กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระอัครมเหสี หรือพระมเหสี หรือไม่?

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    อ่านข่าวออนไลน์ สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระอัครมเหสี หรือพระมเหสี หรือไม่?

    สืบเนื่องจากได้พบคำถาม เกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ว่า พระองค์มีพระอัครมเหสี มีพระมเหสี และพระโอรส พระธิดา หรือไม่
    จึงขอเสนอข้อมูลอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งได้รับจากอาจารย์ท่านหนึ่ง ที่มีความเคารพนับถือมาก เพื่อให้ทุกท่านที่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้ ลองอ่านพินิจพิจารณาดู ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเทิดทูน ในพระราชหฤทัยของพระองค์ท่าน

    เรื่องราวเกี่ยวกับพระมเหสี และความรักของ พระมหาราชพระองค์นี้ หากท่านผู้อ่านที่ได้มาพบบทความนี้...ลองทำใจให้เปิดกว้าง ลองพินิจพิจารณาเนื้อหาเรื่องราวอันเป็นเหตุและเป็นผลโดยใช้สติปัญญา อย่าพึงเอาชนะคะคานกัน ต้องหาหลักฐานมารองรับจึงจะเชื่อถือได้ เท่าที่ทราบ พงศาวดารก็ดี เรื่องเล่าก็ดี เกร็ดความรู้ที่มีผู้บันทึกไว้ไม่ใช่พงศาวดารก็ดี แม้กระทั่งพระไตรปิฎกชำระกันมาไม่รู้กี่ครั้งแล้วก็ยังมี่ส่วนที่ขัดแย้งกันเลย เพราะฉะนั้นขอให้ทุกท่านเปิดใจให้กว้างเพื่อใช้ปัญญาพิจารณาว่า มีเหตุมีผลพอที่จะศึกษาได้หรือไม่? มิใช่ว่าทุกคนทุกท่านอยู่ในเหตุการณ์แล้วเป็นผู้นำมาเล่า เล่าไปเล่ามาหลายครั้งหลายหน หลงๆ ลืมๆ ครั้งแรก ครั้งสอง ครั้งต่อๆมา อาจจะตกหล่นหายไปเยอะแยะ ด้วยเหตุนี้แหละจึงไม่ควรมองข้ามสิทธิของแต่ละบุคคลว่า มีสติปัญญาความรู้ความสามารถและวิสัยทัศน์มากน้อยแค่ไหน สำหรับผมนั้นทำใจกลางๆ ไม่ยึดไม่เกาะอยู่ นึกสนุกจึงได้ขอเสนอเรื่องราวอีกมุมมองหนึ่ง ที่ผมทราบมาเป็นเวลาสามสิบกว่าปีแล้ว และก็พยายามศึกษาถึงตัวบุคคล เหตุการณ์ถึงความเป็นไปได้ ถึงการกลับชาติเกิดไป กลับชาติเกิดมา ก็สนุกดีเหมือนกัน...
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือพระองค์ดำนั้น นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระสติปัญญา พระวรกาย พระราชหฤทัย เพื่อประเทศชาติ เพื่อบ้านเมือง เพื่อประชาชนชาวสยาม ตลอดพระชนม์ชีพอย่างแท้จริง เริ่มตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ นอกจากต้องทรงร่ำเรียนศิลปะวิชาการ ๑๘ ประการ สำหรับราชนิกูลแล้ว พระองค์ต้องเสด็จไปยังต่างบ้านต่างเมือง ไปอยู่เมืองหงสาวดี ตั้งแต่พระชนมายุเพียง ๘ – ๙ พระชันษาเท่านั้น เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา ในคราวเดียวกัน ซึ่งมีพระชันษามากกว่า ๘ ชันษา ถึงแม้ว่าพระเจ้าบุเรงนองทรงให้ความรัก ความอบอุ่น ดุจเดียวกับพระโอรสของพระองค์เอง เฉกเช่นเดียวกับบรรดายุวกษัตริย์ทั้งหลายที่พระเจ้าบุเรงนองรับมาดูแลอยู่ในหงสาวดี ทรงตัดเสื้อผ้าให้สวยงามเหมือนกันทุกพระองค์ เครื่องอุปโภค มีจาน ถาด ช้อน ล้วนเป็นทองคำ ทรงให้เรียนศิลปะวิทยา ๑๘ ประการ เช่น ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู ฟันดาบ ใช้ทวน ใช้อาวุธทุกชนิด รวมทั้งตำราพิชัยสงคราม ทรงสอนให้รู้ถึงเรื่องการปกครอง การศาสนา และความสามัคคี ให้แก่เหล่ายุวกษัตริย์ ที่อยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมาของกรุงหงสาวดี ที่ต่างต้องมาเป็นตัวประกันให้กับบ้านเมืองของตน (ทำให้เกิดผลดีต่อพระองค์ดำมาก เพราะเป็นการประกาศให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ พระสติปัญญาของพระองค์ดำ อันโดดเด่นกว่ายุวกษัตริย์องค์อื่นๆ) แต่ในพระราชหฤทัย ของยุวกษัตริย์พระองค์นี้ ทรงคิดที่จะกระทำการเพื่อบ้านเพื่อเมืองเพื่อแผ่นดินเกิดของพระองค์อยู่ตลอดเวลา
    ระยะเวลา ๖ ปี ที่ทรงประทับอยู่ในเมืองหงสาวดี มีสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา ที่ทรงเคารพรัก และเทิดทูน คอยเอาใจใส่ดูและพระอนุชาพระองค์นี้ ตั้งแต่ยังทรงประทับอยู่ในประเทศสยาม อยู่ในกรุงหงสาวดีก็เช่นเดียวกัน ทรงเอาใจใส่ดูแล ซึ่งกันและกัน ดุจเดิม ทั้งสองพระองค์ต่างเข้าพระทัยในกันและกันเป็นอย่างดี
    ในขณะที่พระองค์อยู่ในหงสาวดีนั้น เฉกเช่นเดียวกันกับหนุ่มสาวโดยทั่วไป ทรงมีพระทัยรักอันบริสุทธิ์กับพระราชธิดา พระองค์หนึ่ง ของพระเจ้าบุเรงนอง กับพระมเหสีซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์เมืองลังกา พระราชธิดาพระองค์นี้ทรงมีพระนามว่า ท่านศุภศิริกัญญา ทรงมีพระจริยาวัตรที่อ่อนหวาน โอบอ้อมอารี มีพระสติปัญญาเป็นเลิศ มีพระสิริโฉมสง่างามและงดงามยิ่งนัก (เข้าตำราที่ว่าผิวพม่านัยน์ตาแขก) มีพระชันษารุ่นราวคราวเดียวกัน ต่างกันเพียงนับเดือนเท่านั้น ทรงพบปะกันอยู่เสมอๆ ที่วัดมุเตา (ถึงแม้พระองค์จะเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาแล้ว ในคราใดที่เสด็จมายังหงสาวดี ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการก็ทรงได้พบปะกัน ณ ที่วัดมุเตาแห่งนี้) โดยเสด็จไปเพื่อทำบุญ สักการะพระเจดีย์อันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยกัน... และในวันที่สมเด็จพระนเรศวรต้องเสด็จนิวัติกรุงศรีอยุธยานั้น ทรงนัดพบกัน ณ วัดมุเตา อันศักดิ์สิทธิ์ แห่งนี้ อันเป็นธรรมดาของหนุ่มสาว เมื่อถึงเวลาที่ต้องจากกัน ทรงให้คำมั่นสัญญา ณ วัดมุเตาแห่งนี้ ว่า... “...วันใดที่กู้เอกราชได้สำเร็จ และได้ครอบครองเมืองแล้ว ก็จะมารับเธอไปสู่เมืองไทย เพื่ออภิเษกเป็นพระมเหสี...” พระราชธิดาทรงถวายสัจจะไว้เช่นเดียวกัน “...หากมิได้อุปภิเษก ซึ่งองค์ดำแล้ว...ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติใด ก็จะไม่มีชายอื่น...”
    ยังมีต่อค่ะ..

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    กระทู้
    6
    ขอบคุณมากครับสำหรับบทความนี้ซึ่งผมไม่เคยรู้มาก่อน

  3. #3
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    อ่านข่าวออนไลน์ ตอนต่อไปค่ะ ๑๖ ส.ค. ๕๔

    เมื่อถึงเพลาที่สมเด็จพระนเรศวรตัดสินพระทัยจะเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา...พระองค์ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนอง...เป็นการส่วนพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองนั้น ทรงทราบอย่างแน่แท้ว่า หากสิ้นพระองค์แล้ว กรุงหงสาวดีจะไม่สามารถอยู่รอดได้ เพราะพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่รอบรู้ในทุกด้าน การบริหาร การปกครอง การศึกสงคราม การยุติธรรม การทูต การพระศาสนา ศิลปะวิชาการต่างๆ ทรงมองการไกล ทรงมองไม่เห็นผู้ใดที่จะมีความรู้ความสามารถเท่ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงทรงกล่าวออกปากยกกรุงหงสาวดีให้สมเด็จพระนเรศวรปกครอง และทรงให้สมเด็จพระนเรศวรไปไตร่ตรองเป็นเวลา ๓ วัน แล้วมาเข้าเฝ้าถวายคำตอบแด่พระองค์

    สมเด็จพระนเรศวร ทรงให้ความเคารพนับถือแด่พระเจ้าบุเรงนอง เป็นอย่างมาก...แต่...ด้วยความเป็นยุวกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีเกียรติและศักดิ์ศรี พระองค์มิได้ตอบปฏิเสธหรือว่ารับ ทรงตอบต่อพระเจ้าบุเรงนองแต่เพียงว่า...พระองค์ทรงคิดถึงสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระราชมารดา และทรงคิดถึง ห่วงใย ประชาชนชาวสยาม...พระเจ้าบุเรงนองก็เข้าพระทัยในความหมาย...

    สมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ทรงมุ่งมั่นในการรวมรวบกำลังซ่องสุมผู้คน ฝึกปรืออาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อเตรียมพร้อมในการทำศึกกับกรุงหงสาวดี ในการกอบกู้เอกราช โดยมิได้สนใจใยดีกับสตรีท่านใด จนเป็นที่แปลกใจของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ถึงแม้พระองค์ได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็มิได้แต่งตั้งสตรีใดเป็นพระมเหสี... แต่ด้วยเหตุใดเล่า หลังจากที่ทรงประกาศอิสรภาพแล้ว จึงไม่ได้เสด็จไปรับนางอันเป็นยอดดวงใจ สู่กรุงศรีอยุธยา มาเป็นพระมเหสี??..

    หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาแล้ว ประมาณ ๙ ปี พระเจ้าบุเรงนอง ก็สวรรคต ในปี พ.ศ. ๒๑๒๔ แว่นแคว้นต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กรุงหงสาวดี ต่างต้องไปร่วมในพระราชพิธีการพระศพของพระเจ้าบุเรงนอง และร่วมเฉลิมฉลองกับพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ พระเจ้านันทบุเรง ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระมหาธรรมราชา เข้าร่วมในพระราชพิธีนั้นพร้อมกับผู้ครองเมืองต่างๆ ยกเว้นเมืองคัง เจ้าฟ้าเมืองคังกระด้างกระเดื่องต่อหงสาวดี ไม่ได้เสด็จไปร่วมพิธี ทำให้พระเจ้านันทบุเรงกริ้วมาก สั่งให้ ๓ เมือง ยกทัพเข้าตีเมืองคัง มีทัพของพระมหาอุปราชา (มังกะยอชวา หรือ มังสามเกียด) ทัพของพระสังคทัต (นัดจินหน่อง) พระโอรสของเจ้าเมืองตองอู และทัพอโยธยา ของสมเด็จพระนเรศวร การศึกครั้งนี้ พระเจ้านันทบุเรง ทรงมีพระประสงค์ที่จะให้พระมหาอุปราชาพระราชบุตร สร้างสมความยิ่งใหญ่ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่หัวเมืองทั้งปวง แต่การมิได้เป็นเช่นนั้น พระมหาอุปราชาขึ้นตีเมืองคังเป็นทัพแรก ด้วยกำลัง ๑๐,๐๐๐ คน และต้องพ่ายแพ้กลับมา ทัพของพระสังคทัต มีกำลัง ๖,๐๐๐ คน ขึ้นตีเป็นทัพที่สอง ในวันที่สอง ก็พ่ายแพ้กลับมาอีก และในวันที่สาม ถึงคราทัพของสมเด็จพระนเรศวร มีกำลัง ๓,๐๐๐ คน บุกเข้าโจมตีเมืองคัง ทรงใช้พระสติปัญญาอันฉลาดเลิศ ในการศึกษาภูมิประเทศของเมืองคัง ในระหว่างการสู้รบกันสองวันที่ผ่านมา ทรงใช้กลยุทธแบ่งกองทหารเป็นสองกอง กองหนึ่งออกไปท้ารบที่หน้าเมือง อันเป็นเส้นทางที่ทั้งสองทัพทำมาแล้ว ทรงนำกองทหารอีกกองเข้าโอบตีทางขึ้นเมืองคังอีกด้านหนึ่ง ในที่สุดก็เข้าตีเมืองคังได้ และจับเจ้าฟ้าเมืองคังไปถวายพระเจ้านันทบุเรง

    จากการชนะศึกเมืองคังครั้งนี้ สร้างความขุ่นเคืองและเกรงขาม ให้กับฝ่ายหงสาวดีเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกรงว่า สักวันหนึ่งสมเด็จพระนเรศวรจะต้องทำศึกสงครามกับหงสาวดีอย่างแน่นอน และแผนการที่จะกำจัดสมเด็จพระนเรศวรจึงเกิดขึ้น โดยให้ประลองฝีมือกันหน้าพระที่นั่ง ฝ่ายหงสาวดีคัดเลือกผู้ที่มีฝีมือด้านขี่ม้า และยอดทวนที่ดีที่สุด คือ ลักไวทำมู มาประลองกับพระนเรศวร โดยมีการวางแผนที่จะลอบปลงพระชนม์พระองค์ ด้วยการใช้ทวนจริงและอาบยาพิษ แต่...สมเด็จพระนเรศวรทรงแสดงฝีมือในการขี่ม้า และการต่อสู้ด้วยทวน ได้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวหงสาวดี และบรรดาเมืองประเทศราชที่มาร่วมงาน อย่างมิได้ครั่นคร้าม ทรงสู้รบประลองฝีมืออย่างองอาจกล้าหาญ ลักไวทำมูพุ่งทวนอาบยาพิษใส่สมเด็จพระนเรศวร ทรงระวังพระองค์อยู่แล้วอย่างมาก และด้วยพระปรีชาสามารถความคล่องแคล่วว่องไว ทรงใช้ทวนปัดทวนของลักไวทำมูกระเด็นไป ก็ให้โอกาสลักไวทำมูสู้กันต่อ และถึงคราวที่ฟ้าประกาศิต เวียนม้าอยู่ประมาณรอบที่ ๖ เมื่อได้จังหวะทรงพุ่งทวนเข้าสู่กลางอกของลักไวทำมู ตกม้าตาย...
    ยังมีต่ออีกค่ะ และยินดีรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากทุกท่านค่ะ


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=LKzHKDm_4u0

  4. #4
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    อ่านข่าวออนไลน์ ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจค่ะ

    วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๔

    หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๑๒๖ พระเจ้าอังวะ เป็นกบฏต่อกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง สั่งให้กองทัพต่างๆของประเทศราชยกไปปราบพระเจ้าอังวะ รวมถึงทัพของอโยธยา มีสมเด็จพระนเรศวรเป็นจอมทัพ ในครานี้เองที่พระเจ้านันทบุเรง ทรงวางแผนกำจัดพระองค์ โดยให้พระยาเกียรติ และพระยาราม ซึ่งเป็นชาวมอญเป็นผู้ดำเนินการ แต่ท่านทั้งสอง ได้นำความไปบอกกับพระมหาเถรคันฉ่อง พระมหาเถรคันฉ่องจึงกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ สมเด็จพระนเรศวรทรงตัดสินพระทัยประกาศอิสรภาพ กรุงศรีอยุธยาไม่ขึ้นกับกรุงหงสาวดี อีกต่อไป ณ เมืองแครงนั่นเอง

    สมเด็จพระนเรศวร ทรงยกทัพจะไปตีเอากรุงหงสาวดีเสียให้ได้ในครั้งนั้น แต่ทรงทราบว่า ทัพของหงสาวดีได้ปราบกบฏ มีชัยชนะเหนือพระเจ้าอังวะ จึงทรงเห็นว่าการเข้าตีกรุงหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่สมควร จึงยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งกวาดต้อนคนไทย และชาวมอญที่สมัครใจ กลับกรุงศรีอยุธยาได้ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ขณะที่กำลังจะพากองทัพข้ามแม่น้ำสโตง ทางฝั่งพม่านั้น พระเจ้านันทบุเรง ทรงให้กองทัพของหงสาวดีออกติดตามมาทันกันที่แม่น้ำสโตง สมเด็จพระนเรศวรทรงให้กองทัพและผู้คนที่อพยพตามมานั้นข้ามแม่น้ำไปก่อน พระองค์ทรงรอรั้งท้าย ทรงใช้พระแสงปืนยิงข้ามแม่น้ำสโตง ณ ที่นั้น และในเวลานั้น แม่น้ำสโตงมีความกว้างราว ๓๐๐ เมตร กระสุนปืนถูก แม่ทัพพม่า สุกรรมา ตายบนคอช้าง พระแสงปืนนั้นจึงได้นามว่า “พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสโตง”

    หลังจากสมเด็จพระนเรศวร ประกาศอิสรภาพแล้วนั้น ทรงต้องกระทำศึกรบพุ่งกับหัวเมืองทางเหนือ ซึ่งเป็นเมืองขึ้น และเกรงกลัว กรุงหงสาวดีอยู่ เช่นเมืองกำแพงเพชร เมืองสวรรคโลก เมืองพิชัย (อุตรดิตถ์) เมื่อทรงรวบรวมหัวเมืองเหนือได้สำเร็จแล้ว สมเด็จพระนเรศวร ทรงมีพระทัยรักผูกพันอยู่กับนางอันเป็นที่รัก ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบุเรงนองนั้น ครั้นเมื่อทรงประกาศอิสรภาพแล้ว พระองค์มีพระหทัยมุ่งมั่นที่จะกระทำตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ ทรงนำความเข้ากราบทูลแด่พระมหาธรรมราชา เพื่อทูลขอเสด็จไปรับสตรีผู้สูงศักดิ์มาเข้าพิธีอภิเษกสมรส ถึงแม้ว่า พระมหาธรรมราชา ทรงเข้าพระทัยในพระโอรสเป็นอย่างดี แต่พระองค์ทรงให้แนวคิดแก่สมเด็จพระนเรศวร ว่าเมื่อกรุงศรีอยุธยา ได้ประกาศตัดไมตรีกับทางกรุงหงสาวดีแล้ว ซึ่งสร้างความแค้นเคืองให้กับทางฝ่ายหงสาวดี เกรงว่าพระเจ้านันทบุเรงจะมิทรงยกพระราชธิดาพระองค์นี้ให้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเข้าพระทัยในคำตรัสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาเป็นอย่างดี พระองค์จึงไม่สามารถกระทำตามพระทัยของพระองค์เองได้ เนื่องจากเรื่องของชาติบ้านเมืองนั้นสำคัญยิ่งกว่า...

    หลังจากที่ทรงปราบปรามหัวเมืองทางเหนือแล้ว ทรงเตรียมรับศึกที่ยกมาจากหงสาวดีอีกด้วยหลายครั้งหลายครา เช่น กองทัพพระยาพสิม และต่อมา พ.ศ. ๒๑๒๘ ทรงทำศึกป้องกันพระนครจากการยกทัพมาของพระมหาอุปราชา ซึ่งร่วมกับทางพระเจ้าเชียงใหม่ ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายพม่าก็แตกทัพไป กองทัพไทยยึดได้ช้าง ม้า และศาสตราวุธมากมาย
    พ.ศ. ๒๑๒๙ พม่ายกทัพใหญ่มาเป็นทัพ ๓ กษัตริย์ มีทัพพระเจ้านันทบุเรง ทัพพระมหาอุปราชา และทัพพระเจ้าตองอู มีกำลังรวม ๒๕๐,๐๐๐ คน ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ ทางกรุงศรีอยุธยาป้องกันเมืองเอาไว้อย่างเข้มแข็ง พม่าถอยทัพกลับไปค่ายหลายครั้ง สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้กลยุทธ นำทหารเข้าปล้นค่ายข้าศึกทั้งกลางวันกลางคืนหลายครั้ง ด้วยพระองค์เอง จนเกิดเหตุการณ์ พระแสงดาบคาบค่าย กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ราว ๕ เดือน ก็ไม่สามารถเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ เสบียงก็ร่อยหรอ ทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก ประกอบกับกำลังจะเข้าหน้าฝน กองทัพพม่าจึงถอยทัพกลับไป

    ทางฝ่ายเขมรนั้นเล่า ก็คอยมาลอบกัดกวาดต้อนผู้คนทางด้านชายแดนอยู่โดยตลอด ในขณะที่ทางกรุงศรีอยุธยาติดพันการศึกอยู่กับหงสาวดี โดยเฉพาะที่ปราจีณบุรี ทำให้ทรงยกทัพไปตีกรุงกัมพูชา ในปี พ.ศ. ๒๑๓๐ ได้เมืองพระตะบอง และเมืองโพธิสัตว์

    พ.ศ. ๒๑๓๓ สมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรทรงขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทางฝ่ายหงสาวดีเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ และประกอบกับทางเมืองคังเกิดกบฏขึ้นอีกซึ่งเอาเยี่ยงอย่างกรุงศรีอยุธยา หากไม่ปราบกรุงศรีอยุธยาแล้ว บรรดาเมืองต่างๆ ก็จะแข็งเมืองขึ้นเช่นเดียวกัน พระมหาอุปราชา จึงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วย ทัพของพระยาพสิม และพระยาพุกาม ด้วยกำลังรวม ๒๐๐,๐๐๐ คน ยกมาทางด้าน ด่านเมาะลำเลิง เทือกเขาบรรพต จ.สุพรรณบุรี

  5. #5
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    อ่านข่าวออนไลน์ ตอนวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔

    สมเด็จพระนเรศวร ทรงยกทัพออกไปรับทัพข้าศึกถึงเมืองสุพรรณบุรี เป็นการรบกันครั้งที่ ๔ มิได้ตั้งรับที่พระนครดังเดิม ทำให้ข้าศึกหลงกลลวงของพระองค์แตกทัพพ่ายไป พระยาพุกามตายในที่รบ จับพระยาพสิมได้ และเกือบจะจับพระมหาอุปราชาได้ จึงทำให้พระมหาอุปราชาเสด็จหนีกลับกรุงหงสาวดี แต่ก็ได้รับการภาคทัณฑ์จากพระเจ้านันทบุเรง และให้มีโอกาสแก้ตัวใหม่

    ในการรบกันครั้งนี้ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ กระดูกช้าง กระดูกม้า ได้ตกอยู่ในพื้นที่ทางด้านหนองสาหร่าย สุพรรณบุรี เป็นจำนวนมากมาย จึงทำให้หลายท่านเข้าใจว่าเป็นการกระทำยุทธหัตถี ณ บริเวณนี้ ที่สุพรรณบุรี
    อีก สองปีต่อมา พ.ศ. ๒๑๓๕ เกิดสงครามยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระมหาอุปราชา ซึ่งเป็นการรบครั้งที่ ๕ พระมหาอุปราชา ถูกฟันด้วยพระแสงของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง
    พระปรีชาสามารถ ในการที่ทรงเป็นผู้นำจอมทัพที่เฉียบขาดมีระเบียบวินัย เข้มแข็ง รบชนะทัพของหงสาวดีมาหลายครั้ง ทำให้พระเกียรติยศ และพระบารมี ระบือไปทั่วทุกทิศ จนที่เป็นกล่าวขวัญกันทั่ว แม้กระทั่งขุนนางของหงสาวดี พระยาลอ ถึงกับทูลพระเจ้านันทบุเรง ในที่ประชุมขุนนางว่า “...กรุงศรีอยุธยานั้นสำคัญอยู่ที่พระนเรศวรพระองค์เดียว เพราะกำลังหนุ่มรบพุ่งเข้มแข็ง บังคับบัญชาคนก็สิทธิ์ขาด รี้พลกลัวพระนเรศวรเสียยิ่งกว่าความตาย...”

    พระเจ้านันทบุเรง ตรัสว่า “...พระองค์นั้นเป็นคนอาภัพ ไม่เหมือนพระมหาธรรมราชา นั่นเขามีลูกพ่อไม่ต้องพักใช้ให้รบพุ่ง มีแต่กลับจะต้องห้ามเสียอีก แต่ตัวข้ามิรู้ว่าจะใช้ใคร...”
    พระมหาอุปราชาทรงได้ยินดังนั้น ทำให้รู้สึกอดสูใจยิ่งนัก ด้วยขัตติยมานะของลูกกษัตริย์ จึงทูลขออาสาตีกรุงศรีอยุธยาด้วยพระองค์เอง เพื่อแก้ตัวใหม่...

    เมื่อพม่าล่าทัพไปแล้ว พระองค์ทรงมีพระดำริว่า กว่าพม่าจะฟื้นตัวและยกทัพมาอีกครั้งในอีก ๒ ปีข้างหน้า พระองค์จึงวางแผนที่จะไปตีกรุงกัมพูชา เสียให้ราบคาบ แต่ทรงได้รับข่าวการศึกจากชนเผ่ากะเหรี่ยงที่มีความจงรักภักดีสูง ว่าทางหงสาวดียกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง จึงทรงต้องหันมาเตรียมรับศึกทางหงสาวดีแทน ในการศึกครั้งนี้ หงสาวดียกทัพมามีกำลัง ๒๔๐,๐๐๐ คน เข้ามาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ มีทัพพระเจ้าเชียงใหม่มาสมทบอีกกองทัพหนึ่ง กองทัพของกรุงศรีอยุธยา ยกออกไปรับทัพข้าศึก ด้วยกำลังเพียง ๑๐๐,๐๐๐ คน โดยข้ามแม่น้ำท่าจีน ตรงส่วนที่ตื้นเขินที่สุด คือที่ ต. จรเข้สามพัน

    กองทัพอยุธยา มีสมเด็จพระนเรศวร ทรงเป็นจอมทัพ และกองทัพหงสาวดี มีพระมหาอุปราชา ทรงเป็นจอมทัพ มาปะทะกันที่หนองสาหร่าย ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่บริเวณ ทุ่งยุทธหัตถี ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี (พื้นที่หนองสาหร่ายเป็นสระน้ำกว้างใหญ่ เกินกว่า ๔ ไร่ ปัจจุบันถูกกลบไปแล้วเพื่อใช้เป็นที่สร้างพลับพลา ประดิษฐานพระอนุสาวรีย์ของสมเด็จพระนเรศวร ประทับยืนหลั่งน้ำสิโนทก ซึ่งน่าจะเป็นพระบรมรูปที่ทรงกระทำยุทธหัตถีมากกว่า และยิ่งกว่านั้น ยังมีต้นข่อย ขนาดใหญ่มาก เกิน ๔ คน โอบ แต่ถูกเจ้าของที่ดินเผาทิ้งไปแล้ว เหลือแต่ต้นข่อยต้นเล็กที่เกิดจากรากเดิม ยิ่งกว่านั้นยังพบเสาเขตแขวงเมืองสุพรรณบุรี เป็นไม้สัก หน้า ๑๒ นิ้ว ปักอยู่ที่พื้นดิน เจ้าของที่ดินก็จัดการเผาทิ้งเรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกัน)
    ดังนั้น บริเวณที่กระทำยุทธหัตถี มิใช่อยู่ในเขต จ.สุพรรณบุรี อย่างที่เข้าใจกัน ตรงนี้ผมได้ศึกษามาด้วยตัวเอง ในบริเวณดังกล่าวยังมีพระปรางค์ สามองค์ ที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงสร้างไว้ที่นั่น หลังจากเสร็จการศึกสงครามแล้ว เป็นที่บรรจุอัฐิของทหารหาญ และเป็นที่เก็บศาสตรวุธบางอย่าง ปัจจุบันยังคงอยู่ครบทั้งสามองค์ (เจ้าหน้าที่ทางกรมศิลปกรได้ทำการขุดพิสูจน์รากฐานของพระปรางค์ สรุปว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกับสมัยอยุธยา เช่นเดียวกับสถานที่พักรบ ซึ่งทรงสร้างไว้ ที่ จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปแล้ว)

    เมื่อทัพทั้งสองพบกัน ก็เกิดเหตุมหัศจรรย์ อันเป็นเหตุทำให้ เกิดการศึกสงครามที่แสดงถึงความเป็นขัตติยกษัตริย์ ทั้งสองพระองค์ เพราะการกระทำยุทธหัตถีนั้น ในสมัยโบราณ ถือว่าเป็นการกระทำการที่สมพระเกียรติแห่งชาติกษัตริย์นักรบ เป็นการต่อสู้แบบตัวต่อตัว โดยไม่มีกองทหารและทหารกล้าคนใด และอาวุธยุทโธปกรณ์ใดช่วย นอกจากพระแสงของ้าวเท่านั้น ทรงต่อสู้กันเพียงลำพัง แสดงความกล้าหาญ ความคล่องแคล่วในการทรงช้างศึก ความคล่องแคล่วในการทรงใช้พระแสงของ้าว การใช้พระสติปัญญาและการตัดสินพระทัยในการสู้รบ ของทั้งสองพระองค์ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความมีระเบียบวินัยของแม่ทัพนายกอง ความจงรักภักดี ความผูกพันระหว่างทหารหาญที่อยู่ใกล้ชิด เช่นท้ายช้าง กลางช้าง และจตุรงคบาท นอกเหนือจากนั้น แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและความจงรักภักดี การรองรับพระบารมี ของช้างทรง อีกด้วย
    การกระทำยุทธหัตถี จึงเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ชาตินักรบในสมัยโบราณ พระสัจจวาจาของสมเด็จพระนเรศวร ในการกระทำยุทธหัตถี ที่ทรงเชื้อเชิญให้พระมหาอุปราชามากระทำยุทธหัตถีด้วยกัน “เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในที่ร่มไม้ทำไม เชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกันให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่จะทำยุทธหัตถีได้อย่างเรา จะไม่มีแล้ว” (พระมหาอุปราชาทรงพระชนมายุมากกว่าสมเด็จพระนเรศวร ๒ ปี)

    เมื่อพระมหาอุปราชาซึ่งประทับทรงพักผ่อนพร้อมช้างทรงอยู่ที่ใต้ต้นข่อย ทรงได้ฟังคำเชื้อเชิญท้าทายเช่นนั้น ด้วยเลือดขัตติยมานะ ก็ไสช้างออกต่อสู้ทันที ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวร (ต่อมามีนามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ) เสียทีถูกงาของช้างทรงพระมหาอุปราชาเสยเข้าที่คาง ทำให้พระมหาอุปราชาได้โอกาสฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรทรงหลบหลีกได้ พระแสงของง้าวของพระมหาอุปราชา จึงฟันโดนพระมาลาของสมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงไป (จึงได้นามว่า พระมาลาเบี่ยง) เจ้าพระยาไชยานุภาพ พยายามบิดองค์เพื่อให้หลุดออกจากงาของช้างทรงพระมหาอุปราชา บิดไปทางขวา จนบกระทั่งครบรอ ในที่สุดก็หลุดออกจากงาของช้างทรงพระมหาอุปราชา เมื่อได้จังหวะเจ้าพระยาไชยานุภาพย่อขาหน้าลง แล้วใช้งาเสยได้ล่างช้างทรงของพระมหาอุปราชา หงายเสียหลัก ทำให้เป็นจังหวะที่เหมาะแก่สมเด็จพระนเรศวร เป็นต่อ ทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชาจากไหล่ขวา ขาดสพายแล่ง สิ้นพระชนม์บนคอช้าง (มีนักวิชาการบางคน พยายามบิดเบือนว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ปืนยิง)

    กองทัพฝ่ายหงสาวดี เมื่อสิ้นจอมทัพ ก็แตกพ่ายไม่เป็นกระบวน เสียรี้พล ช้าง ม้า และอาวุธมากมายก่ายกอง (ชาวบ้านยังขุดพบ กระดูกช้าง กระดูกม้า และอาวุธต่างๆ ได้มากมาย) ขุนพลทั้งหลายต่างหนีกลับกรุงหงสาวดี

    เมื่อสิ้นศึกสงครามครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ยังคงประทับอยู่บริเวณนี้อีกเป็นเวลา ๑๕ วัน ทรงตั้งค่าย ช่วยเหลือรักษาทหารหาญที่บาดเจ็บจำนวนมาก และทรงจัดการกับศพทหารหาญทั้งฝ่ายไทย และฝ่ายพม่า เป็นจำนวนเรือนแสน ที่เสียชีวิตในสนามรบ พร้อมทั้งซากช้าง ม้า ที่ตายลงในกลางศึก ทรงสร้างพระปรางค์ไว้สามองค์ เพื่อบรรจุอัฐิของทหารหาญเหล่านั้น (ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น)

  6. #6

    สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระอัครมเหสี หรือพระมเหสี หรือไม่?

    ขอบคุณน้องสาวมากๆนะคะที่ได้นำความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของชาติไทยเรามาลงกระทู้บ่อยๆค่ะ ส่วนตัวแล้วชอบอ่านมากๆเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ พี่เจี๊ยบติดตามกระทู้ทุกตอนเลยค่ะ...สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระอัครมเหสี หรือพระมเหสี หรือไม่?

  7. #7
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30
    หนูสบายดีค่ะพี่เจี้ยบแต่งานยุ่งๆคะ ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมถามข่าวคราวน้องเสมอ และยังไปกำลังใจในกระทู้อีกบีขอบคุณด้วยหัวใจค่ะ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •