ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) เป็นบุตรีของพระนมเปรม ผู้บริบาลถวายการเลี้ยงดูสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแต่เยาว์วัย ภายหลังถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้มีความสัมพันธ์ชู้สาวกับสมเด็จเจ้าฟ้าน้อย ซึ่งเป็นพระอนุชาธิราชของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนภายหลังจึงถูกลงโทษ


ประวัติ
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) มีนามเดิมว่า แจ่ม เป็นบุตรีของพระนมเปรม ผู้บริบาลถวายการเลี้ยงดูสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแต่เยาว์วัยภายหลังพระนมเปรมจึงได้รับแต่งตั้งเป็นท้าวศรีสัจจา ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า เจ้าคุณวังหน้า และยังเป็นน้องสาวของพระยาเพทราชา (ทองคำ) จางวางกรมคชบาลขวา[2] ต่อมานางได้ถวายตัวเป็นบาทบริจากริกาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงโปรดสถาปนาไว้ในตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก


การเป็นชู้กับพระอนุชาธิราช
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) ด้วยเป็นที่รู้กันว่านางเป็นผู้มากด้วยกามคุณ สร้างความอื้อฉาวแก่ประชาชนเสมอ จนราษฎรนำกันร้องเพลงเกริ่นความผิดปกติวิสัยของนางให้เกร่อไป ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) ได้เกิดความพึงพอใจในสมเด็จเจ้าฟ้าน้อย พระอนุชาต่างพระมารดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงใช้เล่ห์เพทุบายล่อลวงจนเจ้าฟ้าน้อยเสพสังวาสด้วยกับนางแต่เป็นการลับไม่ถึงพระเนตรพระกรรณ แต่ความเกิดแตกเนื่องจากตัวพระสนมเอง โดยนางได้ผ่านทางเข้าห้องที่ประทับของในหลวง ได้เห็นฉลองพระองค์ชั้นนอกของเจ้าฟ้าน้อยถอดวางไว้ ด้วยเป็นธรรมเนียมของการเข้าเฝ้าที่ต้องเปลือยกายครึ่งท่อนเสียก่อน ครั้นนางจำฉลองพระองค์ขององค์ชายได้ จึงให้นางทาสีหยิบนำไปเก็บไว้ที่ห้องของนางเสีย ด้วยคิดว่าองค์ชายจะทราบดีว่าผู้ใดเอาไป แล้วจะได้ติดตามไปในตำหนักของพระนาง แต่เจ้าชายหาได้เฉลียวใจเช่นนั้น เมื่อเจ้าชายออกมาไม่พบฉลองพระองค์ แต่โขลนทวารไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป จึงได้เที่ยวกันตามหาทั่วพระราชวัง เรื่องจึงเข้าถึงพระเนตรพระกรรณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์จึงทรงพิโรธเป็นอันมากที่มีผู้เข้ามาลักทรัพย์ถึงในพระราชฐาน แค่พระทวารห้องที่ประทับของพระองค์แท้ๆ และผู้ที่มาหยิบก็ต้องออกมาจากพระราชฐานฝ่ายในเท่านั้น จึงทรงรับสั่งให้ค้นให้ทั่วทันที โดยเข้าไปในตำหนักของพระสนมเอกก่อน จึงได้พบฉลองพระงค์ของเจ้าชาย ที่มิได้ซุกซ่อนให้มิดชิดวางอยู่ เหล่านางกำนัล และนางทาสีจึงชิงกันกราบทูลกล่าวโทษพระสนม สร้างความพิโรธแก่สมเด็จพระนารายณ์ฯเป็นอันมาก แม้กระนั้นพระองค์ก็มิทรงปรารถนาที่จะถือเอาแต่โทสจริต หรือวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง พระองค์จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้คณะที่ปรึกษาแผ่นดินของพระองค์เป็นผู้วินิจฉัยคนทั้งสอง


การถูกลงทัณฑ์
พระเพทราชาซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญอยู่ในแผ่นดินด้วยการสนับสนุนของท้าวศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งเป็นน้องสาว มิได้คัดค้านคำพิจารณาพิพากษา หรือขอรับพระราชทานอภัยโทษให้แก่ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เลย กลับเป็นคนแรกที่ธำรงอำนาจวาสนาตนไว้ ด้วยการเสนอให้พิจารณาลงโทษนางที่เคยพระคุณต่อตนถึงขั้นประหารชีวิต คณะที่ปรึกษาได้พิจารณาลงโทษให้เอานางสนมไปโยนให้เสือกินเสีย ส่วนเจ้าฟ้าน้อยนั้นก็ทรงต้องระวางโทษให้สำเร็จโทษด้วยการใช้ไม้จันทน์สองท่อนบีบอัดเสียให้สิ้นพระชนม์ โดยอย่าให้โลหิตตกต้องแผ่นดินได้ โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประหารพระสนมเอกตามคำพิพากษา ส่วนพระอนุชาธิราชได้ทรงพระราชทานผ่อนโทษลง ด้วยเหตุที่ว่า พระเชษฐภคินีองค์หนึ่งซึ่งพระองค์ทรงรักใคร่มากนั้น เมื่อใกล้จะถึงกาลกิริยาได้กราบทูลขอให้พระองค์ทรงชุบเลี้ยงพระอนุชาธิราชพระองค์นี้ เสมอว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดา ด้วยพระนางเธออำรุงเลี้ยงมาด้วยความเสน่หายิ่ง สมเด็จพระนารายณ์ฯจึงให้ลงทัณฑ์เสมอที่บิดาทำต่อบุตร แต่ด้วยถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงทรงทรงพิจารณาลงทัณฑ์ให้สาหัสด้วยหวาย และทรงเห็นว่าพระเพทราชาเป็นผู้หนึ่งที่ปรารถนาที่จะสำเร็จโทษเจ้าชาย เพื่อเป็นการแก้แค้นที่กระทำการลบหลู่พระเกียรติของพระองค์ จึงมีพระราชอาญาให้พระเพทราชา กับพระปีย์เป็นผู้ลงโทษ


หลักฐานที่ขัดแย้งกัน
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระขนิษฐาในสมเด็จพระเพทราชา ในจดหมายเหตุเจ้าแม่วัดดุสิตระบุว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์มีพระนามเดิมว่า "แจ่ม" [1] ส่วนสมุดจดบันทึกประจำวันของบรรพบุรุษของหม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย จดพระนามผิดไว้ว่า "แช่ม"[3] ทำให้เข้าใจผิดว่านางเป็นบุตรีของหม่อมเจ้าหญิงบัว ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า เจ้าแม่วัดดุสิต




สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย
สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แห่งราชวงศ์ปราสาททอง กับพระราชเทวีองค์ที่ 2 เป็นพระอนุชาร่วมพระมารดากับสมเด็จเจ้าฟ้าอภัยทศ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายหลังเจ้าฟ้าน้อยได้มีความสัมพันธ์ชู้สาวกับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถูกลงโทษทัณฑ์จนพระวรกายบวม มีอาการอ่อนเปลี้ยที่พระเพลา และเป็นอัมพาตที่พระชิวหา


ประวัติ
สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กับพระราชเทวีองค์ที่ 2 มีพระเชษฐาร่วมพระมารดาด้วยกันคือ สมเด็จเจ้าฟ้าอภัยทศ แต่เดิมสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตัดพระทัยจะมอบตำแหน่งรัชทายาทแก่เจ้าฟ้าอภัยทศ แต่ด้วยพระนิสัยฉุนเฉียว และกล่าวบริภาษด้วยถ้อยคำหยาบคาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงมีพระดำริที่จะสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยในตำแหน่งรัชทายาทแทนพระเชษฐา


พระจริยวัตร
ด้วยเหตุที่เจ้าฟ้าน้อยมีพระจริยวัตรอันงดงาม พระสรีระโสภางดงาม และมีพระฉวีวรรณค่อนข้างขาว ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวสยามในขณะนั้น ทรงเป็นคนที่สุภาพ และรู้จักกันกว้างขวางในหมู่ชนทุกชั้น มีน้ำพระทัยโอบอ้อมอารี และจรรยามรรยาทละมุนละไม เป็นที่นิยมชมชอบในราชสำนัก และประชาชนทั่วไป สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงได้ทรงชุบเลี้ยงเปรียบเสมือนว่าเป็นพระโอรสของพระองค์เอง และได้มีพระดำริพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุดาวดี พระราชธิดาองค์เดียวของพระองค์เป็นพระชายา และเจ้าฟ้าหญิงก็ทรงปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง แต่ความหวังก็พังพนาศลงในกาลต่อมา


การเป็นชู้กับพระสนมเอก
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) บุตรีของพระนมเปรมซึ่งเป็นผู้อภิบาลถวายการเลี้ยงดูสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเป็นพระขนิษฐาในพระเพทราชา ต่อมาได้ถวายตัวเป็นบริจาริกาในพระนารายณ์มหาราช ได้เกิดความพึงพอใจในเจ้าฟ้าน้อย จึงใช้เล่ห์เพทุบายล่อลวงจนเจ้าฟ้าน้อยเสพสังวาสด้วยกับนางแต่เป็นการลับไม่ถึงพระเนตรพระกรรณ แต่ความเกิดแตกเนื่องจากตัวพระสนมเอง โดยนางได้ผ่านทางเข้าห้องที่ประทับของในหลวง ได้เห็นฉลองพระองค์ชั้นนอกของเจ้าฟ้าน้อยถอดวางไว้ ด้วยเป็นธรรมเนียมของการเข้าเฝ้าที่ต้องเปลือยกายครึ่งท่อนเสียก่อน ครั้นนางจำฉลองพระองค์ขององค์ชายได้ จึงให้นางทาสีหยิบนำไปเก็บไว้ที่ห้องของนางเสีย ด้วยคิดว่าองค์ชายจะทราบดีว่าผู้ใดเอาไป แล้วจะได้ติดตามไปในตำหนักของพระนาง แต่เจ้าชายหาได้เฉลียวใจเช่นนั้น เมื่อเจ้าชายออกมาไม่พบฉลองพระองค์ แต่โขลนทวารไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป จึงได้เที่ยวกันตามหาทั่วพระราชวัง เรื่องจึงเข้าถึงพระเนตรพระกรรณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์จึงทรงพิโรธเป็นอันมากที่มีผู้เข้ามาลักทรัพย์ถึงในพระราชฐาน แค่พระทวารห้องที่ประทับของพระองค์แท้ๆ และผู้ที่มาหยิบก็ต้องออกมาจากพระราชฐานฝ่ายในเท่านั้น จึงทรงรับสั่งให้ค้นให้ทั่วทันที โดยเข้าไปในตำหนักของพระสนมเอกก่อน จึงได้พบฉลองพระงค์ของเจ้าชาย ที่มิได้ซุกซ่อนให้มิดชิดวางอยู่ เหล่านางกำนัล และนางทาสีจึงชิงกันกราบทูลกล่าวโทษพระสนม สร้างความพิโรธแก่สมเด็จพระนารายณ์ฯเป็นอันมาก แม้กระนั้นพระองค์ก็มิทรงปรารถนาที่จะถือเอาแต่โทสจริต หรือวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง พระองค์จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้คณะที่ปรึกษาแผ่นดินของพระองค์เป็นผู้วินิจฉัยคนทั้งสอง


การถูกลงทัณฑ์
คณะที่ปรึกษาได้พิจารณาลงโทษให้เอานางสนมไปโยนให้เสือกินเสีย ส่วนเจ้าฟ้าน้อยนั้นก็ทรงต้องระวางโทษให้สำเร็จโทษด้วยการใช้ไม้จันทน์สองท่อนบีบอัดเสียให้สิ้นพระชนม์ โดยอย่าให้โลหิตตกต้องแผ่นดินได้ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประหารพระสนมเอกตามคำพิพากษา ส่วนพระอนุชาธิราชได้ทรงพระราชทานผ่อนโทษลง ด้วยเหตุที่ว่า พระเชษฐภคินีองค์หนึ่งซึ่งพระองค์ทรงรักใคร่มากนั้น เมื่อใกล้จะถึงกาลกิริยาได้กราบทูลขอให้พระองค์ทรงชุบเลี้ยงพระอนุชาธิราชพระองค์นี้ เสมอว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดา ด้วยพระนางเธออำรุงเลี้ยงมาด้วยความเสน่หายิ่ง สมเด็จพระนารายณ์ฯจึงให้ลงทัณฑ์เสมอที่บิดาทำต่อบุตร แต่ด้วยถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงทรงทรงพิจารณาลงทัณฑ์ให้สาหัสด้วยหวาย และทรงเห็นว่าพระเพทราชาเป็นผู้หนึ่งที่ปรารถนาที่จะสำเร็จโทษเจ้าชาย เพื่อเป็นการแก้แค้นที่กระทำการลบหลู่พระเกียรติของพระองค์ จึงมีพระราชอาญาให้พระเพทราชา กับพระปีย์เป็นผู้ลงโทษ ทั้งสองได้ปฏิบัติตามคำสั่งโบยจนกระทั่งสลบแน่นิ่งไปเสมือนคนตาย แม้กระนั้นก็ยังฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมาได้ แต่พระวรกายนั้นบวมผิดปกติ มีอาการอ่อนเปลี้ยที่พระเพลา และมีการคล้ายเป็นอัมพาตที่พระชิวหา ทำให้พูดไม่ได้ บางคนก็กล่าวว่าพระองค์ทรงแกล้งเป็นใบ้เสีย เพื่อมิให้สมเด็จพระนารายณ์ฯแคลงพระทัย ด้วยขุนนางผู้ใหญ่ในแผ่นดิน และพระราชธิดาเองก็ยังสมัครรักใคร่พระองค์อยู่ หากพระองค์แสร้งเป็นใบ้ก็นับว่าพระองค์เป็นคนที่ใจแข็งมาก


พระโอรส
ส่วนพระโอรสของเจ้าฟ้าน้อยที่เกิดกับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าใจว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรอคอยจนกระทั่งมีพระประสูติการพระโอรสแล้ว จึงมีรับสั่งให้ลงพระราชอาญาความผิดนี้ด้วยการจับให้เสือกินเสีย ด้วยความที่กรมขุนเสนาบริรักษ์ ถือว่าเป็นลูกชู้ จึงมิได้รับการยกย่องในฐานพระราชนัดดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแต่อย่างใด พระองค์จึงมีพระยศเป็น หม่อมแก้ว (ภายหลังพระราชพงศาวดารฯ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) แก้ไขพระยศเป็น พระองค์แก้ว) จนถึงสมัยพระเพทราชา จึงสถาปนาหม่อมแก้ว พระราชนัดดาไว้ในตำแหน่ง "กรมขุนเสนาบริรักษ์" เจ้าต่างกรม


วิกิมีเดีย