กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงยกสามัญชนขึ้นเสมอด้วยมารดา

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    อ่านข่าวออนไลน์ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงยกสามัญชนขึ้นเสมอด้วยมารดา

    ยังมีเรื่องที่คนจดจำไว้เล่าได้เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน

    พระองค์นี้อีกมากมายแต่จะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้

    เพื่อมิให้ยาวความจนเกินไป

    แต่ทั้งที่ได้สัญญาว่าจะเขียนเรื่องนี้ให้สั้นแล้ว ดังนี้

    ก็ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องเล่าไว้

    คืนวันหนึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จอยู่ในเรือเล็กในลำแม่น้ำ

    ขณะนั้นเกิดพายุใหญ่ ฝนตกหนัก

    ยังไม่สามารถเสด็จกลับพระราชวังได้

    จึงได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นยังกระท่อมหลังหนึ่ง

    ซึ่งมีหญิงชราที่ยากจนอาศัยอยู่ แล้วเสด็จเข้าไปในกระท่อมนั้น

    โดยไม่มีใครรู้จักพระองค์ และด้วยเสียงอันดัง

    ฝ่ายหญิงชรานั้นก็ตกใจนัก กล่าวว่า

    "ลูกเอ๋ย เจ้าไม่รู้หรือว่าพระเจ้าอยู่หัวของเรา

    อาจประทับอยู่ใกล้ ๆ นี้ก็ได้ "

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า

    "แม่เอ๋ย แม้พระเจ้าอยู่หัวจะทรงได้ยินเสียงข้า ก็ช่างประไร

    ถึงจะลงพระราชอาญาประหารชีวิตข้าเสียก็จะเป็นไรมี

    ถ้าเป็นดังนั้นก็เป็นคราวเคราะห์ของข้า

    คนอื่นก็ได้รับเคราะห์นั้นมากต่อมาก จะได้รู้ตัวกันก่อนก็หาไม่"

    หญิงชรานั้นก็ทรุดตัวลงแทบพระบาทยุคล

    แล้วกล่าววิงวอนด้วยความประหวั่นพรั่นพรึง

    ขออย่าให้ตรัสถึงสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอย่างนั้น

    หญิงชรานั้นกล่าวว่า "เทพยดาฟ้าดินได้ส่งพระองค์

    พระเจ้าอยู่หัวมาให้แก่เราทั้งปวง

    ฉะนั้น พระองค์จะทรงกระทำความชั่วมิได้

    เทพยดาได้ส่งพระองค์ลงมาให้ลงพระราชอาญา

    และให้ทรงตัดสินบาปกรรมของคนอย่างเรา

    เราควรจะต้องอยู่ในโอวาทของท่าน"

    ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินที่ปกครองเรา


    ยิ่งแม่เฒ่าพยายามที่จะให้เบาพระสุรเสียงลงเพียงใด

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสด้วยพระสุรเสียงดังขึ้น

    จนเป็นเสียงตะโกน จนถึงที่สุดหญิงชรานั้น

    ก็ขอให้พระองค์เสด็จออกจากบ้านไปเสีย

    เพราะหากประทับต่อไป ตนก็จะต้องร่วมเป็นโทษด้วย

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสว่าจะเสด็จไป

    แต่จะขอน้ำจัณฑ์เสวยก่อน

    เพราะได้ทรงต้องละอองฝนจนหนาวพระองค์

    หญิงชรานั้นก็ตอบว่า "ลูกเอ๋ย เจ้าก็รู้อยู่ว่า

    เทศกาลนี้เป็นเทศกาลเข้าพรรษา เมื่อยังอยู่ในพรรษาแล้ว

    ผู้ใดจะล่วงพระราชอาญา ซื้อหรือดื่มเหล้าไม่ได้

    แต่ถ้าเจ้าจะต้องการเสื้อผ้าที่แห้งอย่างที่แม่นุ่งห่มอยู่แล้ว

    แม่ก็จะหาให้ แม่จะซักและตากเสื้อผ้าที่เจ้านุ่งอยู่ให้แห้ง

    เจ้าจงไปพักผ่อนหลับนอนเสียก่อนเถิด"


    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับผ้าผ่อนจากหญิงนั้น

    แล้วทรงมอบพระภูษาให้แก่หญิงนั้นไปซักตากแห้ง

    แต่ยังคงตรัสเรียกน้ำจัณฑ์มาเสวยอยู่

    ตรัสว่าไม่มีพระราชประสงค์ที่จะให้พระราชกำหนด

    อันเคร่งครัดของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนั้น

    มาผูกมัดพระองค์ หญิงชรานั้นจึงรินสุรา

    ใส่ถ้วยเล็กมาถวาย แล้วก็สาบานว่า

    สุรานั้น ตนได้ซื้อไว้ก่อนเข้าพรรษา

    เมื่อเข้าพรรษาแล้วก็มิได้ดื่มสุรานั้นเลย

    พลางก็ขอสัญญาจากพระองค์ว่า จะมิทรงแพร่งพราย

    เรื่องนี้ให้แก่ผู้ใดทราบ เมื่อเสวยน้ำจัณฑ์แล้ว

    หญิงชรานั้นก็นำพระองค์ไปบรรทมบนเสื่อผืนเล็กของตน

    แล้วจึงนำพระภูษาไปซักตากให้แห้ง

    เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมตื่นแล้วก็ทรงผลัดพระภูษา

    ที่แห้งแล้วตรัสขอบใจหญิงนั้น แล้วก็ทรงอำลา

    หญิงชรานั้นก็กล่าวว่า "ลูกเอ๋ย เจ้าจงอยู่ที่นี่จนสว่างก่อนเถิด

    หรือถ้าจะกลับบ้านเดี๋ยวนี้ก็จงพายเรือไปเงียบ ๆ

    อย่าให้มีเสียงดังพระกรรณสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    โทษจะมีมาถึงตัวลูก "


    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสตอบว่า "ข้าจะทำดังนั้น"

    แล้วก็เสด็จออกจากกระท่อมน้อยของหญิงชรา

    แล้วจึงเสด็จด้วยเรือเล็กไปยังหมู่ตำรวจ

    ซึ่งคอยพระองค์อยู่ในเรือของตน

    ไม่ไกลจากกระท่อมหลังนั้น


    ในวันรุ่งขึ้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มี

    พระราชดำรัสสั่งให้เอาเรือกันยามีบุษบก

    ไปจอดที่หน้ากระท่อมน้อยที่ได้ประทับแรมเมื่อคืนนี้

    เรือลำนี้เป็นเรือพระที่นั่งทรงของสมเด็จพระราชชนนี

    หรือพระอัครมเหสีในงานพระราชพิธีเต็มยศใหญ่

    พระภูษาที่ทรงในคืนนั้นก็ให้เชิญไปในเรือพระที่นั่งนั้นด้วย

    มีพระราชดำรัสสั่งมหาดเล็กว่าให้นำพระภูษาทรงนี้ไปแสดงแก่

    หญิงชราผู้นั้นให้นำตัวหญิงชราผู้นั้นลงเรือพระที่นั่ง

    มายังพระราชวังแล้วให้นำเข้ามาเฝ้า

    เมื่อหญิงชรานั้นเห็นมหาดเล็กมาหาตน

    ก็ตกใจกลัวจนตัวสั่นคิดว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    คงจะได้ทรงทราบถึงเหตุที่เกิดขึ้น

    ในบ้านของตนเมื่อตอนกลางคืน

    ถึงแม้ว่ามหาดเล็กจะปลอบว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ตรัสใช้ให้มารับ หญิงชรานั้นก็มิได้เชื่อว่า

    ตนจะมิต้องราชภัย เฝ้าแต่วิงวอนให้มหาดเล็ก

    กลับไปกราบบังคมทูลว่า "ตนได้ตกใจตายเสียแล้ว"

    ด้วยอาการอันน่าสมเพชขณะนั้น แม่เฒ่าก็คิดจะหนีไปหาพระสงฆ์

    ให้ช่วยชีวิตตนไว้แต่เหล่ามหาดเล็กก็มิได้ฟัง

    เข้ากุมตัวแม่เฒ่านั้นอย่างนอบน้อม

    ช่วยกันแต่งกายแม่เฒ่า แล้วนำขึ้นเรือมายังพระราชวัง

    แล้วจึงนำเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ทรงทอดพระเนตรเห็นหญิงชรานั้นก็เสด็จ

    พระราชดำเนินเข้ามาจับมือหญิงชรานั้นไว้

    แล้วตรัสว่าพระองค์คือคนที่เข้าไปนอนค้างที่กระท่อม

    และหญิงชรานั้นได้มีอุปการะคุณแก่พระองค์เมื่อคืน

    แล้วตรัสต่อไปว่า "และเพราะเหตุว่า ในยามยาก

    ท่านได้รับเราเป็นบุตรของท่าน

    ต่อไปนี้เราจะเรียกท่านว่าแม่"


    สามัญชนตรัสสั่งให้จัดตำหนักในพระราชวังให้

    หญิงชรานั้นได้เข้าพำนักอาศัย แล้วทรงอุปการะเลี้ยงดู

    จนหญิงชรานั้นถึงกาลเวลาแห่งตนประดุจว่า

    เป็นพระราชมารดาแท้จริง เมื่อหญิงชรานั้นถึงแก่กรรมลง

    ก็ได้พระราชทานเพลิงศพเช่นเดียวกบพระบรมศพพระมเหสี


    "วัน วลิต" คงจะได้ฟังเรื่องนี้จากคำคนบอกเล่า

    แต่ก็เห็นว่าสำคัญถึงขนาดต้องจดลงไว้ทั้งเรื่อง

    ซึ่งก็น่าขอบใจ วัน วลิต เพราะได้ทำให้เราได้แลเห็น

    น้ำพระราชหฤทัยของพระนเรศวรเป็นเจ้าทั้งสามด้าน


    (หมายเหตุ : ข้อมูลส่วนใหญ่ อ.คึกฤทธิ์อ้างอิงจากบันทึกของ

    Jeremias Van Vliet หรือที่คนไทยเรียกกันว่า "วัน วลิต"

    เป็นฝรั่งชาวฮอลันดาผู้หนึ่งที่บันทึกเหตุการณ์

    สมัยสมเด็จพระนเรศวร บันทึกดังกล่าวมีชื่อว่า

    พระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยสังเขป )



    ด้านหนึ่งนั้น เป็นพระราชหฤทัยของวีรกษัตริย์ผู้เฉียบขาด

    เคร่งในระเบียบวินัย มิได้ทรงย่อหย่อนที่จะลงพระราชอาญา

    แก่ผู้ที่ขาดวินัยหรือทำผิดพระราชกำหนดกฎหมาย

    ทรงกระทำพระองค์ให้เป็นที่เกรงขามเป็นที่สุด

    แก่คนทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร

    อันเป็นทางเดียวที่จะกอบกู้และรักษาไว้ซึ่ง

    เอกราชของชาติตลอดจนความสงบสุข

    และความสามัคคีในบ้านเมือง

    อีกด้านหนึ่งนั้น ทรงเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

    เช่นโปรด ฯ ให้ฝรั่งเข้าเฝ้าตามแบบอย่างธรรมเนียมของตน



    ( หมายเหตุ : สมเด็จพระนเรศวรเป็นกษัตริย์พระองค์แรกในเอเชีย

    ที่ยอมให้ฝรั่งเข้าเฝ้าตามธรรมเนียมของตน

    โดยไม่เห็นว่าเสียพระเกียรติยศ

    ทั้งทรงมีพระราชดำรัสต่อราชทูตจากต่างประเทศว่า

    "เราจึงไม่ต้องการที่จะให้ท่าน

    ให้เกียรติยศแก่เราหรือเคารพเรามากกว่า

    ที่ท่านถวายแก่เจ้าของท่านตามธรรมเนียม" )

    ทรงเป็นผู้รอบรู้ในเหตุการณ์และความเคลื่อนใหวต่าง ๆ

    ทั้งในและนอกประเทศ ทรงทอดพระเนตรเห็น

    ความสำคัญของสิ่งที่ควรจะเห็น

    คืออำนาจและความเจริญของประเทศ

    ต่าง ๆ ในยุโรปสมัยนั้นถึงกับทรงมีพระราชดำริ

    ให้ส่งคณะราชทูตไทยไปเจริญพระราชไมตรีในยุโรป

    เป็นวิเทโศบายที่นำหน้าชาติอื่น ๆ ในเอเชียในสมัยเดียวกัน

    อีกด้านหนึ่งที่สำคัญยิ่งก็คือน้ำพระราชหฤทัย

    อันเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาต่อผู้ยากไร้

    ดังเรื่องที่ วัน วลิต ได้เล่าไว้


    อ้างอิงจาก หนังสือ "กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้ "

    เขียนโดย อ.คึกฤทธิ์ ปราโมช

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    เยี่ยมๆน้องบี...เป็นประวัติศาสตร์ที่คนไทยไม่ได้เรียน

  3. #3
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30
    มีอีกหลายเรื่องมากค่ะลุงใหญ่ที่คนไทยไม่รู้ ขอบคุณที่ให้กำลังใจเสมอค่ะคุณลุง

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •