พบแล้ว "กิโลเมตรที่ 0" ของกรุงเทพฯ ที่แท้อยู่ใต้ซานดัง(จมูก)นี่เอง..

เห็นป้าย"อีก 77 กิโลเมตรสิเถิงกรุงเทพฯ" เกิดคำถามขื่นในหัว แล้วม่องได๋หล่ะ คือหลักกิโลเมตรที่ 0 ข่อยหละมึนตื๊บ หลายคนยังงงว่าหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพฯ หลายคนยังงงว่าหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพฯ หลายคนยังงงว่าหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพฯ

หลายคนยังงงว่าหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพฯ อยู่ตรงไหนของเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ ใบ้ให้ว่าอยู่ใจกลางเมืองจริงๆ


หลายคนยังงงว่าหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพฯ

เชื่อว่าหลายคนเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้ว บางคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี ยิ่งเมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่แห่งนี้ยังเป็นสถาน ที่สำคัญอีกด้วย

เฉลยกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพฯ อยู่ที่ "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" นี่เอง


หลายคนยังงงว่าหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพฯ

ผ่านสถานที่สำคัญแห่งนี้มาก็หลายครั้งหลายหน แต่เพิ่งสังเกตเห็นป้ายสีน้ำตาลเล่าถึงรายละเอียด ซ่อนตัวอยู่บนริมถนน ราชดำเนินกลาง ปากทางเข้าถนนดินสอ ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา พร้อมแผนที่ทางหลวงประเทศไทยขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ข้างกัน ระบุว่า "กิโลเมตรที่ 0 ของทางหลวงแผ่นดินสายประธาน หมายเลข 1 หมายเลข 3 และหมายเลข 4 เริ่มจากที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถนนราชดำเนินกลาง แยกไปตามถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ"


หลายคนยังงงว่าหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพฯ

ปีใหม่ปีนี้ ใครจะไปเที่ยวไหนแต่เริ่มต้นไม่ถูก ขอให้มาที่หลักกิโลเมตรที่ 0 ก่อน รับรองไม่หลง..

หลายคนยังงงว่าหลักกิโลเมตรที่ 0 ของกรุงเทพฯ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

http://www.matichon.co.th/news_detai...tid=&subcatid=

มีคำตอบเรื่องนี้จากปากของ "อธิบดีกรมทางหลวง-วีระ เรืองสุขศรีวงศ์"

"หลัก กิโลเมตรที่ 0 ของประเทศไทย อยู่ที่หัวมุมถนนดินสอ ใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" อธิบดีกรมทางหลวง เฉลยคำตอบก่อนย้อนรอยที่มาที่ไปให้ฟังว่า...

"อันที่จริงไม่มีหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ที่ระบุถึงที่มาและที่ไป หรือเหตุผลการปักหมุดหลักกิโลเมตรที่ 0 ไว้ตรงนี้ แต่สันนิษฐานจากการ บันทึกคำกล่าวของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนกล่าวในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483 ตอนหนึ่งว่า

"เพื่อเชิดชูคุณค่าของประชาธิปไตย และเพื่อมีเครื่องเตือนใจให้พยายามผดุงรักษาระบอบนี้ให้สถิตสถาพรอยู่ตลอด กาล คณะรัฐบาลจึงลงมติให้สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์นี้จะเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งมวล เป็นต้นว่า ถนนสายต่างๆที่จะออกจากกรุงเทพฯไปยังหัวเมือง ก็จะนับต้นทางจากอนุสาวรีย์นี้..."

นอกจากนั้นแล้ว ก็มีหลักฐานที่เป็นอักษรที่อ้างอิงจากคำกล่าวของ จอมพล ป. ซึ่งได้เขียนไว้ใน อักขรานุกรม ภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1ปี 2506 หน้า 224 ซึ่งเรียบเรียงโดยนายชำนาญ อินทุโศภณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ที่อ้างประกาศราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 67 เล่มที่ 67 วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ว่า...

"ถนน 3 สาย ที่ระบุชื่อข้างบน (ถนนพหลโยธิน, ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) ถือจุดเริ่มต้นความยาวจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จ.พระนคร"

อธิบดี กรมทางหลวง...เฉลยต่อไปว่า เหล่าข้าราชการสมัยนั้น พอได้ฟังคำกล่าวของผู้นำประเทศ ก็ต้องปฏิบัติตาม สร้างหลักทางหลวงขนาดยักษ์ ไว้ ณ หัวมุมถนนดินสอ ใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วการปักหลักกิโลเมตรที่ 0 หรือเรียกสั้นๆว่า "กม. 0" เป็นเพียงสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น

"เนื่อง จากทางหลวงแผ่นดินสายหลักที่ใช้เป็นโครงข่ายเชื่อมการจราจรระหว่างภาคต่อภาค ล้วนมีจุดเริ่มแรกที่ต่างกัน จะเห็นได้จากข้อมูลของกรมทางหลวงที่ระบุไว้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีทางหลวงแผ่นดินอยู่ 4 สาย ได้แก่

1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เริ่มจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กทม.ถึง ชายแดนสหภาพพม่า (ด่านพรมแดนแม่สาย) อ.แม่สาย จ.เชียงราย

2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) จากทางแยกต่างระดับมิตรภาพ อ.เมืองสระบุรี-ชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สะพานมิตรภาพไทย-ลาว) อ.เมืองหนองคาย

3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) จากจุดตัดทางรถไฟสายแม่น้ำ เขตคลองเตย กทม.-ชายแดนราชอาณาจักรกัมพูชา (บ้านหาดเล็ก) อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

และ 4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) จากสะพานเนาวจำเนียร เขตบางกอกใหญ่ กทม.-ชายแดนประเทศมาเลเซีย (ด่านพรมแดนสะเดา บ้านไทย-จังโหลน) อ.สะเดา จ.สงขลา


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

http://www.whitemedia.org/wma/content/view/5546/26/

http://guru.google.co.th/guru/thread...ab73d5ac2cbc4f