กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ศาสตร์และศิลป์ของการสิ้นชีวิต

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23

    ศาสตร์และศิลป์ของการสิ้นชีวิต



    ศาสตร์และศิลป์ของการสิ้นชีวิต



    เขียนโดย ศ.นพ.ธีระ ทองสง

    หลายชีวิตที่ผมได้พบเห็นทั้งบนเตียงอนาถาของผู้ไม่มีอันจะกิน หรือห้องไอซียูห้าดาวราวกับห้องสูทโรงแรมหรู เมื่อเขาได้รู้ว่ามะเร็งร้ายกำลังสลายร่างสู่ธรรมชาติ วังเวงไหม เหงาไหม อาลัยอาวรณ์หรือไม่ ขณะที่เส้นทางชีวิตเป็นบาทวิถีที่ต้องเดินเดียวดาย ไม่ว่าจะอยู่ท่ามกลางแฟนคลับหรือไร้ญาติขาดมิตรก็ตามทีเถิด ที่เคยอวดใครว่าเข้มแข็งหัวใจเกินร้อยจะเห็นดีกันว่าเป็นของจริงหรือแค่ฟอร์มฮีโร่ในโฆษณาที่สวมใส่บดบังความหวาดกลัว กับวันที่จะไม่มีใครเหลือเลยในชีวิต หนทางข้างหน้าจะเวิ้งว้างว่างเปล่า สิ้นญาติขาดมิตร จิตรู้แจ้งเท่านั้นคือที่พึ่ง และใยเราต้องรอให้ถึงไอซียูแล้วรู้แจ้ง ในขณะที่เรามีสิทธ์ฉลาดอยู่ทุก ๆ วัน ท่ามกลางมรสุม คลื่นลมชีวิต ที่เกิดอยู่ทุกวัน ทุกวัย ไม่มีใครหนีพ้น แต่เราสามารถปรับใบเรือได้ ให้อยู่ในโลกโดยไม่โดนเขี้ยวโลก หอบสังขารหนีความตายไม่ได้ แต่ผู้รู้แจ้งทั้งหลายมีเทคนิคในการต้อนรับกับความตายได้อย่างยิ้มแย้ม การเดินทางบนเส้นทางชีวิต ต้องการเข็มทิศและความฉลาด เป็นเรื่องของคนทุกวัย มิใช่เรื่องของผู้สูงวัย

    เพราะการได้มาและการสูญเสีย เกิดขึ้นได้ทุกวันทุกวัย การรู้สึกสูญเสีย คือความหมายที่แท้จริงของการตาย มิใช่อยู่ที่ลมปราณ การต้อนรับกับเหตุการณ์ของชีวิตที่เต็มไปด้วยการเผลอคิดผิด เผลอลุ่มหลง หวงแหน ห่วงหา หรือเรื่องราวของการทำใจไม่ได้ เป็นเรื่องของชนทุกวัย และการฉลาดในการทำใจต่อการสูญเสียทุกรูปแบบ คือการเตรียมใจต่อการสูญเสียสมบัติชิ้นที่สำคัญที่สุดคือชีวิตไปในเวลาเดียวกัน ชีวิตต้องการลืมตาเดินทาง แทนการด้วยความมืดบอด (ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด) ก้าวไปสู่การตายอย่างฉลาดด้วยการเป็นอยู่อย่างฉลาด การฉลาดใช้ชีวิตเป็นการเตรียมตัวตายอย่างดีเช่นกัน การตายทางใจที่หมายถึงความรู้สึกว่าไม่มีอะไรเป็นตัวกูของกูนั้น ไม่มีอะไรต้องสูญเสียอีกแล้ว คือทักษะสูงสุดของการใช้ชีวิต

    บทถามตอบตอนหนึ่งของท่านอาจารย์พุทธทาสให้ข้อคิดไว้ว่า ....เตรียมสำหรับตายให้ดีที่สุดอย่างไร? ...ตอบ: อยู่ให้ดีที่สุด! .....เตรียมสำหรับอยู่ให้ดีที่สุดอย่างไร? ...ตอบ: เตรียมพร้อมสำหรับที่จะตายนะซี! ผมเชื่อว่าท่านอาจารย์ได้ตายอย่างมีชีพจรหรือสงบไปนานแล้ว ก่อนศิษยานุศิษย์จะอ้อนวอนนำท่านสู่โรงพยาบาลเพื่อสำรวจประสิทธิภาพและอายุขัยการใช้งานของร่างกาย ท่านจึงได้พร่ำเตือนให้คนฉลาดตั้งแต่ร่างกายยังเอื้ออำนวย คนหนุ่มคนสาวที่สมองยังปลอดโปร่ง หัวใจยังเข้มแข็ง มีสิทธิ์ที่จะฉลาด บาทหนึ่งของกลอนมรดกธรรม เอ่ยไว้ว่า “ถ้าไม่อยากให้ทุลักทุเลมาก ต้องข้ามฟากให้พ้นก่อนตนแก่ ก่อนตามืดหูหนวกสะดวกแท้ ตรองให้แน่แต่เนิ่น ๆ รีบเดินเอย” ชัดเจนเหลือเกินว่า อิทธิฤทธิ์ของความตายมิได้อยู่ที่ลมหายใจ แต่อยู่ที่ใจ ใยไม่ยอมตายอย่างมีลมหายใจ ใยต้องเหน็ดเหนื่อยกันนักที่จะรักษาเอาไว้อย่างสุดฤทธิ์สุดเดช การแตกดับของสังขารก็แค่การแปรสภาพเท่านั้น สำหรับท่านอาจารย์แล้ว...ตายแต่เปลือก เยื่อในอยู่ คู่โลกไป เป็นประโยชน์ แก่ใคร ๆ ไม่สิ้นเอย



    credit : http://www.dhamma4u.com/index.php/20...-04-52-35.html
    มองต่าง..อย่างปลง

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ Thadjunior
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    กระทู้
    150
    เจ้ากะดายเนาะ ตั้งชื่อหัวข้อซะเลิศหรูอลังการ
    ศาสตร์และศิลป์ของการสิ้นชีวิต พะนะ
    ข่อยแล่วเข้าใจมาตลอดว่า การตายคือการเซาหายใจ
    บัดได๋แท่มันเป็นเทิงศาสตร์เทิงศิลป์ตั๊วนี่

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •