กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: เรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ 1

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ 1


    เรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ 1




    ก่อนเรียนรู้มาทำความรู้จักกับเรื่องราวของธาตุอาหรในดินก่อนค่ะ



    ธาตุอาหารที่จะเป็นสำหรับพืช


    สารอาหารสำหรับพืช หมายถึง สารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของพืช ซึ่งสามารถถูกจัดได้จากเกณฑ์คือ


    (1) ถ้าเกิดพืชขาดสารอาหารนี้แล้ว ทำให้พืชไม่สามารถวงจรชีวิตได้ตากปกติ หรือ

    (2) สารนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืชหรือส่วนประกอบของสารตัวกลางในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite)

    สารอาหรที่จำเป็นสำหรับพืช สามารถแบ่งตามปริมาณที่ปรากฏในเนื้อเยื่อพืช ได้เป็น


    1 สารอาหารหลัก (primary macronutrients) ได้แก่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), และ โปแตสเซียม (K)

    2 สารอาหารรอง (secondary macronutrients) ได้แก่ แคลเซียม (Ca), กำมะถัน (S), แมกนีเซียม (Mg), และ ซิลิคอน (Si)


    3 จุลสารอาหาร (micronutrients) ได้แก่ โบรอน (B), คลอรีน (Cl), แมงกานีส (Mn), เหล็ก (Fe), สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu), โมลิบดีนัม (Mo), นิเกิล (Ni), เซเลเนียม (Se), และ โซเดียม (Na)


    สารอาหารหลัก (macronutrients) คือสารอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก หรือว่าเป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณมาก (0.2% ถึง 4% โดยน้ำหนักแห้ง) จุลสารอาหาร คือสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของพืชในปริมาณไม่มาก และวัดเป็นหน่วย ppm โดยมีปริมาณอยู่ในช่วงตั้งแต่ 5 ถึง 200 ppm หรือ น้อยกว่า 0.02% โดยน้ำหนักแห้ง


    พืชสามารถรับสารอาหารทางดินได้โดยการแลกเปลี่ยนประจุ โดยที่รากฝอยจะปล่อยประจุไฮโดรเจน (H+) ลงไปในดิน และประจุไฮโดรเจนนี้จะไปแทนที่ไอออนประจุบวกที่อยู่ในดิน (ซึ่งเป็นประจุลบ) จึงทำให้สารอาหารที่อยู่ในรูปประจุบวกสามารถถูกรากดูดซึมเข้าไปได้



    เรื่องของสารอาหารพืชเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก ส่วนหนึ่งเนื่องมากจาก ความหลากหลายของชนิดและพันธุ์พืช อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากปริมาณสารอาหารที่พืชต้องการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน กล่าวคือ พืชต้องการสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอและไม่มากเกินไป ถ้าเมื่อพืชได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จะเกิดอาการขาดสารอาหาร แต่ถ้าได้รับมากเกินไปสารอาหารนั้นก็จะเป็นพิษต่อพืชได้ นอกจากนั้นการขาดสารอาหารบางตัว อาจแสดงผลเหมือนกับการเป็นพิษของการได้รับสารอาหารอีกตัวมากเกินไป การที่พืชได้รับสารอาหารบางตัวมากไปก็ส่งผลทำให้พืชขาดธาตุอาหารตัวอื่นได้ และการได้รับธาตุอาหารบางตัวน้อยไปก็อาจส่งผลต่อการดูดซึมของสารอาหารตัวอื่นได้เช่นกรณีของการที่พืชขาด SO2-3 ทำให้การดูดซึม NO-3 ทำได้ไม่ดี หรือ การที่ NH+4 มีอิทธิพลกับการดูดซึมของ K+


    สารอาหารแต่ละชนิดของพืช พืชต้องการในปริมาณที่พอเหมาะหากน้อยไปจะแสดงอาการขาดสารอาหาร หรือ หากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นพิษกับพืชได้



    กระบวนการที่สำคัญในการดูดซึมสารอาหารของพืช



    พืชสามารถรับสารอาหารที่จำเป็นได้จาก



    ดิน

    จะสามารถ ผ่านทางราก ส่วนใหญ่

    ใบ

    จะได้สาร คาร์บอน กับ ออกซิเจน ซึ่งอยู่ในอากาศโดยผ่านทางใบ



    หน้าที่ของสารอาหาร
    สารอาหารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างๆกัน




    สารอาหารหลักของพืช


    คาร์บอน

    คาร์บอนทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืช เช่น แป้ง และ เซลลูโลส. พืชได้รับคาร์บอนมากจากการสังเคราะห์แสงโดยรับ คาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศ และส่วนหนึ่งก็ถูกแปลงเป็นคาร์โบไฮเดรตสำหรับสะสมพลังงาน



    ไฮโดรเจน

    ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการสร้างน้ำตาลและการเติบโตของพืช. พืชได้รับไฮโดรเจนส่วนใหญ่จากน้ำ



    ออกซิเจน

    ออกซิเจนเป็นส่วนสำคัญสำหรับกระบวนการหายใจ. กระบวนการหายใจ สร้างสารให้พลังงาน ATP จากการใช้น้ำตาลที่ได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสง

    พืชสร้างออกซิเจนขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อที่จะสร้างน้ำตาล แต่พืชก็ใช้ออกซิเจนในการกระบวนการหายใจเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็น ATP



    ฟอสฟอรัส

    ฟอสฟอรัสเป็นส่วนสำคัญในระบบพลังงานของพืช เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ATP.
    การขาดฟอสฟอรัสในพืช จะแสดงให้เห็นจาก การที่ใบพืชมีสีเขียวเข้มจัด ถ้าขาดรุนแรงใบจะผิดรูปร่างและแสดงอาการตายเฉพาะส่วน



    โปแตสเซียม

    โปแตสเซียมมีบทบาทในการควบคุมการเปิดปิดของรูใบสโตมา (Stoma) ดังนั้นโพแตสเซียมจึงช่วยลดการคายน้ำจากใบและเพิ่มความต้านทานสภาพแล้ง-สภาพร้อน-สภาพหนาวให้กับพืชได้


    การขาดโปแตสเซียม อาจทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วน หรือเกิดการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis) โพแตสเซียมสามารถละลายน้ำได้ดี จึงทำให้อาจโดยชะล้างออกไปจากดินโดยเฉพาะพื้นที่ลักษณะเป็นหินหรือทราย




    ไนโตรเจน

    ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโปรตีนทุกชนิด

    การขาดไนโตรเจน ส่วนใหญ่แล้วจะแสดงออกมาโดยการชะงักการเติบโตของพืช การเติบโตช้า หรือว่าแสดงอาการใบเหลือง (chlorosis). ทั่วไปแล้ว ไนโตรเจนจะถูกดูดซึมเข้าทางดินในรูปของไนเตรต(NO-3)




    กำมะถัน

    กำมะถันเป็นส่วนประกอบโครงสร้างของกรดอะมิโนและไวตามีนหลายชนิด และจำเป็นในการกระบวนการสร้างคลอโรพลาสต์.




    แคลเซียม

    แคลเซียมทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด

    การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต



    แมกนีเซียม

    แมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
    การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).



    ซิลิคอน

    ซิลิคอนจะถูกเก็บไว้ที่ผนังเซลล์ของพืช และจะช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงและยืดหยุ่น





    การสังเกตพืชจากสารอาหารที่จำเป็



    ไนโตรเจน= N

    ส่วนประกอบของ โปรตีนและกรดอะมิโน

    ขาด
    ใบเหลือง โดยเฉพาะใบแก่; การเติบโตของพืชชะงักงัน; ผลเติบโตไม่ดี

    เกิน
    ใบเขียวเข้ม แต่อาจเสี่ยงกับอาการโคนต้นงอ (lodging) หรืออ่อนแอต่อภาวะแล้ง โรคพืช และแมลง; พืชอาจไม่ค่อยให้ผล

    ปริมาณในพืช = 100




    ฟอสฟอรัส = P

    ส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิกและATP

    ขาด
    ใบอาจเป็นสีม่วง; การเติบโตของพืชชะงักวันหรือช้า

    เกิน
    พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดจุลสารอาหาร เช่น เหล็ก หรือ สังกะสี

    ปริมาณในพืช = 6


    โปแตสเซียม= K
    ทำหน้าที่เป็น catalyst, ion transport
    ขาด
    ใบแก่จะเหลืองโดยเริ่มจากขอบใบก่อนแล้วใบจะตาย; ผลเติบโตไม่ปกติ
    เกิน
    พืชที่ได้รับโปแตสเซียมในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดแมกนีเซียม หรืออาจขาดแคลเซียมด้วย
    ปริมาณในพืช = 25



    แคลเซียม= Ca

    ส่วนประกอบของผนังเซลล์

    ขาด
    พืชเติบโตช้าลง และหน่อใหม่ตาย; ผลเติบโตไม่ดี

    เกิน
    พืชที่ได้รับแคลเซียมในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการขาดแมกนีเซียมหรือ
    ปริมาณในพืช = 12.5




    แมกนีเซียม= Mg

    ส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์

    ขาด
    จะเกิดอาการเหลืองที่ใบแก่ก่อนโดยจะเหลืองระหว่างเส้นใบ ต่อมาอาการจะลามไปที่ใบอ่อนด้วย; ผลเติบโตไม่ดีและออกน้อย

    เกิน
    ปริมาณแมกนีเซียมที่ไม่สมดุลกับปริมาณโปแตสเซียมและแคลเซียมและทำให้พืชเติบโตช้า

    ปริมาณในพืช = 8




    กำมะถัน= S

    ส่วนประกอบของกรดอะมิโน

    ขาด
    จะเกิดอาการเหลืองที่ใบอ่อนก่อนแล้วจะกระจายไปทั่วทั้งต้น; อาการจะคล้ายกับการขาดไนโตรเจน แต่จะเกิดกับส่วนที่เติบโตใหม่ก่อน

    เกิน
    ใบร่วงก่อนเวลา


    ปริมาณในพืช = 0.2




    เหล็ก = Fe

    ทำหน้าที่ในการสร้างคลอโรฟิลล์

    ขาด
    อาการเกิดจุดเหลืองหรือขาวตามเส้นใบของใบอ่อน

    เกิน
    ใบเป็นสีน้ำตาล หรือ เป็นจุดสีน้ำตาลขึ้น

    ปริมาณในพืช = 0.2




    โบรอน= B

    ส่วนประกอบของผนังเซลล์

    ขาด
    ยอดตาย; ใบผิดรูปร่างและมีรอยสีด่าง

    เกิน
    ปลายใบจะเหลืองและอาจมีอาการตายเฉพาะส่วนตามมา; ใบไหม้และร่วง

    ปริมาณในพืช = 0.2




    แมงกานีส=Mn

    ทำหน้าที่กระตุ้นเอนไซม์

    ขาด
    ใบแก่จะมีวงด่างสีเหลืองหรือขาวขึ้น และ อาจมีจุดสีน้ำตาลขึ้นอยู่ในวงด่างด้วย

    เกิน
    ใบอ่อนจะเหลืองระหว่างเส้นใบ; ใบจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ

    ปริมาณในพืช = 0.1




    สังกะสี=Zn

    ทำหน้าที่กระตุ้นเอนไซม์

    ขาด
    อาการเหลืองระหว่างเส้นใบในใบอ่อน; ใบมีขนาดเล็กกว่าปกติ

    เกิน
    พืชที่ได้รับสังกะสีในปริมาณมากเกินไป อาจเกิดอาการเหล็กได้

    ปริมาณในพืช = 0.03




    หมายเหตุ

    ปริมาณในพืช แสดงเป็น เปอร์เซนต์เปรียบเทียบกับปริมาณไนโตรเจนในพืชที่ปรากฏในบางแห้ง และ ปริมาณสารอาหารในพืช อาจเปลี่ยนแปลงตามชนิดของพืช






    …………………………………………………….



    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สัญลักษณ์ของ sert1964
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    กระทู้
    314
    .........................
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย sert1964; 04-08-2011 at 14:24.

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    ขั้นตอนการทดสอบดิน แบบชาวบ้าน เพราะกระดาษลิสมัสคงไม่มีนะคะ


    จากการทดลอง

    นำปูนขาว มาใส่ใน น้ำส้มสายชู ชนิด 5%

    พบว่า มีฟองเดือดขึ้นมา



    แสดงว่า

    ปูนขาว มีคุณสมบัติของความเป็นด่าง
    ส่วนน้ำส้ม มีความเป็นกรด

    เมื่อทำปฏิกริยากัน เกิดฟอง



    เลยนำข้อคิดนี้มาทดลองกับดิน

    โดยนำดินที่เก็บตัวอย่างมาแต่ละที่ มาใส่ลงในน้ำส้มสายชู ชนิด 5 %


    พบว่า

    ลักษณะของดินแต่ละที่ จะทำปฏิกริยากับน้ำส้มสายชูไม่เหมือนกัน


    สรุปว่า

    ดินที่นำมาใส่น้ำส้มสายชู แล้วไม่เป็นฟอง

    เป็นดินที่อยู่ในเขตพื้นที่อุดมสมบูรณ์ นั่นเอง

















    .........................
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •