พระภิกษุที่ชื่อ ติช นัท ฮันห์ กับคำสอนที่มีคุณค่ามากมาย




บทกลอนแห่งสติ : ตื่นนอน

ตื่นขึ้น รอยยิ้มผลิบาน
ยี่สิบสี่ชั่วโมงแห่งวันใหม่
ปณิธานใช้ชีวิตเต็มเปี่ยมทุกขณะ
มองสรรพชีวิตด้วยสายตาแห่งความรัก

ติช นัท ฮันห์




“สิ่งที่เราสอนคนหนุ่มสาวก็คือ Buddha is not a God พระพุทธเจ้าไม่ใช่พระเจ้า ท่านไม่ใช่ผู้สร้างโลก พระพุทธเจ้าก็คือ มนุษย์ คือคนทั่วไปเหมือนพวกเรา มีความทุกข์ ความยากลำบาก ความคับข้องใจ และมีความสามารถที่จะผ่านพ้นความยากลำบาก เหล่านั้น และค้นพบหนทางแห่งความสุขที่แท้จริงได้ ถ้าเกิดพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์คนหนึ่ง เราซึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่งก็สามารถทำได้ เช่นกัน ท่านได้แสดงให้เห็นถึงหนทางและวิถีชีวิตของพุทธศาสนา ซึ่งก็คือหนทางแห่งการดำเนินชีวิตไปสู่ความสุข ความปกติ และ ความสุขที่แท้จริง เพื่อชี้นำให้มนุษย์ทั้งโลกดำเนินไปสู่หนทางที่เป็นปกติสุข ถ้าเราช่วยรณรงค์ให้เกิดการเคลื่อนไหวของคนหนุ่มสาว ตั้งกลุ่มคนหนุ่มสาวเพื่อช่วยสร้างสรรค์สังคมที่ประกอบไปด้วยความรักความเมตตา นั้นคือสิ่งที่เราจะต้องบอกคนหนุ่มสาวให้รู้ ...”




พระภิกษุที่ชื่อ ติช นัท ฮันห์ กับคำสอนที่มีคุณค่ามากมาย




ติช นัท ฮันห์ (เวียดนาม: Thích Nhất Hạnh; อ่านตามเสียงเวียดนามจริงว่า "ทึก ญอท หั่ญ")

เป็นพระภิกษุชาวเวียดนามในพุทธศาสนานิกายเซน

ชื่อติช นัท ฮันห์ เป็นฉายาในทางศาสนา
โดยคำว่า "ติช" เป็นคำใช้เรียกพระ
ส่วน "นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมที่มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง (One Action)"

ท่านเป็นพระมหาเถระนิกายเซน กวี และผู้สนับสนุนในเรื่องสันติภาพ

มีงานเขียนเผยแผ่ตีพิมพ์ภาษาต่างๆ มากมาย

และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักปฏิบัติธรรมชาวตะวันตก





ติช นัท ฮันห์ (เวียดนาม: Thích Nhất Hạnh; อ่านตามเสียงเวียดนามจริงว่า "ทึก ญอท หั่ญ") เป็นพระภิกษุชาวเวียดนามในพุทธศาสนานิกายเซน ชื่อติช นัท ฮันห์ เป็นฉายาในทางศาสนา โดยคำว่า "ติช" เป็นคำใช้เรียกพระ ส่วน "นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมที่มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง (One Action)" ท่านเป็นพระมหาเถระนิกายเซน กวี และผู้สนับสนุนในเรื่องสันติภาพ มีงานเขียนเผยแผ่ตีพิมพ์ภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักปฏิบัติธรรมชาวตะวันตก





พระภิกษุที่ชื่อ ติช นัท ฮันห์ กับคำสอนที่มีคุณค่ามากมาย




ในปี พ.ศ. 2485 เมื่ออายุได้ 16 ปี ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดตื่อฮิ้ว (Tu Hieu)
วิถีชีวิต ในวัดเซนแห่งนี้ เป็นรากฐานอันสำคัญ ต่อชีวิตนักบวชของท่าน
ปี พ.ศ. 2492 ติช นัท ฮันห์ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 23 ท่าน
ได้เดินทางไปไซ่ง่อน เพื่อช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนา และเขียนบทความ
ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมาก จากผู้นำองค์กรชาวพุทธ และจากรัฐบาล


ในปี พ.ศ. 2505 เมื่อท่านได้รับการเสนอทุนจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เพื่อ ศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ จึงเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้น 1 ปี ท่านได้รับทุนจาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แต่ท่านตัดสินใจเดินทางกลับเวียดนาม เพื่อกลับมาทำงานด้านความ ร่วมมือ ระหว่างพุทธมหายานและหินยานในประเทศ และตั้งรร.ยุวชนรับใช้สังคม เพื่อรักษาสังคม ที่เสียหายจากสงคราม สานต่อแนวคิดเรื่องพุทธศาสนาที่ผูกสัมพันธ์กับสังคม และพัฒนาวงการ สงฆ์ ด้วยการสอนและเขียน ในสถาบันพุทธศาสนาขั้นสูง เป็นการบ่งบอกถึงแนวคิดของท่านว่า การกระทำและปัญญา ต้องก้าวไปด้วยกัน (action and wisdom must go together) และจัดตั้งคณะเทียบหิน ในปี 2509


ท่านตระหนักว่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลง วิธีการการต่อสู้เพื่อสันติภาพ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ หยุดการสนับสนุนสงครามและมุ่งเน้นสันติภาพ โดยปลุกจิตสำนึกต่อคนทั่วโลก จนกระทั่ง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ( Martin Luther King, Jr.) เสนอนามท่านติช นัท ฮันห์ เพื่อรับรางวัล โนเบลเพื่อสันติภาพ


การทำงานเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลเวียดนามใต้ ปฏิเสธการกลับประเทศของท่าน จนแม้ รวมประเทศแล้วก็ตาม ท่านจึงลี้ภัยอย่างเป็นทางการในประเทศฝรั่งเศส โดยสอน ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเวียดนาม ที่มหาวิทยาลัย และสร้างอาศรมแห่งหนึ่งนอกเมืองปารีส เพื่อเขียนหนังสือ และปลูกพืชผักสมุนไพร ซึ่งท่านติดต่อลับๆ กับพระภิกษุที่ถูกจำคุกในเวียดนาม เพราะไม่เห็นด้วย กับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ระหว่างนั้นท่านยังคงทำงาน เพื่อสันติภาพและผู้ลี้ภัย จากประสบการณ์ ของท่าน ที่ได้พบเห็นชะตากรรมของผู้ลี้ภัยด้วยตนเอง จนสามารถช่วยเหลือ ผู้คนได้อีกมาก




พระภิกษุที่ชื่อ ติช นัท ฮันห์ กับคำสอนที่มีคุณค่ามากมาย




หมู่บ้านพลัม



แต่การรณรงค์เพื่อหยุดการสนับสนุนสงครามของท่านทำให้รัฐบาลเวียดนาม ที่ถึงแม้จะรวมประเทศได้แล้วก็ตาม ไม่ยอมรับท่าน และปฏิเสธการเข้าประเทศของท่าน ทำให้ท่านต้องลี้ภัยอย่างเป็นทางการที่ประเทศฝรั่งเศส และก่อตั้ง "หมู่บ้านพลัม" เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชุมชนสงฆ์ของท่าน ที่เมืองบอร์โดซ์ ประเทศฝรั่งเศส ในปีพ.ศ. 2525 ในระยะแรกเป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย ก่อนจะเริ่มมีนักบวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531


หมู่บ้านพลัมปัจจุบันได้จัดการอบรมภาวนาเกี่ยวกับการเจริญสติทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือให้แก่บุคคลทั่วไป ปัจจุบันมีนักบวชกว่าห้าร้อยคน จากกว่ายี่สิบประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในหมู่บ้านพลัม และที่อื่นๆได้แก่ Green Mountain Dharma Center รัฐเวอร์มอนต์ และ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา และที่วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และ วัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม


ท่านติช นัท ฮันห์ ได้จัดตั้ง "หมู่บ้านพลัม" (Plum Village) ขึ้น ณ ประเทศฝรั่งเศส อันเป็นชุมชนแบบอย่าง การปฏิบัติธรรมแห่งพุทธบริษัท 4 ที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างตระหนักรู้ในแต่ละลมหายใจเข้าออก และกลับมาอยู่กับปัจจุบัน


ขณะนี้มีชุมชนปฏิบัติธรรมแห่งหมู่บ้านพลัม มีทั้งสิ้น 12 แห่ง อยู่ในประเทศฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมัน และเวียดนาม นอกจากนี้มีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์ (สังฆะ) กระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลกเกือบหนึ่งพันกลุ่ม


ภายในสังฆะหมู่บ้านพลัมประกอบด้วยวัด 8 วัด ได้แก่
- Upper Hamlet, Lower Hamlet, New Hamlet, Lower Mountain Hamlet กระจายตัวอยู่ในหมู่บ้านชนบทใกล้เมือง Bordeaux ทางใต้ของ ประเทศฝรั่งเศส

- Clarity Hamlet, Solidity Hamlet ที่ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย

- Green Mountain Dharma Center, Maple Forest Monastery ที่รัฐเวอร์มอนต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ยังมีสังฆะอื่นๆ อยู่ในหลายประเทศทั่วโลก





ผลงานเขียน

ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นผู้ประพันธ์หนังสือธรรมะชื่อดังระดับโลกหลายเล่ม ดังนี้



1 ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ
2 สันติภาพทุกย่างก้าว
3 ปัจจุบันเป็นเวลาประเสริฐสุด
4 ศานติในเรือนใจ
5 เดิน วิถีแห่งสติ [Walking Meditation]
6 ดวงตะวัน ดวงใจฉัน
7 ทางกลับคือการเดินทางต่อ
8 กุญแจเซน
9 สายน้ำแห่งความกรุณา
10 วิถีแห่งบัวบาน
11 คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ วรรณกรรมพุทธประวัติในทัศนะใหม่ เล่ม 1-2 / Old Path White Clouds : Walking in the Footsteps of the Buddha
12 ด้วยปัญญาและความรัก
13 เธอคือศานติ : ลำนำแห่งลมหายใจและรอยยิ้ม [Being Peace]
14 ศาสตร์แห่งความเข้าใจ
15 พุทธศาสนาในอนาคต
16 อานาปนสติศาสตร์
17 พระสูตรธรรมแปดประการสำหรับมหาบุรุษ
18 เพชรตัดทำลายมายา [The Diamond That Cuts Through Illusion]
19 กุหลาบประดับดวงใจ
20 ไผ่พระจันทร์
21 ดอกบัวในทะเลเพลิง
22 เสียงร้องของชาวเวียดนาม
23 จุดยืนพระพุทธศาสนาท่ามกลางสงครามและการปฏิวัติ
24 เมตตาภาวนา : คำสอนว่าด้วยรัก [Teaching on Love]
25 เรียกฉันด้วยนามอันแท้จริง
26 ปลูกรัก
27 เริ่มต้นใหม่



.......................................................................



ตัวอย่างคำสอนของท่าน ติช นัท ฮันห์




พระภิกษุที่ชื่อ ติช นัท ฮันห์ กับคำสอนที่มีคุณค่ามากมาย



1 ส่วนหนึ่งของหนังสือ "ปัจจุบันเป็นเวลาประเสริฐสุด"
ของท่านติช นัท ฮันห์ แปลโดย ส. ศิวรักษ์



เปิดโทรทัศน์
[อันนี้เป็นคำภาวนาที่ท่านติช นัท ฮันห์ แต่งเองเพื่อใช้ภาวนาฝึกสติ ขณะใช้ชีวิตประจำวัน]




จิตใจคือโทรทัศน์
มีช่องรับช่องส่งเป็นพันๆ ฯ
ข้าฯ เลือกโลกที่สงบเงียบ
เพื่อความสุขของข้าฯ จะได้สดชื่นตลอดไป ฯฯ


จิตใจคือการรับรู้ การรับรู้รวมสิ่งที่เป็นตัวรู้และสิ่งซึ่งมาปรากฏให้รู้ สองสิ่งนี้สัมพันธ์กัน พระอาจารย์กรรมฐานชาวเวียดนามชื่อฮวงไฮเคยกล่าวว่า เวลาเห็นวัตถุภายนอกนั้น ก็เท่ากับเห็นจิตตัวเองด้วย ถ้าฝ่ายรับรู้ไม่เกิดขึ้น สิ่งที่มาให้รู้ก็เกิดขึ้นไม่ได้

เวลาจิตของเรารับรู้อะไร เรากลายเป็นสิ่งนั้นไป เวลาเราเพ่งไปที่ภูเขาอันมีหิมะปกคลุมอยู่นั้น เรากลายเป็นภูเขาไปด้วย เวลาเราเพ่งดูภาพยนต์อันเอะอะวุ่นวาย เราก็กลายเป็นภาพยนต์อันเอะอะวุ่นวายนั้นไปด้วย


จิตของเราก็ดุจดังโทรทัศน์ที่มีช่องรับช่องส่งเป็นพันๆ เป็นแต่เราเปิดรับส่งได้ทีละช่องเท่านั้น ถ้าเราเปิดช่องโกรธ เราก็จะโกรธ เวลาเราเปิดช่องสงบ ช่องสุข เราก็จะเป็นเช่นนั้น เราสามารถเลือกช่องไหนๆ ก็ได้ เราเป็นไปตามที่เราเลือกจะเป็น


เราจะเปิดช่องไหนของจิตก็ได้ ช่องพระพุทธเจ้าหรือช่องพญามาร ความจำก็เป็นช่องหนึ่ง ความหลงลืมอีกช่องหนึ่ง ความสงบเป็นช่องหนึ่ง ความรำคาญเป็นอีกช่องหนึ่ง


การแปรสภาพหนึ่งไปเป็นอีกสภาพหนึ่งนั้นง่ายดายดุจดังเปลี่ยนช่องของเครื่องโทรทัศน์ เช่นเปลี่ยนจากภาพยนต์เป็นดนตรี นั่นเอง


หลายคนทนความสงบและความเงียบไม่ได้ เมื่ออยู่คนเดียวไม่ได้ ก็ต้องดูโทรทัศน์ เพื่อให้จิตใจอยู่ใต้อำนาจของโทรทัศน์ตลอดคืนจนถึงเวลานอน


วัฒนธรรมของสังคมคนปัจจุบัน ทำให้ไม่อยากอยู่คนเดียว มักอยากลืมตัวเอง ถ้าไม่ดูโทรทัศน์ ก็ต้องไปโรงหนัง โรงละคร หรือสถานที่บันเทิงเริงรมย์ต่างๆ เพราะยากที่ใครจะมองดูตัวเองอย่างล้วงลึกลงไปให้เกิดความรักในตัวเองและเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น


ส่วนเฉลี่ยของเยาวชนในสหรัฐดูโทรทัศน์กันกว่าวันละห้าชั่วโมงนอกเหนือไปจากเครื่องเล่นอิเลกโทรนิคต่างๆ ที่ช่วยให้ลืมตัวเอง ถ้าวัฒนธรรมเช่นนี้แพร่ขยายออกไป ให้มนุษย์ไม่รู้จักตัวเอง จนอยู่ใต้มนต์สะกดของมายา ก็นับว่าน่าเป็นห่วงมาก


ที่จริงโทรทัศน์ก็มีรายการดีๆ ที่สอนคนและเป็นคุณค่าอยู่มิใช่น้อย แต่ที่เลวร้ายในทางมอมเมาอย่างโฆษณาชวนเชื่อ ให้ตกอยู่ใต้อำนาจพญามาร นั้นมากมายนัก


ถ้าเรารู้จักเลือกเฉพาะรายการที่มีคุณประโยชน์โดยไม่ควรเป็นทาสของโทรทัศน์ จะช่วยให้เรามีทางเป็นไทแก่ตัวได้...ไม่หลงตามอายตนะภายนอก



ซึ่งอ่านแล้วก็สามารถสรุปได้ว่า



" ที่จริงโทรทัศน์ก็มีรายการดีๆ ที่สอนคนและเป็นคุณค่าอยู่มิใช่น้อย แต่ที่เลวร้ายในทางมอมเมาอย่างโฆษณาชวนเชื่อ ให้ตกอยู่ใต้อำนาจพญามาร นั้นมากมายนัก

ถ้าเรารู้จักเลือกเฉพาะรายการที่มีคุณประโยชน์โดยไม่ควรเป็นทาสของโทรทัศน์ จะช่วยให้เรามีทางเป็นไทแก่ตัวได้...ไม่หลงตามอายตนะภายนอก "



...................................................................




2 ปาฐกถาธรรมเรื่อง ” ปาฏิหารย์ห่งปัจจุบันขณะ ”
มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ ท่าพระจันทร์ 18 ต.ค. 2553




พระอาจารย์ ติช นัท ฮันห์ พระเถระนิกายเซนมหายาน
แห่งศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส
แสดงปาฐกถาธรรม เรื่อง "ปาฏิหาริย์แห่งปัจจุบันขณะ" ระหว่างเดินทางมายังประเทศไทย
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจาริกธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



สรุปได้ว่า


1 พระอาจารย์ ติช นัท ฮันห์ ได้พูดถึงการรู้สึกตัว การตื่นตัว อยู่ตลอดเวลา....
การเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะการเป็นผู้ฟังสามารถทำให้ฝ่ายที่ความทุกข์สามารถลดความทุกข์ลงได้ ควรฟังอย่างมีสติและเมตตาผู้ฟังอย่าเพิ่งแนะนำในขณะที่ผู้มีความทุกข์เล่าให้ฟัง ควรแนะนำเขา




2 พระอาจารย์ ติช นัท ฮันห์ ได้ยยกตัวอย่างดังนี้
ชาวปาเลสไตน์กับชาวอิสราเอลที่ได้อยู่ที่งานภาวนา ว่าเมื่อแต่ละฝ่ายนำความทุกข์ภายในใจออกมาเล่า และอีกฝ่ายเป็นผู้ฟังที่ดีมันทำให้อีกฝ่ายลดความทุกข์ และภายในระยะเวลากิจกกรมทั้งสองฝ่ายก็สามารถเดินจับมือทำสมาธิได้




3 พระอาจารย์ ติช นัท ฮันห์ ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างของการไม่แบ่งภาค ไม่แบ่งแยก คือทุกสิ่งเสมอกัน ท่านได้ยกตัวอย่างคือมือซ้ายกับมือขวาท่าน มือขวาของท่านไม่เคยต่อว่าตำหนิมือซ้ายเลยว่าเธอช่างไร้ประโยชน์เสียจริงหรือมือขวาไม่เคยยกตัวเองข่มมือซ้ายถึงว่า มือขวาสามารถเขียนกลอนเขียนหนังสือได้ แต่มือซ้ายไม่สามรถทำอย่างนั้นได้
พระอาจารย์ ติช นัท ฮันห์ ยังได้เล่าถึงว่าหลวงปูไม่เคยใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ในการเขียนกลอนหรือหนังสือ แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านไม่มีปากกากับกระดาษและนั้นเป็นการทำงานครั้งแรกของมือซ้ายและมือขวาที่ท่านพิมพ์กลอนลงบนคอมพิวเตอร์

ท่านเล่าถึงมือขวาถือค้อนและมือซ้ายถือตะปูท่านตอกตะปูลงบนไม้ แต่ดันพลาดโดนมือซ้าย มือซ้ายของท่านไม่เคยโกรธมือขวาและไม่คิดที่จะตำหนิมือขวาว่าเอาค้อนมาให้ฉันซิ และเอามือของเธอมา.....ทันใดนั้นมือขวาก็ได้โอบอุ้มมือซ้ายขึ้นมาอย่างถนุถนอม



4 ธรรมที่พระอาจารย์ ติช นัท ฮันห์ พูดคือ การมอง...เราเห็นดอกไม้..นั้นไม่ใช่ดอกไม่เลยไปในทีเดียว แต่ในดอกไม้มีเราสามารถเห็นก้อนเมฆ สามารถเห็นแสงแดด สามารถเห็นดิน...มันคือทุกส่วนตะหากมารวมอยู่ด้วยกัน......






ติดตามอ่านต่อไปนะคะ





……………………………………………………………………….








ขอบคุณ
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บบ้านพลับ
หนังสือพิมพ์มติชน
เว็บธรรมจักร








.........................................................................................