ประเพณีกองข้าวบวงสรวง

ประเพณีกองข้าวบวงสรวง (ประเพณีกองข้าว)
ช่วงเวลา ประเพณีกองข้าวบวงสรวง โดยทั่วไปกำหนดหลังประเพณีสงกรานต์ ๓-๔วัน สำหรับอำเภอศรีราชากำหนดปฏิบัติกันระหว่างวันที่ ๑๙- ๒๑ เมษายน (๓ วันติดต่อกัน) ในแต่ละวันจะจัดพิธีเป็นสองตอน คือตอนเช้าและตอนเย็น เหมือนปัจจุบันจะแตกต่างกันในส่วนของรายละเอียด ความสำคัญ ประเพณีกองข้าวบวงสรวงเป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรี เป็นประเพณีดั้งเดิมถือกำเนิดขึ้นที่อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอบางละมุง อำเภอเกาะสีชัง หรือรับอิทธิพลมาจากที่อื่นแต่ผู้ปฎิบัติถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงาม การไปร่วมพิธี ทำให้มีโอกาสได้พบประสังสรรค์ กับเพื่อนร่วมความคิดความเชื่ออีกด้วยจึงปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมา ในปัจจุบันการทำพิธีกองข้าวบวงสรวงเกือบทุกที่ในจังหวัดชลบุรีค่อยๆ สูญสลายไปแล้ว มีผู้ให้ทรรศนะว่า การที่ประเพณีกองข้าวบวงสรวงที่หน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองของจังหวัดชลบุรียกเลิกไป เมื่อหลายสิบปีมานี้ก็เพราะว่าทางราชการได้ประกาศห้ามทำการเชิญเจ้าเข้าทรงประกอบกับสมัยหลังบ้านเมืองเจริญผู้คนอาคารหนาแน่นขึ้น จะหาสถานที่ที่จะจัดให้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีมีน้อย สถานที่เดียวในจังหวัดชลบุรีที่มีการปฎิบัติ ประเพณีกองข้าวบวงสรวงอย่างจริงจังและต่อเนื่องตลอดมา คือ อำเภอศรีราชา ประกอบกับเทศบาลตำบลศรีราชาตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของประเพณีนี้ด้วยเห็นว่าเป็นประเพณีท้องถิ่นที่ควรสนับสนุนฟื้นฟู อนุรักษ์ไว้อย่างจริงจังเพื่อเป็นเอกลักษณ์ เป็นที่เชิดหน้าชูตาของอำเภอศรีราชาต่อไป จึงรับเป็นเจ้าของในการจัดฟื้นฟู และอนุรักษ์ไว้โดยจะเน้นรูปแบบความเป็นไทยทั้งในด้านการแต่งกายของผู้เข้าร่วมประเพณี อาหารคาวหวานและ การละเล่นพื้นบ้าน และการละเล่นไทยที่หาดูยากเน้นความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ และความถูกต้องของพิธีกรรมต่างๆในงานกองข้าวบวงสรวง จัดหาพราหมณ์มาเป็นผู้นำในพิธีบวงสรวง สังเวย ดูแลความเรียบร้อย ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบประวัติความเป็นมาของประเพณีกองข้าวบวงสรวง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ภูมิใจ รักและหวงแหน ประเพณีกองข้าวบวงสรวงจึงอยู่คู่กับศรีราชามาจนปัจจุบัน

พิธีกรรม
เมื่อใกล้จะถึงกำหนดงานประเพณีกองข้าวบวงสรวงชาวบ้านก็จะแบ่งหน้าที่กันว่าใครจะทำอะไรบ้างเช่น การชำระล้าง ปัดกวาด ตกแต่ง บริเวณประกอบพิธีเตรียมเครื่องบูชา ตีฆ้องประกาศว่าจะเริ่มประเพณีในวันรุ่งขึ้น ขอเชิญร่วมพิธีให้พร้อมเพียงกัน เมื่อถึงวันงาน ขาวบ้านก็จะมาพร้อมกันบริเวณงานเช่นบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดชลบุรีพิธีเกี่ยวกับการเชิญเจ้าพ่อต่างๆมาเข้าทรง แล้วชาวบ้านก็จะถามว่าเย็นนี้จะนัดกองข้าวกันที่ไหนเจ้าที่เข้าทรงก็จะบอกสถานที่ที่จะไปกองข้าวให้ทราบโดยทั่วกัน เป็นอันเสร็จพิธีตอนเช้าวันแรก วันที่สองที่สามก็กระทำเช่นเดียวกันการเชิญเจ้านี้กระทำติต่อกัน ๓ วัน พิธีการตอนเย็นเริ่มเมื่อเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น.บรรดาลูกช้างชาวบ้านจะพากันไปที่ที่เจ้าบอกให้ทราบในตอนเช้าซึ่งส่วนใหญ่จะตรงกันทุกปีวันแรกจะเป็นบริเวณชุมชนตอนบน วันที่สองจะเป็นชุมชนตอนกลาง และวันที่สามจะเป็นชุมชนตอนล่างเมื่อมาถึงสถานที่ดังกล่าว ก็จัดแจงปูเสื่อ วางข้าวปลาอาหาร และอุปกรณ์อื่นๆที่เตรียมมา เช่น ธูป พิณพาทย์จะเริ่มบรรเลงเพลง ลูกช้างกลุ่มหนึ่งจัดสร้างศาลเพียงตา นำขนมต้มแดง บายศรีปากชาม มาวางไว้บนศาล ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ชาวบ้านกลุ่มอื่นที่นำข้าวปลาอาหารคาว-หวาน มาก็จะนำมาวางรวมกันไว้ เมื่อได้เวลาคนทรงก็จะไปที่ศาล ยกถาดบายศรีขึ้นรำถวายของ แล้วสั่งให้เจ้าของสำหรับแบ่งข้าวปลาอาหารที่นำมา ออกมากองไว้ที่หน้าสำหรับของแต่ละคนจะมีใบตองวางอยู่ แล้วแบ่งข้าวและกับข้าวต่างๆพร้อมทั้งของหวานลงบนใบตองนั้นเพื่อให้ภูติผีที่หิวโหยได้กินอิ่มหนำสำราญ เป็นเวลา ๓ วัน เพื่อวิญญาณเหล่านี้จะได้ไม่มารบกวนบ้านเมืองก็จะอยู่เย็นเป็นสุข จึงมีผู้ที่เข้าใจกันว่าที่เรียกประเพณีนี้ว่า "พิธีกองข้าว" หรือ "ประเพณีกองข้าวบวงสรวง" ก็คงเนื่องมาจากการนำข้าวปลาอาหารออกมาวางรวมกันบนใบตองและเชิญภูติผีที่หิวโหยมากินนั่นเอง

สาระ
ประเพณีกองข้าวบวงสรวงเป็นประเพณีที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อความปรารถนา และ คุณธรรมของชุมชนกล่าวคือ ความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในประเพณีนี้คือความเชื่อในเรื่องวิญญาณ ทั้งดีและไม่ดี ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ เช่นเจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าทะเล รุกขเทวดา ผีบรรพบุรุษ ผีไม่มีญาติทั้งหลาย เชื่อว่าสิงสถิตอยู่กับธรรมชาติ บ้างก็ร่อนเร่หลอกหลอนทำร้ายผู้คนหากผีเหล่านี้นั้นต้องอดอยากฉะนั้นในปีหนึ่งๆควรจะได้เลี้ยงผีกันสักครั้งให้อิ่มหนำสำราญจะได้ไม่มารบกวนหรอกหลอนและทำร้าย และพยายามเลี้ยงอย่างทั่งถึง ดังจะพิจารณาได้จากการกำหนดพื้นที่ๆจะกองข้าวบวงสรวง ๓ วัน ๓ พื้นที่ คือทางด้านเหนือ ตอนกลาง และด้านใต้ของชุมชน

เครดิตที่มา
ปรเพณีไทยดอทคอม