ข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติในวัฒนธรรมไทย
THE DO’S AND DON’TS ACCORDING TO THAI CULTURE


เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันทำให้การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประชากรโลก เป็นไปด้วยความรวดเร็ว โอกาสติดต่อกับกลุ่มคนที่อยู่ในความเชื่อ
หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างจากตนเกิดขึ้นได้ง่ายจนแทบไม่ทันรู้ตัว(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันทำให้การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประชากรโลก เป็นไปด้วยความรวดเร็ว โอกาสติดต่อกับกลุ่มคนที่อยู่ในความเชื่อ
หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างจากตนเกิดขึ้นได้ง่ายจนแทบไม่ทันรู้ตัว ดังนั้นหากคนมีความรู้ ในวัฒนธรรมที่แตกต่างก็จะนำไปสู่ความเข้าใจกันมาก
ขึ้นและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ กระทรวงวัฒนธรรมจึงจัดทำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจ

ศาสนา
๑. เมื่อไปวัดในพุทธศาสนาควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย อนุญาตให้สวมรองเท้าเดินรอบอุโบสถ/โบสถ์ แต่ต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าอุโบสถ/
โบสถ์ และบริเวณที่มีป้ายบอกแสดงไว้

๒. ในกรณีของศาสนาอื่น ให้ปฏิบัติตามประเพณีปฏิบัติของศาสนานั้น ๆ

๓. มีกฎข้อห้ามของสงฆ์มิให้สัมผัสกับสตรี ดังนั้น สตรีไม่ควรอยู่แนบชิดพระสงฆ์หรือมีการสัมผัสใด ๆ หากต้องรับสิ่งของใดจากพระสงฆ์
ควรรอให้พระสงฆ์วางของสิ่งนั้นก่อนแล้วจึงหยิบของสิ่งนั้น และเมื่อต้องการถวายสิ่งของแด่พระสงฆ์ ให้วางลงบนผ้าที่พระสงฆ์วางแผ่ไว้ให้

๔. การปีนป่าย นั่ง หรือพิงพระพุทธรูปไม่ว่าจะองค์ใหญ่หรือเล็ก ชำรุดหรือไม่ องค์จริงหรือองค์จำลอง ถือว่าเป็นการกระทำที่แสดงถึงความ
ไม่เคารพวัตถุทางศาสนา หากต้องการถ่ายรูปกับพระพุทธรูปใด ๆ ควรอยู่ในกริยาที่สงบและให้ความเคารพต่อพระพุทธรูป

๕. การวางพระพุทธรูปควรวางไว้ในที่เหมาะสม โดยปกติชาวไทยนิยมตั้งพระพุทธรูปไว้บนที่สูง การตั้งหรือวางพระพุทธรูปไว้กับพื้นห้อง เชิง
บันได ใต้โต๊ะ ใต้เตียง ใต้เก้าอี้ ในห้องน้ำ หรือพื้นสนามเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้ความเคารพ

๖. การจำหน่ายพระพุทธรูปมีเจตนาเพื่อให้บุคคลนำไปสักการบูชา มิใช่เพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด เพราะพระพุทธรูปถือเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า
นอกจากนี้การใช้พระพุทธรูปเป็นเครื่องหมายการค้า เช่น ขนม เครื่องดื่ม เครื่องดองของเมา เครื่องเล่น หรือมีภาพพระพุทธรูปไปประทับ
ปรากฎอยู่กับวัตถุที่เป็นของใช้สอยทั่วไปในชีวิตประจำวันของบุคคลเช่น รองเท้า ถุงเท้า ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

๗. พระพุทธรูปเป็นสิ่งเคารพสูงสุดอย่างหนึ่ง จัดสร้างเพื่อสักการบูชา ประเทศไทยจึงมีกฎหมายหลายฉบับที่ให้ความคุ้มครองพระพุทธรูป
เช่นการนำพระพุทธรูปออกนอกประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนระวางโทษตามกฎหมายกำหนด

๘. การกระทำการใด ๆ แก่สิ่งที่เคารพ นับถือ หรือสถานที่อันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น
เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๖ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ – ๗ ปี

๙. การก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชนเวลาประชุมกัน นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรมตามศาสนาใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย
ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๗ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี

๑๐. การแต่งกายและแสดงตนเป็นนักบวชในศาสนาต่าง ๆ โดยมิชอบเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๘ ระวางโทษจำคุก
ไม่เกิน ๑ ปี

พระมหากษัตริย์
๑. สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ การละเมิดใด ๆ ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลังถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ

๒. การแสดงความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ

๓. การยืนถวายความเคารพระหว่างเพลงบรรเลงสรรเสริญพระบารมีเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ

๔. เมื่อเข้าไปในเขตพระราชฐานควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้สวมเสื้อไม่มีแขน กางเกงขาสั้น หรือรองเท้าแตะ

ข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติในวัฒนธรรมไทย


ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม

๑. ชาวไทยทักทายกันและกันโดยการไหว้

๒. ชาวไทยถือว่าศีรษะเป็นของสูงจึงไม่ควรแตะต้องศีรษะของผู้ใด หากบังเอิญพลาดไปแตะศีรษะของผู้ใด ควรกล่าวคำขอโทษโดยเร็ว

๓. ชาวไทยถือว่าเท้าเป็นของต่ำจึงไม่ควรยกเท้าพาดบนโต๊ะ เก้าอี้ หรือใช้เท้าชี้คนหรือสิ่งของใดๆ

๔. การแสดงความรู้สึกทางเพศอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ถือเป็นสิ่งที่จะไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย

๕. การแสดงธงชาติไทยไว้ที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ หรือสินค้าใด ๆ ที่มิได้มีลักษณะเป็นการเหยียดหยามให้ทำได้โดยสมควรเฉพาะ
๑) เป็นการกระทำโดยหน่วยงานของรัฐ
๒) เป็นการกระทำทางการพาณิชย์โดยได้รับความเห็นชอบจากราชการอย่างถูกต้องแล้วตามกฎหมายเรื่องธงชาติ

๖. การละเล่นในเทศกาลสงกรานต์หรือเทศกาลประเพณีต่าง ๆ ของไทยควรกระทำเพื่อสืบทอดธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามและแสดงออกถึงความ
ปรารถนาดีและเจตนาบริสุทธิ์ เช่นควรใช้น้ำสะอาด และภาชนะบรรจุที่เหมาะสมในประเพณีสงกรานต์ และไม่ควรเล่นน้ำสงกรานต์กับผู้ที่แสดง
ให้เห็นว่าไม่มีความประสงค์จะเล่น เป็นต้น

ขอบคุณที่มา เวบกระทรวงวัฒนธรรม
โค้ด PHP:
http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=2295