กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: ผู้อยู่เบื้องหลังการประท้วงในโลกอาหรับหลายๆประเทศ

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ สาวเมืองกะสิน
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    584

    ผู้อยู่เบื้องหลังการประท้วงในโลกอาหรับหลายๆประเทศ

    หวัดดีจ้าพี่น้องบ้านมหาทุกๆคน หลายมื่อใน 2-3 อาทิตย์มานี่นั่งอ่านข่าวเบิ่งข่าวในเน็ต เปิดไปไสกะเห็นแต่ข่าวประท้วง เรียกร้องของประชาชนคนทั่วโลก โดยเฉพาะทางอาฟริกาและตะวันออกกลาง ถ้าไผ๋ได้ติดตามข่าวสารทั่วโลกกะจะเห็นแต่ข่าวแนวนี้น้อจ้า จากหลายๆประเทศ ก็เลยให้เกิดข้อสงสัยว่าทำไมถึงได้เป็นเช่นนี้ ใครเป็นคนจุดประกาย(ถึงจะเป็นเรื่องของต่างประเทศ แต่ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมโลกด้วยกัน และมีการสื่อสารเชื่อมโยงกันทั่วโลกแบบนี้ ก็คงต้องอยากขอศึกษากันจักหน่อยน้อจ้า เพื่อจะได้เป็นประโยชน์และให้ข้อคิดกับเฮาได้) ก็เลยไปเจอบทความนี้จ้า อ่านแล้วก็ให้ทึ่งๆ อึ้งๆๆ ว่าโอ้น้อ โลกไซเบอร์ของเฮานี่ช่างมีอิทธิพลต่อ่คนเราจริงๆ สามารถสร้างผลกระทบทั้งด้านบวกและลบได้มากมาย อ่านก็ทำให้ได้รู้และเป็นประเด็นที่น่าสนใจจริงๆจ้า มาๆๆติดตามกันจ้า

    [SIZE="3"]"ขณะนิติภูมิเขียนเปิดฟ้าส่องโลกรับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพในเวลานี้ รัฐบาลของสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ตัดสินใจตัดบริการโทรศัพท์มือถือและ อินเตอร์เน็ต เพื่อไม่ให้ประชาชนคนทั้งประเทศสามารถเข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิร์กได้อีกต่อไป

    ทว่าช้าไปแล้วครับ สถานการณ์ในอียิปต์บานปลายขยายไปจนเป็นต้นแบบในราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน โลกของเราในปัจจุบันทุกวันนี้ ในบางกลุ่ม บางสังคม โซเชียลเน็ตเวิร์กมีอิทธิพลมากกว่าศาสนาซะอีก ไม่ว่าคุณจะใช้ชื่อประเทศว่าอย่างไร เนการาบรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน รัฐสุลตานโอมาน สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย ฯลฯ สุดท้ายคุณและคณะผู้นำของคุณก็ยังต้องแพ้อิทธิพลโซเชียลเน็ตเวิร์ก


    แม้แต่กรุงไคโรซึ่งมีอารยะธรรมอียิปต์และโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ที่ขึ้น ทะเบียนไว้มากกว่า ๔๐๐ แห่ง เป็นเครื่องผูกใจร้อยให้ผู้คนทั้งประเทศชื่นชมสมใจกับความโชคดีพิเศษของ อียิปต์ที่เป็นชาติรัฐซึ่งมีโบราณสถานมากที่สุด แถมยังเป็นที่ตั้งของตัวสฟิงซ์ และปิรามิดแห่งกีซา อันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ๑ ใน ๗ ของโลกโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

    รัฐบาลอียิปต์พยายามงัดความเก่าแก่แห่งประวัติศาสตร์ชาติของตัวเองออกมาต่อสู้กับ โซเชียลเน็ตเวิร์ก วัตถุโบร่ำโบราญนาน ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ ๕,๐๐๐ ปีก่อน ก็ยังแพ้ และหล่อหลอมหัวใจของผู้คนชนทั้งชาติให้เป็นดวงใจเดียวกันไม่ได้

    คนอียิปต์ในปัจจุบันทุกวันนี้ไม่กลัวอะไรแล้วครับ ตอนนี้สถานการณ์ไปไกลถึงขนาดประชาชนคนอียิปต์จุดไฟเผาอาคารสถานที่ราชการใน เมืองอเล็กซานเดรีย รัฐบาลจัดการตรึงกำลังตำรวจไว้ในแต่ละจุดหลายพันคน แต่พอพลังประชาชนเดินทางไปถึง ตำรวจที่ว่าแข็งๆ ผมเห็นภาพกับตา ว่าตำรวจเองก็ยังถอย ยอมประชาชนทุกแห่ง ไม่โลกของเราใบนี้ ไม่มีพลังใดจะยิ่งใหญ่เท่าพลังของประชาชนคนทั่วไปได้อีกแล้วครับ คณะผู้นำชุดไหนของประเทศใดดูถูกพลังประชาชน ประเมินพลังบริสุทธิ์ว่าต่ำต้อยกระจอกงอกง่อย บั้นปลายท้ายที่สุด ก็ต้องล่มสลายหายไป


    ผมเคยถูกคามถามข่าวจากผู้ฟังว่า อ้า ประเทศใดในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีเสถียรภาพทางการเมืองมากเป็นอันดับ ๑ สมัยก่อนย้อนหลังไปซักสี่ซ้าห้าปี ผมจะตอบทุกครั้งว่าเป็นราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน แต่ตอนนี้ ผมขอเปลี่ยนคำตอบครับ เทคโนโลยีออนไลน์สมัยใหม่ทำให้เกิดประโยคหนุนการประท้วงในอียิปต์ขึ้นมาใน สังคมของจอร์แดน “ชาติอรับทั้งปวงสรรเสริญเยินยออียิปต์ พวกเราขอช่วยเอาใจให้พวกคุณล้มมูบารัคให้ได้สำเร็จ”

    แต่ก่อนง่อนชะไร เรามั่นใจว่าสถาบันกษัตริย์ของจอร์แดนเป็นหนึ่งในบรรดาสถาบันกษัตริย์ที่ มั่งคงที่สุด แต่วันนี้ต้องขอเปลี่ยนใจจากคำตอบเดิม หลังจากผู้คนชนจากเมืองต่างๆ ของประเทศออกมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูป ‘การเมืองการปกครอง’ และ ‘เศรษฐกิจในประเทศ’ รัฐบาล จอร์แดนก็พยายามเอาใจโดยการโยนงบประมาณมหาศาลลงไปพัฒนาประเทศทว่า เงินไม่ใช่ปัจจัยที่คนจอร์แดนคิดว่าสำคัญเป็นอันดับ ๑ แล้วครับ คนจอร์แดนต้องการให้มีการปฏิรูปการปกครองให้มีความยุติธรรมและไม่มีความ เหลื่อมล่ำต่ำสูงในสังคมมากกว่า


    นักวิเคราะห์มองว่า ขณะนี้การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่หยุดแค่ที่จอร์แดนหรอกครับ แต่จะลามปามไปทั้งโลก สมัยก่อนตอนโน้น เมื่อได้ยินประโยคว่า ใบไม้ตกหนึ่งใบ สะเทือนไปทั้งปฐพี ผมก็ยังคิดเลยว่า ท่านผู้คิดประดิษฐ์ประโยคนี้ขึ้นมานี่ เป็นพวกพูดจาโอเวอร์เกินความจริง แต่ปัจจุบันทุกวันนี้ โลกทุกตรอกซอกมุมเป็นไปตามนี้แล้วครับ การสื่อสารบนโลกของเราใบนี้รับรู้กันได้ทั้งหมด จะมาปิดกันไม่ได้อีกต่อไปแล้ว นี่แค่โลกเราพัฒนาไปได้เพียงถึงแค่โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ตพีซี หรือสมาร์ทโฟน การเมืองการปกครองของมนุษยชาติเรายังเปลี่ยนไปได้ถึงขนาดนี้

    ที่จริง หลายภูมิภาคบนโลกของเราฮึ่มๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมาแล้วละ ตั้งแต่ที่โลกของเรามี ไอแพ็ด ซึ่งทำให้มนุษย์จำนวนหลายล้านคนบนโลกเข้าถึงอินเตอร์เน็ต อีเมล์ อีบุ๊ค วีดีโอ ยูทูป ฯลฯ

    ผมอ่านบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวดองหนองยุ่งกับการประท้วงในตูนีเซีย อียิปต์ เยเมน จอร์แดน ฯลฯ จากสื่อหลายแห่ง หลายประเภท จำนวนไม่น้อยวิเคราะห์ว่า การจลาจลวุ่นวายในครั้งนี้มาจากซีไอเอของสหรัฐอเมริกา ผมขอแย้งท่านผู้วิเคราะห์ด้วยความเคารพว่า ไม่น่าจะใช่ อิทธิพลทั้งหลายทั้งปวงในปัจจุบันทุกวันนี้ ไม่มีทางเหนืออิทธิพลของเทคโนโลยีไปได้ ซีไอเอและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเองก็ยังแทบจะเอาตัวไม่รอด จะมีน้ำยามาจัดการประท้วงในประเทศพวกนี้ได้ที่ไหน นี่ไม่ใช่โลกตะวันออกกลางในยุคที่ไฟซอล บิน อับดุลอาซีซ บิน อับดุลเราะห์มาน อัล ซาอูด กษัตริย์ของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียออกมาต่อต้านการขยายตัวของลัทธิ คอมมิวนิสต์ในโลกอาหรับเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้วนะครับ


    บุคคลต้นเหตุที่กษัตริย์และบรรดาประธานาธิบดีของโลกจะวันออกกลางสมควรจะชี้นิ้วลง โทษโกรธเคืองก็ควรจะเป็นนายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Facebook มากกว่า เพราะว่าสิ่งที่ปฏิวัติความคิดของผู้คนบนโลกมนุษย์ได้อย่างทรงอิทธิพลที่สุด ก็คือเว็บแบบเครือข่ายสังคม Facebook โดยมีนักปฏิวัติของแท้อย่าง Friends รายชื่อเพื่อนของแต่ละคนบนเฟซบุ๊คทั้งหมด หรือเป็น Mutual Friends ที่มีรายชื่อเพื่อนร่วมกัน
    การพูดจาปราศรัยในเรื่องการเมืองในวงล้อมของเพื่อนที่กระจายขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ใน Facebook จึงมีอิทธิพลของแท้แน่นอนต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มากกว่าครับ"
    [/SIZE] นิติภูมิ นวรัตน์ เปิดฟ้าส่องโลก

    โอ้ บ่น่าเชื่อเลยจ้า แต่ว่ามันก็เป็นไปแล้วจริงๆผู้อยู่เบื้องหลังการประท้วงในโลกอาหรับหลายๆประเทศ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวเมืองกะสิน; 23-02-2011 at 23:20.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •