กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: เจาะประเพณีภูฏาน ความรัก-ศรัทธา วิถีคนภูเขา

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    อ่านข่าวออนไลน์ เจาะประเพณีภูฏาน ความรัก-ศรัทธา วิถีคนภูเขา

    พระราชพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์แห่งภูฏานกับหญิงสาวสามัญชนกำลังจะเกิดขึ้น บันทึกเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศภูฏานอีกครั้ง วันนี้ ‘ไทยรัฐออนไลน์’ จึงขอพาเดินทางไปสัมผัสกับประเทศภูฏานผ่านตัวหนังสือ กับเรื่องเล่าคนภูเขาชาวภูฏาน ที่มีความแปลก แต่ล้วนเป็นเรื่องราวประเพณีของคนภูฏานที่มีมาแต่ดั้งเดิม




    แม้ว่าประเทศภูฏานจะไม่ใช่ประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ เพราะเพิ่งแยกตัวออกจากทิเบตไม่นานนัก แต่ก็สามารถรักษาความเป็นชาตินิยม และประเพณีเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น สิ่งนี้ทำให้ประเทศภูฏานยืนหยัดท่ามกลางกระแสทุนนิยมได้อย่างมั่นคง ด้านดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เขียนหนังสือภูฏานตระการตา ได้เล่าถึงความเป็นภูฏาน ที่บอกว่าประเทศแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว

    ประเพณี 1 ครอบครัวหลายคู่ครอง

    “การแต่งงานของชาวภูฏาน นั้น ตั้งแต่ดั้งเดิม ผู้ชายสามารถมีภรรยาหลายคนได้ และผู้หญิงก็สามารถมีสามีได้หลายคนเช่นกัน แต่จะต้องมาจากครอบครัวเดียวกัน นอกจากนี้จะไม่มีการแบ่งว่าใครเป็นหลวงเป็นน้อย ทุกคนจะมีฐานะเท่าเทียมกันหมด อย่างเช่นพระราชบิดาของเจ้าชายจิกมีเอง ก็มีพระราชินีถึง 4 พระองค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นพี่น้องกันทั้งสิ้น เจ้าชายจิกมีเองทรงประสูติจากพระราชินีองค์ที่ 3 คือสมเด็จพระราชินีเชอร์ริง ยังดน วังชุก แต่เป็นพระราชโอรสพระองค์แรก จึงได้เป็นผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา และเจ้าชายจิกมีเองก็ทรงเรียกพระราชินีว่าแม่ทั้งสิ้น




    คนภูฏานมีสายสัมพันธ์ทางครอบครัวค่อนข้างลึกซึ้ง และซับซ้อนมาก ซึ่งสาเหตุที่ประเพณีเขาเป็นแบบนี้ ก็เพราะสมัยก่อนเขาค่อนข้างลำบาก การแต่งงานเป็นครอบครัวจึงต้องมีหลายคน จะได้สามารถช่วยกันดูแล และทำมาหากินกันได้ และไม่มีปัญหากันด้วย เพราะเขาไม่ถือว่าเป็นการนอกใจ ทุกคนล้วนต้องมาจากการแต่งงาน และต้องเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ประเพณีนี้จึงไม่ถือว่าผิดศีล เพราะไม่ได้ไปผิดลูกเมียคนอื่น คนภูฏานจะอยู่รวมกันไม่มีแยกบ้าน เลยมีหลายคนอยู่รวมกัน ผู้ชายเวลาแต่งงาน ก็จะแต่งทั้งพี่และน้องไปพร้อมกัน”

    สินทรัพย์ที่ดิน สินสอดมอบวันแต่งงาน

    “พิธีการแต่งงาน เขาก็จะให้สินสอดบ้าง แต่เป็นในรูปแบบของสินค้าทางเกษตรไปให้ ไม่ได้มีต่อรองเหมือนคนจีน จะเรียกว่าเป็นของกำนัลมาแลกกันมากกว่า หรือบางทีก็ให้ที่นา ฝ่ายไหนมีฐานะดีกว่าก็จะให้ที่นาเพื่อช่วยเพิ่มที่ทำมาหากิน เพราะภูฏานเป็นประเทศภูเขา ที่ดินมันมีให้ทำไร่น้อย ส่วนพิธีการแต่งงานนั้น นิยมมีการฉลองด้วยการเต้นระบำพื้นเมือง และระบำหน้ากาก”




    ชุดประจำชาติใส่ทุกโอกาส กติกาชาตินิยมของภูฏาน

    “ที่ภูฏานการใส่ชุดประจำชาติ ซึ่งเรียกว่าโก (Kho) สำหรับผู้ชาย และคีร่า (Kira) สำหรับผู้หญิง โดยชาวภูฏานจะใส่กันประจำทุกวันจนเป็นเรื่องปกติ เพราะกติกาทางสังคมของเขา แต่ชุดประจำชาติก็จะมีการแบ่งระดับ และมีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างของผู้ชายและผู้หญิง และสำหรับฉลองพระองค์ที่เจ้าชายจิกมีจะใส่ในวันพระราชพิธีราชาภิเษก ก็จะเป็นชุดประจำชาติเช่นกัน ซึ่งชุดของพระองค์จะมีแกบเน (ผ้าพาดไหล่) สีเหลืองอมส้ม ซึ่งเป็นสีที่ใช้สำหรับกษัตริย์ด้วย”




    ศรัทธาประจำชาติ ลัทธิลามะ ถือศีล 5 กินมังสวิรัติ

    “ภูฏานนับถือศาสนาพุทธ ลัทธิลามะ คล้ายกับทางทิเบต ซึ่งประเทศทั่วโลกก็จะมีแค่สองประเทศนี้เท่านั้น ภูฏานเป็นประเทศที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามาก เขาถือศีล 5 เป็นประเทศที่ไม่กินเนื้อสัตว์เลย ขนาดสัตว์เล็กอย่างปลาหรือกุ้ง ก็ไม่มีใครตกขึ้นมากิน ส่วนใหญ่อาหารที่ชาวภูฏานกินกันเป็นหลักจึงมีข้าว ผัก และชีส เมนูส่วนใหญ่จึงเป็นพวกผัดผักกับชีส และข้าวหุงกับเครื่องเทศผสมกับลูกเกด ”

    สิทธิ วิถีแบบภูฏาน

    “ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต้องทำงานเหมือนกัน ผู้หญิงจะทำงานเยอะ ส่วนใหญ่ก็อาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ปลูกผักกัน แต่ผู้ชายจะออกไปทำที่ไกลๆ มากกว่า และหนักกว่า บางทีก็ต้องออกไปขายของ หรือแลกสินค้ากับเผ่าอื่น ส่วนเรื่องการปกครอง คนภูฏานนั้นจะอยู่กันแบบกระจัดกระจาย ความสัมพันธ์จึงไม่ใช่ลักษณะของผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หรือ อบต. แต่จะเป็นการเคารพผู้อาวุโสเป็นหลัก”


    ความเป็นภูฏาน อารยธรรมที่คงความเป็นประเพณีดั้งเดิมเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นแบบนี้ จึงทำให้หลายๆ คนที่โหยหาอดีตของประเทศตัวเองเห็นคุณค่าของสิ่งที่หายไป นักเขียนที่หลงรักภูฏานอย่างดร.ธรณ์ เลยทิ้งประโยคสุดท้ายก่อนจบบทสนทานาครั้งนี้ไว้ว่า

    “ภูฏานไม่เหมือนเนปาล และอินเดีย เขามีรูปแบบ และมีความสุขของเขา คือถ้าอยากมองเห็นประเทศไทยเมื่อร้อยปีเป็นยังไง คุณไปที่นี่คุณจะรู้สึกและเห็นภาพเอง ไปภูฏานเหมือนนั่งTime Machineไปดูประเทศไทยสมัยก่อน ซึ่งผมคิดว่าประเทศอย่างนี้ไม่มีอีกแล้วครับ”

    ความรู้คนหลังเขา

    1. ภูฏาน (พู-ตาน) มาจากคำว่า “อุตตาน” บางคนก็เรียกว่าภูฐาน (พู-ถาน) ซึ่งทุกคนจะเข้าใจว่าเป็นฐานของภูเขาจำนวนมาก บางคนก็ว่าฐาน คือ ที่อยู่ฐานะ แต่เรียกกันเพี้ยนมาเป็นภูฏาน

    2. ชาวภูฏานถือศีล 5 อย่างเคร่งครัด การที่ผู้ชายมีภรรยาหลายคน หรือผู้หญิงมีสามีหลายคน ที่มาจากครอบครัวเดียวกัน ไม่ถือว่าผิดศีล คนภูฏานถือว่าไม่ใช่การนอกใจ หรือผิดลูกเมียคนอื่น เพราะเป็นการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังเป็นประเพณีดั้งเดิมที่มีมาเป็นร้อยปีแล้วของชาวภูฏาน


    www.pantip.com

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    สบายดีไหมน้องบี...หายไปซะนานหนอนหนังสือตั้งตารออ่านกันออกเยอะ ไม่เฉพาะลุงใหญ่หรอกนะ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ esannot
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    กระทู้
    179
    สำบายดีน้องบี......... ประเพณีบ้านเผิ่นบ่คือบ้านเฮาเนาครับ

  4. #4
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30
    เป็นไซนัสค่ะแบบว่าทรมาณมาปวดหัวมาก ตอนนี้ก็กินยาอยู่ค่ะขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่านและถามข่าวคราวบีค่ะ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •