กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: การนับศักราช

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    บ้านมหาโพสต์ การนับศักราช

    การนับศักราช

    การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีการระบุเวลาเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์นั้นๆ โดยระบุเป็นปีศักราช จุดเริ่มต้นของศักราชที่ 1 จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้

    1. การนับปีศักราชแบบสากล

    1) คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี ค.ศ. 1 สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)

    2) ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช 1165 หากจะเทียบ ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย 1122 เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ 32 ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี เมื่อเทียบกับพุทธศักราช

    2. การนับศักราชแบบไทย

    1) พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. 2455 แทนรัตนโกสินทร์ศก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี เป็น พ.ศ. 1

    2) มหาศักราช (ม.ศ.) นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622)

    3) จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. 1182 และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิก และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน

    4) รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

    3. การเทียบศักราช


    การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ ไทยและสากล ดังนั้น การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น ตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง จึงต้องมีการเทียบศักราช จากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี แล้วนำไปบวกหรือลบแล้แต่กรณี

    หลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้
    พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี
    พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี
    พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1181 ปี
    พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2324 ปี
    พุทธศักราช มากกว่า ฮิจเราะห์ศักราช 1122 ปี

    การเทียบศักราชในระบบต่างๆ สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เป็นศักราชแบบเดียวกัน ได้ดังนี้
    ม.ศ. + 621 = พ.ศ. พ.ศ. – 621 = ม.ศ.
    จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. พ.ศ. – 1181 = จ.ศ.
    ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. พ.ศ. – 2324 = ร.ศ.
    ค.ศ. + 543 = พ.ศ. พ.ศ. – 543 = ค.ศ.
    ฮ.ศ. + 1122 = พ.ศ. พ.ศ. – 1122 = ฮ.ศ.

    * จากพุทธศักราชเปลี่ยนเป็นคริสต์ศักราช ให้นำ พ.ศ. ลบ 543 ตัวอย่างเช่น พ.ศ. 2549 เปลี่ยนเป็น ค.ศ. โดยนำ 543 มาลบออก ( 2549 – 543 ) ปี ค.ศ. ที่ได้คือ 2006
    * จากคริสต์ศักราชเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช ให้นำ ค.ศ. บวก 543 ตัวอย่างเช่น ค.ศ. 2004 เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ 543 มาบวก ( 2004 + 543 ) ปี พ.ศ. ที่ได้คือ 2547
    * จากจุลศักราชเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช ให้นำ จ.ศ. บวก 1181 ตัวอย่างเช่น จ.ศ. 1130 เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ 1181 มาบวก ( 1130 + 1181 ) ปี พ.ศ. ที่ได้คือ 2311
    * จากรัตนโกสินทร์ศกเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช ให้นำ ร.ศ. บวก 2324 ตัวอย่างเช่น ร.ศ. 132 เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ 2324 มาบวก ( 123 + 2324 ) ปี พ.ศ. ที่ได้คือ 2456

    4. การนับทศวรรษ ศตวรรษและสหัสวรรษ


    ทศวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ 10 ปี
    ศตวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ 100 ปี
    สหัสวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ 1000 ปี


    ข้อมูลจาก : http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/malaiwan_c/historym1/unit01_01.html
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    ขอบคุณมากนะคะ

    สาระความรู้ที่มีประโยชน์มากมาย....
    จะนำไปถ่ายทอดให้นักเรียนค่ะ คุณยาย
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวหาร
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    ที่อยู่
    ชัยภูมิ
    กระทู้
    158
    ขอบคุณหลายครับ สำหรับข้อมูลดี ๆ :*-

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ Boom69
    วันที่สมัคร
    Aug 2007
    ที่อยู่
    Khon kaen ThaiLand
    กระทู้
    960
    บล็อก
    4
    ขอบคุณ คุณยาย หล๊าย หลาย จ้า...

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •