กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: ทองมาก จันทะลือ ศิลปินแห่งชาติ บรมครูหมอลำ เสียชีวิตแล้ว

  1. #1
    ศิลปิน นักแต่งเพลง สัญลักษณ์ของ thedon
    วันที่สมัคร
    Aug 2007
    กระทู้
    1,421
    บล็อก
    1

    อ่านข่าวออนไลน์ ทองมาก จันทะลือ ศิลปินแห่งชาติ บรมครูหมอลำ เสียชีวิตแล้ว

    ศิลปินแห่งชาติ บรมครูด้านหมอลำอีสาน “ทองมาก จันทะลือ” ถึงแก่กรรมด้วยอายุ 82 ปี ที่บ้านเกิดอุบลราชธานี พร้อมบริจาคร่างกายเป็น “อาจารย์ใหญ่” ให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น…

    ทองมาก จันทะลือ ศิลปินแห่งชาติ บรมครูหมอลำ เสียชีวิตแล้ว

    เมื่อวันที่ 17 มี.ค. นายอภินันท์ โปษยานนท์ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งว่า นายทองมาก จันทะลือ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ปี 2529 ได้ถึงแก่กรรมแล้วเมื่อวันที่ 17 มี.ค. เวลาประมาณ 02.00 น. ณ บ้านเลขที่ 156 หมู่ที่ 5 ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี สิริอายุรวม 82 ปี โดยทายาทได้กำหนดสวดพระอภิธรรมศพระหว่างวันที่ 17-19 มี.ค. เวลา 19.00 น. ที่บ้านพักดังกล่าว และนายทองมาก ได้บริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    นายอภินันท์ กล่าวว่า รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้สูญเสียศิลปินฯ ผู้มีความสามารถโดดเด่น จนได้รับการยกย่องว่าเป็นหมอลำชั้นหนึ่ง เพราะเชี่ยวชาญทั้งในด้านการร้องกลอนลำและการร่ายรำ อีกทั้งยังถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก่ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ศิลปะการแสดงหมอลำ คงอยู่ยืนยาวได้อย่างน่าภาคภูมิใจ ทาง สวธ.ได้จัดสวัสดิการช่วยเหลือศิลปินฯ เมื่อเสียชีวิตโดยร่วมบำเพ็ญกุศลศพ 15,000 บาท และช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 120,000 บาท

    สำหรับ นายทองมาก จันทะลือ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) 2529 เกิดเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2472 มีความสามารถในการทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น โหวด เป่าแคน และเป่าใบไม้ และแตกฉานในกลอนลำ เป็นผู้มีความสามารถในการแสดงหมอลำอย่างหาตัวจับยาก สร้างความสนุกสนานจากท่าทางลีลา ยักคิ้วหลิ่วตา เป็นที่ถูกอกถูกใจคนดู จนได้รับการยกย่องเป็นหมอลำชั้นหนึ่งในภาคอีสาน และได้สร้างลูกศิษย์ไว้สืบสานหมอลำอีกด้วย.


    ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : http://news.soizaa.com/2011/03/13831

  2. #2
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    Oil Field เพชรบูรณ์/กำแพงแสน
    กระทู้
    469

    เขาจากไปไม่สูญปล่าว

    ขอแสดงความอาลัยด้วยครับ...ตายสิบเกิดเป็นแสน มาถมแทนผู้สูญดับ.....

  3. #3
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ ตรี ศรีเมืองใหม่
    วันที่สมัคร
    Apr 2006
    ที่อยู่
    หนุ่มอุบล คนศรีเมืองใหม่
    กระทู้
    4,490
    สมัยเป็นเด็กน้อยติดตามผลงานของท่านมาตลอด อักทั้งท่านยังเป็นนักจัดรายการวิทยุอีก ในนาม หมอลําถูทา ทาถู //ขอแสดงความเสียใจมา ณ.ที่นี้ด้วยครับ
    :welcome3"...ศรีเมืองใหม่แดนธรรมประเสริฐ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่มั่น ลือลั่นสวรรค์ภูหล่น ยลสวยหินผานางคอย ลอยล่องแก่งจุการ งามตระหง่านเสาธงวงกลมใหญ่...">>>>> www.muangmai.ob.tc

  4. #4
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    ขอให้ท่านจงไปสู่สัมปรายภพครับ

    นายทองมาก จันทะลือ เป็นศิลปินหมอลำที่มีหมอลำผลงานการแสดงดีเด่น เป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปในภาคอีสาน ได้ศึกษาการเล่นหมอลำจากครูหมอลำหลายท่านด้วยความอุตสาหะและใฝ่รู้ จนสามารถชนะเลิศการประกวดหมอลำหลายครั้ง ในการแสดงหลอลำแต่ละครั้งได้พยายามสอดแทรกวิชาเกษตรกรรม และรณรงค์การรู้หนังสือสนับสนุนนโยบายของรัฐไปด้วย จนได้รับรางวัลดีเด่นการผลิตผลงานเพื่อเยาวชนประเภทสื่อชาวบ้าน ได้อุทิศตนเพื่องานสังคมมาโดยตลอด เป็นวิทยากรพิเศษบรรยายเกี่ยวกับถ่ายทอดวิชาการเล่นหมอลำ ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสานให้แก่ลูกศิษย์มากกว่า ๓๐๐ คณะ ทั่วภาคอีสาน นับว่านายทองมาก จันทะลือ เป็นศิลปินหมอลำที่สมควรยกย่องไว้ในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๒๙

  5. #5
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ ลุนนี ศรีเกษ
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    ศรีสะเกษ กรุงเทพ จอมเทียนชลบุรี
    กระทู้
    789
    บล็อก
    1
    ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของพ่อบุญมาก จันทะลือ อย่างสุดซึ้ง ขอให้บุญผลาสร้างที่ท่านทำมาตลอดชีวิต ที่พาพี่น้องม่วนทุกสถานที่ ที่เพิ่นได้ไป โดยเฉพาะจากวิทยุกระจายเสียง
    เอเอ็ม(สมัยก่อน) จงนำพาให้ดวงวิญญาณของอิพ่อถูทาจงไปสู่สุคติ นิรันดร

  6. #6
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    549
    บล็อก
    21

    อายหน้าแดง

    ขอแสดงความเสียใจจากการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของท่านหมอลำถูทา หมอลำดังแห่งอิสานสมัยก่อน ท่านก็ได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างสมความภูมิใจแล้วขอให้วิญญานของท่านไปสู่ภพภูมิที่มีสุขคติเถิด

    (เพิ่มเติมข่าวจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มีนาคม 2554 19:01 น. )

    อุบลราชธานี -ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน หมอลำคนแรกของประเทศไทย “นายทองมาก จันทลือ” เสียชีวิตอย่างสงบที่บ้านพัก ด้วยวัย 82 ปี บุตรสาวเผยบิดาสั่งก่อนตายให้จัดพิธีศพแบบเรียบง่าย และมอบศพให้โรงพยาบาลไปศึกษาหาความรู้

    วันนี้ (17 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดอุบลราชธานี รายงานว่า นายทองมาก จันทลือ หรือรู้จักดีในชื่อ “หมอลำถูทา” เสียชีวิตอย่างสงบจากอาการป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ขณะนอกพักรักษาตัวที่บ้านสวนเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านแมดหมู่ 5 ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อเวลา 03.20 น.และญาตินำศพตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้านพักถึงวันอาทิตย์ที่ 20 มี.ค.ศกนี้ ก่อนมอบให้โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น นำไปศึกษาตามจุดประสงค์ของผู้เสียชีวิต

    นางลำดวน ปูคะธรรม อายุ 57 ปี ลูกสาวคนที่สองจากบุตรทั้งหมด 5 คน ซึ่งอยู่ดูแลนายทองมากจนถึงวันสุดท้าย เล่าว่า เมื่อเย็นวันที่ 16 มี.ค.บิดาไม่ยอมทานข้าวเย็น เพราะมีอาการหายใจทางจมูกไม่สะดวก และขอตัวเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ กระทั่งดึก นางลำดวน ได้แวะเข้ามาดูบิดาที่นอนอยู่ในห้องพักกับ นางพัน ภรรยาคู่ชีวิต ก็พบว่าบิดาได้เสียชีวิตไปอย่างสงบแล้ว

    สำหรับบิดาได้ล้มป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองอุดตันตั้งแต่เดือน พ.ค.ปีที่แล้ว ทำให้ร่างกายซีกซ้ายอ่อนแรง ก่อนเสียชีวิตบิดาสั่งให้จัดการศพตามประเพณีแบบเรียบง่ายไม่สิ้นเปลือง หลังหมดพิธีทางศาสนาให้มอบศพแก่โรงพยาบาลรับไปดำเนินการทันที เพราะบิดาบอกอยากกลับบ้านเกิดไปเป็นครูใหญ่แก่นักศึกษาแพทย์

    ประวัติของนายทองมาก จันทลือ เกิดเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2467 ที่จังหวัดขอนแก่น เริ่มเข้าสู่วงการหมอลำ เมื่ออายุ 14 ปี โดยบิดาพาไปสมัครเรียนหมอลำกับพระอาจารย์อ่อนที่วัดประดู่น้อย และได้เรียนรู้ทั้งด้านกลอนลำ และพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาอันเป็นพื้นฐานสำคัญของหมอลำนานถึง 2 ปี ก่อนไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากครูหมอลำอีกหลายท่าน จนแตกฉานด้านวิชาหมอลำ และได้ทำการแสดงครั้งแรกเมื่อปี 2491

    ด้วยความสามารถลำกลอน 7 กลอน 8 และกลอน 9 ได้อย่างสดๆ โดยไม่ติดขัด ในปี 2500 ได้เข้าประกวดหมอลำกลอนฝ่ายชาย และได้รางวัลชนะเลิศประกาศนียบัตรหมอลำชั้นพิเศษ 4 ดาว ซึ่งถือว่าเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดของหมอลำในสมัยนั้น ขณะเดียวกัน นายทองมาก ยังได้จัดรายการวิทยุ และเป็นโฆษกขายยาให้กับบริษัท โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) จากการนำเอาศิลปะหมอลำเข้าไปประยุกต์ใช้ในการโฆษณา ส่งผลให้ยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมาก และยังเป็นผู้คิดคำใช้โฆษณาขายยาหม่อง คือ ถูทาทางวิทยุ จนต่อมากลายเป็นคำที่ประชาชนใช้เรียกนายทองมากแทนชื่อจริง คือ หมอลำถูทา

    กระทั่งปี 2512 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.อุบลราชธานี โดยไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด และได้รับเลือกเข้าสภาพร้อมกับ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีที่ได้รับเลือกจากชาว จ.ตรัง เข้าสภาเป็นครั้งแรกเช่นกัน กระทั่งปี 2514 ได้รวบรวมสมัครพรรคพวก ที่เป็นหมอลำตั้งสหพันธ์สมาคมหมอลำแห่งประเทศไทย และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสหพันธ์เป็นคนแรก

    ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้นายทองมากเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงหมอลำเป็นคนแรกของประเทศเมื่อปี พ.ศ.2529 โดยช่วงหลังนายทองมากไม่ได้รับงานแสดง แต่รับเป็นวิทยากรให้ความรู้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ตามสถาบันการศึกษา เพื่อนำศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสานไปเผยแพร่ ส่วนวันว่างจะดูแลสวนที่ทำแบบไร่นาสวนผสมอยู่ที่บ้านพัก จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หนุ่มน้อย; 19-03-2011 at 04:41.

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของ อ.ทองมาก จันทะลือ บรมครูทางด้านหมอลำอิสาน ขอให้ดวงวิณญานของท่านจงไปสู่สุคติเถิด

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •