กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: การดัดจริต

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    การดัดจริต

    ฉบับที่แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึงหลักการสร้างสรรค์และพัฒนาเยาวชน ของชาติ ในฉบับนี้ จึงขอนำเสนอเกี่ยวกับลักษณะ หรือบุคลิกภาพของของบุคคล ตั้งแต่เกิดเป็นทารก เจริญวัยเป็นเยาวชน เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถประกอบอาชีพได้ จนถึงวัยแก่ชรา กล่าวได้ว่า ลักษณะหรือบุคลิกภาพนี้จะเป็นสิ่งที่ติดตัวของบุคคลไ ปตลอดชีวิต

    เรื่องบุคลิกภาพ พระพุทธศาสนา มีหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ เรียกว่า จริต หมายถึง ความประพฤติ พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลาย ที่หนักในด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไป มี ๖ อย่าง ได้แก่

    ๑. ราคจริต (One of lustful temperament) ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม

    ๒. โทสจริต (One of hating temperament) ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ ประพฤติหนักไปทางใจร้อน หงุดหงิด

    ๓. โมหจริต (One of deluded temperament) ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ ประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึม เงื่องงง งมงาย

    ๔. สัทธาจริต (One of faithful temperament) ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย

    ๕. พุทธิจริตหรือญาณจริต (One of intelligent temperament) ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติ ประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา

    ๖. วิตกจริต (One of speculative temperament) ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติ ประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน

    (ที่มา ขุ.ม.๒๙/๗๒๗/๔๓๕)
    เรื่องจริต เป็นเรื่องของพื้นฐานบุคลิกภาพของมนุษย์ในทางพระพุทธ ศาสนา ถ้าศึกษาทำความเข้าใจอย่างชัด เจนแล้ว จะทำให้ทราบชัดถึงความแตกต่างกันของแต่ละคน ซึ่งคนแต่ละคนอาจมีจริตได้มากกว่า ๑ อย่าง เช่นผู้ประ กอบด้วยราคจริต อาจมีสัทธาจริตผสมอยู่ด้วย ผู้ประกอบด้วยพุทธิจริตอาจมีวิตกจริตแฝงอยู่ด้วย ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจให้ทราบชัด เพื่อเป็นพื้นฐานแห่งบุคลิกภาพและความฉลาดทางอารมณ์ หรืออีคิว (Emotional Quotient) เนื่องจากบุคคลที่จริตต่างกัน บุคลิกภาพและอารมณ์ก็จะแตกต่างกันด้วย การพัฒนาบุคลิกภาพและการพัฒนาอารมณ์จนเกิดความฉลาดทา งอารมณ์ จะต้องเริ่มต้นที่การตระหนักรู้ในจริตทั้ง ๖

    จริตแต่ละอย่างนี้ มีโทษและประโยชน์แตกต่างกันไป สามารถแยกออกได้ ดังนี้

    ๑.ราคจริต ด้วยความประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม ผู้มีราคจริตมักเป็นผู้ขาดความแน่นอน อ่อนไหวง่าย หมกมุ่นในกามารมณ์ ชอบความรื่นเริงบันเทิงใจ ส่วนประโยชน์นั้นผู้มีราคจริตสามารถเป็นนักออกแบบตกแ ต่งต่างๆ เช่น นักสถาปัตยกรรม นักจิตรกร นักออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย นักธุรกิจ เป็นต้น

    ๒.โทสจริต ด้วยความประพฤติหนักไปทางใจร้อน หงุดหงิดง่าย ผู้มีโทสจริตมักเป็นผู้มีอารมณ์ร้าย ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย หุนหันพลันแล่น ขาดความยั้งคิด ตัดสินใจรวดเร็ว ขาดความรอบคอบ ส่วนประโยชน์นั้น ผู้มีราคจริต มีความตรงไปตรงมา รักษากฎเกณฑ์ได้ดี เหมาะจะเป็นผู้นำ ที่ต้องอาศัยการติดสินใจที่เด็ดขาด มีความกล้าหาญเช่นผู้บัญชาการรบ ผู้นำทางทหาร ผู้รักษากฎหมายและระเบียบของสังคม นักกฎหมาย เป็นต้น

    ๓.โมหจริต ด้วยความประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึม งมงาย ผู้มีโมหจริตมักเป็นผู้มีอารมณ์ไม่แน่นอน ถูกชักจูงได้ง่าย เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มักตกเป็นเหยื่อของผู้ฉลาดและชอบเอาเปรียบผู้อื่น ขาดความกระตือรือล้น ทำงานช้า ส่วนประโยชน์นั้น ผู้มีโมหจริตมักเป็นผู้ตามที่ดี เป็นบริวารที่พร้อมจะทำตามคำสั่งได้ทันทีโดยไม่มีเงื ่อนไข มีความซื่อสัตย์และจงรักภักดี เป็นผู้ใช้แรงงานในการเลี้ยงชีพ จึงเป็นที่รักของเจ้านายที่มีความมั่นใจในตนเองสูง ผู้บังคับบัญชาที่ต้องการความเด็ดขาดจะปรารถนาผู้ใต้ บังคับบัญชาเช่นนี้

    ๔.สัทธาจริต ด้วยความประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย ผู้มีสัทธาจริต จึงมักถูกโน้มน้าวจิตใจ และจักจูงได้ง่าย มีลักษณะคล้ายกันกับผู้มีโมหจริต แต่ผู้มีสัทธาจริต จะมีความเชื่อมั่นมากกว่าผู้มีโมหจริต ส่วนประโยชน์นั้น มักเป็นผู้ตามที่ดี ถ้าหันเข้ามาสู่ศาสนา จะเป็นผู้สร้างบารมีต่างๆได้ดี หากได้เชื่อสิ่งใดแล้ว จะมีความเชื่อมั่นในสิ่งนั้น

    ๕.พุทธิจริต หรือญาณจริต ด้วยความประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา ใคร่ครวญ สอบสวนมาก จึงทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงมาก ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น มีอัตตาสูงกว่าจริตอื่น ในทางจิตวิทยาอาจเรียกว่าอีโก้(Ego)สูง ส่วนประโยชน์นั้น ผู้มีพุทธิจริตมักชอบความอิสระ สามารถเสนอความคิดในทางที่สร้างสรรค์ มีความละเอียดรอบคอบ เป็นนักการศึกษา นักการศาสนา เป็นลักษณะของพระสงฆ์ นักวิชาการ ครูอาจารย์ แพทย์ นัก เขียน นักกฎหมาย เป็นต้น

    ๖.วิตกจริต ด้วยความประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจด ฟุ้งซ่าน ผู้มีวิตกจริตมักตัดสินใจไม่เด็ดขาด ใคร่ ครวญ ตรึกตรอง คิดมากเกินเหตุ ส่วนประโยชน์นั้น ผู้มีวิตกจริตมักมีความรอบคอบ แต่อาจช้า เพราะต้องทบทวนตรวจสอบจนมั่นใจ จึงจะตัดสินใจ มีลักษณะคล้ายกับพุทธิจริต แต่ความรอบคอบน้อยกว่า เป็นนักคิดเหมือนกัน แต่ความคิดยังไม่เป็นระบบเท่าพุทธิจริต สามารถเป็นนักเขียน นักการศึกษา นักการศาสนาได้ รวมถึงงานอิสระส่วนตัว

    ในสังคมไทยถ้ามีใครถูกบุคคลอื่นกล่าวว่า?ดัดจริต?จะหมายความว่าผู้นั้นทำสิ่งที่ไม่ใช่อุปนิส ัยเดิมของตนเอง ซึ่งมีผลในทางเสียหาย เป็นไปในทางลบมากกว่า แต่ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าการดัดจริตนี้ เป็นการฝึกฝน อบรม ขัดเกลา ข่ม ยับยั้ง ควบคุมและพัฒนาอุปนิสัยหรือจริตของตนเองซึ่งสามารถพั ฒนาได้ มนุษย์คือสัตว์พิเศษที่สามารถพัฒนาได้ในทุกวิถีทาง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจยิ่งพัฒนาก็ยิ่งเป็นประโยชน์

    จริตนี้แม้จะแสดงออกและสังเกตได้จากพฤติกรรมทางกายแล ะวาจา แต่ก็มีพื้นฐานมาจากจิตใจ ดังนั้นพระ พุทธศาสนาจึงให้ความสำคัญกับจิตใจ เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานและจุดศูนย์กลางของพฤติกรรมทั ้งหลายของมนุษย์ จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝน อบรม ขัดเกลา บังคับ ยับยั้ง และพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ใช่เพียงการแสดงออกมาด้วยความเสแสร้ง หรือแกล้งกระทำ ในบางกรณีหรือบางสถานการณ์เท่านั้น ซึ่งตรงกับกับอุปนิสัยอันแท้จริงของตนเอง การดัดจริตที่เป็นไปเพียงชั่วขณะหนึ่งหรือเฉพาะกรณีเ ท่านั้นจึงมีผลในทางลบมากกว่า ทำให้ผู้ดัดจริตนั้นๆ ถูกผู้อื่นมองในทางที่เสียหาย แม้คำว่า?ดัดจริต?ที่ใช้กันในสังคมทั่วไป ก็หมายถึงการดัดจริตที่ไม่ต่อเนื่องนี้ แต่พระ พุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เกี่ยวเนื่องเป็นเหตุ เป็นผล เป็นปัจจัยส่งเสริมและสนับสนุนกันและกัน ดังนั้นจะฝึกฝน อบรมหรือพัฒนาสิ่งใด จะต้องกระทำด้วยความต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จนกลายเป็นจริต บุคลิกภาพ อุปนิสัย ที่ได้รับการพัฒนาแล้วสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้อย่ างสร้างสรรค์ ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมส่วนรวม

    หลักพระพุทธศาสนา ได้ชี้แนะแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข ฝึกหัด และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นการป้องการความผิดปกติทางบุคลิกภาพ และป้องกันความลุ่มหลงอารมณ์ตนเอง ซึ่งกล่าวไว้แยกกล่าวให้ตรงตามจริต เรียกว่า กรรมฐาน คือ ที่ตั้งแห่งการกระทำการปรับแก้จริต ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริตในทางที่เหมาะสมและสร้างสร รค์ซึ่งปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก (ในส่วนของพระสูตร) และในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ดังนี้

    ๑)ราคจริต กรรมฐานคู่ปรับสำหรับแก้ คือ อสุภะ และกายคตาสติ

    ๒)โทสจริต กรรมฐานที่เหมาะ คือพรหมวิหาร และกสิณ โดยเฉพาะวัณณกสิณ

    ๓)โมหจริต กรรมฐานที่เกื้อกูล คืออานาปานสติ และพึงแก้ด้วยมีการเรียน ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาล หรืออยู่กับครู

    ๔) สัทธาจริต พึงชักนำในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใสและความเชื่อที่ มีเหตุผล เช่นพิจารณาอนุสติ ๖ ข้อต้น

    ๕) พุทธิจริต หรือญาณจริตพึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดในทางท ี่ชอบ เช่น พิจารณาไตรลักษณ์ กรรมฐานที่เหมาะ คือมรณสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา

    ๖) วิตกจริต พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ เป็นต้น

    (ที่มา: ขุ.จู.๓๐/๔๙๒/๒๔๒, วิสุทฺธิ.๑/๑๒๗)
    เมื่อพยายามฝึกฝน อบรม ปฏิบัติ และใช้หลักการดังนี้ ผู้มีราคจริตจะถูกแก้ไขความลุ่มหลงในของสวยงามเกินไป ให้มีอารมณ์มั่นคงขึ้น ไม่หวั่นไหวง่าย เป็นต้นผู้มีโทสริต จะกลายเป็นผู้ความประนีประนอม ยอมรับฟังความ เห็นของบุคคลอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ข่มเหงหรือบีบบังคับผู้อื่น จิตใจอ่อนโยนเป็นต้น ผู้มีโมหจริตจะกลายเป็นผู้มีหนักแน่น รู้จักการวางแผนล่วงหน้า กำหนดเป้าหมายในการทำงานได้ เป็นต้น ผู้มีสัทธาจริต จะมีหลักการที่ชัดเจนขึ้น มีจุดยืนที่มั่นคง ไม่เชื่ออย่างไร้เหตุผล มีวิจารณญาณมากขึ้น เป็นต้นผู้มีพุทธิจริตหรือญาณจริตจะเป็นผู้รับฟังควา มคิดเป็นของผู้อื่น เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น อนุเคราะห์เกื้อกูลไม่หลอกลวงผู้อื่น เป็นต้นผู้มีวิตกจริต ก็จะได้รับการป้องกันและแก้ไขให้สามารถปรับเปลี่ยนบุ คลิกลักษณะและอารมณ์ จากความเป็นผู้จับจด ไม่แน่ใจ ฟุ้งซ่านจะกลายเป็นผู้มีอารมณ์ที่มั่นคง จิตลดความกังวลลงได้

    หลักการเรื่องจริตทั้ง ๖ นี้ ถ้าศึกษาให้ดีและนำไปฝึกฝน อบรม ขัดเกลา ข่ม ยับยั้ง และพัฒนาตนเองอย่างแท้จริงแล้ว จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ดัดจริตตามความหมายที่กล่าวมา เพราะเป็นไปเพื่อการพัฒนาทางบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ไ ด้ด้วยตนเอง จะเป็นสิ่งเกื้อกูลให้การตระหนักรู้ และถ้านำมาแก้ไขให้ถูกต้อง ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์ สามารถปรับบุคลิกภาพให้เหมาะสม เปลี่ยนบุคลิกลักษณะที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง แก้ไขอารมณ์ที่ขัดแย้งให้แสดงออกอย่างเหมาะสม ถูกกาลเทศะ ที่สำคัญ ทำให้จิตรวมสงบเป็นสมาธิได้ง่าย เพราะเป็นการปรับแก้อารมณ์ให้เกิดความสมดุลนั่นเอง

    ดังนั้น เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่า?ดัดจริต?เราทั้งหลายจึงควรจะฝึกดัดจริตกันดีกว่า เพราะการดัดจริตที่มีความสุดโต่ง คือหนักไปในทางใดทางหนึ่ง ให้มีความเป็นกลางได้มากที่สุดย่อมเป็นผู้มีจริตที่เ ข้ากับสังคมทุกสังคมได้ และยังสามารถควบคุมและพัฒนาสังคมนั้นๆให้เป็นไปในทาง ที่สร้างสรรค์ได้ เหมือนพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ในครั้งพุทธกาล ผู้ดัดจริตและกมลสันดานตนเอง จนเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังพระพุทธพจน์ว่า ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ แปลความว่า มนุษย์ผู้ฝึกแล้ว เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ที่ฝึกได้รับการฝึกฝนดีแล้วก็เป็นสัตว์ที่ประเส ริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายในประเภทเดียวกัน เช่น

    ๑.บรรดาช้างทั้งหลาย ช้างที่ได้รับการฝึกฝนดีแล้วเรียกว่า?ช้างอาชาไนย์?

    ๒.บรรดาม้าทั้งหลาย ม้าที่ได้รับการฝึกฝนดีแล้วเรียกว่า?ม้าอาชาไนย์?

    ๓.บรรดาโคทั้งหลาย โคที่ได้รับการฝึกฝนดีแล้วเรียกว่า?โคอุสุภะ?

    บรรดาสัตว์เหล่านี้ พระราชาในอดีต จะเลือกทรงช้างอาชาไนย์ ทรงม้าอาชาไนย์ ในราชพิธี เช่น พิธีในวันพืชมงคล โคที่ถูกเลือกใช้ในพิธีคือโคอุสุภะเท่านั้น

    แม้แต่สุนัขที่ฝึกแล้ว มนุษย์ยังรักและชอบ เพราะสามารถใช้งานได้ ดังนั้นการดัดหรือการฝึกหัดจริต นิสัย สันดาน จึงเป็นสิ่งที่จะต้องฝึกหัดและปฏิบัติให้สม่ำเสมอ เพราะการดัดจริตตนเองอยู่เสมอนี้มีผลอย่างต่ำคือ สามารถวางตนในสังคมได้อย่างเหมาะสม ผลระดับสูงทำให้เกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรม สามารถบรรลุอริยธรรมชั้นสูง

    ด้วยเหตุดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ผู้ได้ฝึกฝนอบรมตนดีแล้ ว ย่อมเป็นผู้มีอานุภาพมากกว่า สามารถประกอบกิจการต่าง ๆ ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า เหมือนม้าอาชาไนย์ ทิ้งม้าที่ไม่ได้ฝึกฝนไว้ข้างหลัง ฉะนั้น

    โดย พระมหานิพนธ์ ฐิตวีรคุโณ
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
    ช่างภาพอิสระ

    วันที่สมัคร
    Sep 2006
    กระทู้
    689

    Re: การดัดจริต

    ดีมากเลยค่ะน้องปุ๊ย เอื้อยต้องไปฝึกหัดเบิ่งก่อนเด้อ..

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •