กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: แอบดูการเรียนหนังสือสมัยก่อน

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    แอบดูการเรียนหนังสือสมัยก่อน

    แอบดูการเรียนหนังสือสมัยก่อน





    การเรียนหนังสือไทยสมัยก่อน


    บางทีเราเป็นครู เราก็อึดอัดมากที่นักเรียนสมัยใหม่นี้ เขียนภาษาไทยผิดๆ มีศัพท์แสลงเยอะมากเลย บางทีจนเกือบจะหลงภาษาไทยที่แท้จริงไปเลยแหละจ้า



    ศัพท์ที่วัยรุ่นชอบใช้ คือ

    จร้า แทน จ้า
    แระ แทน แหละ
    ชิมิ แทน ใช่ไหม
    คับ แทน ครับ


    พออ่านแล้ว ทีแรกเราก็ว่าน่ารักดีนะ อ่านไปอ่านมาคิดไปคิดมาแล้ว ก็เลยรู้เลยว่าเราเองเริ่มหลงไปแล้ว ทั้งที่ศัพท์เหล่านี้ทำให้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปมากมายเลย


    ก็เลยคิดว่า อยากรู้ว่าสมัยก่อนครั้งโบราณเราเรียนลักษณะไหนกันแน่ ก็เราเคยอ่านหนังสือมาหลายชนิด ทั้งนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล คิดว่าเป็นหนอนหนังสือเลย อ่านไปฟังเพลงไป บางทีก็อยู่ในโลกส่วนตัวเลยละค่ะ อ่านตั้งแต่เล็กจนโตเลย แม่ให้เงินไปโรงเรียนก็ไม่ยอมกินข้าว เก็บไว้ไปซื้อหนังสืออ่าน ถ้าเข้าร้านหนังสือละก็ต้องยืนอ่านก่อนเลย เจ้าของร้านใจดีมากเห็นเป็นนักเรียนก็ไม่ว่าอะไร เพราะเราไม่ทำให้หนังสือเขาช้ำเลย ชนิดรักหนังสือมากเลยค่ะ จนถึงทุกวันนี้ หนังสืออะไรก็ตามจะถือว่าเป็นของมีค่า อ่านแบบทนุถนอม ตัดการ์ดเชิญต่างๆ ที่ไปมาแล้วเป็นที่คั่นหนังสือเลยละ


    คราวนี้เราก็จะเลี้ยวมาหาสาระของเนื้อเรื่องในวันนี้นะคะ


    หลังจากไม่สบายอาการไม่ดีขึ้น แต่สมองยังทำงานได้อยู่ เราก็เลยลองเข้าเว็บของหอมรดกไทยเลย สะดุดตามากมายค่ะ ตรงคำว่า การเรียนหนังสือไทยสมัยก่อน เลยเข้าไปอ่าน ยิ่งถูกใจมาก ชนิดใช่เลยสิ่งที่อยากได้มานานแล้ว



    ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาของวิธีการเรียนหนังสือไทยสมัยก่อนนะคะ


    เรานำท่านย้อนมาดูการเรียนหนังสือไทยสมัยสมัยของรัชการที่ 5 ค่ะ และพบว่าระบบการศึกษาของไทยในสมัยนั้น ได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มต้นด้วยการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เมื่อครั้งเป็นหลวงสารประเสริฐ เรียบเรียงหนังสือแบบเรียนภาษาไทยขึ้นมาชุดหนึ่ง คือ หนังสือ


    มูลบทบรรพกิจ
    วาหนิต์นิกร
    อักษรประโยค
    สังโยคพิธาน
    ไวพจน์พิจารณ์
    และพิศาลการันต์


    อ่านชื่อหนังสือแล้วรู้สึกหรูมากเลยนะคะ เป็นศัพท์คล้องจองกันเสียด้วยละ


    คราวนี้มาดูลักษณะของหนังสือไทยสมัยนั้นดูบ้างนะคะ ก็พบว่า ลักษณะของหนังสือเป็นแบบเรียนภาษาไทยว่าด้วย วิธีใช้ตัวอักษร พยัญชนะเสียงสูงต่ำ การผันการประสมอักษร และตัวสะกดการันต์ เฉพาะมูลบทบรรพกิจ น่าจะมีเค้ามูลมาจากหนังสือจินดามณีอันว่าด้วยระเบียบภาษา ซึ่ง พระโหราธิบดี แต่งไว้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งได้แทรกเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา ซึ่งสุนทรภู่ได้แต่งไว้ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าไว้เป็นตอน ๆ ไป กาพย์พระไชยสุริยาเป็นบทประพันธ์ที่ไพเราะและเป็นคติ



    ซึ่งในระยะต่อมากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก กระทรวงธรรมการ ได้ประกาศใช้แบบหัดอ่านเบื้องต้น แบบเรียนเร็ว แต่ทุกเล่มก็ใช้หลักการเรียนการสอนจากหนังสือชุดนี้เป็นแม่บท



    แต่แล้วหลังจากที่ได้มีการนำระบบการเรียนแบบสหรัฐมาใช้ หลังปี พ.ศ. 2500 แล้วการหัดอ่านเขียนเบื้องต้นของเยาวชน ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้ผู้ที่เคยเรียนหนังสือไทยเบื้องต้นมาแล้ว และไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ ผิดกับการเรียนหนังสือไทยแบบเดิมซึ่งเมื่อเรียนหนังสือไทยเบื้องต้นแตกแล้ว จะสามารถอ่านเขียนหนังสือไทยได้ชั่วชีวิต


    นอกจากนั้นการเรียนหนังสือไทยยังได้มีการนำคติสอนใจตามวิถีชีวิตไทย ในพื้นฐานแห่งพระพุทธศาสนามาสอดแทรกไว้ในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เด็กไทยเข้าใจวิถีชีวิตไทย และรักความเป็นไทย และมีความภูมิใจในมรดกของไทยอย่างลึกซึ้ง หนักแน่นไม่แคลนคลอนมาตั้งแต่ต้น



    มูลบทบรรพกิจ


    จะเห็นว่าเป็นแบบเรียนหนังสือไทยในขั้นรากฐานเบื้องต้น ซึ่งเมื่อเรียนจบแล้วจะอ่านเขียนหนังสือไทยขั้นต้นได้อย่างดี และนำไปสู่การเรียนรู้ในขั้นต่อไปได้ง่าย ดังนั้นมูลบทบรรพกิจจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญสูงสุด

    หนังสือมูลบทบรรพกิจเริ่มด้วยการแสดงรูปสระ ตัวอักษร วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ อักษรแบ่งออกเป็น 3 หมู่ คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ จากนั้นนำอักษรไปประสมเสียงตามสระเป็น แม่ ก กา แล้วผันด้วยวรรณยุกต์ แจกด้วย แม่ กน แล้วผันด้วยวรรณยุกต์ แจกในแม่ กง แล้วผันด้วยวรรณยุกต์ แจกด้วยแม่ กก แม่ กด แม่ กบ ทั้ง 3 แม่นี้ เป็นคำตาย ผันด้วย วรรณยุกต์ เอก โท ไม่ได้ การมี ห นำ อักษรต่ำใน แม่ กก กด กบ แจกในแม่ กม แล้วผันด้วยวรรณยุกต์ แจกด้วยแม่ เกย แล้วผันด้วยวรรณยุกต์



    ตัวอย่างคำกลอนอ่านเทียบในแม่ ก กา


    คำกลอนอ่านเทียบในแม่ ก กา (ใช้ตัวเขียนแบบเก่าเป็นบางคำ)


    ยานี๑๑



    ...สะ ธุ สะ จะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา
    พ่อแม่แลครูบา เทวะดาในราศี


    …ข้าเจ้าเอา ก ข เข้ามาต่อ ก กา มี
    แก้ไขในเท่านี้ ดีมิดีอย่าตรีชา


    จะร่ำคำต่อไป พอล่อใจ กุมารา
    ธรณีมีราชา เจ้าภาราสาวะถี


    ...ชื่อพระไชยสุริยา มีสุดามเหสี
    ชื่อว่าสุมาลี อยู่บุรีไม่มีภัย


    ...ข้าเฝ้า เหล่าเสนา มีกริยาอัชฌาสัย
    พ่อค้ามาแต่ไกล ได้อาศัยในภารา


    ...ไพร่ฟ้าประชาชี เชาบุรีก็ปรีดา
    ทำไร่เขาไถนา ได้ข้าวปลาแลสาลี


    ...อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
    ที่หน้าตาดีดี ทำมโหรีที่เคหา


    ...ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา
    หาได้ให้ภริยา โลโภพาให้บ้าใจ


    ....ไม่จำคำพระเจ้า เหไปเข้าภาษาไสย
    ถือดีมีข้าไท ฉ้อแต่ไพร่ใส่ขื่อคา


    ....คดีที่มีคู่ คือไก่หมูเจ้าสุภา
    ใครเอาข้าวปลามา ให้สุภาก็ว่าดี


    ….ที่แพ้แก้ชนะ ไม่ถือพระประเวณี
    ขี้ฉ้อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา


    ...ที่ซื่อถือพระเจ้า ว่าโง่เง่าเต่าปูปลา
    ผู้เฒ่าเหล่าเมธา ว่าใบ้บ้าสาระยำ


    ….ภิกษุสมณ เล่าก็ละพระสะธำม์
    คาถาว่าลำนำ ไปเร่ร่ำทำเฉโก


    …ไม่จำคำผู้ใหญ่ ศีรษะไม้ใจโยโส
    ที่ดีมีอักโข ข้าขอโมทะนาไป


    …พาราสาวะถี ใครไม่มีปรานีใคร
    ดุดื้อถือแต่ใจ ที่ใครได้ใส่เอาพอ

    …ผู้ที่มีฝีมือ ทำดุดื้อไม่ซื้อขอ
    ไล่คว้าผ้าที่คอ อะไรล่อก็เอาไป


    …ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มิได้ว่าหมู่ข้าไทย์
    ถือน้ำร่ำเข้าไป แต่น้ำใจไม่นำพา


    …หาได้ใครหาเอา ไพร่ฟ้าเศร้าเปล่าอุรา
    ผู้ที่มีอาญา ไล่ตีด่าไม่ปรานี


    …ผีป่ามากระทำ มรณกรรมชาวบุรี
    น้ำป่าเข้าธานี ก็ไม่มีที่อาศัย


    …ข้าเฝ้าเหล่าเสนา หนีไปหาภาราไกล
    ชีบาล่าลี้ไป ไม่มีใครในธานี





    อ่านแล้ว รู้สึกเสียดายสมบัติล้ำค่าของไทยมากมาย
    ที่ถูกวัฒนธรรมต่างชาติกลืนกิน
    ภาษาบ่งบอกถึงความเป็นชาติ
    ภาษาที่เอื้อต่อจินตนาการ
    ภาษาที่เอื้อต่อวิถีชีวิตของคนไทย


    เล็กได้อ่านคำกลอนนี้ ขนลุกเลยค่ะ
    บอกไม่ถูกว่าภูมิใจในชาติไทยขนาดไหน

    ภูมิใจในวัฒนธรรมทางด้านภาษาที่ยิ่งใหญ่มากมาย
    ไม่มีชาติไหนเสมอชาติไทยอีกแล้วละค่ะ


    มีตัวอย่างลักษณะคำกลอนต่างๆ ต่ออีกนะคะ


    ขอบคุณ
    หอมรดกไทย


    …………………………………………………….
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ wundee2513
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    ตามภารกิจ
    กระทู้
    1,108
    บล็อก
    11
    ก็ ก็ ก็ คิดถึง น่ะ
    จริงนะจ๊ะจะบอกให้
    ก็คิดถึงมาจากใจ
    เป็นคำไทยว่าคิดถึง...
    เสรีภาพ เสมอภาค ยุติธรรม

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •