กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ชนกลุ่มน้อยขอบชายแดนไทย ตอน ชนชาติกะเหรี่ยง 1

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ชนกลุ่มน้อยขอบชายแดนไทย ตอน ชนชาติกะเหรี่ยง 1


    ชนกลุ่มน้อยขอบชายแดนไทย ตอน ชนชาติกะเหรี่ยง 1





    [wma]http://www.file2go.com/mrun.php?me=20363s2[/wma]



    จากเพลง ตราบวันที่เป็นไท
    สู่ เรื่องราวของชนกลุ่มน้อย ชาวกะเหรี่ยง


    ชนกลุ่มที่อยู่เลาะตะเข็บชายแดนไทย
    ที่สู้รบกับรัฐบาลของพม่าอย่างยาวนาน
    และก็คงเป็นสงครามของชนชาติต่อไปไม่รู้ว่าจะจบวันไหน


    สงครามแห่งความตาย ความแค้น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์




    ชนกลุ่มน้อยขอบชายแดนไทย  ตอน ชนชาติกะเหรี่ยง 1



    วันนี้จะนำเสนอเรื่องของชนกลุ่มน้อย ชนชาติกะเหรี่ยง ค่ะ


    เพราะว่า ในบรรดา “ชนกลุ่มน้อย” ในพม่า จะเห็นว่า ชนชาติกะเหรี่ยง เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเป็นแกนนำ ให้กับชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่น ๆ ในพม่า ที่ได้ผนึกกำลังกับการต่อสู้กับกองทัพพม่ามาอย่างยาวนาน



    ดังได้ปรากฏในการสู้รบกับทหารญี่ปุ่น ในคราวนสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ชนเผ่ากะเหรี่ยงได้ทำการสู้รบกับทหารญี่ปุ่น และชนเผ่ากะเหรี่ยงนี่แหละที่สามารถตายแทนทหารอังกฤษได้ ขอเพียงว่าเมื่ออังกฤษชนะสงคราม แล้ว อังกฤษก็คงจะช่วยปลดปล่อยรัฐของชนกะเหรี่ยงกลุ่มน้อยเหล่านี้ให้เป็นอิสระจากพม่าได้ อิสระอย่างเสรี และอังกฤษจะทำให้ประชาคมระหว่างประเทศรับรองการเป็นรัฐอิสระของพวกชนกะเหรี่ยง



    แต่รัฐบาลทหารพม่ายอมไม่ได้ ตราบจนวันนี้ “ชนเผ่ากะเหรี่ยง” ก็ยังคงจับอาวุธสู้รบกับกองทัพพม่า



    เรามาเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับ ภูมิหลังพม่า ก่อนนะคะ



    ประวัติศาสตร์ที่แท้ของพม่ามีอยู่ว่า ชนชาติพม่าดั้งเดิมเรียกตนเองว่า บะหม่า หรือเมียนม้าร์ ( Myanmar )อยู่ในราบสูงทิเบต และได้อพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ประเทศพม่าปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็นที่อาศัยอยู่ของชนชาติกลุ่มใหญ่ คือ ชาวพยู ชาวมอน ชาวไต และชาวกระเหรี่ยง ชนชาติบะหม่าได้ก่อตั้งอาณาจักร และพยายามผนวกชนพื้นเมืองต่าง ๆ เข้าเป็นพวก


    แต่ความแตกต่างของเชื้อชาติภาษาศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี จึงเป็นปัญหาพื้นฐานทำให้การทำศึกสงครามระหว่างกันมาโดยตลอดหลังจากพม่าทำสงครามกับอังกฤษ รวม 3 ครั้ง


    พม่าก็เสียเอกราชให้อังกฤษ พ.ศ. 2428 ราชวงศ์ อลองพญา ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ก็ล้มสลายโดยพม่า ในยุคอาณานิคมถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ตามลักษณะ ความแตกต่างของชนชาติ



    1 พม่าแท้ (Proper Burmar) มีอาณาเขตตอนกลางของประเทศ


    2 พวกชนชาติพื้นเมืองเดิมที่ถูกผลักดันถอย ร่นมา อยู่ใกล้แนวชายแดนไทย อังกฤษได้ปกครอง โดยแบ่งป็นรัฐ ตามเชื้อชาติของประชากร ได้แก่ รัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ รัฐคะยา รวมทั้งรัฐคะฉิ่น รัฐชิน รัฐระกัน ขึ้นตรงกับรัฐบาลอังกฤษที่กรุงลอนดอน




    จนเมื่อเกิดสนธิสัญญาปางโหลง(Pang Long Conference)


    ซึ่ง สนธิสัญญาปางโหลงนั้น เป็นการลงนามร่วมกันระหว่างนายพลออง ซาน(บิดานางออง ซาน ซูจี) ตัวแทนฝ่ายพม่า กับสภาสหพันธรัฐเทือกเขา(Supreme Concil of the United Hill People : SCOUHP) ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชาติไทยใหญ่ คะฉิ่น และชิน เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 (ค.ศ.1947) เวลา 11.00 น.และถือว่าเป็นวันแห่งสหภาพ(Union Day)


    ที่เมืองปางโหลง ตอนใต้ของรัฐฉาน สำหรับสาระสำคัญในข้อตกลงปางโหลง โดยระบุว่า หากพม่า ไทยใหญ่ คะฉิ่น และชิน ร่วมกันเรียกร้องและได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้วจะปกครองร่วมกัน 10 ปี


    จากนั้นแต่ละรัฐสามารถแยกปกครองตนเองและยังได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของพม่า ว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามถือว่าเป็นผู้ละเมิดรัฐธรรมนูญ แต่ทว่า ในวันที่ 19 กรกฎาคมปีเดียวกัน นายพลอองซาน ผู้ร่วมลงนามฝ่ายพม่าได้ถูกลอบสังหาร ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 สหภาพพม่า ได้รับเอกราชจากอังกฤษ


    หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษปรากฏว่า พม่าไม่ให้รัฐแต่รัฐแยกตัวออกไปเป็นรัฐอิสระตามข้อตกลงปางโหลง ทำให้ชนแต่ละรัฐไม่พอใจ และไม่ยอมรับการปกครองรัฐบาลพม่า ทำการต่อต้านด้วยอาวุธเพื่อการปกครองตนเอง และแยกตัวเป็นรัฐอิสระ


    รัฐบาลพม่าจึงถือว่าชนเหล่านี้เป็นกบฏ และได้ทำการปราบปรามเรื่อยมา โดยเฉพาะชนกลุ่มในรัฐต่าง ๆ เช่น รัฐฉาน รัฐคะยา รัฐกะเหรี่ยง และรัฐมอญ


    ในปี 2505(ค.ศ.1962) นายพลเนวินได้ยึดอำนาจพร้อมประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้สนธิสัญญาปางโหลงที่ พม่า ไทยใหญ่ คะฉิ่น และชิน
    ทำร่วมกันเป็นโมฆะ ทำให้ไทยใหญ่รวมทั้ง ชนชาติต่างๆต้องลุกขึ้นต่อสู้เพื่อทวง สนธิสัญญามาจนถึงปัจจุบัน เป็นผลให้เกิด ความไม่มั่นคงทั้งด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยาต่อประเทศ ไทยมาโดยตลอด




    คราวนี้มาเข้าเรื่องราวของ ชนกลุ่มน้อย – ชนเผ่ากะเหรี่ยง




    ชนเผ่ากะเหรี่ยง



    ชนกลุ่มน้อยขอบชายแดนไทย  ตอน ชนชาติกะเหรี่ยง 1





    กะเหรี่ยงเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 รองจากชนเผ่าบะม่าร์ (พม่า) กะเหรี่ยงและภาษาที่ใช้ในชนเผ่ากะเหรี่ยงยังแยกย่อยออกไปอีกมาก


    นักมนุษย์วิทยาประมาณการว่าจำนวนประชากรกะเหรี่ยงน่าจะอยู่ราว ๆ 4 ล้านคน (และอยู่ในประเทศไทยราว 200,000 คน)

    แต่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union) แจ้งว่าชนเผ่ากะเหรี่ยงมียอดราว 7 ล้านคน


    ในขณะที่ SLORC ประกาศว่าประชากรกะเหรี่ยงมียอดรวมแค่ 2.5 ล้านคน 1
    .

    จะเห็นว่าในเรื่องของตัวเลขประชากรนี้แต่ละฝ่ายสามารถนำมาเกทับบลั๊ฟแหลก เพื่อให้เป็นประโยชน์ของแต่ละฝ่ายได้


    ชนเผ่ากะเหรี่ยงเชื่อกันว่าตนเองนั้นสืบเชื้อสายมาจากเผ่ามองโกล อพยพมาจากบริเวณริมฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง เคลื่อนย้ายลงมาทางใต้ มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณทิศตะวันออกของประเทศพม่าจนถึงทุกวันนี้ กระจายกันอยู่ทั้งบนเขาและอยู่ในพื้นราบ หากดูตามแผนที่แล้วจะพบว่ากะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะเกาะกลุ่มหนาแน่นติดกับชายแดนไทย – พม่า แต่ก็มีอีกจำนวนหนึ่งตั้งรกรากอยู่บริเวณปากแม่น้ำอิระวดี


    ชนเผ่ากะเหรี่ยงยังแบ่งย่อยลงไปอีกประมาณ 20 กลุ่ม เช่น

    กะเหรี่ยงพื้นราบเผ่าโปว์ (Pwo) ซึ่งทำนาข้าวในเขตตะนาวศรี
    เผ่าสะกอ (Sgaw)
    เผ่าบะเว (Bwe)


    ทั้ง 3 เผ่านี้ไปทำนาข้าวพื้นราบบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอะระวดี บริเวณลุ่มแม่น้ำสะโตง และสาละวิน


    ส่วนที่เราค่อนข้างจะคุ้นสักหน่อยก็คือ
    “กะเหรี่ยงคอยาว” ที่เอาวงแหวนทองเหลืองมาล้อมคอนั่นแหละ ก็เป็นอีกเผ่าหนึ่งที่อยู่ในรัฐฉาน มีลักษณะชีวิตทำไร่เลื่อนลอย (Slash and Burn) คนพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นคาธอลิค

    เรื่องราวของชนเผ่ากะเหรี่ยงเริ่มปรากฏต่อสังคมโลก
    เมื่ออังกฤษเข้ามาล่าอาณานิคม อังกฤษจะเอาใจใส่ดูแลชนเผ่ากะเหรี่ยงเป็นพิเศษ เพราะรู้ว่ากะเหรี่ยงเป็นปรปักษ์กับพม่าอยู่ก่อนแล้ว


    ตามประวัติศาสตร์ชนเผ่ากะเหรี่ยงถูกปกครองโดยพม่า อังกฤษรู้ภูมิหลังเรื่องนี้ดีจึงได้คัดเลือกเอากะเหรี่ยงมาเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ อบรมบ่มเพาะให้เป็นคาธอลิค กะเหรี่ยงมีความสามารถพิเศษสำหรับการรบในป่าเขา พื้นที่ทุรกันดาร อังกฤษจึงเอากะเหรี่ยงมารบกับญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กะเหรี่ยงก็เห็นว่าอังกฤษนี่แหละจะช่วย “ปลดปล่อย” พวกเขาให้หลุดพ้นจาก “พม่า” เพื่อจัดตั้งรัฐอิสระได้


    อังกฤษส่งเสริมกะเหรี่ยงออกหน้าออกตา โดยให้หมอสอนศาสนา ซึ่งเริ่มตั้งแต่การวางรากฐานจัดระบอบการปกครอง ดูแลรักษาพยาบาล ให้การศึกษา จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ ชักนำกะเหรี่ยงให้ลงมาพื้นราบ ให้เข้าเรียนในระดับสูง ให้เข้ารับราชการเป็นทหาร – ตำรวจ ในเขตที่อังกฤษปกครอง ในขณะที่อังกฤษเฉยเมยต่อชนเผ่าพม่าแท้ ไม่ช้าไม่นานนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง (divide and rule) ก็แบ่ง ชนเผ่าพม่าแท้ กับ กะเหรี่ยงออกเป็น 2 ขั้วชัดเจน


    ชาวกะเหรี่ยงผู้ได้รับการหนุนหลังจากอังกฤษ ไฉนเลยจะไม่รักอังกฤษ ? กลุ่มกะเหรี่ยงที่มีการศึกษาสูง (บางคนก็ได้ไปศึกษาต่อในอังกฤษ) จึงเคลื่อนไหวเพื่อจะปลดปล่อยชนเผ่ากะเหรี่ยงออกเป็นรัฐอิสระให้ได้ โดยหวังพึ่งอังกฤษ ยอมแม้กระทั่งจะเข้าร่วมเป็นเครือจักรภพ (Commonwealth) ของอังกฤษ


    การเคลื่อนไหวต่าง ๆ เหล่านี้ของกะเหรี่ยงสวนทางกับชนเผ่าพม่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเกลียดชังและพยายามจะปลดปล่อยตนเองออกจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ


    กะเหรี่ยงได้เริ่มเรียกร้องอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2471 แกนนำคนสำคัญผู้เรียกร้องให้ชาวกะเหรี่ยงแยกออกมาเป็นรัฐอิสระ คือ Dr. San C. PO ซึ่งชาวกะเหรี่ยงเคารพว่าเป็น “บิดา” ของชนชาติกะเหรี่ยง


    .Dr. San C. PO เคยกล่าวว่า “พวกพม่าเรียกแผ่นดินทั้งหมดนี้ว่าเป็น
    แผ่นดินของพม่า แล้วกะเหรี่ยงล่ะ เราจะเรียกแผ่นดินของเราว่าอะไร ? เราจะเรียกแผ่นดินของเราว่า ประเทศกะเหรี่ยงดีไหม ?”


    ตั้งแต่นั้นมาเหล่าปัญญาชนกะเหรี่ยงก็ขานรับ โดยมีการจัดตั้งองค์กรต่าง ๆ เช่น องค์กรแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen Nation Association : KNA) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงพุทธ (Buddhist Karen Nation Association :BKNA) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union :KNU)


    องค์กรเหล่านี้ต่างก็เคลื่อนไหวเพื่อขอตั้งรัฐอิสระขึ้นตรงต่อรัฐบาลอังกฤษ อังกฤษก็ตอบสนองด้วยดี ชาวกะเหรี่ยงที่อังกฤษสนับสนุนให้เข้าเป็นข้าราชการ ทหาร – ตำรวจ ต่างพร้อมใจกันผนึกกำลังจะจัดตั้งรัฐกะเหรี่ยงให้จงได้


    สถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้พม่าเผชิญหน้ากับกะเหรี่ยงอย่างไม่มีทางเลือก


    สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้น ญี่ปุ่นส่งกำลังบุกพม่า ชาวกะเหรี่ยงนับพันถูกสังหาร ถูกจับกุมในข้อหา “เป็นพันธมิตรกับอังกฤษ” เบื้องหลังเรื่องราวการสังหารหมู่ชาวกะเหรี่ยงนี้ กะเหรี่ยงทราบดีว่า “เป็นฝีมือของพม่า” นั่นเองที่สวมรอยญี่ปุ่น (เหตุการณ์สังหารหมู่นี้ เป็นการสังหารชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และลุ่มน้ำสาละวิน) ซึ่งกะเหรี่ยงยังคงเจ็บช้ำน้ำใจพม่ามาจนถึงปัจจุบัน


    ผู้นำกะเหรี่ยงในตอนนั้นวางแผนสวยหรู มีวิสัยทัศน์ ให้รัฐอิสระของตนจะต้องสามารถดำรงชีพได้ มีทางออกทะเล


    เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง

    นายพล ออง ซาน และคณะ ได้เดินทางไปลอนดอนในเดือนมกราคม 2490 เพื่อขอเป็นอิสระจากอาณานิคมอังกฤษ และลงนามใน Aung San – Attlee Agreement ซึ่งอังกฤษอนุญาตให้พม่า จัดตั้งรัฐบาลรักษาการณ์ แล้วจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น กุมภาพันธ์ 2490


    นายพล ออง ซาน จัดการประชุมเพื่อแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยกับทุกกลุ่ม เพื่อลงนามในสนธิสัญญาเมืองปางโหลง (Panglong) กะเหรี่ยงไม่เข้าร่วมประชุม รวมทั้งการเลือกตั้งเพื่อจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ กะเหรี่ยงก็ไม่เข้าร่วมสังฆกรรมด้วยอีกเช่นกัน


    แต่แล้วก็นักว่าเป็นเรื่องราวเหลือเชื่อที่ว่า เกิดการแตกคอกันขึ้น ทำให้เกิดการเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มน้อย เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวรวมชาติของ นายพล ออง ซาน ในปี พ.ศ.2491


    และจะด้วยความหวาดระแวงและเกลียดชังพม่า ชาวกะเหรี่ยงจึงจัดตั้งกำลังทหาร KNDO (Karen Nation Defence Organization) เพื่อต่อสู้กับพม่า และวาดหวังจะจัดตั้งรัฐอิสระเมื่อพม่าเห็นว่ากะเหรี่ยงไม่เล่นด้วยกับตน ประกอบกับกับเรื่องความแค้นเก่าเมื่อหนหลัง


    เหตุการณ์เลวร้ายปะทุขึ้นอีกครั้งเมื่อกองทัพพม่าอิสระ (BIA) ได้เข้าโจมตีชุมชนกะเหรี่ยงในเมือง Kalaw อำเภอเมอกุย ก่อนวันคริสต์มาสปลายปี พ.ศ.2491 ในขณะที่ชาวกะเหรี่ยงกำลังทำพิธีทางศาสนาในโบสถ์ เหตุการณ์นั้นกะเหรี่ยงตายประมาณ 200 คน


    มกราคม 2492 กะเหรี่ยงกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยรวมตัวกันติดอาวุธลุกฮือขึ้น ประกาศเป็นอริกับรัฐบาลรักษาการณ์พม่า หรือจะเรียกว่าเป็นการก่อการกบฏก็คงจะไม่ผิดเลย


    กองกำลังกบฏกะเหรี่ยงสามารถยึดเมืองอินเส่ง (INSEIN) ได้ ซึ่งเมืองนี้อยู่ห่างจากย่างกุ้งเพียง 8 ไมล์ และยังบุกยึดเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ได้


    ชัยชนะของกบฏกะเหรี่ยงในครั้งนั้นถึงกับทำให้กะเหรี่ยงประกาศจัดตั้งรัฐอิสระกอตูเล (Kawthoolei) ต่อชาวโลกเมื่อเดือน มิ.ย.2492 5


    นายกรัฐมนตรี อูนุ (โดยนายพล เนวิน เป็น ผบ.ทหารสูงสุด) พลิกสถานการณ์ได้ โดยกองกำลังทหารพม่าสามารถสังหารประธานาธิบดีกะเหรี่ยง Saw Ba U Gyi ในการรบใน พ.ศ.2493 กองกำลังกะเหรี่ยงเริ่มเสียขวัญ และได้ถูกผลักดันถอยร่น จนเปลี่ยนไปเป็นกองโจรรบกับกองกำลังพม่าตามหมู่บ้าน ป่า เขา

    สงครามล้างเผ่าพันธุ์ก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง







    ขอบคุณ

    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    พลตรี นิพัทธ์ ทองเล็ก ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

    taifreedom.com



    ……………………………………………...........................



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 16-01-2011 at 17:21.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ wundee2513
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    ตามภารกิจ
    กระทู้
    1,108
    บล็อก
    11
    อ่านแล้วก็ ได้ข้อคิดหลายอย่าง อิสระภาพ เอกราช ที่ผู้คนโหยหา ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ.
    เสรีภาพ เสมอภาค ยุติธรรม

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •