กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: มะระขี้นก ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    มะระขี้นก ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์

    มะระขี้นก ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์

    มะระขี้นกในภูมิปัญญาไทยและชนชาติอื่น
    น้ำต้มรากมะระขี้นกใช้ดื่มเป็นยาลดไข้ บำรุงธาตุ เป็นยาฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร
    แก้บาดแผลอักเสบ

    ใบช่วยเจริญอาหาร ช่วยระบาย น้ำคั้นใบดื่มเป็นยาทำให้อาเจียน บรรเทาอาการท่อ
    น้ำดีอักเสบ

    ดอกชงกินกับน้ำแก้อาการหืดหอบ

    ผลกินเป็นยาขม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ขับพยาธิ แก้ตับและม้ามอักเสบ หรือจะคั้นน้ำมะระดื่มสัปดาห์ละไม่เกิน 1 แก้ว เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นยาระบาย

    ส่วนเมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม

    มะระมีฤทธิ์เย็น จึงมีคำแนะนำว่าไม่ควรกินติดกันเกินไป เว้นระยะกินอาหารผักอย่างอื่นบ้างให้ร่างกายเกิดสมดุล แล้วจึงกลับมากินมะระได้อีก

    ชาวโอกินาวาในประเทศญี่ปุ่นกินมะระขี้นกมาก เชื่อกันว่ามะระขี้นกมีส่วนช่วยให้ชาวโอกินาวามีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่าชาวญี่ปุ่นทั่วไป

    แพทย์พื้นบ้านในทวีปเอเชียใช้มะระในตำรับยารักษาโรคมานาน ชาวเอเชีย ปานามา และโคลัมเบียใช้ชาใบมะระป้องกันและรักษาโรคมาลาเรีย ฤทธิ์ดังกล่าวได้มีการตรวจสอบแล้วในห้องปฏิบัติการ


    มะระมีความขมจึงมีฤทธิ์กระตุ้นการย่อยอาหาร ช่วยบุคคลที่ระบบย่อยอาหารไม่ค่อยทำงาน อาหารไม่ย่อย หรือท้องผูก แต่ก็อาจก่อให้เกิดอาการกรดไหลย้อนหรือแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วย

    น้ำมันจากมะระขี้นกมีกรดเอลีโอสเตียริก การศึกษาพบว่ากรดดังกล่าวมีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ มีนัยยับยั้งการขยายขนาดของก้อนมะเร็งที่จำเป็นต้องมีหลอดเลือดไปหล่อเลี้ยง

    ผลจากห้องปฏิบัติการพบว่าโปรตีนและไกลโคโปรตีนเล็กทินจากมะระขี้นกมีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่สารเหล่านี้ดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารได้น้อยมาก การกินเป็นอาหารจึงไม่สามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสในผู้ป่วยได้ คาดว่าได้ประโยชน์ในการสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่า โดยทั่วไปมักใช้ผลอ่อนคั้นน้ำดื่มหรือตากแห้งบดเป็นผงใส่แคปซูลกิน การใช้น้ำคั้นจากผลดื่มได้ผลดีพอสมควร แต่การสวนทวารด้วยน้ำคั้นมะระจะได้ผลดีกว่าการดื่ม เพราะสารสำคัญ MAB-30 เป็นสารโปรตีนที่จะถูกทำลายโดยกรดและน้ำย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้ โปรตีนดังกล่าวมีหลักฐานอ้างอิงว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

    ชาวปานามาใช้ชาชงใบมะระกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชาวไทยใช้เนื้อมะระขี้นกลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน โดยหั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม ถ้าต้องการกลบรสขมให้เติมใบชาลงไปด้วยขณะที่ชง ดื่มต่างน้ำชา

    เนื่องจากซีกโลกตะวันตกจัดมะระขี้นกเป็นมะระจีนพันธุ์หนึ่ง ฤทธิ์ของมะระขี้นกถูกรวบรวมไว้ในฤทธิ์ของมะระแต่ไม่สามารถแยกออกมาได้ บทความนี้จึงไม่สามารถอ้างอิงบทความทางการแพทย์จากแหล่งตะวันตกได้

    มะระขี้นก ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์

    บทความจากหมอชาวบ้าน
    โค้ด PHP:
    http://www.doctor.or.th/node/8931 
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    การใช้มะระขี้นกเพื่อลดน้ำตาลในกระแสเลือด

    การรักษาเบาหวานด้วยแพทย์แผนปัจจุบันนั้นสำหรับเบาหวานชนิดที่1 จะใช้การฉีดอินซูลิน ส่วนเบาหวานชนิดที่2 จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ายาส่วนใหญ่จะถูกขับทิ้งที่ตับและไต ดังนั้นการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานเท่ากับเป็นการสร้างภาระให้กับอวัยวะทั้งสองเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มว่าต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นด้วย จากที่เคยกินยาลดน้ำตาลวันละ 1 เม็ด ก็เพิ่มจำนวนเป็น 2 เม็ด

    สำหรับวิธีธรรมชาติบำบัดแล้ว พืชชนิดหนึ่งซึ่งมีการใช้มานานในทางอายุรเวชของประเทศแถบอินเดียคือ มะระขี้นก (มะระขนาดเล็กสีเขียวเข้ม มีผิวขรุขระ มีรสขม) ซึ่งคนไทยเราก็รู้จักกันดีเพราะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก และพืชชนิดนี้สามารถใช้ลดน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของใบ ผล หรือเมล็ด

    มะระขี้นก สามารถใช้ลดน้ำตาล ในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก มะระขี้นกจะกระตุ้นการเปลี่ยน กลูโคสในกระแสเลือด ให้เป็นไกลโคเจนที่ตับ และยังกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน จากเบตาเซลล์ของตับอ่อน อีกทั้งยังกระตุ้น การสร้างเบตาเซลล์อีกด้วย ซึ่งการใช้มะระขี้นกก็สามารถใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการคั้นน้ำ รับประทานสด หรือการดื่มในรูปของชามะระขี้นก แต่จากงานวิจัยของB.A. Leatherdale ของ มหาวิทยาลัยแอสตัน พบว่าการคั้นน้ำเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด ส่วนวิธีที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดคือการกินมะระขี้นกที่นำไปแตกแห้ง


    นอกจากนี้ยังพบว่าในเมล็ดของมะระขี้นกมีสารชนิดหนึ่งซึ่งมีโมเลกุลคล้ายอินซูลิน และสารชนิดนี้ยังช่วยกระตุ้นการสร้างกรดไขมันในร่าง กาย ตลอดจนออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องการสลายไขมันอีกด้วย

    การใช้มะระขี้นกเพื่อลดน้ำตาลในกระแสเลือดนั้นสามารถใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 2 ชนิด แต่ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้พวกแตงเมลอน แคนตาลูป สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ป่วยโรคตับแล้วการใช้มะระขี้นกจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์
    มะระขี้นกสามารถออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลได้ภายใน 30-60 นาทีหลังกิน(ซึ่งใกล้เคียงกับการออกฤทธิ์ของZinc crystalline insulin) และจะออกฤทธิ์สูงสุดหลังจากกินไปแล้ว4-12 ชั่วโมง (ฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์สูงสุดภายใน 2-3ชั่วโมง) นอกจากมะระขี้นกแล้วยังมีสมุนไพรชนิดอื่นที่สามารถลดน้ำตาลในกระแสเลือดได้ อาทิเช่น อบเชย ว่านหางจระเข้ แต่มะระขี้นกจะออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลได้เร็วกว่าและนานกว่า

    นอกจากนี้มะระขี้นกยังช่วยป้องการตีบและหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไลด์ในตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ (มะระขี้นกสามารถแก้ไขภาวะคลอเลสเตอรอล ฟอสโฟไลปิดและไตรกลีเซอไรด์ที่เพิ่มสูงขึ้นอันเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยาลดน้ำตาลติดต่อกันเป็นระยะเวลานานให้เข้าสู่ระดับปกติได้ เมื่อรับประทานมะระขี้นกติดต่อกัน 10 สัปดาห์)

    พบว่าการดื่มน้ำคั้นมะระขี้นก (ใช้มะระขี้นก 1-2 ผลคั้นร่วมกับผักผลไม้ชนิดอื่น เพื่อลดความขม แต่ทั้งควรเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลไม่มากนัก เช่น แอปเปิ้ลเขียวจะดีกว่าแอปเปิ้ลแดง วันละ 1 แก้วในตอนเช้าก่อนรับประทานอาหาร และถ้าเป็นไปได้อีก 1 แก้วในช่วงเย็น) ร่วมกับการดื่มชามะระขี้นกหลังมื้ออาหารทุกมื้อ (หรืออาจใช้เป็นน้ำต้มใบชะพลูแทนชามะระขี้นก) สามารถลดระดับน้ำตาลได้ดี แต่ทั้งนี้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารร่วมด้วย

    หมายเหตุ มะระขี้นกจะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ดังนั้นการใช้มะระขี้นกอาจทำให้ถ่ายท้องได้ ซึ่งถ้ามีอาการถ่ายท้องมากเกินไป ให้ปรับลดปริมาณของมะระขี้นกที่ใช้ให้น้อยลงได้

    ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแป้งขัดสี น้ำตาล แต่ควรรับประทานข้าวกล้อง หรืออาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีกากปริมาณมากเนื่องจากจะใช้เวลาในการย่อยนานกว่าแป้งที่ผ่านการขัดสี ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดค่อยๆเพิ่มอย่างช้าๆ สำหรับอาหารประเภทโปรตีนนั้นควรลดปริมาณโปรตีนที่มาจากสัตว์ แต่ควรรับประทานโปรตีนที่มาจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ เนื่องจากในถั่วนั้นมีสารเลซิตินและโคลีนปริมาณมากซึ่งช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับเส้นประสาทอันเนื่องจากเบาหวานได้ สำหรับผลไม้แล้วควรเป็นผลไม้ที่ไม่หวานนัก และควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานมากตลอดจนผลไม้แห้ง และอาหารส่วนใหญ่กว่า 75%ของอาหารในแต่ละมื้อ ควรจะเป็นอาหารที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุก ทั้งนี้ปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อไม่ควรมากนัก แต่สามารถรับประทานได้บ่อยขึ้นถึงวันละ 6 มื้อ

    นอกจากอาหารที่ดีแล้ว การออกกำลังกายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 20-30 นาที เช่น การเดินเร็วซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ค่อนข้างปลอดภัย สุดท้ายภาวะจิตใจที่ดีและการพักผ่อนที่เพียงพอนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

    ที่มาบทความ
    โค้ด PHP:
    http://www.eldercarethailand.com/content/view/304/63/ 
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •