้เองเนื้อเหล็กจะแข็งแต่ไม่ถึงกับแข็งมาก จึงนำเอาเครื่องมือมาแกะตามรูปที่เขียนเอาไว้บนเหล็กก่อนที่จะเผาไฟการแกะ ด้วยมือนั้นความลึกจะไม่ได้มากเหมือนกับการแกะด้วยเครื่อง จึงทำให้เกิดเป็นมิติแบบนูนต่ำออกมา ไม่นูนสูงเหมือนเหรียญรุ่นใหม่ บางครั้งอาจจะแกะพลาดบ้างเป็นริ้วรอยเส้นบางๆที่เราเรียกว่า “เส้นขนแมว” นั่นเอง

    เหรียญยุคโบราณ นั้นตอนที่ช่างแกะมักจะไม่ได้แกะหูเหรียญเอาไว้เลย(สงสัยจะลืมหรือตั้งใจก็ ไม่ทราบได้) จึงต้องนำมาเชื่อมติดเอาไว้ทีหลังโดยใช้ตะกั่วหรือเงินมาเชื่อมติดเอาไว้ ขึ้นอยู่กับโลหะที่นำมาสร้างพระนั้นเป็นหลัก ต่อมาค่อยมีการพัฒนาขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2484 ขึ้นมา ค่อยเริ่มมีการแกะให้มีหูในตัวอยู่ในแม่พิมพ์เลย ไม่ต้องมาเชื่อมติดทีหลัง เหรียญลักษณะนี้มักจะมีเนื้อปลิ้นมาทางด้านหลังบริเวณหูเหรียญ ในวงการเรียกว่า “ตาไก่” เหรียญยุคนี้ต้องนำมาเข้าเครื่องตัด หรือนำมาเลื่อยฉลุอีกทีหนึ่ง เพราะเมื่อปั๊มออกมาแล้วจะไม่ออกมาเป็นเหรียญแบบสำเร็จเลย เมื่อปั๊มแล้วจะมีเนื้อเกินติดมาด้วยเรียกว่าปีกเหรียญ ต้องนำมาตัดอีกทีจึงจะออกมาเป็นเหรียญอย่างที่เห็น.......

    หรียญโบราณตั้งแต่ พ.ศ. 2460-2469 มีจุดสังเกตเกี่ยวกับพื้นฐานของแม่พิมพ์ โดยไม่ได้แยกสำนัก แยกพระเกจิเลยดังนี้

    ก. ศิลปะของเหรียญเป็นแบบนูนต่ำ เพราะว่าแกะด้วยมือสังเกตได้จากรูปพระเกจิ-อาจารย์จะไม่นูนสูงขึ้นมาจากพื้น ผนังของเหรียญนั้นมาก ลูกตา แก้ม หรือเค้าโครงหน้าจะดูเหมือนมีชีวิตจริงๆตัวอักษรตลอดไปถึงอักขระเลขยันต์ ต่างๆทั้งตัวเลขบอก พ.ศ.ก็ดีจะแกะเป็นเลขไทยที่มีศิลปะสวยสดงดงาม ไม่นูนสูงจากพื้นเหรียญมากนักแต่ทว่าจะมีความคมชัดอยู่ในที ไม่เบลอหรือเอียงโย้เย้เลย
    ข. เส้นสายรายละเอียดที่นำมาจัดเป็นองค์ประกอบขึ้นรูปจะเป็นเส้นเรียวเล็กบางหากแต่ว่าคมชัดมาก
    ค. หูหรือว่าห่วงเหรียญมักจะใช้วิธีเชื่อมติดกับเหรียญด้วยตะกั่วหรือเงินตามแต่โลหะที่นำมาสร้างพระนั้นๆ สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
    ง. ขอบเหรียญมักจะเรียบไม่ค่อยมีรอยเส้นฟันเลื่อย ขอบเหรียญจะบางและไม่มีความคม เพราะผ่านกาลเวลามานานปริ่มๆร้อยปีเข้าไปแล้ว หากใช้มือลูบดูแล้วมีความคมเหรืออยู่โอกาสที่จะเป็นของเลียนแบบมีสูงมากให้ ระวัง
    จ. พื้นผนังทั้งด้านหน้าและด้านหลังมักจะตึง การสร้างเหรียญนั้นเกิดจากการกระแทกอย่างแรงของแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้าน หลังลงบนโลหะ เพราะเช่นนั้นตามหลักวิทยาศาสตร์และหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว เมื่อถูกกระแทกอย่างแรงแล้วพื้นผิวเหรียญต้องเรียบตึง แต่ก็มีเหรียญอีกประเภทหนึ่งที่พื้นผิวเหรียญมีเม็ด”ขี้กลาก”อยู่ ซึ่งก็มี อยู่ได้ ขึ้นอยู่กับประวัติการสร้างของทางวัดอีกทีหนึ่ง หากว่าวัดนั้นเกิดสร้างเหรียญมาแล้วเกิดเหตุการณ์ว่าเหรียญเป็นที่ต้องการ ของประชาชนคนทั่วไปไม่พอกับความต้องการ แล้วปั๊มใหม่โดยใช้แม่พิมพ์ตัวเดิม อาจจะก่อให้เกิดร่องรอยขี้กลากขึ้นได้ แต่ถ้าพบว่าตามประวัติของทางวัดไม่เคยนำเอาแม่พิมพ์ตัวเก่ามาปั๊มใหม่เลยก็ แสดงว่าท่านได้เจอกับของเลียนแบบเข้าแล้ว เพราะก่อนการปั๊มเหรียญแบบโบราณ ก่อนที่จะปั๊มจะต้องนำแม่พิมพ์มาขัดทำความสะอาดก่อน โอกาสที่จะเกิดรอยขี้กลากที่พื้นผิวนั้นมักจะไม่มี ส่วนเหรียญโบราณในยุคกลางตั้งแต่ พ.ศ.2470 ขึ้นมาจะเริ่มมี เหรียญแบบมีห่วงในตัวขึ้นแล้ว ในบางพระเกจิบางหลวงพ่อยังใช้วิธีการสร้างแบบเดิมอยู่ก็มี จุดสังเกตโดยรวมของเหรียญยุคนี้ที่แตกต่างจากเหรียญยุคแรกมีดังนี้คือ
    1.ถ้า เป็นเหรียญที่มีหูในตัวต้องมีเศษโลหะปลิ้นพับไปด้านหลัง จุดนี้เกิดจากแรงกระแทกของการปั้มเป็นส่วนของธรรมชาติต้องมีทุกเหรียญทุก คณาจารย์ที่สร้างในยุคนั้น
    2.ขอบเหรียญมักจะมีรอยเลื่อยฉลุ ส่วนจุดอื่นเหมือนเหรียญโบราณยุคแรกทั้งหมด
    หากว่า ท่านมีเหรียญยุคเก่าสักเหรียญหนึ่ง ลองนำเหรียญนั้นมาเทียบกับทฤษฏี ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นดู ว่าเข้ากับหลักเกณฑ์ของเหรียญยุคโบราณหรือไม่ ทั้งหูเหรียญ ขอบเหรียญ ความสูงต่ำของเค้าโครงหน้าและตัวอักษร ว่าตรงกับที่ว่ามาหรือไม่ ถ้าเข้ากับหลักเกณฑ์แล้วก็มาว่ากันต่อที่โลหะของเหรียญต่อไป โลหะเก่านั้นจะไม่มีความแวววาว ความสดใส หากสัมผัสจับต้องแล้วจะเป็นมันๆขึ้นมา ถ้าทิ้งไว้สักครู่ก็กลับคืนสู่สภาพเดิมเพราะว่าเนื้อโลหะมีอายุสูง และวรรณะสีสันของเหรียญเก่านั้นมักจะมีสีซีดจางไม่ว่าจะเป็นทองคำ(มักจะออก แดงๆบางท่านว่าเป็นทองบางสะพาน) ทองแดง เงินและนาก

    เหรียญ ทำเทียมเลียนแบบของเก่า ส่วนมากใช้วิธีถอดพิมพ์มาขนาดของเหรียญจะเล็กกว่าของแท้เพราะการหดตัวของแม่ พิมพ์ การถอดพิมพ์เหรียญนั้น จะใช้ซิลิโคนมาถอดเพราะซิลิโคนเป็นของเหลวจะซึมไปได้ทุกอณูของเหรียญแม้แต่ เส้นขนแมวหรือจุดลับต่างๆก็ถอดติด (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของซิลิ โคนที่นำมาถอดพิมพ์ด้วย) รอจนซิลิโคนแข็งตัวแล้วก็ถอดออกแล้วพลิกด้านทำแบบเดิมกับด้านหลังอีกเมื่อ แข็งแล้วก็ถอดออกเอาปูนทนไฟมากรอกใส่ไปในยางแม่พิมพ์ที่ได้ เมื่อปูนแข็งตัวแล้วแกะเอาซิลิโคนออกแล้วจึงหลอมเอาโลหะที่จะทำแม่พิมพ์พระ นั้นให้ละลายเทใส่ในปูนทนไฟนั้น ทิ้งไว้จนเย็นจึงทุบเอาปูนออกก็จะได้แม่พิมพ์เหรียญที่ถอดพิมพ์มา ผ่านขั้นตอนขนาดนี้เหรียญจะไม่หดตัวยังไงไหว

    เหรียญ ทำเทียมใน ลักษณะนี้ส่วนมากจะใช้วิธีเหวี่ยงโดยเอาโลหะเหวี่ยงเข้าไปในแม่พิมพ์เหล็ก กล้า แล้วจึงตกแต่งพื้นผิวเหรียญโดยใช้น้ำยาเคมี มีเรื่องที่ทำให้สังเกตอย่างหนึ่งคือ เส้นสายรายละเอียดต่างต่างของเหรียญที่ถอดได้จะไม่คม ไม่พลิ้ว เช่นว่า ดวงตาหลวงพ่อจะบี้แบนไม่คมเท่าที่ควร เค้าหน้าจะตื้นกว่าดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ ตัวหนังสืออักขระต่างๆจะล้มเอียงโย้เย้เพราะใช้แรงเหวี่ยงมากนั่นเอง ขอบเหรียญก็เช่นกัน หากเป็นการทำเทียมยุคแรกๆจะทำเป็นห่วงเชื่อมเช่นกัน แต่ตะกั่วที่นำมาเชื่อมจะสีสดดูใหม่อย่างเห็นได้ชัดไม่ซีดแห้งเหมือนของแท้ โดยส่วนมากมักจะทำอะไรอำพรางเช่นทำให้เป็นสนิม บิดห่วงให้หัก มีคราบน้ำหมากทับถมอยู่หรือไม่ก็เลี่ยมพลาสติกเลี่ยมทองเพื่ออำพรางร่องรอย ทำให้ดูยากเป็นต้นฯ หากเป็นเหรียญในยุค พ.ศ. 2470 ยิ่ง ทำเทียมยากขึ้นไปอีกเพราะหูเหรียญตรงจุดที่เป็นตาไก่ทำเลียนแบบยากพอ สมควร(ปัจจุบันเห็นทำตาไก่ได้แล้วแต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นรอยคล้ายๆรอย ตะไบอยู่ด้านในรูห่วง)แม้ว่าทำได้ก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ ในด้านจุดตำหนินั้นเหรียญทำเทียมเลียนแบบเมื่อถอดออกมาจากของแท้แล้วก็ย่อม จะมีเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะดูตำหนิให้ไล่ดูตามขั้นตอนต่างๆที่ได้แนะนำเอาไว้ก่อนหากว่าไม่ เข้าตามองค์ประกอบที่แนะนำเอาไว้เรื่องตำหนิไม่ต้องพูดถึง.....เพราะของ เลียนแบบก็มีตำหนิตรงจุดเดียวกันกับของแท้ทุกประการ แต่เป็นเพราะว่าของทำเทียมมีการหดตัวดังนั้นจึงจะดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติสัก หน่อยดูเพี้ยนๆผิดไปจากของจริง แต่ก็อย่างว่าเหรียญของเก่าจริงๆมักจะหาดูเป็นต้นแบบก็ยากเพราะมีราคาแพง เป็นส่วนใหญ่แถมบางท่านมักจะเข้าข้างตัวเองไม่ยอมดูในด้านพื้นฐานเลย มักจะข้ามไปดูที่ตำหนิกันเลยมันก็ต้องมีครบอยู่แล้วเพราะถอดมาจากของจริง ยกเว้นบางจุดเท่านั้นที่จะถอดไม่ค่อยติดตรงนี้เซียนใหญ่ทั้งหลายท่านจะยึด เป็นจุดตายและไม่ยอมสอนให้เพราะเป็นเครื่องมือหากินของเขา พอนักสะสมมือใหม่ไล่ดูตำหนิครบแล้วก็ทึกทักเอาว่าของข้าแท้อย่างเดียวโดยลืม ดูธรรมชาติความเก่าของเหรียญไปซะฉิบ เฮ้อ........

    แม่ พิมพ์เหรียญยุคใหม่มักจะเอาภาพหลวงพ่อต่างๆที่จะมาทำเหรียญนั้น มาออกแบบบนกระดาษก่อนแล้วจึงเอาไปถ่ายฟิล์ม แล้วนำไปประกบกับเหล็กอ่อนค่อยใช้เครื่องหรือช่างแกะออกมา แล้วจึงนำเหล็กไปชุบกับน้ำยาทำให้เหล็กแข็งตัวก่อนค่อยนำไปใส่ที่เครื่อง ปั๊มซึ่งก็มีอยู่สามแบบ คือ 1...เหรียญ ปั๊มข้างเลื่อย โดยนำเอาแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้รูปแล้วนำมา เลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบของเหรียญนั้นๆ
    2...เหรียญปั๊ม ข้างกระบอก นำเอาแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้รูปทรงของเหรียญที่จะปั๊มก่อนเพื่อเข้ากระบอก ด้านข้างของเหรียญชนิดนี้จะมีความเรียบเนียนเนื่องจากกดปั๊มโดยมีกระบอกเป็น ตัวบังคับ บางเหรียญจะมีการตกแต่งให้สวยงามทำให้เกิดเส้นทิวบางๆที่ขอบเหรียญบ้าง
    3...เหรียญปั๊มตัด พ.ศ.2500-ปัจจุบัน เหรียญในยุคใหม่นี้ด้วยวิทยาการเครื่องจักรอันทันสมัย แรงอัดกระแทกดี ดังนั้นเวลาที่ป็มเหรียญออกมาจึงสวยคมชัดมากมีลักษณะเป็นภาพนูนสูง สังเกตที่ผนังเหรียญจะอยู่ต่ำกว่ารูปของพระเกจิอาจารย์มาก จุดสังเกตของเหรียญยุคใหม่ คือ ผิวเรียบตึง ไม่มีขี้กลาก หรือเป็นหลุมเป็นบ่อเลยแม้แต่น้อยที่ขอบจะมีความเรียบเนียนแต่ว่าคมและมีรอย ตัด แววตาของหลวงพ่อจะแลดูแข็งๆ
    อย่างที่กล่าวมาแล้วใน เบื้องต้นว่าเหรียญเก่าแท้ๆหากจะทำเลียนแบบด้วยการทำ แม่พิมพ์ใหม่แล้วนำมาปั๊ม ปั๊มอย่างไรก็ไม่เหมือนเพราะว่าถ้าแกะบล็อกใหม่เส้นสายรายละเอียดเดิมๆที่ ช่างได้ทิ้งเอาไว้ (ที่เราเรียกว่า”ตำหนิ”) ไม่ มีทางทำให้เหมือนได้ เพราะเป็นการทิ้งใว้แบบไม่ตั้งใจ ไม่จงใจ แต่ก็เป็นประโยชน์กับพวกเรานักสะสมมือใหม่เป็นอย่างยิ่ง หากรู้จักสังเกตและจดจำ หากเอาเครื่องปั๊มยุคปัจจุบันไปปั๊มยิ่งจะทำให้เกิดความแตกต่าง อย่างมากเพราะกรรมวิธีการสร้างที่แตกต่างกันตามยุคสมัยที่ได้กล่าวเอาไว้ ตั้งแต่เบื้องต้น ดังนั้นก็จะทำได้เพียงวิธีเดียวคือ ต้องอาศัยวิธีถอดพิมพ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    ดังนั้นพระ แท้ก็ต้องแท้อยู่วันยันค่ำ ของเลียนแบบก็เช่นเดียวกัน เพราะตามหลักแห่งความเป็นจริงแล้วหากว่าแยกแยะพระแท้กับของเลียนแบบไม่ได้ เลยนั้น พระเครื่องประเภทพระเหรียญก็คงจะต้องเลิกเล่นกันไปตั้งนานแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ยังเล่นหากันอยู่นั่นแสดงว่ายังสามารถที่จะแยกพระแท้กับพระทำ เลียนแบบกันได้ ขออย่าให้ความโลภครอบงำก็แล้วกัน พระอะไรที่ดูก้ำกึ่ง คาบเกี่ยว ดูน่าสงสัย มีพิรุจ แถมยังราคาถูกกว่าค่านิยมสากล ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามให้พยายามหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาผู้รู้ ผู้ชำนาญการจะเป็นการปลอดภัยที่สุด.....
    ขอส่งท้ายและเน้น ย้ำถึงธรรมชาติของเหรียญเก่าโบราณอีกครั้งหนึ่ง พระเหรียญ วิธีสร้างก็คือการนำเอาโลหะมาปั๊มไม่ว่าจะเป็น เงิน ทองแดง นาก ทองคำ หรือโลหะผสมเช่น นวโลหะก็ดี ธรรมชาติของโลหะธาตุเหล่านี้ย่อมจะมีอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ซึ่งสามารถแยกแยะได้ดังนี้

    1…พื้นผิวเหรียญต้องแห้งผากไม่มีความมันเงาแวววาวใดใดเลย
    2...สีสันวรรณะของเหรียญต้องดูซีดจาง ไม่สดใส
    3...เมื่อถูกสัมผัสจับต้องแล้วสีสันอาจจะเปลี่ยน แต่เมื่อทิ้งเอาไว้ระยะเวลาหนึ่งก็จะกลับคืนเป็นดังเดิม
    4...ไม่มีความคมหลงเหลืออยู่ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหน
    5...ขอบเหรียญมักจะบาง
    6...เหรียญ ที่ผ่านการใช้มาแล้ว มักจะมีคราบสนิมเกาะอยู่จะเป็นสีอะไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเหรียญเนื้ออะไรเช่น กันเมื่อล้างคราบสนิมออก หรือ หลุดออกเองก็ดีเมื่อเราส่องดูที่พื้นเหรียญมักจะมีรูพรุนคล้ายตามดเพราะถูก สนิมกัดกร่อนไปถึงเนื้อโลหะแต่ถ้ารักษาอย่างดีก็จะไม่มีหลุมดังกล่าวและจะทำ ให้เหรียญมีราคาค่านิยมที่แพงยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว(ที่เขาเรียกว่า เหรียญสวยระดับแชมป์นั่นแหละ ของแพง) ถ้าท่านมีเหรียญเก่าๆลองนำมาเทียบกับความเก่าตามธรรมชาติที่ได้เขียนเอาไว้ ตั้งแต่ต้นดู ว่าตรงกันหรือเปล่า แต่ต้องทำใจให้เป็นกลางด้วย ไม่เช่นนั้นอาจหลงเข้าข้างตัวเองได้ เอวัง








    ที่มา asawinamulet.siam2web.com/?cid=386492&f_action=forum_viewtopic&forum_id=35865&topic_id=24408

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ รอย บุญเรือง
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    กระทู้
    156
    ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ดีๆ แต่ว่าก็ยังยากอยู่ดีสำหรับคนที่บ่ค่อยได้เบิ่งเองครับ หาเบิ่งของแท้ยาก ถ้าบ่อยู่ในวงการ

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ทอง
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    300
    ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับที่นําความรู้และสาระดีๆมาให้ศึกษาครับ

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    ขอบคุณมากนะคะ

    ปกติจะชอบที่จะชมความงามของพระมากๆๆ เพราะชอบงานศิลปะ

    เพราะพระเครื่องหรือเหรียญพระ ต่างๆๆ มีศิลปะที่หลากหลายสวยงาม


    ด้านหลังพระแต่ละรุ่นวิจิตบรรจง


    แต่ไม่เคยมีความรู้ในการดูพระจริง หรือ พระปลอมเลย


    เข้ามาอ่านทำให้ทราบวิธีดูพระ ที่น่าเรียนรู้กับสาระงานชิ้นนี้มากค่ะ

    ขอบคุณมากนะคะสำหรับเจ้าของกระทู้ที่นำแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์มาให้อ่าน


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ มั่วหน่าฮ่าน
    วันที่สมัคร
    Jan 2007
    กระทู้
    1,781


    ข่อยเบิ่งบ่ออกดอกเด้อว่าพระปลอมเป็นจั่งได๋.. เห็นยามเช้ามาบิณฑบาตร กะใส่บาตรโลดแหล่ว เพิ่นคือสิบ่ปลอมโตเป็นพระดอกตี้..อิอิ
    ไม่เข้าถ้ำมอง เหตุไฉนจะได้มอง...http://img198.google.co.th/img198/6016/iinjiisjiisj.gif

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •