พัฒนาการของธงชาติไทย
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325
(ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398
(ธงเรือเอกชน) ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พัฒนาการของธงชาติไทย
พ.ศ. 2325 - 2360 พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พัฒนาการของธงชาติไทย
พ.ศ. 2360 - 2398 พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พัฒนาการของธงชาติไทย
พ.ศ. 2398 - 2459 พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ. 110
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129

พัฒนาการของธงชาติไทย
พ.ศ. 2459 - 2460 พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ)
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459

พัฒนาการของธงชาติไทย
พ.ศ. 2459 - 2460 พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459 (ในชื่อ "ธงค้าขาย")

พัฒนาการของธงชาติไทย
พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522

การเคารพธงชาติ
การแสดงความต่อธงชาติของทหารโดยการทำวันทยาหัตถ์หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ใช้ธงชาติและเพลงชาติเป็นเครื่องมือสำคัญในการนิยามตนเองและ “ชาติไทย” ที่เป็น “ประชารัฐ” ธงชาติไทยคือเครื่องหมายของชาตินิยม และกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ราษฎรพึงให้ความเคารพเทิดทูนสูงสุด

รายการสนทนาทางวิทยุระหว่างโฆษกคู่ขวัญแห่งยุคทศวรรษ 2480 ผู้ใช้นามแฝงว่า “นายมั่น-นายคง” อันเป็นสื่อมวลชนสำคัญของรัฐบาล เคยแจกแจงวิธีการเคารพธงชาติในระหว่างดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันนานาชนิดไว้ได้อย่างละเอียดลออยิ่ง ว่า

1.สำหรับคนทั่วไป ยืนตรงนิ่ง ถ้าสวมหมวกในเครื่องแบบทำวันทยหัตถ์ นอกนั้นชายถอดหมวก ถือหมวกด้วยมือขวาแนบกับตัว หญิงไม่ต้องถอดหมวก
2.ผู้ที่อยู่ในรถราง รถโดยสาร รถไฟ เรือ ถ้ายืนเคารพได้ให้ยืน ถ้ายืนไม่ได้ให้นั่งเคารพ ผู้สวมหมวกในเครื่องแบบทำวันทยหัตถ์ นอกนั้นชายถอดหมวก หญิงไม่ต้องถอด
3.รถยนต์ส่วนตัว ถ้าหยุดได้ควรหยุด ทำความเคารพบนรถ ถ้าหยุดไม่ทัน ทำความเคารพบนรถ ถ้ายิ่งหยุดรถได้ และออกมาทำการเคารพนอกรถด้วยยิ่งดี
4.รถสามล้อรับจ้างต้องหยุด ผู้ขับขี่และคนโดยสารลงจากรถทำความเคารพ
5.ถ้ากำลังหาบของ หรือกำลังกระเดียดกระจาดอยู่ วางหาบและกระจาดตรงหน้าแล้วยืนตรง
6.กำลังอาบน้ำ ทำครัว หรือทำงานใดๆ อยู่ ยืนตรงนิ่ง
7.ถ้ากำลังแบกหามของหนักมาก เช่น แบกกระสอบข้าว เป็นต้น เมื่อจวนจะถึง 8.00 น. ควรวางกระสอบเสียก่อน เมื่อเคารพธงชาติเสร็จแล้ว จึงแบกหามต่อไป
8.เวลาพายเรือ แจวเรืออยู่ ถ้าเป็นเรือเล็กยืนขึ้นจะล่ม ก็ให้นั่งตรง ชายถอดหมวก หนีบด้ามพายไว้ในรักแร้ ทอดใบพายไปข้างหลัง ถ้าเป็นเรือใหญ่ใช้แจว ทอดแจวไปทางท้ายเรือ แล้วยืนตรง ชายถอดหมวก
9.ผู้กำลังทำหน้าที่ขับยานพาหนะ ถ้าแสดงการเคารพจะเป็นการละทิ้งหน้าที่ หรือทำให้เกิดอันตรายขึ้น เช่น กำลังถือท้ายเรือยนต์ เรือกลไฟ เป็นต้น ก็ไม่ต้องแสดงเคารพ เป็นแต่นั่งตรงก็พอแล้ว ถ้ายืนถือพวงมาลัยได้ก็ยืน จะงามดี
10.คนขับรถราง ถ้ารถรางหยุดอยู่ให้ยืนตรงนิ่ง และทำวันทยหัตถ์ เพราะมีเครื่องแบบ ถ้ารถกำลังแล่น ก็เบาลง แล้วขับต่อไป ไม่ต้องแสดงความเคารพ เพราะจะเป็นอันตราย ถ้าประสงค์จะแสดงความเคารพก็ให้ถอดหมวกพร้อมกับคนอื่นๆ ได้ เป็นการแสดงน้ำใจรักชาติยิ่ง
11.ถ้าอยู่ในยานพาหนะที่ยืนให้ไม่ได้ ให้นั่งตรง คือนั่งนิ่งวางมือไว้ข้างหน้า หรือข้างตัว วางเท้าชิดกัน ถ้าสวมหมวกเครื่องแบบ ทำวันทยหัตถ์ ถ้าสวมหมวกอื่น ให้ถอดหมวกวางไว้บนตัก
12.ถ้านั่งหรือยืนไม่ได้ เช่นคนนอนเจ็บ ให้ยกมือไหว้
13.ถ้ากำลังกินข้าวอยู่ ให้ลุกขึ้นยืนตรง ทำการเคารพ
14.ถ้ากำลังซื้อหรือขายของอยู่ในตลาด ในห้างร้าน ให้ลุกขึ้นยืนตรง ทำการเคารพ

ชาวไทยแสดงความเคารพต่อชาติด้วยการหยุดนิ่งในอาการสำรวมในระหว่างการบรรเลงเพลงชาติ แม้จะไม่เห็นการชักธงชาติก็ตามสำหรับการเคารพธงชาติในปัจจุบันได้ยึดถือหลักการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 กล่าวคือ เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง


ข้อมูลที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี