กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: เจ้าพระยาแม่น้ำแห่งชีวิต

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    อ่านข่าวออนไลน์ เจ้าพระยาแม่น้ำแห่งชีวิต

    แม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ได้เป็นเพียงแม่น้ำสายหนึ่งเท่านั้น

    แต่เป็นมหาธาราที่ก่อให้เกิดอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของชาวสยาม

    ในบันทึกโบราณของนักเดินทางชาวอาหรับ ชาวยุโรป ชาวจีน

    เมื่อหลายร้อยปีก่อนจะเรียกชนชาติไทยว่าชาวไทยสยามแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา





    สุโขทัยเป็นตำแหน่งที่ถูกค้นพบว่า

    เป็นบริเวณศูนย์กลางของชาวไทยสยามในการสร้างชาติยุคแรก

    แม้ว่าที่ตั้งจะไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม

    ซึ่งก็เป็นต้นน้ำสายหลักของแม่น้ำเจ้าพระยาสายหนึ่ง

    เมืองที่สำคัญของราชวงศ์สยามแห่งอื่นๆ

    ก็ล้วนตั้งอยู่ริมแม่น้ำที่จะไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งนั้น

    เช่น นครพิงค์ (เชียงใหม่), หริภุญชัย (ลำพูน) อยู่ริมแม่น้ำปิง

    เขลางค์นคร (ลำปาง) อยู่ริมแม่น้ำวัง

    พิษณุโลกอยู่ริมแม่น้ำน่าน

    ละโว้ (ลพบุรี) อยู่ริมแม่น้ำลพบุรี






    ในเวลาต่อมาความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักร

    ได้เดินทางมาตามสายน้ำ รวมตัวกันเป็นศูนย์กลาง

    ของอาณาจักรชาวไทยสยามแห่งใหม่ และยิ่งใหญ่กว่าเดิม

    อยู่ใกล้ทะเลมากยิ่งขึ้น นั่นคือ กรุงศรีอยุธยา





    มีการค้าขายข้ามโลกทางเรือ มีเรือสำเภาจากนานาชาติเข้ามา

    แม่น้ำสาขาต่างๆ ที่ไหลมาจากภาคเหนือก็เป็นเส้นทาง

    ขนส่งทรัพยากรธรรมชาติ อันมีค่ามากในแผ่นดิน

    นำไปแจกจ่ายค้าขายทั่วโลก สร้างความมั่งคั่งให้ชาวสยามอย่างมาก

    และเริ่มมีชาวต่างชาติมาตั้งบ้านเรือนอยู่ร่วมกับชาวสยามมากขึ้น

    เช่น ชาวโปรตุเกส ชาวญี่ปุ่น ชาวจีน แขกเปอร์เซีย






    มีบันทึกรุงศรีฯเรียกชื่อบริเวณปากแม่น้ำสู่อ่าวไทย

    ว่า ปากน้ำพระประแดง พอมาถึงปลายสมัยกรุงศรีฯ

    ได้เปลี่ยนมาเรียกว่า ปากน้ำบางเจ้าพระยา

    ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายใน

    พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาไว้ว่า


    “ที่เรียกปากน้ำเจ้าพระยาทุกวันนี้ แต่โบราณเรียกว่าปากน้ำพระประแดง ภายหลังเมื่อแผ่นดินงอก ทะเลห่างออกไปไกลเมืองพะประแดง จึงเรียกปากน้ำบางเจ้าพระยา ได้เห็นในจดหมายเหตุพระอุบาลีไปเมืองลงกา เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ ในหนังสือนั้นเรียกว่าปากน้ำบางเจ้าพระยา ทำนองเรียกปากน้ำบางประกง เข้าใจว่าที่ซึ่งตั้งเมืองสมุทรปราการทุกวันนี้ ในเวลานั้นเรียกบางเจ้าพระยา...”







    ชื่อบางเจ้าพระยาอาจมาจากบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาคนใดคนหนึ่ง

    ที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมปากน้ำสายนี้ และมีกำลังพล

    ตั้งค่ายด่านตรวจอยู่ที่ตำบลหรือบางนี้ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีฯ

    ต่อมานักเดินเรือที่ผ่านเข้าออกบริเวณนี้ จึงเรียกแม่น้ำทั้งสายว่าแม่น้ำเจ้าพระยา






    มีบันทึกโบราณเก่าแก่ของชาวยุโรป ที่เดินทางมาในช่วงกรุงศรีฯ

    สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ลาลูแบร์ ได้กล่าวถึงชื่อแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ว่า



    “ลำน้ำอันสวยงาม ซึ่งคนสยามเรียกว่าแม่น้ำ ไหลผ่านตั้งแต่เมืองเชียงใหม่ จนกระทั่งตกทะเล คือ จากเหนือมาใต้ คำว่าแม่น้ำนี้ มีความหมายเช่นเดียวกับ แม่น้ำอันแปลว่าลำน้ำใหญ่”







    ในแผนที่กรุงศรีฯ สมัยแรก ที่ชาวยุโรปผู้อื่นทำไว้

    ลงชื่อบริเวณที่เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ว่า Menam หรือไม่ก็ Menam River

    เพราะชาวสยามยอมรับว่าลำน้ำสายนี้เป็นมหาธาราที่ยิ่งใหญ่

    กว่าลำน้ำสายอื่นๆ จึงเรียกยกย่องตามธรรมเนียมโบราณ

    ว่า แม่น้ำ คือเป็นมารดาแห่งสายธาราทั้งหลาย หรือมหาธาราที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดิน

    ส่วนลำน้ำสายอื่นนั้นจะเรียกนำหน้าว่าลำน้ำและตามด้วยชื่อ

    เช่น ลำน้ำปิง ลำน้ำยม ลำน้ำน่าน
    ส่วนในวิชาภูมิศาสตร์ปัจจุบัน จะสอนเด็กๆ ว่า
    ต้นแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดขึ้นที่บริเวณปากน้ำโพธิ์ จ.นครสวรรค์


    จากการรวมกันของแม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน
    หากวัดระยะทางจากต้นแม่น้ำตามที่ว่า แม่น้ำเจ้ายาจะยาวเพียง 372 กม.

    แต่ถ้ายึดถือตามบันทึกของลาลูแบร์ แม่น้ำสายนี้จะยาวไปถึงเชียงใหม่

    โดยรวมเอาแม่น้ำปิงเป็นส่วนหนึ่งด้วย และมีแม่น้ำสายอื่นๆ

    ไหลมาสมทบระหว่างทาง และจะมีความยาวถึงเกือบ 1,000 กม.


    แต่ไม่ว่าจะยึดจากตำราไหนก็ตาม แม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังคงเป็น


    ...มหาธาราที่ยิ่งใหญ่ของชาวไทยอยู่เสมอ...



    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=vFQ-kS1TI8c


    ข้อมูลบางส่วนจากจดหมายเหตุลาลููแบร์[ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์]
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 05-08-2011 at 22:24.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •