กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: แอบดูการเรียนหนังสือสมัยก่อน 2

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    แอบดูการเรียนหนังสือสมัยก่อน 2


    แอบดูการเรียนหนังสือสมัยก่อน 2




    จากกาพย์ยานี ๑๑ แล้ว คราวนี้ยกตัวอย่างการเทียบแม่กน ของหนังสือไทยสมัยก่อนดูบ้าง ค่ะ ในลัษณะของ กาพย์สุรางคนาง ๒๘ การเทียบแม่กง ในลักษณะของ กาพย์ฉบัง ๑๖ ซึ่งถ้าแกะดูแล้ว ไม่เป็นการยากเลยที่จะแต่งเทียบของเดิม จึงไม่แปลกใจในจินตนาการของคนสมัยก่อน ยิ่งในรัชกาลที่ ๕ ท่านยิ่งอัจริยภาพด้านการแต่งบทละคร ที่เด่นชัดคือเรื่อง เงาะป่า เพราะพระองค์ท่านสามารถแต่เงาะป่าได้ สำเร็จใน ๗ วัน ลองอ่านเงาะป่าดูแล้ว ท่านผูกเรื่องได้สวยงาม มีทั้งธรรมชาติ ความสวยงาม ความรัก ความเสียสละ การต่อสู้ ครบทุกรส เลยค่ะ



    คราวนี้ลองมาดู ตัวอย่าง สุรางคนาง ๒๘ และ ฉบัง ๑๖ ดูนะคะ



    คำกลอนอ่านเทียบในแม่ กน


    สุรางคนาง ๒๘


    ขึ้นใหม่ใน กน ก กา ว่าปน ระคนกันไป
    เอ็นดูภูธร มานอนในไพร มณฑลต้นไทร แทนไพชยนต์สถาน

    ส่วนสุมาลี วันทาสามี เทวีอยู่งาน
    เฝ้าอยู่ดูแล เหมือนแต่ก่อนกาล ให้พระภูบาล สำราญวิญญา

    พระช่วยนวลนอน เข็ญใจไม้ขอน เหมือนหมอนแม่นา
    ภูธรสอนมนต์ ให้บ่นภาวนา เย็นค่ำร่ำว่า กันป่าภัยพาล

    วันนั้นจันทร มีดารากร เป็นบริวาร
    เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร

    เย็นฉ่ำน้ำฟ้า ชื่นชะผกา วายุพาขจร
    สารพันจันอิน รื่นกลิ่นเกสร แตนต่อคล้อร่อน ว้าวอนเวียนระวัน

    จันทราคลาเคลื่อน กระเวนไพรไก่เถื่อน เตือนเพื่อนขานขัน
    ปู่เจ้าเขาเขิน กู่เกริ่นหากัน สินธุพุลั่น ครื้นครั่นหวั่นไหว


    พระฟื้นตื่นนอน ไกลพระนคร สะท้อนถอนฤทัย
    เช้าตรู่สุริยน ขึ้นพ้นเมรุไกร มีกรรมจำไป ในป่าอารัญ





    คำกลอนอ่านเทียบในแม่ กง


    ฉบัง ๑๖




    ขึ้นกงจงสำคัญ ทั้งกนปนกัน
    รำพันมิ่งไม้ในดง

    ไกรกร่างยางยูงระหง ตลิงปลิงปริงประยง
    คันทรงส่งกลื่นฝิ่นฝาง

    มะม่วงพลวงพลองช้องนาง หล่นเกลื่อนเถื่อนทาง
    กินพลางเดินพลางหว่างเนิน

    เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน เหมือนอย่างนางเชิญ
    พระแสงสำอางข้างเคียง

    เขาสูงฝูงหงส์ลงเรียง เริงร้องซ้องเสียง
    สำเนียงน่าฟังวังเวง

    กลางไพรไก่ขันบันเลง ฟังเสียงเพียงเพลง
    ซเจ้งจำเวียงวัง

    ยูงทองร้องกระโต้งโห่งดัง เพียงฆ้องกลองระฆัง
    แตรสังข์กังสะดาลขานเสียง

    กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง พญาลอคล้อเคียง
    แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง

    ค้อนทองเสียงร้องปองเปง เพลินฟังวังเวง
    อีเก้งเริงร้องลองเชิง

    ฝูงละมั่งฝังดินกินเพลิง คางแข็งแรงเริง
    ยืนเบิ่งบึ้งหน้าตาโพลง

    ป่าสูงยูงยางช้างโขลง อึงคะนึงผึงโผง
    โยงกันเล่นน้ำคล่ำไป



    นอกจากเรื่องกาพย์กลอนที่คนสมัยก่อนได้เรียนแล้ว
    ยังต้องเรียนการนับจำนวนต่างๆ ถือว่าสุดยอดเลยค่ะ
    เช่นวิธีการนับศัพท์สังขยา และมาตราส่วนต่างๆ ค่ะ
    จะเห็นว่ามีกลวิธีในการนับ การวัด ชั่ง ตวง ได้ลึกล้ำมากมายค่ะ
    เช่น





    วิธีนับศัพท์สังขยา



    เด็กเอ๋ยเจ้าจงศึกษา ตำหรับนับรา จะรู้กระทู้ที่นับ
    ห้าสองหนเป็นสิบสับ สิบสองหนนับ ว่ายี่สิบอย่าสงสัยไสย
    (๕, ๑๐, ๒๐)

    สิบสามหนเป็นต้นไป ท่านเรียกชื่อใช้ สามสิบสี่ตามกัน
    (๓๐, ๔๐)

    สิบสิบหนเป็นร้อยพลัน สิบร้อยเป็นพัน สิบพันเป็นหมื่นหนึ่งนา
    (๑๐๐, ๑,๐๐๐, ๑๐,๐๐๐)

    สิบหมื่นเป็นแสนหนึ่งหนา สิบแสนท่านว่า เป็นล้านหนึ่งพึงจำไว้
    (๑๐๐,๐๐๐, ๑,๐๐๐,๐๐๐)

    สิบล้านนั้นเป็นโกฏิไซร้ ร้อยแสนโกฏิไป เป็นปะโกฏิ หนึ่งตามมี (
    ๑๐ยกกำลัง๗,๑๐ยกกำลัง๑๔)

    ร้อยแสนปะฏิโกฏินี้ เป็นโกฏิปะโกฏิ พึงกำหนดอย่าคลาดคลา
    (๑๐ยกกำลัง๒๑)

    ร้อยแสนโกฏิปะฏิปะโกหนา ท่านเรียกชื่อมา ว่าเป็นนะหุตหนึ่งไป
    (๑๐ยกกำลัง๒๘)

    ร้อยแสนนะหุตนั้นไซร้ ท่านเรียกชื่อไว้ ว่าเป็นนินนะหุตนา
    (๑๐ยกกำลัง๓๕)

    ร้อยแสนนินนะหุตหนา ได้นามตามมา ว่าอะโขภินีหนึ่งมี
    (๑๐ยกกำลัง๔๒)

    ร้อยแสนอะโขภินี ได้นามตามมี ว่าพินธุอันหนึ่งหนา
    (๑๐ยกกำลัง๔๙)

    ร้อยแสนพินธุหนึ่งนา ท่านเรียกกันมา ว่าอัพพุทพึงจำไว้
    (๑๐ยกกำลัง๕๖)

    ร้อยแสนอัพพุทไซร้ ได้นามตามใช้ ว่านิรัพพุทหนึ่งนา
    (๑๐ยกกำลัง๖๓)

    ร้อยแสนนิรัพพุทหนา ท่านเรียกชื่อมา ว่าอหะหะตามมี
    (๑๐ยกกำลัง๗๐)

    ร้อยแสนอหะหะนี้ มีนามตามที่ ว่าอพะพะหนึ่งนา
    (๑๐ยกกำลัง๗๗)

    ร้อยแสนอพะพะนั้นหนา ท่านเรียกกันมา ว่าอฏะฏะตามมี
    (๑๐ยกกำลัง๘๔)

    ร้อยแสนอฏะฏะนี้ มีนามตามที่ ว่าโสคันทิกะหนึ่งนา
    (๑๐ยกกำลัง๙๑)

    ร้อยแสนโสคันทิกะ ท่านเรียกชื่อว่า เป็นกมุทอันหนึ่งไป
    (๑๐ยกกำลัง๙๘)

    ร้อยแสนกมุทไซร้ มีนามตามใช้ ว่าบุญฑริกหนึ่งนา
    (๑๐ยกกำลัง๑๐๕)

    ร้อยแสนบุณฑริกแท้ ท่านเรียกกันแล ว่าเป็นปทุมหนึ่งไป
    (๑๐ยกกำลัง๑๑๒)

    ร้อยแสนปทุมไซร้ ท่านตั้งชื่อไว้ ว่ากะถานะอันหนึ่งนา
    (๑๐ยกกำลัง๑๑๙)

    ร้อยแสนกถานะนั้นหนา ท่านเรียกกันมา ว่ามหากถานะหนึ่งไป
    (๑๐ยกกำลัง๑๒๖)


    ร้อยแสนกถานะไซร้ เป็นอสงไขย คือเหลือจะนับพรรณา

    อนึ่งลำดับที่นับกันมาผิดจากเทศนา ของพระชิโนวาที
    ลำดับที่นับนี้ นิรัพพุทมี แล้วอพะพะ อฏะฏะมา
    อหะหะกมุทา โสคันทิกา แล้วอุปปละบุณฑริกนี้
    ปทุมะ กถานะตามที่ จงรู้วิธี แล้วสังเกตกำหนดแล
    แต่ร้อยถึงโกฏินี้แท้ เอาสิบคูณแน่ เร่งรู้หนาอย่าหลงไหล
    แต่โกฏิถึงอสงไขย เอาร้อยแสนไซร้ เร่งคูณเข้าอย่าลืมแล





    มาตราวัดความยาว


    อนึ่งโสดนับมีสามแท้ นับด้วยวัดแล ด้วยตวง ด้วย ชั่ง เป็นสาม
    โยชน์หนึ่งสี่ร้อยเส้นตาม เส้นหนึ่งโดยความ ยี่สิบวาอย่าสงไสย
    วาหนึ่งสี่สอกบอกไว้ สอกหนึ่งท่านใช้ สองคีบไซร้ตามมีมา
    คืบหนึ่งสิบสองนิ้วหนา นิ้วหนึ่งท่านว่า สี่กระเบียดจงจำเอา
    กระเบียดหนึ่งสองเมล็ดเข้า เมล็ดเข้าหนึ่งเล่า แปดตัวเหาจงรู้รา
    ตัวเหาหนึ่งนั้นท่านว่า แปดไข่เหาหนา ไข่เขาหนึ่งแปดเส้นผม
    เส้นผมหนึ่งนั้นนิยม แปดธุลีลม ธุลีหนึ่งแปดอณูนา
    อณูหนึ่งนั้นพึงรู้หนา ท่านใช้กันมา ว่าแปดปรมาณูแล




    มาตราวัดพื้นที่


    หนึ่งนานับโดยกว้างแท้ ยี่สิบวาแล ยาวยี่สิบวาเป็นไร่
    ถ้าโดยกว้างห้าวาไป ยาวเส้นหนึ่งไซร้ เป็นงานหนึ่งพึงจดจำ

    สี่งานท่านประสมทำ เป็นไร่หนึ่งกำ หมดไว้ให้ดีดังว่ามา



    มาตราวัดปริมาตร

    ไม้หน้ากว้างสอกหนึ่งหนา ยาวสิบหกวา เป็นยกหนึ่งพึงจำไว้
    นับด้วยวัดอย่างนี้ไซร้ นับด้วยตวงไป จงนับใช้ดังนี้นา
    เข้าเกวียนหนึ่งนั้นท่านว่า ห้าตะล่อมหนา ตะล่อมหนึ่งยี่สิบสัด
    สัดหนึ่งยี่สิบทะนานชัด ทะนานหนึ่งสังกัด สองจังออนจงจำไว้
    จังออนหนึ่งสี่กำมือได้ กำมือหนึ่งไซร้ สี่ใจมือตามมีมา
    ใจมือหนึ่งนั้นท่านว่า ร้อยเมล็ดเข้าหนา นับด้วยตวงเพียงนี้แล




    มาตราวัดน้ำหนัก


    ทองภาราหนึ่งแท้ ยี่สิบดุนแน่ ดุนหนึ่งยี่สิบชั่งนา
    ชั่งหนึ่งยี่สิบตำลึงหนา ตำลึงหนึ่งรา สี่บาทถ้วนจงจำไว้
    บาทหนึ่งสี่สลึงไทย สลึงหนึ่งท่านใช้ สองเฟื้องจงจำไว้นา
    เฟื้องหนึ่งนั้นสี่ไพหนา ไพหนึ่งท่านว่า สองกล่ำจงกำหนดไว้
    กล่ำหนึ่งสองกล่อมตามใช้ กล่อมหนึ่งลงไป สองเมล็ดเข้าตามมีมา
    อันนี้นับด้วยชั่งหนา จงเร่งศึกษา เป็นสามประการวิธี



    อ่านแล้วภูมิใจในความอลังการ ของชาติไทยมากมาย
    จนปลื้มและรักประเทศไทย หนังสือไทย วิถีชนของคนไทย วัฒนาธรรมในความเป็นชาติ เป็นเสรีชน ของไทยมากค่ะ





    มีต่อนะคะ ....

    ตอนต่อไปเป็นมาตรการนับเวลา ฤดูกาล และ ทิศทั้งแปด ค่ะ



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 31-12-2010 at 08:56.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    สมาชิกที่ยังไม่ยืนยันอีเมล์
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    บ้านละเอาะ ต.จีกแดก จ.สุรินทร์
    กระทู้
    446
    บล็อก
    1
    วิชาคณิต คือ สิงงหลายเติบอยู่ครับ.......

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •