กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: เส้นทางเถ้าแก่ ตอนที่ 3 เครือสหพัฒน์(1)

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เส้นทางเถ้าแก่ ตอนที่ 3 เครือสหพัฒน์(1)


    เส้นทางเถ้าแก่ ตอนที่ 3 เครือสหพัฒน์(1)




    เส้นทางที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ของกิจการในเครือสหพัฒน์



    เริ่มต้นที่ ดร.เทียม โชควัฒนา
    ผู้ก่อตั้ง และอดีตประธานเครือสหพัฒน์


    ดร.เทียม โชควัฒนา

    เกิด วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ที่กรุงเทพมหานคร
    ถึงแก่กรรม วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดชลบุรี

    บิดาชื่อ นายฮกเปี้ยว
    มารดาชื่อ นางสอน





    เส้นทางเถ้าแก่ ตอนที่ 3  เครือสหพัฒน์(1)


    เส้นทางเถ้าแก่ ตอนที่ 3  เครือสหพัฒน์(1)


    เส้นทางเถ้าแก่ ตอนที่ 3  เครือสหพัฒน์(1)



    ดูการเลี้ยงดูลูกของคนจีน ที่ฝึกฝนบุตรให้เป็นคนที่มองธุรกิจด้วยสายตาที่ยาวไกล
    เส้นทางเถ้าแก่ ที่ไม่ได้มาง่ายๆ ทุกอย่างต้องใช้ฝีมือและมันสมอง ความซื่อสัตย์สุจริต
    การเอาใจใส่ลูกค้า การมองการณ์ไกล การเก็งการตลาดได้อย่างถูกต้อ ที่สำคัญก็คือปรัชญาการทำงาน การบริหารคน บริหารทรัพยากร การตลาด ฯลฯ หลายอย่างประกอบกัน จะเห็นว่าคนเป็นเถ้าแก่ มีเส้นทางที่ไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบเสมอไป





    เริ่มที่ร้านเปียวฮะ



    พ่อของนายเทียม มีพี่น้องร่วมท้อง 7 คน และญาติห่างๆอีกหลายสิบคน พวกเขาส่วนใหญ่จะช่วยกันทำงานและอาศัยอยู่ในร้านเปียวฮะ ซึ่งร้านนี้เป็นร้านของพ่อของเขา และกิจการนี้จะทำการค้าเกี่ยวกับสินค้าประเภท น้ำตาล แป้ง และนม


    จากสภาพครอบครัวเที่ของนายเทียม โชควัฒนา เรามาเริ่มที่พ่อของนายเทียมที่เป็นพ่อค้าคนจีน ที่ต้องไปซื้อของที่ตลาดทรงวาด มาขาย ซึ่งร้านค้า ก็จะต้องสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจาก สิงคโปร์ ฮ่องกง และ ซัวเถาอีกทอดหนึ่ง


    ที่ร้านเปียวฮะ มีอาของน้องชายพ่อทำหน้าที่เป็นหลงจู๊ ได้รับเงินเดือนๆ ละ 30 บาท แต่ต้องทำงานวันละ 12 ชั่วโมง


    ค่าใช้จ่ายในตอนนั้นแต่ละเดือนได้กำไร จากการขายสินค้า ประมาณเดือนละ 800 บาท หากเดือนไหนค้าขายได้กำไรถึง 1,000 บาท ทั้งครอบครัวจะดีอกดีใจกันยกใหญ่ เงิน1,000 สมัยนั้นถือว่ามากมาย สำหรับคนที่ทำการค้า


    พอนายเทียมอายุได้ 12-13 ปี กลับจากโรงเรียนในตอน 4 โมงเย็น งานประจำของเขา คือไปรับยาเส้นจากบริษัทจำหน่ายบุหรี่มาให้แม่นั่งมวนบุหรี่ และตัวเขาก็ต้องช่วยมวนจนถึง 6 โมงเย็นจึงจะกินข้าวได้ แต่ในบางครั้งก็ทำติดพันจนถึง 2 ทุ่ม


    แต่รายได้จากการนั่งมวนบุหรี่นี้จะได้รับในตอนสิ้นปี ซึ่งจะได้ประมาณ 300 บาท แต่เมื่อได้รับเงินแล้ว แม่ของเราก็มักจะนำเงินส่วนหนึ่งไปทำบุญช่วยการ ฃกุศลตามวัดวาอารามต่างๆ ซึ่งเขาเคยทักท้วงแม่ว่า


    "เรานั่งมวนบุหรี่กันทั้งปี แทนที่จะเอาเงินไปแสวงหาความสุข แต่แม่กลับเอาไปทำบุญเสียแบบนี้เราจะมวนบุหรี่ให้เหนื่อยทำไม ” นายเทียมได้พูดกับแม่ดังนี้

    แม่เขามองยิ้มๆ ไม่แปลกใจกับคำถามเของเทียมเลย กับสอนเขาอีกว่า


    “ลูกเอ๋ย ที่แม่ทำบุญก็เพื่อที่จะสร้างสมบุญกุศลเอาไว้ให้แก่ลูกแก่หลานในวันข้าง หน้าต่างหาก ลูกอย่าได้เสียดายไปเลย”

    นี่คือคำที่เขาได้ยินมาแต่ตอนเด็กๆ และจำได้ดี


    จากอิทธิพลของคำพูดที่ถูกสั่งสมมาจากเรื่องการทำบุญมีผลต่อความคิดของเทียมมากมายในเวาลต่อมา แม้ว่าเขาจะพิสูจน์ไม่ได้ว่าบุญกุศลมีจริงหรือไม่ แต่มันก็มีผลทำให้เขาดำเนินธุรกิจด้วยความสุจริต และด้วยจิตใจอันเปิดกว้าง เอาใจเขามาใส่ใจเรา
    ทำให้เขาประกอบการค้าด้วยระบบคุณธรรม ซื่อสัตย์ เอาใจใส่ต่อลูกค้า


    ส่วนพ่อของเทียม มักจะพูดเสมอว่า

    “ธรรมดาการ ค้ามันขึ้นๆลงๆ ไม่แน่นอน ตอนมีเงินเราอาจนำเงินไปซื้อที่นาและทรัพย์สิน แต่พอการค้าขาดทุน เราก็ต้องขายที่นาและทรัพย์สินอื่นๆมาใช้หนี้ วนเวียนอยู่อย่างนี้”


    พ่อของเทียมเป็นคนที่รอบคอบในเรื่องของเงินทองเสมอ เวลาที่ลูกค้านำเงินมาชำระหนี้หรือเมื่อเก็บเงินหน้าร้านได้ 1 – 2 พันบาท พ่อของเขาก็จะรีบนำเงินไปฝากธนาคารทันที แต่หากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ หากมีลูกค้านำเงินมาชำระเกินกว่า 5 พันบาทขึ้นไป พ่อของเขาก็จะอยู่ใสภาพอาการหวาดกลัวอย่างเห็นได้ชัด ถึงกับต้องนอนเฝ้าหน้าเซฟ เพราะเกรงว่าคนจะมาขโมย และหากเงินเป็นหมื่นๆแล้ว พ่อของเขายิ่งกินไม่ได้นอนไม่หลับเลยทีเดียว ต้องสั่งเด็กทั้งร้านไม่ให้นอน เพื่อเป็นเพื่อนคอยเฝ้าเซฟ


    นอกจากนั้นแล้ว พ่อของเทียมยังเตือนเสมอเกี่ยวกับการค้าขายว่า

    “เกิดเป็นลูกผู้ชายจะต้องรักษาสัจวาจา เมื่อจะทำการสิ่งใด และหากไปรับปากกับใครเขาแล้ว ก็ต้องทำให้ได้ตามที่พูด หากเห็นว่าทำไม่ได้ ก็อย่าไปรับปากเขาเป็นอันขาด”


    คำพูดนี้เองที่ทำให้เทียมซึมซับมาก เมื่อมีกิจการค้าของตนเองแล้วเขาก็ยึดติดข้อคิดเห็นนี้ตลอดมา ดังเช่น เมื่อถึงกำหนดชำระเงินแล้วพบว่าตัวเองไม่มีเงินจ่าย ตัวเขาจะกระวนกระวาย วิตกกังวลใจถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ หรือหากมีเงินติดบ้านอยู่มากๆก็จะกระวนกระวายใจเช่นเดียวกัน


    เมื่อครั้งที่เทียม เรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนเผยอิงอยู่นั้น ครั้งหนึ่งเคยขอเงินพ่อไปซื้อกระดาษเพื่อมาหัดวาดรูป แต่พ่อของเขากลับตัดบทว่า


    “การเขียนรูปไม่สามารถทำให้ท้องอิ่ม สู้เอาเวลาไปทำงานเสียดีกว่า ”


    เทียมเคยขอพ่อไปหัดร้องเพลง เล่นดนตรี พ่อของเทียมก็จะมองว่ามันเป็นการทำในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์

    แม้กระทั่งเทียมขอพ่อไปออกกำลังกายกับเพื่อนๆ พ่อของเขาก็ตอบว่า


    “ถ้าอยากจะออกกำลังกาย ก็ไปใช้แรงที่โกดังเสีย มีนม มีแป้ง ที่จะต้องจัดอีกเป็นจำนวนมาก ไม่เพียงจะได้ออกกำลังกายแล้ว ยังไม่ต้องเสียเงินเสียทองอีกด้วย ”




    ก่อนการก่อตั้งธุรกิจ


    นับตั้งแต่ปี 2470 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของโลกประสบวิกฤตและเสื่อมทรุดลงอย่างร้าย แรง จากนั้นก็ค่อยๆส่งผลกระทบเข้ามายังประเทศของไทยอย่างหนักหน่วงมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงทำให้เกิดการขายสินค้าแบบผ่อนส่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก


    ปี 2474 เขามีอายุ 15 ปี ตอนนั้นทางบ้านหารายได้ไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว เขาจึงต้องออกจากโรงเรียนเพื่อมาช่วยทางบ้านค้าขาย แต่เนื่องจากเขาเป็นคนมีความรู้น้อย เขาจึงต้องทำงานทุกอย่างตั้งแต่พนักงานขายไปจนถึงกุลีและจับกัง เขาต้องทำงานแต่ละอย่างด้วยความทรหดอดทน ทั้งยังต้องคอยปลุกปลอบให้กำลังใจตนเองอยู่ตลอดเวลาด้วยว่า


    “ในเมื่อเราเป็นคนมีความรู้น้อย เราจะต้องไม่ย่อท้อ และในเมื่อเราไม่มีพื้นฐานทางการเงิน เราก็ไม่อาจเกี่ยงงานในทุกหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้”


    ดังนั้น วันทั้งวัน สัปดาห์ทั้งสัปดาห์ เดือนทั้งเดือน เขาจึงมุมานะทำงานหนัก ตรากตรำอยู่กับงาน และครุ่นคิดเสมือนเป็นการเตือนใจของตนเอง


    “วันนี้ เราทำงานอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง ถ้ายังก็จะต้องทำอย่างเต็มที่”


    และจากการที่เขาทุ่มเทกำลังทำงานอย่างหนักและอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เมื่อวันเวลาล่วงเลยไป สิ่งเหล่านี้จึงได้กลายไปเป็นพื้นฐานและเป็นประสบการณ์ของชีวิตที่สำคัญของเขา


    แม้จะมีความรู้น้อยก็ตาม แต่เทียมก็มุ่งมั่นด้วยพลังใจในการต่อสู้ทำงานอย่างหนักและแสวงหา โอกาสในการศึกษาหาความรู้มาใส่ตัว โดยหวังว่าหากตนเองมีความรู้เพิ่มพูนมากขึ้นชีวิตความเป็นอยู่ก็อาจจะดีขึ้น ด้วย ดังนั้นเขาจึงขอพ่อไปเรียนหนังสือภาคค่ำในเวลาต่อมา


    ระหว่างที่เรียนหนังสือภาคค่ำนั้น ด้วยความที่ตัวเขาอยากเรียนหนังสือด้วยแล้ว และประกอบกับความรักในตัวครูที่ผู้สอนด้วยแล้ว ทำให้เขาเก็บเกี่ยวความรู้ต่างๆมาอย่างมากมาย และหนึ่งในสิ่งที่ครูสอนนั้น เขาได้นำมายึดเป็นหลักการทำงานประจำใจของเขาเลยก็คือ หลักการทำงาน


    “เร็ว ช้า หนัก เบา “


    โดยเขาได้นำหลักการนี้มาประยุกต์ในเรื่องของการมอบหมายงานให้เหมาะกับคน โดยเขาจะพิจารณาก่อนว่าคนแต่ละคนมีความสามารถที่จะทำงานหนึ่งๆ ได้เร็ว ช้า หนัก เบา อย่างไร แล้วค่อย ตัดสินใจมอบหมายงาน


    การแสวงหาความรู้ของนายเทียมไม่เพียงแต่จะใช้โอกาสจากการเล่าเรียนภาคค่ำ เท่านั้น แต่เขายังใช้วิธีการสังเกต และจดจำวิธีการของคนอื่นๆ และการพยายามหาประโยชน์จากทุกสิ่งทุกอย่างของงานที่เขาทำ

    อย่างเช่นการทำงานที่ร้าน เปียวฮะ บางทีแขกมาที่ร้านเขาก็ต้องทำการต้อนรับแขกเหล่านั้น ซึ่งเขาก็ใช้โอกาสนี้ทำความรู้จักกับแขกเหล่านั้น เพื่อประโยชน์ในอนาคต

    เมื่อมีคนมาซื้อสินค้า เช่นน้ำตาล เขาก็พบกับความแปลกใจว่า ที่ร้านของเขานั้น จะขายน้ำตาลให้กับลูกค้าแต่ละคนในระดับราคาที่ไม่เท่ากัน


    ด้วยความสงสัยเขาก็ทำการเฝ้าสังเกต และจะแอบคาดคะเนราคาก่อนเสมอ ซึ่งแรกๆเขาก็คาดคะเนราคาผิดพลาด จนเขามีโอกาสถามพี่ชายเขาว่า มีหลักเกณฑ์อะไรในการตัดสินใจว่าคนไหน ควรจะขายเท่าไหน ซึ่งพี่ชายเขาก็อธิบายว่า

    “การที่ขายให้ลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากันนั้น เราจะต้องดูว่า ลูกค้าคนนั้น ซื้อมากซื้อน้อยขนาดไหน จ่ายเงินสด หรือ ติดไว้ก่อน หรือ ฐานะทางการเงินของลูกค้าคนนั้น ดีหรือไม่ดี หรือ ดูว่าทางร้านเราตอนนี้กำลังขาดเงินหมุนเวียนหรือไม่ ถ้าขาดเราก็ต้องขายถูกๆ เพื่อจะได้ขายได้เร็วๆ หรือบางทีร้านของเราเหลือสินค้า อยู่น้อย เราก็ไม่จำเป็นต้องขายถูกก็ได้ ”


    เมื่อเขาได้รู้หลักเกณฑ์ในการคิดแล้ว เขาก็จะทำการฝึกฝนคาดคะเนราคาขายต่ออีก จนอีก 6-7 เดือนต่อมา เขาก็สามารถคาดคะเนราคาได้ตรงกับที่พี่ชายเขาขาย


    หลังจากที่เขา สามารถคาดคะเนราคาขายได้ถูกต้องแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี เขาจึงได้เสนอกับทางร้านว่า

    ”ถ้าหากเรารอลูกค้ามาซื้อที่ร้าน ร้านเราก็จะขายได้แต่กับลูกค้าขาประจำ ทำให้เราขายได้จำกัด ดังนั้นเราน่าจะลองไปหาลูกค้าข้างนอกบ้าง และเขาก็อาสาที่จะถีบจักรยานไปหาลูกค้าเอง”


    ซึ่งความคิดนี้ เนื่องจากไม่ทำให้มีอะไรเสียหาย ดังนั้นเมื่อเขาลองไปหาลูกค้า ทุกคนก็พบว่ามันได้ผลเกินคาด ซึ่งทำให้เขาภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก


    ต่อ มาไม่นาน พ่อกับอาของเขา ก็ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนพ่อยกร้าน เปียวฮะให้อาไป ส่วนตัวเองไปเปิดร้านใหม่ ชื่อ ร้านเฮียบฮะ แต่ร้านเฮียบฮะก็ยังคงขายสินค้าแบบเดียวกับร้านเปียวฮะ


    และที่ร้านเฮียบฮะ


    เป็นการเริ่มการมองการตลาดและเก็งการตลาดของ ดร.เทียม โชควัฒนาอย่างแท้จริง
    เพราะเป็นช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เป็นเวลาที่ญี่ปุ่นได้เข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทย


    นายเทียมมองว่าการที่ญี่ปุ่นบุกเมืองไทยอาจจะทำให้สินค้าขาดตลาดได้ ซึ่งตอนนั้นเขารู้ว่า บริษัท เอ.อี. นานา จำกัด มีกาแฟเหลืออยู่ในสต๊อก 3,000 กระสอบ กระสอบหนึ่งราคา 85 บาท


    แต่เมื่อเขาติดต่อขอซื้อไป ทางบริษัท เอ.อี. นานา กับเสนอขายในราคากระสอบละ 100 บาท ถ้าต่ำกว่านี้ไม่ขาย ซึ่งเขาก็ตกลงซื้อกาแฟ 3,000 กระสอบทันที แต่มีเงื่อนไขขอใช้เวลาลำเลียงกาแฟ 3 เดือน

    และเมื่อเขาซื้อกาแฟในราคากระสอบละ 100 บาท ซึ่งราคาสูงกว่าราคาจริงในสมัยนั้นถือว่ามากพอสมควร ทำให้พ่อของเขาและพ่อค้าคนอื่นๆมองว่า เขาบ้าไปแล้ว

    แต่เขาก็อธิบายว่า กาแฟจะต้องขาดตลาดไปอีกนาน เนื่องจากเรือไม่สามารถเข้าเทียบท่าได้ เพราะถูกญี่ปุ่นยึดครองไว้ ดังนั้นราคากาแฟจะต้องสูงขึ้นแน่ๆ และการที่เขาขอเวลาลำเลียงกาแฟ 3 เดือน นั้น ก็เพื่อที่จะยืดเวลาเอาไว้ เนื่องจากเราไม่มีเงินสดมากพอที่จะซื้อสินค้าออกมาได้ทั้งหมดในคราวเดียว และถึงแม้เขาจะมีเงินซื้อ เขาก็ไม่มีที่เก็บอยู่ดี หรือแม้มีที่เก็บก็ยังต้องเสี่ยงกับการถูกทิ้งระเบิด แต่ถ้าเก็บที่เขาจะตัดปัญหาได้หลายด้าน

    แม้เขาจะอธิบายถึงทางหนีทีไล่ขนาดนี้แล้ว ญาติคนหนึ่งก็ยังจะถามต่อไปว่า ถ้าราคามันไม่สูงกว่ากระสอบละ 85 บาทละก็เราจะขาดทุนอย่างมากเลยทีเดียว แล้วเราจะเอาเงินที่ไหนจ่าย


    ซึ่งนายเทียมตอบไปว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เขาก็ยินดีแบกหน้าไปขอร้องเขาในฐานะที่เราติดต่อทำการค้ามานานร่วมสิบปี โดยเราไม่เคยผิดนัดเลยสักครั้งเดียว และอธิบายให้เขาเข้าใจถึงการเก็งการณ์ผิดพลาดและเขาก็ยินดีรับความเสียหายเอง

    นายเทียมเชื่อว่าคงมีหนทางสับเปลี่ยนหมุนเวียนชดใช้ให้กับเขาได้ แต่อีกอย่างที่เขาเชื่อมั่นว่า หากราคากาแฟคงที่ เขาเชื่อว่าบริษัท เอ.อี. นานา ก็คงไม่บังคับกับทางร้านค้าของเขามากจนเกินไปหรอก นอกเสียจากราคากาแฟสูงเกิน 100 บาทมากๆ หากเราลำเลียงกาแฟออกไม่ทัน 3 เดือน เขาก็อาจบอกเลิกสัญญาเราได้


    ในวันรุ่งขึ้น เขานำเงินไปซื้อกาแฟ 100 กระสอบ แต่นำไปขายในราคากระสอบละ 95 บาท ซึ่งหมายถึงการยอมขาดทุน สาเหตุเพราะช่วงนั้น ร้านค้าที่อื่นยังมีสินค้าค้างสต๊อกอยู่ และการขายครั้งนั้นเขาขายได้แสนยากลำบากมากอีกด้วย ทำให้ญาติของนายเทียมเริ่มกดดันมาก เขาก็เลยบอกว่าให้ดูสถานะการณ์ก่อน


    แต่แล้วในอีก 7 วัน ผ่านไปเขาก็ขายการแฟได้ในราคากระสอบละ 105 บาท และในเวลา 90 วัน ราคากาแฟก็พุ่งพรวดเป็นกระสอบละ 300 บาท และเขาก็สามารถระบายกาแฟได้ทันกำหนดในสัญญาด้วย ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เขาได้กำไรมากพอดูเลยทีเดียว




    ติดตามการสู้ชีวิตของบุรุษที่ไม่ธรรมดาคนนี้ต่อไปค่ะ...





    ……………………………………………….
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 28-12-2010 at 02:00.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนไกลบ้าน2009
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    380
    ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์มากมายเลยว่างๆเอามาลงอีกเด้อครับคุณครู...

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •