กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท


    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท




    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท

    วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

    พระอริยะเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง






    [wma]http://www.file2go.com/mrun.php?me=10929s1[/wma]


    บทเพลงธรรมะ สารคดีประวัติหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    แต่งโดยพระมหาธีรนาถ วัดป่าภูผาสูง




    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท




    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท

    พระอริยเจ้าผู้เด็ดเดี่ยวอาจหาญในสายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้รับการยกย่องจากท่านพระอาจารย์มั่นว่า “เป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง”




    อุปนิสัย


    เป็นคนตรงไปตรงมา มีปฏิปทายอมหักไม่ยอมงอ ท่านสละอวัยวะ ทรัพย์และชีวิตเพื่อธรรม เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที จงรักภักดีต่อท่านพระอาจารย์มั่น ยิ่งกว่าชีวิต


    ท่านได้รับความไว้วางใจจากท่านพระอาจารย์มั่น ให้เดินทางไปเฝ้าอุปัฏฐากหลวงปู่เสาร์ ซึ่งอาพาธหนักถึงนครจำปาศักดิ์ประเทศลาว จนกระทั่งหลวงปู่เสาร์มรณภาพ


    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท เกิดเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ตรงกับวันอังคาร เดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะโรง ณ บ้านคลองน้ำเค็ม ตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรของนาย ซุ่นแฉ และ นางแฟ โพธิกิจ


    ในวัยหนึ่งทำมาค้าขายผลไม้ นิสัยออกจะติดทางนักเลง ต้นตระกูลเป็นคนตรงไปตรงมา เป็นคนจริงจังในหน้าที่การงาน ยอมหักแต่ไม่ยอมงอพูดจาโฮกฮากไม่กลัวคน


    อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๖.๑๙ น. ณ พัทธสีมาวัดจันทนาราม ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยมี พระครูครุนารถสมาจาร (เศียร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพัฒน์พิหารการ (เชย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์


    ประวัติ ปฏิปทา คติธรรม ของท่านอาจแตกต่างจากพระกรรมฐานรูปอื่นในแง่ปลีกย่อย เพราะท่านไม่กว้างขวางเรื่องปริยัติธรรมภายนอก รอบรู้เฉพาะเรื่องจิตตภาวนา อันเป็นธรรมภายใน ท่านปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว


    คำสอนของท่านก็เป็นประเภทปัจเจกะ มุ่งเน้นทางด้านจิตใจเป็นส่วนใหญ่ประกอบกับท่านมีบารมีธรรมที่บ่มบำเพ็ญมาแต่ชาติปาง ก่อนเป็นสิ่งช่วยเกื้อหนุนอยู่อย่างลึกลับ การปฏิบัติของท่านจึงนับว่ารู้ธรรมเร็วในยุคปัจจุบัน


    ท่านสอนให้พวกเรามองอะไร ไม่ควรมองแต่ด้านเดียว การมองอะไร ไม่เพียงใช้สายตาเป็นเครื่องตัดสินเท่านั้น แต่ต้องใช้แววตาคือ ปัญญา เพราะผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรมองข้ามปมคำสอน เพียงเพราะสายตาเท่านั้น ควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่สอ่งแสงสว่างแก่โลก ย่อมไม่ละเลยทั้งกอไผ่และภูผา


    การปฏิบัติของท่านมุ่งเน้นที่ผลการปฏิบัติมากกว่ารูปแบบแห่งการปฏิบัติ เพราะนี่เป็นนิสัยสะท้านโลกาและปฏิปทาที่เป็นปัจจัตตัง ยากที่ใครๆ จะเลียนแบบได้


    หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้กล่าวยกย่องชมเชยในคุณธรรมว่า “พระอาจารย์เจี๊ยะ เป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง เป็นเพชรน้ำหนึ่งที่หาได้โดยยากยิ่ง”


    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ร่วมปฏิบัติธรรมจำพรรษากับท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ที่เสนาสนะป่าช้าผีดิบบ้านหนองบัว ปัจจุบันคือวัดทรายงาม จังหวัดจันทบุรี


    ท่านปฏิบัติกรรมฐานด้วยอิริยาบถ ๓ คือ ยืนภาวนา เดินจงกรม นั่งสมาธิ แบบสละตาย ด้วยการตั้งสัจจะอธิษฐานว่า


    “ข้าพเจ้าจะถือเนสัชชิ คือในเวลาค่ำคืนไม่นอนตลอดไตรมาส ด้วยพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ ถ้าว่าแม้นข้าพเจ้าไม่ทำตามสัจจะนี้ ขอให้ข้าพเจ้าถูกฟ้าผ่าตาย แผ่นดินสูบตาย ไฟไหม้ตาย น้ำท่วมตาย แต่ถ้าหากว่าข้าพเจ้าปฏิบัติตามสัจจะที่ตั้งไว้ได้ ขอจงเป็นผู้เจริญงอกงามในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเทอญฯ”


    พรรษาที่ ๓ จิตของท่านเกิดรวมครั้งใหญ่ใต้ต้นกระบก ด้วยการหยั่งสติปัญญาลงในกายานุปัสสนา หยั่งลงสู่ความจริงประจักษ์ใจ โลกสมมุติทั้งหลายไม่มีปรากฏขึ้นกับใจ ประหนึ่งว่าแผ่นดินแผ่นฟ้าละลายหมด เหลือแต่จิตดวงบริสุทธิ์เท่านั้น


    ปลายปี พุทธศักราช ๒๔๘๒ ท่านได้กราบลาท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ และท่านพ่อลี ธมฺมธโร เดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับสหธรรมิก คือท่านพระอาจารย์เฟื่อง โชติโก เพื่อนำธรรมที่รู้เห็นไปเล่าถวายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต


    เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เมื่อถึงเสนาสนะวัดร้างป่าแดง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์มั่นทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าโดยตลอด จึงปูอาสนะนั่งรอท่าอยู่บนแคร่น้อยๆ เมื่อได้โอกาสอันสมควรจึงได้เล่าเรื่องภาวนาให้ท่านพระอาจารย์มั่นฟังว่า “ได้พิจารณากาย จนกระทั่งใจนี้มันขาดไปเลย” ท่านพระอาจารย์มั่นนั่งฟังนิ่ง ยอมรับแบบอริยมุนี ไม่คัดค้านในสิ่งที่เล่าถวายแม้แต่น้อย


    ต่อมาอีกไม่นานนัก ฟันของท่านพระอาจารย์มั่นหลุดแล้วท่านก็ยื่นให้ การที่ท่านมอบฟันให้นั้น หลวงปู่เจี๊ยะเล่าว่า “ท่านคงรู้ได้ด้วยอนาคตังสญาณ ว่าเราจะมีวาสนาสร้างภูริทัตตเจดีย์บรรจุทันตธาตุถวายท่านเป็นแน่แท้”


    ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓-๒๔๘๕ หลวงปู่เจี๊ยะเป็นพระคิลานุปัฏฐาก และเป็นปัจฉาสมณะ เป็นประดุจเงาติดตามตัวท่านพระอาจารย์มั่นมาโดยตลอด เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นรับนิมนต์ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์เดินธุดงค์จากทางภาคเหนือมายังภาคอีสาน พักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าเป็นที่ทิ้งศพโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ๒ พรรษา จึงธุดงค์จาริกต่อไปยังจังหวัดสกลนคร พักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ที่เสนาสนะป่าบ้านโคกนี้เอง ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวชมเชยในคุณธรรมและนิสัยวาสนาของหลวงปู่เจี๊ยะท่ามกลางหมู่สงฆ์ว่า


    “ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ท่านผู้นี้ปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว ปฏิบัติเพียง ๓ ปี เท่ากับเราปฏิบัติภาวนามาเป็นเวลา ๒๒ ปีอันนี่อยู่ที่นิสัยวาสนาเพราะนิสัยวาสนาของคนมันต่างกัน”


    ต้นปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ขณะที่ท่านเข้าที่หลีกเร้นภาวนาในดงป่าลึก ณ เชิงเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เกิดป่วยเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก ในขณะที่ป่วยหนักนั้นท่านเล่าว่า


    “จิตเป็นธรรมชาติที่อัศจรรย์ตลอดเวลา พิจารณาจนกระทั่งจิตมันดับหมด หยุดความคิดค้น จิตปล่อย วางสิ่งทั้งปวง คว่ำวัฏฏจักร วัฏฏจิต แหวกอวิชชา และโมหะอันเป็นประดุจตาข่าย กิเลสขาดสะบั้นออกจากใจ จิตมีอิสระอย่างสูงสุดเกินที่จะประมาณได้”


    ต้นปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ หลังจากถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่นแล้วท่านจึงย้อนกลับไปจังหวัดจันทบุรีอันเป็นบ้านเกิด เพื่อโปรดโยมมารดาซึ่งป่วยหนัก ด้วยหวังจะทดแทนบุญคุณข้าวป้อนด้วยอรรถด้วยธรรม ท่านจึงดำริปักหลักสร้างวัดเขาแก้ว ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง และได้สร้างวัดบ้านสถานีกสิกรรม อำเภอพลิ้ว ถวายหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน


    ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชได้นิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสและร่วมสร้างวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี


    ปีพุทธศักราช ๒๕๒๖ คณะศรัทธาได้ถวายที่ดินบริเวณบ้านคลองสระ ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี แก่หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน หลวงตาได้นิมนต์ท่านมาอยู่เป็นเจ้าอาวาส และท่านได้สร้าง “วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม” และอยู่จำพรรษามาโดยตลอด


    แม้ว่าท่านจะเป็นพระเถระผู้ใหญ่และได้สร้างวัดวาอารามใหญ่โตแล้ว ท่านก็ยังเที่ยวภาวนาตามป่าตามเขาท้องถ้ำและเงื้อมผา จนกระทั่งร่างกายเดินไม่ไหว


    ท่านละขันธ์เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานด้วยความสงบและอาจหาญในธรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เวลาประมาณ ๒๓.๕๕ น. สิริอายุรวม ๘๘ ปี ๒ เดือน ๑๗ วัน ๖๘ พรรษา




    .............................................................................





    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท : หลักการภาวนา




    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท



    ท่านเจ้าคุณอุบาลีท่าน เคยกล่าวว่า


    "พายนะพ่อพาย ตะวันจะสาย สายบัวจะเน่า"


    ท่านเทศน์ของท่าน หลวงตาจำมาเล่าให้ฟัง พายนะ พ่อพาย ตะวันจะสาย สายบัวจะเน่า


    สายบัวคืออะไร คือ กายที่มันจะแก่จะป่วยจะเจ็บจะตาย พาย ๆ ตะวันจะสาย

    สาย หมายถึง เวลาเจ็บป่วยอย่างนั้นแล้วหมดเวลาเพราะเราไม่ได้ฝึกหัดไว้


    ถ้าไปบอกภาวนาไม่มีโอกาสที่จะทำข้าเจ็บข้าจะตายพุทโธเวลานั้น โอ๊ย ! เอาอะไรก็ไม่ได้แล้วเป็นอย่างนั้นน๊ะ


    พายนะพ่อพาย รีบพาย พากันเข้าวัดเข้าวามานั่งสมาธิภาวนา

    ตะวันจะสาย ร่างกายมันเปลี่ยนแปลงยักย้าย

    สายบัวจะเน่า นี่ตอนจะตาย นอนแน่ ๆ ...ใช่ไหม ?
    ไปไหนไม่ได้ต้องหยอดข้าวหยอดน้ำ



    เมื่อได้ทำใจ ฝึกหัดเต็มที่แล้วอย่างนั้นแล้วไม่ต้องเป็นทุกข์

    กำหนดดูอยู่กับเวทนาอย่างนั้นสบายที่สุด

    กำหนดใจของเราที่มีกำลังสติปัญญาบริบูรณ์สมบูรณ์แล้ว
    มองดูเฉย ๆไม่ต้องทำอันใดทั้งหมด

    ตั้งสติจดกำหนดดูอย่างนั้นเพลินอยู่ไปเลยตายเมื่อไหร่ก็ยิ่งดี

    ไอ้ร่างกายเรานี้ทรมานมานานแล้วหลายสิบปียินดีไปเถอะเจ้าข้า
    ใช่ไหม ?(ตอนนี้เทศน์เสียงดัง)


    เรานักปฏิบัติจุดมุ่งหมายต้องเป็นอย่างนี้ เพราะพระพุทธเจ้า ทรงตรัสคาถาว่า


    ส จิตฺต ปริโยธ ปนํ เอตํ พุทฺธา น สาสนํ


    บุคคลผู้ชำระใจของตนให้ผ่องแผ้วหมดจดผ่องใส อย่างต่ำ ทำได้ชั่วครั้งชั่วคราว อย่างกลาง ได้เป็นหลายคืนหลายเดือนชั่วปี อย่างสูงได้จนกระทั่งทำลายอาสวะกิเลสของตนให้สิ้นไปนั่งเป็นบรมสุข



    นั่นแหละ เป็นผู้ที่เข้าถึงธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ได้แสดงไว้อย่างนั้นการตั้งปณิธานในการพิจารณา หลักใหญ่นั้นท่านพระอาจารย์เจี๊ยะท่านให้เราหัดคิดทวนกระแสหรือที่เป็นแนวความคิดดั้งเดิมของเรา เป็นต้น เราเคยคิดและติดใจอยู่ในสมาธิมาแล้วเราก็ต้องคิดทวนกระแสสมาธินั้นอย่างหนัก


    เช่น

    การทำสมาธิแล้วจิตสงบได้หลาย ๆ ชั่วโมง หรือ จิตเกิดไปรู้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ต่าง ๆก็ต้องหยุดไว้ก่อนไม่เอาสิ่งนั้นมาเป็นอรมณ์ เราต้องตั้งสติพิจารณาทันทีโดยเริ่มด้วยการพิจารณาที่กาย ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นและต้องไม่ให้สมาธิมารบกวนในการพิจารณานี้ได้เลยผลที่จะได้รับนั้นก็จะคุ้มค่าสำหรับการพิจารณาทวนกระแส


    การพิจารณาทวนกระแสนี้ มีจุดมุ่งหมายให้เกิดการใช้ความคิด และการพิจารณาอบ่างรอบคอบในขันธ์ ๕ เมื่อมีสติจดจ่อในขันธ์ ๕ ปัญญาหรือความคิดเกี่ยวกับขันธ์ ๕ จะเป็นไปอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็วว่องไวอย่างที่สุด

    จนทำให้ผู้ภาวนา ไม่สามารถหยุดพิจารณาได้ จึงทำให้ดูเหมือน เป็นผู้ที่มีความคิดฟุ้งซ่านไปอย่างมากเช่น พิจารณารูปไม่หยุดเมื่อตาสัมผัสกับรูป ก็จะพิจารณารูปนั้น ๆ ทันทีและโดยละเอียดกว้างขวางไปเรื่อยจนไม่มีขอบเขตหรือที่เรียกว่ามากจนเกินพอ กลายเป็นฟุ้งไป ทั้ง ๆ ที่ เป็นเรื่องของการพิจารณาธรรมะล้วน ๆ


    วิธีแก้ ก็ต้องอาศัยสติยับยั้งและอาศัยการเข้าสมาธิเพื่อพักผ่อนใจให้สงบจากการพิจารณาชั่วคราวเมื่อจิตได้พักพอมีกำลังแล้วจึงพิจารณาต่อไปใหม่


    การดำเนินการปฏิบัติธรรม โดยวิธีจะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง และส่งผลไปสู่ความเข้าใจในขันธ์ ๕ อย่างถ่องแท้ (นี่คือผลของการใช้วิธีพิจารณา ในการปฏิบัติธรรมใจขั้นต้น)


    การพิจารณาอย่างนี้ หากดำเนินไปเรื่อย ๆ จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติไม่ยึดในกายสังขารแต่ก็เฉพาะ เมื่อกายสังขารของผู้ปฏิบัตินั้นยังสมบูรณ์เป็นปกติอยู่นั้นก็คือไม่ยึดก็จริง แต่ยังไม่ถือว่าเป็นขั้นเด็ดขาดเพราะหากผู้ปฏิบัตินั้นเกิดเจ็บป่วยขึ้นอย่างรุนแรง


    ความยึดติดในกายสังขารของผู้ปฏิบัตินั้นก็จะปรากฏขึ้นทันทีเช่น มีอาการกลัวตาย หรือ จิตจะเข้ามาบงการเพื่อขจัดปัดเป่าความเจ็บป่วยนั้นซึ่งโดยสรุปก็คือ ความกลัวตายนั่นเอง


    ซึ่งก็เป็นผลที่สืบเนื่องมาจาก การยังเป็นผู้ยึดติดในกายสังขารนั่นเองสิ่งที่สมควรจะย้อนกลับมาดูผล ในการพิจารณาขันธ์ ๕ ของตน ก็คือ พิจารณาขันธ์ ๕ ของผู้ปฏิบัตินั้นยังไม่เพียงพอ ยังเป็นผู้ยึดติดในขันธ์ ๕ ของตนอยู่หากผู้ปฏิบัติ เป็นผู้ที่มีความพร้อมในการพิจารณาก็จะเกิดการฮึดสู้ และ พิจารณาในขั้นต่อไปได้


    การพิจารณาถึงเวทนา ความเจ็บป่วยที่เกิดแก่ตัวผู้ปฏิบัติ ในขณะนั้นเมื่อผู้ปฏิบัติ เห็นเวทนาเป็นไตรลักษณ์และไม่ติดในเวทนาไม่ว่าจะเป็นเวทนาในทางบวก คือ การอยากหายอยากมีชีวิตอยู่ต่อไปและเวทนาในทางลบ คือต้องการให้การเจ็บป่วยระงับไปโดยเร็ว
    เช่นฆ่าตัวตายเมื่อผู้ปฏิบัติไม่ติดอยู่ในเวทนาจิตย่อมเป็นอิสระจากเวทนา


    หากนักปฏิบัติภาวนาไม่รอบคอบคิดว่า เวทนาเป็นข้าศึกของจิตใจแต่ฝ่ายเดียวก็จะไม่รู้เท่าทันเวทนาได้โดยสมบูรณ์ธาตุขันธ์ทรงตัวอยู่ได้ก็เพราะเวทนาหากเวทนาบกพร่องร่างกายก็จะไม่สมบูรณ์


    เช่น


    ขาข้างซ้ายไม่มีเวทนาอยู่เลย หรือที่เป็นอัมพาต การเดินก็จะทำได้ยากเพราะเหตุที่เวทนาที่บังคับขาซ้ายไม่สมบูรณ์ฉะนั้น เวทนาไม่ว่าจะในการบวกหรือลบย่อมมีคุณอยู่เหมือนกันสำหรับผู้รู้แต่จะมีโทษสำหรับผู้หลงเมื่อเวทนาเกิดขึ้น จิตที่จะแส่ส่ายออกไปรับรู้ภายนอกนั้นค่อนข้างจะยากจิตจึงเริ่มรวมตัวใกล้ชิดโดยไม่ต้องใช้คำบริกรรมเข้าช่วย


    ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า เวทนาอบรมสมาธิก็ได้แต่ต้องอาศัยผู้ที่ห้าวหาญต่อความเป็นจริงของเวทนาซึ่งเป็นลักษณะของจิตที่ออกจะดื้อหรือรวมตัวได้ยาก


    เวทนาเมื่อเกิดขึ้นหากไปเอาสมาธิเข้าระงับยอมรับความจริงโดยใช้ปัญญาเข้าคลี่คลายแก้ไขทันทีนี่เป็นผลของ เวทนาอบรมปัญญา








    ข้อมูลจากหนังสือ

    พระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์ วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ Thadjunior
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    กระทู้
    150
    ขอบคุณ..........สำหรับเรื่องราวดีๆที่ปันแจกจ้า

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •