กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ขายตรงกับแชร์ลูกโซ่ ต่างกันอย่างไร

  1. #1
    ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สัญลักษณ์ของ sert1964
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    กระทู้
    314

    ขายตรงกับแชร์ลูกโซ่ ต่างกันอย่างไร

    “ขายตรง” Vs. แชร์ลูกโซ่ (Lisa ฉ.12/2553)
    โดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
    น.บ. , น.บ.ท. , น.ม.(กฎหมายมหาชน)
    ปลายปี 2552 มีข่าวบริษัทฯ ขายตรงแห่งหนึ่งซึ่งขายผลิตภัณฑ์เสริมทางการเกษตรถูกสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสั่งปิดตามมาด้วยเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้าไปตรวจค้นและปิดที่ทำการของบริษัทขายตรงแห่งนั้น ข่าวนี้แหละครับที่ทำให้หลายคนอยากจะทราบความเหมือน ความต่างหรือสิ่งใดๆ ที่ทำให้ “การขายตรง” ต่างจาก “แชร์ลูกโซ่” เพราะในสภาพเศรษฐกิจอย่างทุกวันนี้หลายคนมีอาชีพเสริมคือการขายตรง แน่นอนครับว่าหลายคนคงเหลียวหน้าแลหลังว่า “เอ้ะ...แล้วที่เราทำงานพิเศษอย่างทุกวันนี้...จะเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ไหมหนอ?” ผมจะมาไขข้อสงสัยให้ทราบครับ

    ขายตรง...คืออะไร?
    การขายตรงนั้นชัดเจนอยู่แล้วครับว่าเป็นธุรกิจที่เน้นขายสินค้าจริงๆ และสินค้าที่ขายนั้นต้องไม่มีราคาเกินจริงตามคุณภาพที่น่าจะเป็นจริงผ่านกระบวนการสร้างทีมงานเป็นเครือข่าย และมีผลตอบแทนจากการขายเป็นลำดับขั้น คุณผู้อ่านอาจพิจารณารายได้หลักของบริษัทขายตรงนั้นจะได้มาจากการขายสินค้าเกินร้อยละ 90 นั่นเอง และรายได้หลักของสมาชิกที่ทำธุรกิจขายตรงหรือที่เรียกว่า “ตัวแทนขายตรง” “ผู้จำหน่ายอิสระ” ก็จะได้มาจากเปอร์เซ็นต์จากการขายเช่นกัน ดังนั้นคนที่จะทำธุรกิจนี้ ต้องเป็นนักขายมืออาชีพครับจึงจะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้สินค้าและบริการที่นำมาจำหน่ายส่วนใหญ่ก็จะมีความแตกต่างจากสินค้าที่วางขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป หรือไม่ได้วางขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดนะครับ

    แชร์ลูกโซ่...คืออะไร แชร์ลูกโซ่นั้นนะครับเป็นการทำธุรกิจที่มุ่งหารายได้จากการระดมทุนเป็นหลัก โดยมีเนื้อหาสัญญาในการเข้าร่วมธุรกิจที่จะตอบแทนผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สูงกว่าเงินลงทุน (กรมสอบสวนคดีพิเศษให้ข้อสังเกตครับว่า หากมีการเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่า 20% ต่อปี หรือผลตอบแทนที่สูงมากในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือแม้แต่ 1 ปี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจจะเข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่) ซึ่งผู้ประกอบการมักจะอ้างว่านำเงินไปลงทุนใน รูปแบบอื่น ๆ ต่อ ๆ กันไปเพื่อปันรายได้แจกจ่ายผู้เข้าร่วมธุรกิจอย่างทั่วถึง แต่ผลก็คือ มีการตอบแทนผลประโยชน์ในช่วงต้น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการร่วมลงทุนในธุรกิจให้ต่อเนื่องจนเมื่อถึงจุดที่ผู้ประกอบการระดมทุนสำเร็จตามจำนวนที่หวังไว้ก็จะหาทางปิดตัวบริษัทเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายผลประโยชน์ในลำดับชั้นต่อ ๆ ไป หรืออาจจะดำเนินการต่อเนื่องจนกว่าผู้เข้าร่วมธุรกิจที่เข้ามาในระยะหลังมีมากขึ้นจนไม่สามารถหมุนเวียนเงินตอบแทนเพื่อจ่ายผลประโยชน์ได้ก็จะเริ่มปิดบริษัทครับ

    ลักษณะเด่นของ...แชร์ลูกโซ่ คุณผู้อ่านท่านใดที่สงสัยว่าธุรกิจขายตรงเจ้าใดจะเป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่นั้น อาจจะสังเกตไปที่สถานประกอบการของบริษัทนั้นๆ ว่ามั่นคงหรือถาวรหรือไม่ หากเป็นเพียงแค่บริษัทที่เช่าตึกทำสำนักงาน ส่วนสำนักงานก็ไม่มีทรัพย์สิน ไม่มีสิ่งมีค่าใดๆ มีเพียงอุปกรณ์สำนักงานเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่มีโรงงานผลิตสินค้าเป็นของตัวเอง มีแต่สินค้าธรรมดาๆ แต่กลับไม่ระบุแหล่งผลิตและส่วนใหญ่ก็จ้างผลิตเป็นครั้งคราว บางครั้งถึงกับอวดอ้างสรรพคุณสินค้าเกินจริง ยิ่งหากบริษัทดังกล่าวไม่ได้เน้นการขายสินค้าจริงจัง แต่เน้นให้สร้างทีมงาน ให้หาสมาชิก หาผู้ลงทุนรายใหม่ มักพูดย้ำเสมอว่า “ยิ่งหาสมาชิกได้มาก จะได้เงินมากขึ้น” แถมยังบังคับให้ซื้อสินค้าพร้อมการสมัครสมาชิกเป็นเงินสูงมากแต่ไม่มีสินค้าให้ หรือมีสินค้าบางตัวบังหน้าป้องกันข้อสงสัย แบบนี้เสี่ยงจะเป็นบริษัทแชร์ลูกโซ่ครับ

    โทษ...ทางกฎหมายสำหรับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายไทยนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 4 ของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มีโทษจำคุก 5- 10 ปี และปรับ 500,000 – 1 ล้านบาทและปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนครับ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาเคยมีคดีในลักษณะนี้คือ คดีหมายเลขดำที่ ด.4756/2537 คดีหมายเลขแดงที่ อ.815/2551ซึ่งศาลชั้นต้นตัดสินเมื่อวันที่ 4 มี.ค.2551 ให้จำคุก จำเลยที่2, 4, 5 ในคดี (พนักงานอัยการ – บริษัทบลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด) เป็นเวลานานถึง 120,945 ปี!!! เพราะศาลพิจารณาจากสมาชิกที่ถูกล่อหลอกให้เข้ามาร่วมในเครือข่ายถึง 24,189 คนครับ (ต่างกรรม ต่างวาระ) แต่เมื่อศาลพิจารณาตามกฎหมายอาญา มาตรา 91 แล้ว จึงพิพากษาให้จำคุกคนละ 20 ปี ซึ่งตอนนี้โจทก์และจำเลยอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นครับ
    ส่วนคุณผู้อ่านที่ชอบชักชวนคนนั้นคนนี้มาร่วมลงทุนด้วย หากมีการตัดสินว่าธุรกรรมนั้นมีความผิดแชร์ลูกโซ่ คุณผู้อ่านก็อาจจะมีความผิดฐานเป็นผู้ร่วมกระทำผิดในการหลอกลวงประชาชนก็เป็นได้นะครับ

    ขอขอบคุณท่าน อ.ประมาณฯเจ้าของกระทู้ครับ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย sert1964; 24-12-2010 at 08:15.

  2. #2
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    แชร์ลูกโซ่มักสิแฝงมากับขายตรงครับ คือเอาเงินต่อเงินครับ โดยมีสินค้าสองสามอย่าง ข้ออ้างกะคือดีบ่ต้องมีสินค้าหลาย จำบ่ได้พะนะ

    สองขวดหมื่นสอง อยากได้เงินคืนกะไปตั๊วะผู้ใหม่ ๆ ไปเรื่อย ๆ พวกมาก่อนได้เปรียบ พอเสวยสุขกันอิ่มเอมแล้วกะปิดบริษัท แล้วตั้งบริษัทใหม่ มีพวกนกต่อออกล่าเหยื่อ

    ผู้นั้นได้สองล้าน ผู้นั้นได้สามล้าน ผู้นี่ได้เป็นแสนพะนะ ข่อยลองเข้าไปพ้อแต่แสนสาหัสแหล่ว หาเงินใช้หนี้ ธ.ก.ส.อยู่ ย่อนอยากรวยนำเพิ่น

    เข็ดปานตอนแมวข่อยกะดาย เอาผุเฒ่ามาเป็นพรีเซ็นเตอร์สร้อยฮาวโป้ตรีนเกือบ 20 เส้น ซาบลาบอยู่ ยายเลาเฮ็ดมาบ่ฮอดปี รวยจั่งที่เห็นพะนะ 555

    สงสัยสร้อยปลอมมั้ง เอิ๊ก ๆ ๆ ๆ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    กระทู้
    4
    เคยได้ยินบ่อย คัก อันบริษัทลูกโซ่ สมาซิกซื้อของสามอย่างห้าพัน หาสมาชิกหลายเท่าได๋แห่งดี เจ้าสิได้โบนัส หยังบุ๊ คะเจ้าเว้ากันได้ยิน 555+

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •