กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: เปิดข้อมูลชุดใหญ่ 13 รอยเลื่อนแผ่นดินไหว-วิธีรับมือ

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23

    เปิดข้อมูลชุดใหญ่ 13 รอยเลื่อนแผ่นดินไหว-วิธีรับมือ


    เผยข้อมูล 13 รอยเลื่อนในประเทศไทย พร้อมสถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่น่าสนใจ และ 22 จังหวัดเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว ตลอดจนคำแนะนำในการเตรียมรับมือ...

    สังคมไทยให้สนใจและพูดถึงการเกิด แผ่นดินไหวอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเมื่อต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เกิดแผนดินไหวรุนแรงขนาด 9 ริกเตอร์ ขึ้นในทะเลญี่ปุ่น ตามมาด้วยสึนามิพัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือ จนมีผู้เสียชีวิต และสูญหายเกือบ 30,000 คน ทรัยพ์สินเสียหายมหาศาล นอกจากนั้น ยังเกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์ ซึ่ง ณ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาไม่ลุล่วง

    จากนั้น เมื่อปลายเดือน มี.ค. 2554 ยังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศพม่า ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน ขณะเดียวกันแรงสั่นสะเทือนยังสามารถรับรู้ได้ในอีกหล ายจังหวัดทางภาคเหนือ ของไทยและกรุงเทพฯ ตลอดจนมีโบราณสถานได้รับความเสียหาย และประชาชนใน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ถูกกำแพงถล่มทับเสียชีวิต 1 คน

    ยิ่งไปกว่านั้น นับจนถึงวันนี้ ยังเกิดแผ่นดินไหวในพม่าและลาว ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับ จ.เชียงรายอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 5 ต่อเนื่อง 6 เม.ย. และ กลางดึกวันที่ 7 ต่อเนื่อง 8 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยแรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในหลายอำเภอตามแนวชายแดน จ.เชียงราย และเกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างอีกพอสมควร ยังไม่นับการเกิดแผ่น ดินไหวจุดศูนย์กลางในประเทศไทยอีก 3-4 ครั้ง ซึ่งถือว่า มีความถี่มากขึ้นและไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่ยังนับว่าโชคดีที่แผ่นดินไหวไม่รุนแรงและไม่มีผู้ ได้รับอันตราย

    เกี่ยว กับเรื่องนี้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 – 2554 เกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย ขนาด 5–9 ริกเตอร์ จำนวน 303 ครั้ง จากสถิติพบว่าศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย พบถี่ขึ้นในช่วงปี 2550 – 2554 ทั้งนี้ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนน้ำมาในประเทศพ ม่าขนาด 7 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2554 ส่งผลให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกขึ้นในประเทศไทย ขนาด 3.4 - 4 ริกเตอร์หลายครั้ง





    จากการตรวจสอบพบว่า การเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าว ในไทยไม่ได้เกิดจากอาฟเตอร์ช็อก แต่เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งเป็นผลพวงจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนน้ำมา เนื่องจากเมื่อเปลือกโลกมีการขยับตัวจะส่งผลกระทบต่อ แนวรอยเลื่อนข้างเคียง ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการปรับปรุงโครงสร้างในการ รองรับแผ่นดินไหว 7–8 ริกเตอร์ และจะต้องเร่งให้ความรู้กับประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดธรณีภัยพิบัติ นอกจากนี้ ในพื้นที่เสี่ยงภัยยังต้องมีการซักซ้อมสถานการณ์ที่เ กิดขึ้นสม่ำเสมอ ต้องไม่เหมือนกับเหตุการณ์สินามิที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ มีส่วนร่วมในการรับมือ คล้ายกับการจัดแสดงโชว์มากกว่า

    ด้านอาจารย์ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รอยเลื่อนปัว อ.เวียงสา จ.น่าน ขนาด 4 ริกเตอร์ รอยเลื่อนแม่จัน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ขนาด 3 ริกเตอร์ และรอยเลื่อนแม่จัน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ขนาด 3.4 ริกเตอร์ ขณะนี้ประเทศไทยควรจับตารอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งอยู่ห่างจากรอยเลื่อนน้ำมา อันเป็นสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศพม่าช่วงที่ผ ่านมา

    หากรอย เลื่อนแม่จันเกิดแผ่นดินไหวจะกระทบต่อจังหวัดภาคเหนื อ โดยเฉพาะเชียงใหม่และเชียงราย ส่วนความรุนแรงขึ้นอยู่กับความตื้นลึกของแรงสั่นสะเท ือนในแผ่นดิน นอกจากนี้ ยังต้องจับตารอยเลื่อนศรีสวัสด์ จ.กาญจนบุรี และรอยเลื่อนปัว จ.น่าน ซึ่งจากการดูภาพถ่ายดาวเทียมของกระทรวงทรัพยากรธรรมช าติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่ารอยเลื่อนดังกล่าวมีความคมชัด ไม่น่าไว้วางใจ





    หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบรอยเลื่อนใหม่ คือ รอยเลื่อนนครนายก ซึ่งมีความน่ากลัว และอยู่ไม่ห่างจากรุงเทพฯ จากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า รอยเลื่อนนครนายกมีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนแม่ปิงที ่พาดผ่าน จ.นครสวรรค์ และกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ โดยแนวดังกล่าว มีความยาว 50–100 กิโลเมตร โดยรอยเลื่อนแม่ปิง เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2518 ขนาด 5.6 ริกเตอร์ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

    ถ้ารอยเลื่อนนครนายกเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมาจะกระทบ กับภาคกลางทั้งหมด อาทิ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อุทัยธานี และลพบุรี เป็นต้น โดยจะนำข้อมูลรอยเลื่อนนครนายกเสนอกระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อให้เข้าไปสำรวจและเพิ่มแนวรอยเลื่อนที่มีพลังขอ งประเทศไทย เป็น 14 จุด จากเดิมมี 13 จุด ทั้งนี้ 13 รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย หากเกิดแผ่นดินไหว จะเกิดประมาณ 6–7 ริกเตอร์ และเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตเมื่อพันปีที่ผ่านมา ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศไทย จะเกิดความเสียหายต่อระบบโครงสร้างสาธารณูปโภค เช่น เจดีย์หัก โรงพยาบาลร้าว วัดเสียหาย อาคารร้าว แต่จะต้องเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลาพอสมควรหรือมีอา ฟเตอร์ช็อกต่อเนื่อง

    สำหรับ รายละเอียด 13 รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทยนั้น อาจารย์ปัญญา ระบุว่า ครอบคลุม 22 จังหวัด ที่ต้องเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ได้แก่ เชียงใหม่ 12 อำเภอ เชียงราย 11 อำเภอ แพร่ 7 อำเภอ แม่ฮ่องสอน 5 อำเภอ กำแพงเพชร 3 อำเภอ ตาก 7 อำเภอ น่าน 6 อำเภอ พะเยา 1 อำเภอ พิษณุโลก 2 อำเภอ ลำปาง 5 อำเภอ ลำพูน 3 อำเภอ อุตรดิตถ์ 4 อำเภอ กระบี่ 1 อำเภอ ชุมพร 4 อำเภอ พังงา 5 อำเภอ ระนอง 5 อำเภอ สุราษฎร์ธานี 9 อำเภอ กาญจนบุรี 7 อำเภอ ประจวบคีรีขันธ์ 4 อำเภอ สุพรรณบุรี 1 อำเภอ นครพนม 3 อำเภอ และหนองคาย 2 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 106 อำเภอ 308 ตำบล 1,406 หมู่บ้าน

    อีกมุมหนึ่ง นายเลิดสิน รักษาสกุลวงศ์ ผอ.สำนักธรณีวิทยิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลว่ากรณีรอยเลื่อนนครนายกที่อาจทำให้เกิดแผ่ นดินไหวในภาคกลาง ว่า จากการศึกษาและติดตามอย่างต่อเนื่องพบว่า รอยเลื่อนดังกล่าว ไม่มีพลังมากพอจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว รวมทั้งอยู่ในระดับลึก 2–4 กิโลเมตร แต่ในอนาคตยังไม่ทราบว่าจะเกิดหรือไม่ ต้องทำการศึกษาต่อไป





    อย่างไร ก็ตาม การจะประกาศว่า รอยเลื่อนใดในประเทศไทยมีพลังจะต้องมี 6 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1. ใน 10,000 ปีที่ผ่านมา จะต้องเคยเกิดแผ่นดินไหวอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยศึกษาจากตะกอน 2. ต้องเคยเป็นจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวขนาดเล็ก 3. ต้องเห็นรูปร่างลักษณะที่ทำให้ภูมิประเทศเปลี่ยน 4.ต้องมีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนอื่นๆ 5. ดูลักษณะทางน้ำที่อยู่บริเวณรอยเลื่อนดังกล่าว และ 6.จะต้องอยู่ใกล้กับน้ำพุร้อน ซึ่งรอยเลือนนครนายกมีเพียงองค์ประกอบเดียวที่เข้าข่ ายว่าเป็นรอยเลื่อนที่ มีพลัง คือ มีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนแม่ปิง

    นายเลิดสิน กล่าวอีกว่า จริงๆ แล้วรอยเลื่อนแม่ปิงกับรอยเลื่อนครนายกไม่มีความเกี่ ยวข้องหรือเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้หากนับรอยเลื่อนนครนายกว่ามีความน่ากลัว ให้จับตารอยเลื่อนรอยเลื่อนองครักษ์ ซึ่งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ มากกว่า อย่างไรก็ตาม ทั้งรอยเลื่อนนครนายกและองครักษ์ กรมทรัพยากรธรณียืนยันว่า เป็นรอยเลื่อนที่ไม่มีพลังและไม่สามารถก่อให้เกิดแผ่ นดินไหวได้

    ทั้ง นี้ เว็บไซต์ของสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวเอาไว้ว่า การเกิดแผ่นดินไหวอาจมีด้วยกันหลายสาเหตุ แต่ที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย ์เป็นจำนวนมากได้แก่ แผ่นดินไหวที่เกิดจากแรงเทคโทนิคในเปลือกโลก โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากแรงเทคโทนิ คนี้ ได้แก่ ลักษณะโครงสร้างของโลกและการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกช ิ้นต่างๆ

    ในส่วน การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกนั้น เนื่องจากชั้นหินหลอมละลายได้รับพลังงานความร้อนจากแ กนโลกและลอยตัวขึ้นผลัก ดันเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลา โดยแต่ละชิ้นจะมีทิศทางการเคลื่อนตัวต่างๆ กัน พร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน ดังนั้น บริเวณตรงขอบของเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่มีการชนกัน หรือเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใดๆ ที่ไม่สามารถทนแรงอัดได้ก็จะแตกหักและมีการเคลื่อนตั วโดยฉับพลัน หรือบางครั้งผลักดันให้เปลือกโลกอีกชิ้นคดโค้ง จากนั้น เมื่อสะสมพลังงานมากจะดีดตัวกลับเพื่อรักษาสมดุล กระตุ้นให้เกิดความสั่นสะเทือนแผ่กระจายไปทุกทิศทาง ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่

    ดังนั้น บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นบริเวณแนวแผ่นดินไห ว ซึ่งหากพาดผ่าน หรืออยู่ใกล้ประเทศใด ประเทศนั้น จะมีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวค่อนข้างสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ชิลี และสหรัฐฯ เป็นต้น นอกจากนั้น แรงที่สะสมในเปลือกโลกยังถูกส่งผ่านเข้าไปในพื้นทวีป ตรงบริเวณรอยร้าวของหิน ใต้พื้นโลก หรือที่เรียกว่า รอยเลื่อน ในกรณีที่รอยเลื่อนใดๆ ไม่สามารถทนแรงที่บดอัดได้จะมีการเคลื่อนตัวอย่างฉับ พลันเช่นกัน เพื่อปรับความสมดุลของแรงกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวกร ะจายคลื่นความสั่น สะเทือนไปทุกทิศทาง

    เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเพื่อรับมือแผ่นดินไหว นั้น สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว แนะนำข้อควรปฏิบัติ 3 ช่วง คือ ก่อนเกิดแผ่นดินควรซักซ้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับการป ิด-เปิดไฟ แก๊ส น้ำประปาและการใช้ถังดับเพลิง รวมทั้งเตรียมชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นและอาหารสำรองฉุก เฉิน วางแผนการเคลื่อนย้ายออกจากอาคาร และสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนจัดวางสิ่งของในบ้านในเข้าที่และมั่นคง

    ส่วนข้อควรปฏิบัติขณะ เกิดแผ่นดินไหว คือ กรณีกำลังขับรถยนต์ให้หยุดและอยู่ในรถยนต์จนกระทั่งแ รงสั้นสะเทือนจากแผ่น ดินไหวหยุด ถ้าอยู่ในอาคารสูงให้มุดเข้าใต้โต๊ะทำงานและอย่างใช้ ลิฟท์ แต่ถ้าอยู่นอกอาคารให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้อาคารสูง กำแพง และเสาไฟฟ้า โดยควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ในกรณีอยู่ภายในอาคารให้ตั้งสติอยู่อย่างสงบ พร้อมระวังปูนซีเมนต์ อิฐและสิ่งของหล่นทับ ส่วนเมื่อการสั่นไหวหยุดให้รีบออกจากอาคารทันที สำหรับกรณีเกิดแผ่นดินไหวในทะเลอาจทำให้เกิดสึนามิ ควรอพยพจากบริเวณชายฝั่งและขึ้นสู่ที่สูง กรณีออกเรือในทะเลให้มุ่งหน้าสู่จุดน้ำลึก

    และข้อควรปฏิบัติหลัง เกิดแผ่นดินไหวควรตรวจสอบและปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ ็บก่อนนำส่งแพทย์ จากนั้น ตรวจสอบเรื่องไฟฟ้าและแก๊สโดยไม่ก่อให้เกิดประกายไฟจ นมั่นใจไม่เกิดการรั่ว ไหล พร้อมหลีกเลี่ยงสายไฟฟ้าที่ห้อยลงมา หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดลักษณะผิดปกติจนกว่าจะได้รับการแ ก้ไข ตรวจสอบท่อของเสียชักโครกและระบบน้ำประปา ยังไม่ควรรีบใช้โทรศัพท์ เว้นมีความจำเป็น เพราะอาจทำให้ช่องสัญญาณไม่เพียงพอจนระบบล่ม ตรวจสอบสภาพรอบบ้าน หรืออาคารว่ามีความปลอดภัยไม่เสียหาย หรือแตกร้าว และที่สำคัญให้เตรียมพร้อมสำหรับการเกิดแผ่นดินไหวคร ั้งต่อไปด้วยสติ.


    เผยข้อมูล 13 รอยเลื่อนในประเทศไทย พร้อมสถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่น่าสนใจ และ 22 จังหวัดเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว ตลอดจนคำแนะนำในการเตรียมรับมือ...

    สังคมไทยให้สนใจและพูดถึงการเกิด แผ่นดินไหวอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเมื่อต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เกิดแผนดินไหวรุนแรงขนาด 9 ริกเตอร์ ขึ้นในทะเลญี่ปุ่น ตามมาด้วยสึนามิพัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือ จนมีผู้เสียชีวิต และสูญหายเกือบ 30,000 คน ทรัยพ์สินเสียหายมหาศาล นอกจากนั้น ยังเกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์ ซึ่ง ณ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาไม่ลุล่วง

    จากนั้น เมื่อปลายเดือน มี.ค. 2554 ยังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศพม่า ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน ขณะเดียวกันแรงสั่นสะเทือนยังสามารถรับรู้ได้ในอีกหล ายจังหวัดทางภาคเหนือ ของไทยและกรุงเทพฯ ตลอดจนมีโบราณสถานได้รับความเสียหาย และประชาชนใน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ถูกกำแพงถล่มทับเสียชีวิต 1 คน

    ยิ่งไปกว่านั้น นับจนถึงวันนี้ ยังเกิดแผ่นดินไหวในพม่าและลาว ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับ จ.เชียงรายอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 5 ต่อเนื่อง 6 เม.ย. และ กลางดึกวันที่ 7 ต่อเนื่อง 8 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยแรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในหลายอำเภอตามแนวชายแดน จ.เชียงราย และเกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างอีกพอสมควร ยังไม่นับการเกิดแผ่น ดินไหวจุดศูนย์กลางในประเทศไทยอีก 3-4 ครั้ง ซึ่งถือว่า มีความถี่มากขึ้นและไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่ยังนับว่าโชคดีที่แผ่นดินไหวไม่รุนแรงและไม่มีผู้ ได้รับอันตราย

    เกี่ยว กับเรื่องนี้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 – 2554 เกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย ขนาด 5–9 ริกเตอร์ จำนวน 303 ครั้ง จากสถิติพบว่าศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย พบถี่ขึ้นในช่วงปี 2550 – 2554 ทั้งนี้ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนน้ำมาในประเทศพ ม่าขนาด 7 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2554 ส่งผลให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกขึ้นในประเทศไทย ขนาด 3.4 - 4 ริกเตอร์หลายครั้ง





    จากการตรวจสอบพบว่า การเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าว ในไทยไม่ได้เกิดจากอาฟเตอร์ช็อก แต่เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งเป็นผลพวงจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนน้ำมา เนื่องจากเมื่อเปลือกโลกมีการขยับตัวจะส่งผลกระทบต่อ แนวรอยเลื่อนข้างเคียง ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการปรับปรุงโครงสร้างในการ รองรับแผ่นดินไหว 7–8 ริกเตอร์ และจะต้องเร่งให้ความรู้กับประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดธรณีภัยพิบัติ นอกจากนี้ ในพื้นที่เสี่ยงภัยยังต้องมีการซักซ้อมสถานการณ์ที่เ กิดขึ้นสม่ำเสมอ ต้องไม่เหมือนกับเหตุการณ์สินามิที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ มีส่วนร่วมในการรับมือ คล้ายกับการจัดแสดงโชว์มากกว่า

    ด้านอาจารย์ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รอยเลื่อนปัว อ.เวียงสา จ.น่าน ขนาด 4 ริกเตอร์ รอยเลื่อนแม่จัน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ขนาด 3 ริกเตอร์ และรอยเลื่อนแม่จัน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ขนาด 3.4 ริกเตอร์ ขณะนี้ประเทศไทยควรจับตารอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งอยู่ห่างจากรอยเลื่อนน้ำมา อันเป็นสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศพม่าช่วงที่ผ ่านมา

    หากรอย เลื่อนแม่จันเกิดแผ่นดินไหวจะกระทบต่อจังหวัดภาคเหนื อ โดยเฉพาะเชียงใหม่และเชียงราย ส่วนความรุนแรงขึ้นอยู่กับความตื้นลึกของแรงสั่นสะเท ือนในแผ่นดิน นอกจากนี้ ยังต้องจับตารอยเลื่อนศรีสวัสด์ จ.กาญจนบุรี และรอยเลื่อนปัว จ.น่าน ซึ่งจากการดูภาพถ่ายดาวเทียมของกระทรวงทรัพยากรธรรมช าติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่ารอยเลื่อนดังกล่าวมีความคมชัด ไม่น่าไว้วางใจ





    หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบรอยเลื่อนใหม่ คือ รอยเลื่อนนครนายก ซึ่งมีความน่ากลัว และอยู่ไม่ห่างจากรุงเทพฯ จากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า รอยเลื่อนนครนายกมีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนแม่ปิงที ่พาดผ่าน จ.นครสวรรค์ และกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ โดยแนวดังกล่าว มีความยาว 50–100 กิโลเมตร โดยรอยเลื่อนแม่ปิง เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2518 ขนาด 5.6 ริกเตอร์ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

    ถ้ารอยเลื่อนนครนายกเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมาจะกระทบ กับภาคกลางทั้งหมด อาทิ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อุทัยธานี และลพบุรี เป็นต้น โดยจะนำข้อมูลรอยเลื่อนนครนายกเสนอกระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อให้เข้าไปสำรวจและเพิ่มแนวรอยเลื่อนที่มีพลังขอ งประเทศไทย เป็น 14 จุด จากเดิมมี 13 จุด ทั้งนี้ 13 รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย หากเกิดแผ่นดินไหว จะเกิดประมาณ 6–7 ริกเตอร์ และเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตเมื่อพันปีที่ผ่านมา ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศไทย จะเกิดความเสียหายต่อระบบโครงสร้างสาธารณูปโภค เช่น เจดีย์หัก โรงพยาบาลร้าว วัดเสียหาย อาคารร้าว แต่จะต้องเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลาพอสมควรหรือมีอา ฟเตอร์ช็อกต่อเนื่อง

    สำหรับ รายละเอียด 13 รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทยนั้น อาจารย์ปัญญา ระบุว่า ครอบคลุม 22 จังหวัด ที่ต้องเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ได้แก่ เชียงใหม่ 12 อำเภอ เชียงราย 11 อำเภอ แพร่ 7 อำเภอ แม่ฮ่องสอน 5 อำเภอ กำแพงเพชร 3 อำเภอ ตาก 7 อำเภอ น่าน 6 อำเภอ พะเยา 1 อำเภอ พิษณุโลก 2 อำเภอ ลำปาง 5 อำเภอ ลำพูน 3 อำเภอ อุตรดิตถ์ 4 อำเภอ กระบี่ 1 อำเภอ ชุมพร 4 อำเภอ พังงา 5 อำเภอ ระนอง 5 อำเภอ สุราษฎร์ธานี 9 อำเภอ กาญจนบุรี 7 อำเภอ ประจวบคีรีขันธ์ 4 อำเภอ สุพรรณบุรี 1 อำเภอ นครพนม 3 อำเภอ และหนองคาย 2 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 106 อำเภอ 308 ตำบล 1,406 หมู่บ้าน

    อีกมุมหนึ่ง นายเลิดสิน รักษาสกุลวงศ์ ผอ.สำนักธรณีวิทยิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลว่ากรณีรอยเลื่อนนครนายกที่อาจทำให้เกิดแผ่ นดินไหวในภาคกลาง ว่า จากการศึกษาและติดตามอย่างต่อเนื่องพบว่า รอยเลื่อนดังกล่าว ไม่มีพลังมากพอจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว รวมทั้งอยู่ในระดับลึก 2–4 กิโลเมตร แต่ในอนาคตยังไม่ทราบว่าจะเกิดหรือไม่ ต้องทำการศึกษาต่อไป





    อย่างไร ก็ตาม การจะประกาศว่า รอยเลื่อนใดในประเทศไทยมีพลังจะต้องมี 6 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1. ใน 10,000 ปีที่ผ่านมา จะต้องเคยเกิดแผ่นดินไหวอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยศึกษาจากตะกอน 2. ต้องเคยเป็นจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวขนาดเล็ก 3. ต้องเห็นรูปร่างลักษณะที่ทำให้ภูมิประเทศเปลี่ยน 4.ต้องมีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนอื่นๆ 5. ดูลักษณะทางน้ำที่อยู่บริเวณรอยเลื่อนดังกล่าว และ 6.จะต้องอยู่ใกล้กับน้ำพุร้อน ซึ่งรอยเลือนนครนายกมีเพียงองค์ประกอบเดียวที่เข้าข่ ายว่าเป็นรอยเลื่อนที่ มีพลัง คือ มีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนแม่ปิง

    นายเลิดสิน กล่าวอีกว่า จริงๆ แล้วรอยเลื่อนแม่ปิงกับรอยเลื่อนครนายกไม่มีความเกี่ ยวข้องหรือเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้หากนับรอยเลื่อนนครนายกว่ามีความน่ากลัว ให้จับตารอยเลื่อนรอยเลื่อนองครักษ์ ซึ่งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ มากกว่า อย่างไรก็ตาม ทั้งรอยเลื่อนนครนายกและองครักษ์ กรมทรัพยากรธรณียืนยันว่า เป็นรอยเลื่อนที่ไม่มีพลังและไม่สามารถก่อให้เกิดแผ่ นดินไหวได้

    ทั้ง นี้ เว็บไซต์ของสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวเอาไว้ว่า การเกิดแผ่นดินไหวอาจมีด้วยกันหลายสาเหตุ แต่ที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย ์เป็นจำนวนมากได้แก่ แผ่นดินไหวที่เกิดจากแรงเทคโทนิคในเปลือกโลก โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากแรงเทคโทนิ คนี้ ได้แก่ ลักษณะโครงสร้างของโลกและการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกช ิ้นต่างๆ

    ในส่วน การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกนั้น เนื่องจากชั้นหินหลอมละลายได้รับพลังงานความร้อนจากแ กนโลกและลอยตัวขึ้นผลัก ดันเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลา โดยแต่ละชิ้นจะมีทิศทางการเคลื่อนตัวต่างๆ กัน พร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน ดังนั้น บริเวณตรงขอบของเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่มีการชนกัน หรือเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใดๆ ที่ไม่สามารถทนแรงอัดได้ก็จะแตกหักและมีการเคลื่อนตั วโดยฉับพลัน หรือบางครั้งผลักดันให้เปลือกโลกอีกชิ้นคดโค้ง จากนั้น เมื่อสะสมพลังงานมากจะดีดตัวกลับเพื่อรักษาสมดุล กระตุ้นให้เกิดความสั่นสะเทือนแผ่กระจายไปทุกทิศทาง ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่

    ดังนั้น บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นบริเวณแนวแผ่นดินไห ว ซึ่งหากพาดผ่าน หรืออยู่ใกล้ประเทศใด ประเทศนั้น จะมีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวค่อนข้างสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ชิลี และสหรัฐฯ เป็นต้น นอกจากนั้น แรงที่สะสมในเปลือกโลกยังถูกส่งผ่านเข้าไปในพื้นทวีป ตรงบริเวณรอยร้าวของหิน ใต้พื้นโลก หรือที่เรียกว่า รอยเลื่อน ในกรณีที่รอยเลื่อนใดๆ ไม่สามารถทนแรงที่บดอัดได้จะมีการเคลื่อนตัวอย่างฉับ พลันเช่นกัน เพื่อปรับความสมดุลของแรงกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวกร ะจายคลื่นความสั่น สะเทือนไปทุกทิศทาง

    เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเพื่อรับมือแผ่นดินไหว นั้น สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว แนะนำข้อควรปฏิบัติ 3 ช่วง คือ ก่อนเกิดแผ่นดินควรซักซ้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับการป ิด-เปิดไฟ แก๊ส น้ำประปาและการใช้ถังดับเพลิง รวมทั้งเตรียมชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นและอาหารสำรองฉุก เฉิน วางแผนการเคลื่อนย้ายออกจากอาคาร และสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนจัดวางสิ่งของในบ้านในเข้าที่และมั่นคง

    ส่วนข้อควรปฏิบัติขณะ เกิดแผ่นดินไหว คือ กรณีกำลังขับรถยนต์ให้หยุดและอยู่ในรถยนต์จนกระทั่งแ รงสั้นสะเทือนจากแผ่น ดินไหวหยุด ถ้าอยู่ในอาคารสูงให้มุดเข้าใต้โต๊ะทำงานและอย่างใช้ ลิฟท์ แต่ถ้าอยู่นอกอาคารให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้อาคารสูง กำแพง และเสาไฟฟ้า โดยควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ในกรณีอยู่ภายในอาคารให้ตั้งสติอยู่อย่างสงบ พร้อมระวังปูนซีเมนต์ อิฐและสิ่งของหล่นทับ ส่วนเมื่อการสั่นไหวหยุดให้รีบออกจากอาคารทันที สำหรับกรณีเกิดแผ่นดินไหวในทะเลอาจทำให้เกิดสึนามิ ควรอพยพจากบริเวณชายฝั่งและขึ้นสู่ที่สูง กรณีออกเรือในทะเลให้มุ่งหน้าสู่จุดน้ำลึก

    และข้อควรปฏิบัติหลัง เกิดแผ่นดินไหวควรตรวจสอบและปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ ็บก่อนนำส่งแพทย์ จากนั้น ตรวจสอบเรื่องไฟฟ้าและแก๊สโดยไม่ก่อให้เกิดประกายไฟจ นมั่นใจไม่เกิดการรั่ว ไหล พร้อมหลีกเลี่ยงสายไฟฟ้าที่ห้อยลงมา หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดลักษณะผิดปกติจนกว่าจะได้รับการแ ก้ไข ตรวจสอบท่อของเสียชักโครกและระบบน้ำประปา ยังไม่ควรรีบใช้โทรศัพท์ เว้นมีความจำเป็น เพราะอาจทำให้ช่องสัญญาณไม่เพียงพอจนระบบล่ม ตรวจสอบสภาพรอบบ้าน หรืออาคารว่ามีความปลอดภัยไม่เสียหาย หรือแตกร้าว และที่สำคัญให้เตรียมพร้อมสำหรับการเกิดแผ่นดินไหวคร ั้งต่อไปด้วยสติ.




    ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

    มองต่าง..อย่างปลง

  2. #2
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    ต่อไปนี้คนไทย เมืองไทย รัฐบาลไทยเฮา
    ต้องหันมาสนใจเกี่ยวกับภัยแผ่นไหวอย่างจริงจังเนาะจ้า

    ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ในอนาคต บ่อยากนึกภาพเลยจ้า
    จะเศร้า สลด ขนาดไหน ขนาดไหวที่พม่าบ่ถึง 2 นาที
    ทางเหนือ ตึกเล็ก ตึกใหญ่ ร้าว วิ่งหนีกันจ้าละหวั่น
    ตึกเสียหายหลายเติบเพราะเมืองไทยเราเวลาสร้างตึก
    สร้างบ้าน แปลนบ้าน ตึก ยังไม่ได้เสริมความแข็งแกร่งกับแผ่นดินไหว

    โอ๊ย บ่อยากนึกภาพถ้าเกิดเหตุการณ์ในอนาคต
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23
    บ่น่าเสื่อเนาะเจ้ ว่าสิได่อ่านข่าวแบบนี้ที่บ้านเมืองเฮา ตั้งแต่เกิดมา บ่เคยได่ยินเรื่องแผ่นดินไหวอยู่เมืองไทยจักเทื่อ คึดๆไปกะน่าใจหายเนาะจ้า ว่าถึงยุคที่โลกเฮาเปลี่ยนแปลงแล้วอิหลี
    มองต่าง..อย่างปลง

  4. #4
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    ภูเขาไฟฟิลิปปินส์จ่อปะทุ แผ่นดินไหวทั่วเอเชีย


    ภูเขาไฟตาอัล ใกล้กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ จ่อปะทุในเร็ววันนี้ หลังพบความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น เร่งอพยพคน ขณะที่ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวทั่วเอเชีย รวมทั้งในพม่า ใกล้ชายแดนอ.แม่สาย

    สำนักงานจัดการและลดภัยพิบัติแห่งชาติของฟิลิปปินส์ เผยว่า เมื่อวานนี้ (17 เม.ย.) ได้มีการอพยพคนแล้วทั้งหมด 1,375 คนออกจาก 4 เมืองใกล้ภูเขาไฟตาอัล เจ้าหน้าที่วัดแรงสั่นสะเทือนจากภูเขาไฟได้ 10 ครั้งเมื่อวานนี้ วัดอุณหภูมิน้ำได้สูงขึ้น และวัดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้น แสดงว่ามีการปล่อยก๊าซจากหินหนืดข้างใต้ ขอแนะนำประชาชนให้เลี่ยงเส้นทางไต่เขาบนเกาะภูเขาไฟลูกนี้เพราะเสี่ยงเกิดการปะทุขึ้นได้ นอกจากนี้ การหายใจอากาศที่มีก๊าซเข้มข้นสูงยังเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ รวมทั้งอาจทำให้พืชผลเสียหายด้วย

    สถาบันภูเขาไฟและแผ่นดินไหววิทยาฟิลิปปินส์เริ่มตรวจพบการคุของภูเขาไฟลูกนี้เมื่อต้นเดือน และได้เพิ่มระดับการเตือนภัยเป็นระดับสองจากทั้งหมดระดับห้าเมื่อวันที่ 9 เมษายน ภูเขาไฟตาอัลเคยปะทุมาแล้ว 33 ครั้ง ครั้งหลังสุดเกิดขึ้นในปี 2520

    ขณะที่เมื่อเวลา 21.18 น. (17 เม.ย.) ที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนขนาด 3.4 ริกเตอร์ บริเวณชายแดนไทย-พม่า จุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศพม่า ห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ไปทางทิศเหนือประมาณ 15 กม. ทำให้ชาว อ.แม่สาย รู้สึกถึงความสั่นสะเทือนเล็กน้อย เนื่องจากความสะเทือนน้อยมากและลึกลงไปใต้ผิวดิน จึงไม่มีรายงานความความเสียหายเกิดขึ้นแต่อย่างไร

    นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.9 ริกเตอร์ เบื้องต้นไม่มีรายงานความเสียหาย รวมทั้งมีรายงานเกิดแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อคอีกหลายครั้งใน ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •