กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด


    ช่องทางทำกิน – เห็ด ตอน เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด




    ก่อนที่จะถึงเรื่องราวของการเพาะเห็ดถุง มาทำความรู้จักกับเห็ดพิษ เห็ดที่เป็นยาเสพติด บ้าง และเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาต่อไปนะคะ





    เห็ดพิษ



    1. ส่วนใหญ่เจริญงอกงามในป่า

    2. ก้านสูง ลำต้นโป่งพองออก โดยเฉพาะที่ฐาน กับที่วงแหวนเห็นชัดเจน

    3. สีผิวของหมวกมีได้หลายสี เช่น สีมะนาว ถึงสีส้ม สีขาวถึงสีเหลือง

    4. ผิวของหมวกเห็ดส่วนมากมีเยื่อหุ้มดอกเห็ดเหลืออยู่ในลักษณะที่ดึงออกได้ หรือเป็นสะเก็ดติดอยู่

    5. ครีบแยกออกจากกันชัดเจน มักมีสีขาว บางชนิดสีแดงหรือสีเขียวอมเหลือง

    6. สปอร์ใหญ่มีสีขาวหรือสีอ่อน มีลักษณะใส ๆ รูปไข่กว้าง



    เห็ดรับประทานได้



    1. ส่วนใหญ่เจริญในทุ่งหญ้า

    2. ก้านสั้น อ้วนป้อมและไม่โป่งพองออก ผิวเรียบไม่ขรุขระ ไม่มีสะเก็ด

    3. สีผิวของหมวกส่วนใหญ่เป็นสีขาวถึงสีน้ำตาล

    4. ผิวของหมวกเห็ดเรียบจนถึงเป็นเส้นใยและ เหมือนถูกกดจนเป็นแผ่นบาง ๆ ดึงออกยาก

    5. ครีบแยกออกจากกัน ในระยะแรกเป็นสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

    6. สปอร์สีน้ำตาลอมม่วงแก่รูปกระสวยกว้าง



    ……………………………………………..



    อาการของพิษที่เกิดจากการรับประทานเห็ด




    อาการของพิษที่เกิดจากการรับประทานเห็ดพิษแต่ละกลุ่ม

    ได้แก่



    1) กลุ่มที่สร้างสารพิษ cyclopeptide มีพิษต่อตับ


    เช่น เห็ดไข่ตายซากหรือเห็ดระโงกหิน(Amanita verna และ Amanita virosa )

    เมื่อรับประทานเข้าไปจะมีอาการเป็น 3 ระยะ คือ


    ระยะที่ 1 เป็นระยะฟักตัวประมาณ 6-24 ชั่วโมง ปกติประมาณ 10 ชั่วโมง หลังจากรับประทานเห็ดเข้าไปถึงขั้นแสดงอาการ

    ระยะที่ 2 จะมีอาการเป็นตะคริวที่ท้อง คลื่นเหียนอาเจียน ท้องร่วง เอนไซม์ตับสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะแสดงอาการ 2-3 วัน

    ระยะที่ 3 มีอาการตับอักเสบ ไตวาย หัวใจวาย เลือดเป็นลิ่มแพร่กระจาย ชัก และเสียชีวิต ภายใน 6 –16 วัน ปกติประาณ 8 วัน หลังจากการรับประทานเห็ดพิษชนิดนี้เข้าไป



    2) กลุ่มที่สร้างสารพิษ Monomethylhydrazine Gyromitrin) )


    ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เห็ดที่มีสารพิษนี้เช่น เห็ดสมองวัว (Gyromitra esculanta


    อาการของสารพิษชนิดนี้จะปรากฏใน 6-8 ชั่วโมง หลังจากรับประทานเห็ด บางชนิดอาจเร็วมากเพียง 2 ชั่วโมง และบางชนิดอาจนานถึง 12 ชั่วโมง
    จะมีอาการต่าง ๆ คือ มึมงง ปวดศรีษะ คลื่นใส้ อาเจียน ท้องเสียและเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ เจ็บที่ท้อง ในรายที่รุนแรง จะพบการทำลายตับ มีไข้สูง ชัก ไม่รู้สึกตัว และถึงตายได้ภายใน 2-4 วัน หลังรับประทานเห็ดกลุ่มนี้



    3) กลุ่มที่สร้างสารพิษ Coprine


    เห็ดที่มีสารพิษนี้เช่น เห็ดหิ่งห้อย เห็ดน้ำหมึกหรือเห็ดถั่ว (Coprinus atramentrarius)


    อาการของสารพิษชนิดนี้จะแสดงอาการภายใน 5-10 นาที อาจจะถึง 30 นาทีหลังจากรับประทานเห็ดเข้าไป ถ้ามีการดื่ม alcohol เข้าไปในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนรับประทานเห็ด


    คุณสมบัติทางเคมีคล้ายคลึงกับ Antavare ซึ่งรักษาคนไข้ติด alcohol ผู้ป่วยจะมีอาการหน้าแดง ตัวแดง ใจสั่น หายใจหอบ เหงื่อแตก เจ็บหน้าอก ชาตามตัว คลื่นเหียนอาเจียน ม่านตาขยาย และความดันโลหิดสูง อาจพบความดันโลหิตต่ำเนื่องจากหลอดเลือดขยายตัว แต่จะหายเป็นปกติภายในเวลา 3-4 ชั่วโมง



    4 กลุ่มที่สร้างสารพิษ Muscarine



    เห็ดที่มีสารพิษชนิดนี้ เช่น
    เห็ด Inocybe napipes,

    หลังจากรับประทานเห็ดที่มีสารพิษชนิดนี้ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง จะมีอาการหัวใจเต้นช้า หลอดลมหดเกร็ง เสมหะมาก ม่านตาหดเล็ก น้ำลายฟูมปาก น้ำตาไหล ปัสสาวะอุจจาระราด และอาเจียน


    5 กลุ่มที่สร้างสารพิษ Ibotenic acid-muscimol



    เห็ดที่มีสารพิษชนิดนี้ เช่น
    เห็ดเกล็ดดาว ( Amanita pantherina ), A. muscaria
    หลังจากรับประทานเห็ดที่มีสารพิษชนิดนี้ จะเกิดอาการเมา เดินโซเซ เคลิ้มฝ้น ร่าเริง กระปรี้กระเปร่า การรับรู้ภาพเปลี่ยนแปลง ประสาทหลอนและเอะอะโวยวาย ภายหลังจากเอะอะแล้วผู้ป่วยจะหลับนาน เมื่อตื่นขึ้นมาอาการจะกลับคืนสู่สภาพปกติใน 1-2 วัน ถ้ารับประทานเห็ดชนิดนี้มาก ๆ จะเกิดอาการทางจิตอย่างชัดเจน อาจชักและหมดสติได้



    6) กลุ่มที่สร้างสารพิษ Psilocybin


    เห็ดที่มีสารพิษชนิดนี้ เช่น เห็ดขี้ควาย เห็ดขี้วัว บางแห่งเรียกเห็ดโอสถลวงจิต(Psilocybe cubensis)


    หลังจากรับประทานเห็ดที่มีสารพิษชนิดนี้ ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกเคลิบเคลิ้ม ตามด้วยการรับรู้ที่ผิดไปจากความเป็นจริง และประสาทหลอน มีอาการเดินโซเซ ม่านตาขยาย หัวใจเต็นเร็ว หายใจถี่ ความดันโลหิดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดลด มีอาการแสดงของระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้น มีความเคลื่อนไหวมากผิดปกติ จนกระทั่งถึงชักได้


    7) สารพิษกลุ่ม Gastrointestinal Irritants


    เห็ดที่มีสารพิษชนิดนี้เช่น
    เห็ดหัวกรวดครีบเขียว ( Chlorophyllum molybdites ),
    เห็ดแดงน้ำหมาก ( Russula emetica )


    เป็นเห็ดพิษที่ทำให้เกิดอาการเฉพาะระบบทางเดินอาหารภายใน 30 นาที ถึง 3 ชั่วโมง มีอาการจุกเสียดยอดอก อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และไม่ทำให้มีอาการทางระบบอื่น ๆ


    ตัวอย่าง รายชื่อเห็ดที่เป็นพิษและเป็นสารเสพติด


    เห็ดกระโดงตีนต่ำ
    เห็ดแดงน้ำหมาก
    เห็ดระโงกหิน
    เห็ดสมองวัว
    เห็ดรูประฆัง
    เห็ดเกล็ดดาว
    เห็ดขี้วัว
    เห็ดขี้ควาย
    เห็ดขอนสีทองเกล็ดแดง
    เห็ดหัวกรวดครีบเขียว
    เห็ดกรวดเกล็ดทอง
    เห็ดไข่เน่า
    เห็ดไข่หงส์
    เห็ดปะการังส้มอมชมพู
    เห็ดห้า
    เห็ดนมหนู



    1 เห็ดกระโดงตีนต่ำ



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด


    เห็ดหัวกรวดครีบเขียว, เห็ดกระโดงตีนต่ำ : Chlorophyllum molybdites (Meyer ex Fr.) Mass.

    พบบนพื้นดิน ขึ้นตามสนามหญ้าและทุ่งนาทั่วทุกภาคในประเทศไทย มีพิษทำให้เกิดอาการมึนเมา คลื่นเหียนและอาเจียน


    ลักษณะของดอกเห็ด

    เมื่ออ่อนลักษณะเป็นก้อนกลมแล้วเจริญบานออกเป็นรูปร่ม ขึ้นตามสนามหญ้า และทุ่งนา หมวกเห็ด มีสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ถึง 20 เซนติเมตร กลางหมวกมีสีน้ำตาล ซึ่งแตกออกเป็นเกล็ดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมกระจายออกไปถึงกึ่งกลางหมวกครีบสีขาว


    เมื่อเจริญมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีขาวอมเขียวอ่อน สีของครีบจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ เป็นสีน้ำตาลอมเขียวหม่น เมื่อดอกแก่จัดสีของครีบจะเป็นสีเทาอมเขียวหม่น ครีบไม่ติดกับก้าน ก้านมีรูปทรงกระบอกสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน ยาว 6 ถึง 20 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ถึง 1.8 เซนติเมตร โคนก้านใหญ่ เป็นกระเปาะเล็กน้อย ภายในมีรูกลวงเล็กๆ ตลอดก้านใต้หมวกมีวงแหวนใหญ่และหนา ขอบบนสีน้ำตาล ขอบล่างสีขาว เมื่อแก่จัดวงแหวนจะหลุดเป็นปลอก เนื้อในเห็ดสีขาวตัดแล้วมีสีแดงเรื่อๆ สปอร์รูปไข่สีเขียวอ่อน ขนาดกว้าง 6.5 ถึง 8 ไมครอน ยาว 9 ถึง 11 ไมครอน ผิวเรียบ ผนังหนา ปลายบนมีรูเปิด 1 รู


    อาการพิษ ทำให้เกิดอาการมึนเมา คลื่นเหียน และอาเจียน


    …………………………………



    2 เห็ดแดงน้ำหมาก



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อสามัญ เห็ดแดงน้ำหมาก


    หมวก รูปกระทะคว่ำ สีแดง เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 6 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าตื้น ขอบหมวกงอลงเล็กน้อย ผิวเรียบ ครีบสีขาวหรือขาวนวล ก้านใบยึดติดกับกับก้าน
    ก้าน สีขาว ยาว 5 – 10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 – 2.5 เซนติเมตร โคนรูปใบพาย ผิวเรียบ บางดอกเป็นร่องตามยาว เนื้อในก้านสีขาวและมักเป็นโพรง


    สปอร์ รูปไข่หรือรูปรี สีขาวขนาด 6 – 9 x 7.5 – 12.8 ไมโครเมตร ผิวขรุขระมีสันนูนสานกันแบบร่องแห เห็ดชนิดนี้ในต่างประเทศจัดเป็นเห็ดมีพิษซึ้งต้มสุกแล้วรับประทานได้



    ………………………………………..



    3 เห็ดระโงกหิน เห็ด ไข่ตายซาก ( ฮาก) 2 สายพันธ์



    3.1 ชื่อพื้นเมือง เห็ดระโงกหิน เห็ด ไข่ตายซาก ( ฮาก) Amanita verna (Bull. Ex.Fr.) Vitt.


    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    เห็ดชนิดนี้มีสีขาวล้วน เมื่อยัง อ่อนมีเปลือกหุ้มสีขาวคล้ายเปลือกไข่ซึ่งด้านบนฉีกขาดออกเมื่อเห็ดเจริญโตขึ้น

    หมวกเห็ด เป็นรูปกระทะคว่ำเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-12 เซนติเมตร ผิวมักจะมีเศษของเปลือกหุ้มดอกอ่อนที่ปริแตกออกเป็นชิ้นบางๆ ติดอยู่บางส่วนซึ่งหลุดหายไปได้ง่าย ด้านล่างมีครีมสีขาวเรียงกันรอบก้านแต่ไม่ยึดติดกับก้าน


    ก้าน ยาว 5-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 1.5 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก ผิวเรียบ โคนก้านโปร่งเป็นกระเปาะใหญ่และมีส่วนล่างของเปลือกหุ้มดอกอ่อนติดอยู่ที่โคนเป็นรูปถ้วย บนก้านดอกบนมีวงแหวนเป็นแผ่นบางสีขาวซึ่งหลุดได้ง่าย


    สปอร์ สีขาว รูปรีกว้าง ผิวเรียบ ผิวบาง ขนาด 8-11 x 7-9 ไมโครเมตรเห็ดชนิดนี้เกิดเป็นดอกเดี่ยวในป่าเบญจพรรณ



    3.2 ชื่อพื้นเมือง เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก เช่นกัน Amanita virosa Secr.



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด


    รูปร่างและสีของเห็ดเหมือน ชนิดแรก

    ต่างกันที่ A. virosa มีขนหยาบบนก้านและสปอร์ค่อนข้างกลม
    ขนาด 8 – 10 ไมโครเมตร เห็ดชนิดนี้จะพบมากกว่าชนิดแรก



    มีผู้รายงานเห็ดพิษในกลุ่มนี้ในประเทศไทยอีก 2 ชนิด (เกษม, 2537) คือ ชนิด Amanita phalloideses (Fr.) Secr. เห็ดนี้เป็นรูปร่างเหมือนเห็ด A. verna และ A. virosa ต่างกันที่หมวกซึ่งมีสีเหลืองอ่อน เหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีน้ำตาลอ่อน และชนิด Amanita bisporigera ซึ่งเหมือน A. verna และ A. virosa แต่มีขนาดเล็กกว่าและสร้างสปอร์เพียง 2 สปอร์บนก้านเบซิเดียม


    เพื่อความปลอดภัยมีข้อควรระวังสำหรับเห็ดในกลุ่มนี้ไม่ควรรับประทานเห็ดสกุล Amanita หรือสกุลเห็ดไข่หรือเห็ดเห็ดระโงกขณะยังอ่อนมีเปลือกหุ้ม และไม่ควรรับประทานเห็ดในสกุล Amanita สกุล Galerina และสกุล Lepiota จนกว่าจะมีรายงานว่าเป็นเห็ดรับประทานได้



    ……………………………………………



    4 เห็ดสมองวัว



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อพื้นเมือง เห็ดสมองวัว Gyromitra esculenta (Pat. Et Bak.) Boediesm.

    ซึ่งเป็นเห็ดราในกลุ่ม Ascomycomycetes


    หมวก เป็นรูปอานม้าสีน้ำตาลอมเหลือง แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-10 เซนติเมตรผิวหมวกหยักเป็นลอนและคลื่นคล้ายสมองด้านล่างเป็นแอ่งตื่นๆ สีน้ำตาลอ่อน

    ก้าน สีขาว ยาว 2-5 เซนติเมตร ใหญ่ 1-2 เซนติเมตร ไม่แตกแขนง บางดอก มีร่องยาวรอบก้าน ผิวเรียบ ภายในกลวง และแบ่งเป็น 2-3 ช่อง


    สปอร์ รูปรี ใส ไม่มีสี ขนาด 9-12 x 18-22 ไมโครเมตร ภายในมีก้อนกลมเล็กๆ คล้ายหยดน้ำ 1-2 หยดเพื่อความปลอดภัยไม่ควรรับประทานเห็ดดิบและน้ำต้มเห็ด แต่เมื่อสุดแล้วรับประทานเนื้อได้ เห็ดที่กล่าวมาพบได้ทางภาคเหนือ



    ………………………………………




    5 เห็ดรูประฆัง



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อพื้นเมือง เห็ดรูประฆัง Coprinus atramentarius (Bull.) Fr.
    สีขาวนวลหรือสีน้ำตาลอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 เซนติเมตร


    หมวกเห็ดมีเนื้อหนากว่าเห็ดถั่วชนิดอื่น ขอบหมวกสีเทาดำเมื่อเริ่มมีดอกแก่และมักจะฉีกขาดเป็นแห่งๆ


    ครีบมีสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีดำและย่อยตัวเองเป็นของเหลวสีดำ ครีบไม่ติดก้าน
    ก้าน รูปทรงกระบอก ยาว 5-11 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร
    รูปทรง กระบอก ผิวเรียบ เป็นมันเงา สีขาว โคนก้านสีขาวนวลหรือน้ำตาลอ่อนปกติจะมีวงแหวนบริเวณโคนก้านซึ่งหลุดออก


    สปอร์ สีดำ รูปผลมะนาว ผิวเรียบ ผนังหนา ปลายบนมีรูเปิด ขนาด 7-8 ไมโครเมตร ชอบขึ้นบนอินทรียวัตถุ เช่น กองเปลือกถั่วเหลืองเกิดดอกเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อความปลอดภัยห้ามดื่มเครื่องคื่มที่มีแอลกอฮอลล์ หลังรับประทานเห็ดเพราะสารพิษทำให้มึนเมาจนหมดสติได้ แต่จะหายใจเป็นปกติภายใน 3-4 ชั่วโมง


    ………………………………….



    6 เห็ดเกล็ดดาว



    6.1 ชื่อพื้นเมือง เห็ดเกล็ดดาว Amanita Pantherina (Dc. Ex. FR.) Secr.



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    เห็ดเกล็ดดาว Amanita Pantherina (Dc. Ex. FR.) Secr.


    เมื่อยังอ่อนมีเปลือกหุ้มรูปกลม หรือรูปไข่สีขาว ด้านบนปริแตกออกเป็น เกล็ดเล็กๆ ติดอยู่บนหมวกซึ่งหลุดง่าย


    หมวก รูปกระทะคว่ำ สีน้ำตาลอมเหลือง หรือสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-8 เซนติเมตรผิวมีขนหรือเกล็ดบางๆสีขาว ชัดเจนบริเวณโคนก้านโคนโป่งเป็นกระเปาะและมีเปลือกหุ้มดอกอ่อน ส่วนที่เหลือติดกับขอบและแถบวงกลมซ้อนกัน 1-2 ชั้น ก้านตอนบนหรือกึ่งกลางมีวงแหวนสี ขาว หรือสีขาวนวล ซึ่งหลุดได้ง่าย


    สปอร์ สีขาว รูปรี ผิวเรียบ ผิวบาง ขนาด 6-5 x 8-12 ไมโครเมตร พบในป่าผลัดใบและป่าสนทางภาคเหนือ




    6.2 เห็ดเกล็ดดาว Amanita muscaria (L.ex.Fr.) Hooker.



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    เห็ดเกล็ดดาว Amanita muscaria (L.ex.Fr.) Hooker.


    เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่น้อยกว่าเห็ดชนิดแรก มีผู้รานงานไว้แล้ว (เกษม 2537) รูปร่างคล้ายเห็ด Amanita pantherinaที่แตกต่างก็คือมีหมวกสีแดง หรือแดงอมเหลืองนอกจากเห็ดทั้งสองชนิดแล้วมีผู้รายงานเห็ดในสกุล Inocybe และ Clicotybeไว้อีกสกุลละ 3 ชนิดโดยระบุว่าเป็นเห็ดมีพิษจึงควรมีสารพิษในกลุ่มนี้ได้แก่ เห็ดInocybedestricata, I. Ifelix, I. splendens, Clitocybe flaccida, C.gibba และ C.phyllophila แต่ Clitocybe flaccida และ C.gibba มีรายงานว่ารับประทานได้ (เกษม 2537)


    เพื่อความปลอดภัยต้องศึกษาและเรียนรู้เห็ดแต่ละชนิด หลีกเลี่ยงรับประทานเห็ดในสกุล Amanita, Clitocybe และ Inocybe ไว้ก่อนเพราะถ้าเป็นพิษอาการปางตาย



    ………………………………….



    7 เห็ดขี้วัว



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อสามัญเห็ดขี้วัว opelandia ctandscens (Berk. & Br.) Sing.


    หมวก รูปกระทะคว่ำสีขาวขาวนวล หรือ เหลืองนวล เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตรผิวเรียบกลางหมวกสีเข้มกว่า ผิวเมื่อช้ำมีสีน้ำเงินปนเปื้อนครีบสีเทาดำยึดติดกับก้าน


    ก้าน รูปทรงกระบอก สีขาวนวล ยาว 8-12 เซนติเมตร ใหญ่ 3-4 มิลลิเมตรภายในกลวง ผิวเป็นมันเงา เมื่อช้ำหรือฉีกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินปนเปื้อน


    สปอร์ รูปรี หรือรูปมะนาว สีน้ำตาลดำผนังหนา ปลายบนตัดเป็นรู ผิวเรียบ เห็ดชนิดนี้ชอบขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกลุ่มละ 4-5 ดอก บนกองมูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลควาย



    ………………………………….



    8 เห็ดขี้ควาย



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อสามัญ เห็ดขี้ควาย Psliocybe cubensis (Earle) Sing.

    บางแห่งเรียกเห็ดโอรถลวงจิต

    หมวก รูปกระทะคว่ำแล้วแบนลง เส้นผ่าศูนย์กลาง 6.5-8.8 เซนติเมตรผิวสีฟางข้าวอมเหลือง กลางหมวกสีน้ำตาลอมเหลือง มีเกล็ดเล็กๆ กระจายออกไป ยังขอบหมวก ขอบมีริ้วสั้นๆ โดยรอบ ครีบสีน้ำตาลดำ ส่วนกลางกว้างกว่า ปลายทั้งสองข้าง ไม่ยึดติดกับก้าน


    ก้าน ยาว 4.5-8 เซนติเมตร ใหญ่ 8-12 มิลลิเมตร โคนใหญ่กว่าเล็กน้อย สีฟางข้าวอมเหลืองอ่อน เนื้อสีขาว ผิวและเนื้อเมื่อช้ำเป็นแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน หรือปนเปื้อนน้ำเงินทันที


    สปอร์ รูปรี หรือมะนาว สีน้ำตาลดำ ผนังหนา ผิวเรียบ ด้านบนมีปลายตัดเป็นรูเล็ก ๆ เห็ดชนิดนี้ชอบขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกลุ่มละ 4-5 ดอก บนพื้นดินที่มีมูลสัตว์
    พวกมูลวัว มูลควาย เช่นเดียวกับเห็ดชนิดแรก


    ………………………………….



    9เ ห็ดขอนสีทองเกล็ดแดง



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อสามัญ เห็ดขอนสีทองเกล็ดแดง Gymnopilus aeruginosus (Peck) Sing.


    หมวก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 5 เซนติเมตร รูปกระทะคว่ำและแบนลง สีเหลืองทอง ผิวมีเกล็ดขนสีแดงอมม่วง บางแห่งมีสีเขียวปนเปื้อนก้านยาว 2 – 12 เซนติเมตรเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 มิลลิเมตร ผิวเรียบสีเหลือง ครีบสีเหลืองยาวลงไปติดก้าน บนก้านมีวงแหวนบางๆสีเหลือง มักจะแห้งหายไปวงแหวนอยู่เกือบปลายบนของก้าน


    สปอร์ สีสนิม รูปรี ผิวหยาบเป็นตุ่มเล็กๆ ขนาด 7.5 –8 x4-5 ไมโครเมตรเห็ดชนิดนี้ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวอยู่ใกล้กันเป็นกลุ่มใหญ่บนขอนไม้และพบว่ามีสาร Psilocybin



    ………………………………….


    10 เห็ดหัวกรวดครีบเขียว



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อสามัญ เห็ดหัวกรวดครีบเขียว Chlorophyllum molybdites (Meyr. Ex. Fr.)


    หมวก สีขาวรูปกระทะคว่ำแล้วแบนลง เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 – 20 เซนติเมตร กลางหมวกสีน้ำตาล ผิวมีเกล็ดสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลกระจายห่างไปยังขอบหมวกครีบสีขาวค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน แล้วเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมเขียวหม่นหรือเขียวอมเทา ครีบไม่ยึดติดก้าน



    ก้าน รูปทรงกระบอกสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน ยาว 6 –20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 –1.8 เซนติเมตร โคนก้านใหญ่เป็นกระเปาะเล็กน้อย ภายในมีรูกลวงตลอดก้าน ใต้หมวกมีวงแหวนหนา 2 ชั้น ขอบบนสีน้ำตาลขอบล่างสีขาว วงแหวนเคลื่อนขึ้นลงได้ เนื้อเห็ดสีขาวเวลาตัดหรือช้ำมีสีแดงเรื่อๆ


    สปอร์ รูปไข่ สีเขียวอ่อน ผิวเรียบ ขนาด 1.5 – 8 x 9 – 11 ไมโครเมตร ผนังหนาปลายบนมีรูเปิด1 รู เห็ดชนิดนี้ชอบขึ้นบนสนามหญ้าเป็นดอกเดี่ยวกระจายเป็นวงกลม บางแห่งเรียกเห็ดกระโดงตีนต่ำ เห็ดชนิดนี้มักจะสับสนกับเห็ดอีกหลายชนิดในสกุลเดียวกันที่มีรูปร่างคล้ายกัน ถึงแม้ต้มเสร็จแล้วพิษก็ยังมีอยู่ไม่ควรรับประทาน


    อาการก็เกือบปางตาย แต่หายเป็นปกติได้



    ………………………………….



    11 เห็ดกรวดเกล็ดทอง




    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อสามัญ เห็ดกรวดเกล็ดทอง Gomphus floccosus (Schw.) Sing.


    หมวก รูปกรวยลึก เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 – 10 เซนติเมตร สูง 7 – 20 เซนติเมตร ขอบเป็นคลื่น ด้านในมีเกล็ดสีเหลืองและมีเกล็ดคล้ายเกล็ดปลาสีเหลืองอมส้ม หรือสีส้มกระจายทั่วไป เกล็ดที่อยู่กลางหมวกจะพูนและงอก ขึ้นดอกนอกสีเหลืองอ่อนหรือนวลขาว เป็นร่องหรือสันนูนยาวลงไปติดก้านและเชื่อมกันบางตอน


    ก้าน ยาว 5 – 10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 – 3 เซนติเมตร โคนขอบสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมส้ม เนื้อในสีขาว


    สปอร์ รูปรี ผิวขรุขระ สีน้ำตาลอมเหลือง ขนาด 7 – 8 x 11.5 – 14 ไมโครเมตร เห็ดชนิดนี้ขึ้นเป็นกลุ่ม เป็นดอกเดี่ยว หรือโคนติดกัน ส่วนมากพบ
    ในป่าสน ต้มสุกแล้วรับประทานได้ รับประทานดิบจะมีพิษกับบางคน


    ………………………………….


    12 เห็ดไข่เน่า



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อสามัญ เห็ดไข่เน่า Clarkeinda tiachodes (Berk.) Sing.


    หมวก รูปกระทะค่ำสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 – 15 เซนติเมตร มีเกล็ดสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งปลายรวมเป็นกระจุกและงอนขึ้น ยกเว้นกลางหมวกที่มีสีน้ำตาลเกล็ดกระจายไปยังขอบหมวก ครีบสีขาวเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนอมน้ำตาลไม่ยึดติดก้าน


    ก้าน รูปทรงกระบอก สีขาว ผิวเรียบ ยาว 9 – 12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 – 2 เซนติเมตร บนก้านตอนบนมีวงแหวนสีขาวเนื้อในสีขาว เมื่อฉีกขาดหรือช้ำเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือน้ำตาลแดง


    สปอร์ สีเหลืองอมเขียว รูปไข่ ขนสด 3 – 4 x 6 – 7 ไมโครเมตร ผิวเรียบผนังหนา ปลายบนมีรูเปิดและตัดตรง เห็ดชนิดนี้ขึ้นดอกเดี่ยว
    กลุ่มละ 3 – 4 ดอก บนพื้นดิน ริมทางหรือสนามหญ้า จัดเป็นเห็ดพิษเหมือนเห็ดกรวยครีบเขียว Chlorophyllum molybdites ห้ามรับประทานเด็ดขาด



    ………………………………….



    13 เห็ดไข่หงส์



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด





    ชื่อสามัญ เห็ดไข่หงส์ Scleroderma citrinum Pers.


    หมวก รูปกลม สีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 6 เซนติเมตร สูง2 – 3 เซนติเมตร ด้านบนแบนลงเล็กน้อย ผิวแตกเป็นเกล็ดใหญ่ โคนมีเส้นใยหยาบเป็นกระจุกยึดติดกับดิน(สีนวลขาว) เปลือกหนา 3 – 4 มิลลิเมตร เมื่อดอกเห็ดแก่ด้านบนปริแตกออก


    สปอร์ ภายในดอกเห็ดสีม่วงน้ำตาลบรรจุอยู่ รูปกลม ผิวขรุขระเป็นร่องแห เห็ดชนิดนี้ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวใกล้กัน และกระจายทั่วไปในป่าสนเป็นเห็ดพิษทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน ไม่ควรรับประทานทั้งดิบและสุก



    ………………………………….




    14 เห็ดปะการังส้มอมชมพู




    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อสามัญ เห็ดปะการังส้มอมชมพู Ramaria formasa Fr.Quel.



    หมวก เป็นรูปพุ่มไม้กวาด กว้าง 3 – 15 เซนติเมตร สูง 7 –25 สีน้ำตาลอ่อนอมชมพูจนถึงสีส้มอ่อนอมเหลือง


    ก้าน สีขาวยาวประมาณ 3 – 6 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 6 เซนติเมตร เนื้อสีขาว เมื่อช้ำจะเป็นสีม่วงแดง


    สปอร์ สีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง รูปรีมีหนาม ขนาด 8 – 15 x 4 – 6 ไมโครเมตร เห็ดชนิดนี้เกิดบนพื้นดินกระจายเป็นดอกเดี่ยว จัดเป็นเห็ดมีพิษทำให้เกิดอาการท้องเดิน



    ………………………………………



    15 เห็ดห้า (เหนือ) เห็ดน้ำผึ้ง (อีสาน)



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด




    ชื่อสามัญ เห็ดห้า (เหนือ) เห็ดน้ำผึ้ง (อีสาน) Phaeogyroporus portentosus (Berk.et Broone) Mc. Nabb.


    หมวก รูปกระทะคว่ำและแบนลง เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 – 30 เซนติเมตร ดอกอ่อนมีขนละเอียดคล้ายกับมะหยี่สีน้ำตาล ผิวสีน้ำตาลเข้มปนเหลืองอ่อน เมื่อบานเต็มที่กลางหนวดเว้าลงเล็กน้อย ผิวปริแตกเป็นแห่งๆ


    เนื้อในสีเหลืองอ่อน ด้านล่างเต็มไปด้วยรูติดกับเนื้อสีเดียวกันสีเหลืองค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินอมสีปนเปื้อนโดยเฉพาะเหนือรูขึ้นไปจนเกือบถึงผิวหมวกและบริเวณก้านตอนบน ก้าน อวบใหญ่ สีน้ำตาลอมเหลือง ยาว 4 – 8 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 4 เซนติเมตรโคนก้านโปร่งเป็นกระเปาะ บางส่วนนูนและเว้าเป็นแอ่งหรือร่อง ผิวมีขนละเอียดคล้ายกับมะหยี่สีน้ำตาลเหมือนหมวก



    สปอร์ ค่อนข้างกลม ขนาด 5.2 – 6.2 x 6.6 – 9.4 ไมโครเมตร ผิวเรียบ ผนังหนาเห็ดชนิดนี้พบทางภาคเหนือขึ้นเป็นกลุ่มโคนติดกัน กลุ่มละ 5 –10


    ดอกรับประทานสุกๆดิบๆเป็นพิษ ทำให้คลื่นไส้ เวียนศีรษะและท้องเดิน พิษจะหายภายใน 3 – 5 ชั่วโมง


    ข้อสังเกต เห็ดที่ตัดแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ควรต้มให้สุกก่อนรับประทาน เห็ดตับเต่าที่มีปากรูสีแดงเรื่อๆหรือแดง ก็ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจมีพิษได้เช่นเดียวกับเห็ดห้าที่เป็นพิษดังกล่าว


    ………………………………………….


    16 เห็ดนมหนู



    ช่องทางทำกิน–เห็ดพิษและเห็ดที่เป็นยาเสพติด



    ชื่อสามัญ เห็ดนมหนู Entoloma strictius (Pk.) Sacc.


    หมวก รูประฆัง กลางหมวกนูนและแบนลง สีน้ำตาลอ่อน ขอบหมวกมีริ้วเล็กผิวเรียบ ครีบยึดติดก้านสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู


    ก้าน ยาว 5 –10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 – 5 มิลลิเมตร ผิวเรียบเป็นมันเงา รูปทรงกระบอกมีริ้วยาวและบิดงอเนื้อในสีขาว กลวง โคนมักมีใยขาวฟู

    สปอร์ สีชมพูอมส้ม รูปรี มี 5 – 6 เหลี่ยม เห็ดชนิดนี้ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวเป็นกลุ่มใกล้กัน จัดเป็นเห็ดพิษไม่ควรรับประทาน


    ………………………………………..




    เรื่องที่เข้าใจผิดบางเรื่อง เกี่ยวกับพิษของเห็ด



    1. การนำมาทดสอบพิษด้วยการต้มรวมกับข้าวสาร ช้อนเงิน หรือหัวหอม เป็นวิธีที่ถูกต้องหรือไม่?


    ไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากวิธีดังกล่าวไม่สามารถทดสอบกับเห็ดบางชนิด เช่น เห็ดพิษสกุล Amanita




    2. การนำเห็ดไปต้มให้สุกก่อนรับประทาน จะมีความปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่?


    ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะว่าเห็ดบางชนิด เช่นเห็ดระโงกหิน หรือเห็ดไข่ตายซาก (ฮาก) (Amanita verna และ Amanita virosa ) ซึ่งมีสารพิษในกลุ่ม cyclopeptide จะทนความร้อนได้ดี การนำเห็ดไปต้มก็ไม่สามารถทำให้สารพิษนี้สลายไปได้








    .......................................................










    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 09-06-2011 at 06:14.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •